ผู้จัดการรายวัน - เงินบาทปิดตลาดแข็งค่าที่ระดับ 32.25-32.27 บาทต่อดอลลาร์ คาดวันนี้แข็งค่าต่อมาอยู่ที่ 32.20 นายแบงก์เสียงแตกผลการประชุม กนง.ลดดอกเบี้ย ชี้รอบนี้คาดเดายาก แต่หากมีการปรับลดจริงจะเป็นส่วนช่วยกระตุ้นยอดสินเชื่อแบงก์ "หมัก-เลี๊ยบ" ยันไม่เคยพูดเรื่องใช้อัตราแลกเปลี่ยงคงที่ จวกสื่อฟังไม่ศัพท์จับไปกระเดียด
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (26 ก.พ.) ปิดตลาดที่ระดับ 32.25-32.27 บาทต่อดอลลาร์ โดยระหว่างวันมีปริมาณธุรกรรมไม่มากนัก และแข็งค่าสุดที่ 32.25 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุด 32.28 บาทต่อดอลลาร์ สำหรับกรอบเคลื่อนไหวในวันนี้ (27 ก.พ.) คาดว่าจะอยู่ที่ 32.20-32.30 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันนี้ และปัจจัยต่างประเทศคือการประกาศดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ
นายชัยนันท์ ลภิธนานุวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายงานลูกค้ารายย่อย ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) SCIB เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินน่าจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยน่าจะมีการปรับลดลงประมาณ 0.50 % ทั้งนี้หากทางการมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจริงก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความต้องการด้านสินเชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ต่างๆมีขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550ที่ผ่านมา
นายตรรก บุญนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY กล่าวว่า กนง.อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25 % เหมือนเดิม หรืออาจปรับลดลง 0.25 % เนื่องจากก่อนประกาศอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในไตรมาส 4 นักวิเคราะห์ส่วนมากคาดการณ์ว่าตัวเลขจะออกมาไม่ดี ผลจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่แข็งค่า แต่เมื่อตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ออกมาดีเกิดคาด จึงไม่เป็นแรงกดดันให้ กนง.ต้องปรับลดดอกเบี้ย
ปัจจัยที่มีแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยของไทยนั้น คือจะต้องติดตามการประชุมของเฟด ในครั้งต่อไป หรือจะมีการประชุมนอกรอบเพื่อปรับลดดอกเบี้ยแรงๆ หรือไม่ ซึ่งหากเฟดปรับลดดอกเบี้ยและไทยยังคงอัตราดอกเบี้ย จะทำให้เงินไหลเข้าประเทศมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าไปที่ 32 บาทต่อดอลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามการแข็งค่าของเงินบาทนั้น จะต้องติดตามการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาคด้วย ส่วนมาตรการสำรอง 30 % เงินทุนระยะสั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า เพราะในปัจจัยเงินจากต่างประเทศได้ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นปกติ
"การประชุมกนง.ในวันนี้ จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลงหรือคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิมนั้น น่าจะ 50 ต่อ 50 เพราะตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ของไทยออกมาดีมาก แม้ว่าภาคธุรกิจจะต้องประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง และค่าเงินบาทที่แข็ง แต่ภาคธุรกิจยังไปได้ดี" นายตรรกกล่าว
นายบรรลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BT กล่าวว่า การคาดเดาผลการประชุมว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยหรือลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกนั้นเป็นไปค่อนข้างยาก จากก่อนหน้านี้ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยน่าจะมีการปรับลดลง เพราะในช่วงใกล้ถึงวันประชุมของ กนง. ราคาน้ำมันได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน จึงทำให้การลดดอกเบี้ยมีความยากขึ้น
"โดยส่วนตัวนั้นยอมรับว่าเป็นการประเมินที่ยากมากเพราะครั้งนี้ ธปท.น่าจะคิดมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าจะให้ฟันธงจริงๆ คิดว่าน่าจะคงไว้ที่ระดับ 3.25% เหมือนเดิม" นายบรรลือศักดิ์กล่าว
"หมัก-เลี๊ยบ" โยนสื่อมั่วข่าวบาท
วานนี้ (26 ก.พ.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธหลังหนังสือพิมพ์บางฉบับอ้างว่านายกฯ ต้องการให้ไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากลอยตัวแบบมีการจัดการเป็นแบบคงที่ โดยนายสมัครระบุว่า ตนไม่มีแนวคิดดังกล่าวหรือตามรูปแบบมาเลเซียแต่อย่างใด พร้อมอ้างว่า "สื่อมวลชนฟังไม่ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด"
ส่วน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ไม่มีแนวคิดจะนำระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่มาใช้ โดยขณะนี้ยังคงเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ
"อาจจะลำบากถ้าจะกลับไปใช้ระบบคงที่เหมือนในอดีต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนจะมีแค่ 2 รูปแบบแค่นั้น กรณีนี้เป็นการยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ไม่ใช่นโยบาย คงไม่ได้เป็นการส่งสัญญาณใด ๆ ระบบเดิมยังมีความเหมาะสม" รองนายกฯ และรมว.คลังกล่าวและว่า รัฐบาลเปิดกว้างในการเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพราะมีบางวิธีที่ได้รับการบอกเล่าและคำปรึกษาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน และรัฐบาลก็ไม่ต้องการปิดหูปิดตา
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรียกตัวอย่างประเทศมาเลเซียที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่คงเป็นเพราะเห็นว่ามาเลเซียประสบความสำเร็จในการนำมาใช้แก้ไขปัญหาเมื่อครั้งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่การแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวก็อาจมีลักษณะเฉพาะบางประเทศ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศอื่น.
