ผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าแบงก์ชาติรับบาทแข็งเหตุมีเงินไหลเข้า และเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ยันพร้อมดูแลให้เกาะกลุ่มกับภูมิภาค ระบุขณะนี้กนง.อยู่ระหว่างเตรียมปรับกรอบเงินเฟ้อหลังราคาน้ำมันพุ่งแรง รอพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่-รมว.คลังคนใหม่สรรหากนง.ชุดใหม่ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐเชื่อยังไม่ถึงขั้นทรุดหนัก และยังมีผลต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยน้อย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้วาการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเงินบาทแข็งค่าขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากเงินทุนไหลเข้ามายังไทย ซึ่งทุกประเทศก็มีแนวโน้มเช่นนี้ แต่ต้นตอใหญ่เป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง แต่ธปท.ก็จะพยายามดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับประเทศคู่ค้าและเกาะกลุ่มกับประเทศแถบภูมิภาค เพื่อไม่ให้เสียเปรียบด้านการแข่งขัน
"ช่วงที่ผ่านมาผู้ส่งออกของไทยมีการปรับตัวดีขึ้น โดยหันไปเจาะตลาดใหม่มากขึ้น ขณะที่อัตราการการส่งออกไปยังสหรัฐก็มีสัดส่วนลดลง ดังนั้น ต่อไปผู้ส่งออกเองก็ควรหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพของสินค้าให้มีต่อเนื่อง ส่วนที่มีบางฝ่ายมองว่าค่าเงินบาทจะแตะที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐนั้น ธปท.ไม่กล้าฟันธงว่าบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าหรืออ่อนตัวลง ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสำคัญ”
ค้าเงินคาดบาทแกว่ง 33.10-33.25
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ (9 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 33.18-33.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงเช้าที่ค่าเงินบาทเปิดตลาดอยู่ที่ 33.26-33.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐและอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยในวันนี้ (10 ม.ค.) คาดว่าทิศทางค่าเงินบาทน่าจะยังคงมีการปรับตัวแข็งค่าได้อีกตามการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ ทั้งนี้จะต้องติดตามดูว่าธปท.จะมีการเข้าแทรกแซงหรือไม่ โดยหากมีการเข้าแทรกแซงก็จะช่วยให้ค่าเงินบาทชะลอการแข็งค่าลงได้บ้าง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ 33.10-33.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
กนง.เล็งปรับเป้าเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนกรอบเงินเฟ้อที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ ซึ่งปัจจุบันใช้กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0-3.5% เฉลี่ยเป็นรายไตรมาส อย่างไรก็ตามจะต้องรอการสรรหาคณะกรรมการกนง.ชุดใหม่ ตามพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะได้ลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ได้ในราชกิจจานุเบกษา พร้อมทั้งขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ที่จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อสรรหาคณะกรรมการชุดกนง.ชุดใหม่ด้วย
"ไม่แน่ใจว่ากนง.ชุดปัจจุบันหรือชุดใหม่ที่ได้จากการเลือกของรมว.คลังคนใหม่จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือก เพราะเป็นช่วงรอยต่อ แต่ตอนนี้บอร์ดกนง.ชุดปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างทบทวนว่าจะใช้กรอบเงินเฟ้อวิธีการใหม่หรือหาวิธีที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงนำกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศมาศึกษาด้วย จึงกำลังดูข้อดีและข้อเสียประกอบกัน”
นอกจากนี้ ขณะนี้ธปท.ได้มีหารือและปรึกษากับรัฐบาลชุดปัจจุบันในการเตรียมเสนอนโยบายการเงินในการทำหน้าที่ของธปท.ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ด้วย
BISชี้ซับไพรม์รุนแรงกระทบไทยแน่
ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ส่วนการเข้าร่วมประชุมของธปท.และธนาคารกลางประเทศต่างๆ 55 แห่งร่วมกับธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) เมื่อวันที่ 5-8 มกราคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ภาคการเงิน และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ซึ่งพิจารณาว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจริงทั้งภาคการผลิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคแค่ไหน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมองว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวรุนแรงจะมีผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงไทยด้วยบ้าง แต่ก็มีผลไม่มากนัก เพราะในช่วงที่ผ่านมาในหลายประเทศได้กระจายการส่งออกมากขึ้น ขณะที่ภาพสถาบันการเงินก็แข็งแกร่งเช่นกัน ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังดีอยู่ และมีเงินสำรองระหว่างประเทศในปริมาณที่สูง
"ขณะนี้สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ(Recession) ของสหรัฐยังไม่เห็นจนส่งผลกระทบต่อประเทศพัฒนาอย่างไทย ซึ่งยังไม่ได้รับผลมากนัก ดังนั้น แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะแย่ แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ปลอดภัย เพราะภาวะเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงของสหรัฐไม่มากนัก จึงได้รับผลกระทบน้อย”
ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์มองว่าประเทศสหรัฐจะเกิด Recession นั้นในที่ประชุมบีไอเอสมองว่าภาวะเช่นนั้นยังไม่เกิดขึ้น เพราะภาพเศรษฐกิจสหรัฐไม่ต่างกับ 2 เดือนที่ผ่านมา แม้ข้อมูลอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกลับมองว่าก็เป็นไปตามที่ประเมินไว้ และเชื่อว่าในครึ่งหลังของปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น
"ส่วนภาวะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ในที่ประชุมก็มีการพูดคุยกันหลายหลายประเด็น โดยบางฝ่ายก็มองว่าค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเยอะแล้ว จึงมีการหันไปซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐมากขึ้นจากปัจจุบันที่ราคาอสัหาริมทรัพย์ถูกลง ขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินบางแห่งมีการเพิ่มทุนจากปัญหาซับไพรม์แล้ว นอกจากนี้เงินดอลลาร์ที่อ่อนเยอะแล้วจะช่วยเรื่องการส่งออก จึงไม่มีใครกล้าฟันธงว่าจะอ่อนหรือแข็งค่า เพราะสามารถพลิกกลับกันได้”
ด้านนางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ราคาน้ำมันและการจ่อปรับขึ้นราคาสินค้าในประเทศ รวมถึงปัญหาซับไพรม์ที่ยังไม่นิ่งและอาจส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะนำเข้าไปในที่ประชุมกนง.ว่าจะมีผลต่ออัตราการขยายตัวเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเครื่องชี้เศรษฐกิจในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปด้วย
"ต้องดูว่าอะไรที่เหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันทั้งอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพพอสมควร และในอนาคตอัตราเงินเฟ้อก็มีความเป็นไปได้ที่จะสูงขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศที่เราไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องดูให้เหมาะกับกรอบในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบัน”นางดวงมณีกล่าว
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันสูงกว่าสมมุติฐานที่กนง.ได้ประมาณการไว้ครั้งก่อน คือ วันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา จึงคาดว่าจะมีการปรับสมมุมติฐานใหม่ในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งจะวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ในอนาคตทั้งดีมานส์และซับพลายของตลาดโลก เทียบกับราคาน้ำมันดูไบในปัจจุบัน และสถานการณ์การเมืองในส่วนของต่างประเทศด้วย
"ทางกนง.จะนำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเป็นประเด็นในการพิจารณาของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) มาประกอบการตัดสินใจด้วย โดยมองว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอประเทศจะส่งผลต่อประเทศคู้ค้าของสหรัฐอย่างไรบ้าง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วจะมีผลให้เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวแล้วส่งผลให้ราคาน้ำมันอาจจะไม่ปรับขึ้นก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในการประชุมของกนง.จะนำมาวิเคราะห์”นางอมรากล่าว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้วาการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเงินบาทแข็งค่าขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากเงินทุนไหลเข้ามายังไทย ซึ่งทุกประเทศก็มีแนวโน้มเช่นนี้ แต่ต้นตอใหญ่เป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง แต่ธปท.ก็จะพยายามดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับประเทศคู่ค้าและเกาะกลุ่มกับประเทศแถบภูมิภาค เพื่อไม่ให้เสียเปรียบด้านการแข่งขัน
"ช่วงที่ผ่านมาผู้ส่งออกของไทยมีการปรับตัวดีขึ้น โดยหันไปเจาะตลาดใหม่มากขึ้น ขณะที่อัตราการการส่งออกไปยังสหรัฐก็มีสัดส่วนลดลง ดังนั้น ต่อไปผู้ส่งออกเองก็ควรหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพของสินค้าให้มีต่อเนื่อง ส่วนที่มีบางฝ่ายมองว่าค่าเงินบาทจะแตะที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐนั้น ธปท.ไม่กล้าฟันธงว่าบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าหรืออ่อนตัวลง ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสำคัญ”
ค้าเงินคาดบาทแกว่ง 33.10-33.25
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ (9 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 33.18-33.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงเช้าที่ค่าเงินบาทเปิดตลาดอยู่ที่ 33.26-33.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐและอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยในวันนี้ (10 ม.ค.) คาดว่าทิศทางค่าเงินบาทน่าจะยังคงมีการปรับตัวแข็งค่าได้อีกตามการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ ทั้งนี้จะต้องติดตามดูว่าธปท.จะมีการเข้าแทรกแซงหรือไม่ โดยหากมีการเข้าแทรกแซงก็จะช่วยให้ค่าเงินบาทชะลอการแข็งค่าลงได้บ้าง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ 33.10-33.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