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (26 ก.พ.) ปิดตลาดที่ระดับ 32.25-32.27 บาทต่อดอลลาร์ โดยระหว่างวันมีปริมาณธุรกรรมไม่มากนัก และแข็งค่าสุดที่ 32.25 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุด 32.28 บาทต่อดอลลาร์ สำหรับกรอบเคลื่อนไหวในวันนี้ (27 ก.พ.) คาดว่าจะอยู่ที่ 32.20-32.30 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันนี้ และปัจจัยต่างประเทศคือการประกาศดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ
นายชัยนันท์ ลภิธนานุวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายงานลูกค้ารายย่อย ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) SCIB เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินน่าจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยน่าจะมีการปรับลดลงประมาณ 0.50 % ทั้งนี้หากทางการมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจริงก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความต้องการด้านสินเชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ต่างๆมีขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550ที่ผ่านมา
นายตรรก บุญนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY กล่าวว่า กนง.อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25 % เหมือนเดิม หรืออาจปรับลดลง 0.25 % เนื่องจากก่อนประกาศอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในไตรมาส 4 นักวิเคราะห์ส่วนมากคาดการณ์ว่าตัวเลขจะออกมาไม่ดี ผลจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่แข็งค่า แต่เมื่อตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ออกมาดีเกิดคาด จึงไม่เป็นแรงกดดันให้ กนง.ต้องปรับลดดอกเบี้ย
ปัจจัยที่มีแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยของไทยนั้น คือจะต้องติดตามการประชุมของเฟด ในครั้งต่อไป หรือจะมีการประชุมนอกรอบเพื่อปรับลดดอกเบี้ยแรงๆ หรือไม่ ซึ่งหากเฟดปรับลดดอกเบี้ยและไทยยังคงอัตราดอกเบี้ย จะทำให้เงินไหลเข้าประเทศมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าไปที่ 32 บาทต่อดอลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามการแข็งค่าของเงินบาทนั้น จะต้องติดตามการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาคด้วย ส่วนมาตรการสำรอง 30 % เงินทุนระยะสั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า เพราะในปัจจัยเงินจากต่างประเทศได้ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นปกติ
"การประชุมกนง.ในวันนี้ จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลงหรือคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิมนั้น น่าจะ 50 ต่อ 50 เพราะตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ของไทยออกมาดีมาก แม้ว่าภาคธุรกิจจะต้องประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง และค่าเงินบาทที่แข็ง แต่ภาคธุรกิจยังไปได้ดี" นายตรรกกล่าว
นายบรรลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BT กล่าวว่า การคาดเดาผลการประชุมว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยหรือลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกนั้นเป็นไปค่อนข้างยาก จากก่อนหน้านี้ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยน่าจะมีการปรับลดลง เพราะในช่วงใกล้ถึงวันประชุมของ กนง. ราคาน้ำมันได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน จึงทำให้การลดดอกเบี้ยมีความยากขึ้น
"โดยส่วนตัวนั้นยอมรับว่าเป็นการประเมินที่ยากมากเพราะครั้งนี้ ธปท.น่าจะคิดมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าจะให้ฟันธงจริงๆ คิดว่าน่าจะคงไว้ที่ระดับ 3.25% เหมือนเดิม" นายบรรลือศักดิ์กล่าว
"หมัก-เลี๊ยบ" โยนสื่อมั่วข่าวบาท
วานนี้ (26 ก.พ.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธหลังหนังสือพิมพ์บางฉบับอ้างว่านายกฯ ต้องการให้ไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากลอยตัวแบบมีการจัดการเป็นแบบคงที่ โดยนายสมัครระบุว่า ตนไม่มีแนวคิดดังกล่าวหรือตามรูปแบบมาเลเซียแต่อย่างใด พร้อมอ้างว่า "สื่อมวลชนฟังไม่ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด"
ส่วน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ไม่มีแนวคิดจะนำระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่มาใช้ โดยขณะนี้ยังคงเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ
"อาจจะลำบากถ้าจะกลับไปใช้ระบบคงที่เหมือนในอดีต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนจะมีแค่ 2 รูปแบบแค่นั้น กรณีนี้เป็นการยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ไม่ใช่นโยบาย คงไม่ได้เป็นการส่งสัญญาณใด ๆ ระบบเดิมยังมีความเหมาะสม" รองนายกฯ และรมว.คลังกล่าวและว่า รัฐบาลเปิดกว้างในการเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพราะมีบางวิธีที่ได้รับการบอกเล่าและคำปรึกษาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน และรัฐบาลก็ไม่ต้องการปิดหูปิดตา
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรียกตัวอย่างประเทศมาเลเซียที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่คงเป็นเพราะเห็นว่ามาเลเซียประสบความสำเร็จในการนำมาใช้แก้ไขปัญหาเมื่อครั้งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่การแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวก็อาจมีลักษณะเฉพาะบางประเทศ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศอื่น.