กนง.เล็งปรับเป้าเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนกรอบเงินเฟ้อที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ ซึ่งปัจจุบันใช้กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0-3.5% เฉลี่ยเป็นรายไตรมาส อย่างไรก็ตามจะต้องรอการสรรหาคณะกรรมการกนง.ชุดใหม่ ตามพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะได้ลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ได้ในราชกิจจานุเบกษา พร้อมทั้งขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ที่จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อสรรหาคณะกรรมการชุดกนง.ชุดใหม่ด้วย
"ไม่แน่ใจว่ากนง.ชุดปัจจุบันหรือชุดใหม่ที่ได้จากการเลือกของรมว.คลังคนใหม่จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือก เพราะเป็นช่วงรอยต่อ แต่ตอนนี้บอร์ดกนง.ชุดปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างทบทวนว่าจะใช้กรอบเงินเฟ้อวิธีการใหม่หรือหาวิธีที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงนำกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศมาศึกษาด้วย จึงกำลังดูข้อดีและข้อเสียประกอบกัน”
นอกจากนี้ ขณะนี้ธปท.ได้มีหารือและปรึกษากับรัฐบาลชุดปัจจุบันในการเตรียมเสนอนโยบายการเงินในการทำหน้าที่ของธปท.ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ด้วย
BISชี้ซับไพรม์รุนแรงกระทบไทยแน่
ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ส่วนการเข้าร่วมประชุมของธปท.และธนาคารกลางประเทศต่างๆ 55 แห่งร่วมกับธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) เมื่อวันที่ 5-8 มกราคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ภาคการเงิน และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ซึ่งพิจารณาว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจริงทั้งภาคการผลิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคแค่ไหน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมองว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวรุนแรงจะมีผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงไทยด้วยบ้าง แต่ก็มีผลไม่มากนัก เพราะในช่วงที่ผ่านมาในหลายประเทศได้กระจายการส่งออกมากขึ้น ขณะที่ภาพสถาบันการเงินก็แข็งแกร่งเช่นกัน ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังดีอยู่ และมีเงินสำรองระหว่างประเทศในปริมาณที่สูง
"ขณะนี้สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ(Recession) ของสหรัฐยังไม่เห็นจนส่งผลกระทบต่อประเทศพัฒนาอย่างไทย ซึ่งยังไม่ได้รับผลมากนัก ดังนั้น แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะแย่ แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ปลอดภัย เพราะภาวะเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงของสหรัฐไม่มากนัก จึงได้รับผลกระทบน้อย”
ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์มองว่าประเทศสหรัฐจะเกิด Recession นั้นในที่ประชุมบีไอเอสมองว่าภาวะเช่นนั้นยังไม่เกิดขึ้น เพราะภาพเศรษฐกิจสหรัฐไม่ต่างกับ 2 เดือนที่ผ่านมา แม้ข้อมูลอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกลับมองว่าก็เป็นไปตามที่ประเมินไว้ และเชื่อว่าในครึ่งหลังของปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น
"ส่วนภาวะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ในที่ประชุมก็มีการพูดคุยกันหลายหลายประเด็น โดยบางฝ่ายก็มองว่าค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเยอะแล้ว จึงมีการหันไปซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐมากขึ้นจากปัจจุบันที่ราคาอสัหาริมทรัพย์ถูกลง ขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินบางแห่งมีการเพิ่มทุนจากปัญหาซับไพรม์แล้ว นอกจากนี้เงินดอลลาร์ที่อ่อนเยอะแล้วจะช่วยเรื่องการส่งออก จึงไม่มีใครกล้าฟันธงว่าจะอ่อนหรือแข็งค่า เพราะสามารถพลิกกลับกันได้”
ด้านนางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ราคาน้ำมันและการจ่อปรับขึ้นราคาสินค้าในประเทศ รวมถึงปัญหาซับไพรม์ที่ยังไม่นิ่งและอาจส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะนำเข้าไปในที่ประชุมกนง.ว่าจะมีผลต่ออัตราการขยายตัวเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเครื่องชี้เศรษฐกิจในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปด้วย
"ต้องดูว่าอะไรที่เหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันทั้งอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพพอสมควร และในอนาคตอัตราเงินเฟ้อก็มีความเป็นไปได้ที่จะสูงขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศที่เราไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องดูให้เหมาะกับกรอบในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบัน”นางดวงมณีกล่าว
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันสูงกว่าสมมุติฐานที่กนง.ได้ประมาณการไว้ครั้งก่อน คือ วันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา จึงคาดว่าจะมีการปรับสมมุมติฐานใหม่ในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งจะวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ในอนาคตทั้งดีมานส์และซับพลายของตลาดโลก เทียบกับราคาน้ำมันดูไบในปัจจุบัน และสถานการณ์การเมืองในส่วนของต่างประเทศด้วย
"ทางกนง.จะนำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเป็นประเด็นในการพิจารณาของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) มาประกอบการตัดสินใจด้วย โดยมองว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอประเทศจะส่งผลต่อประเทศคู้ค้าของสหรัฐอย่างไรบ้าง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วจะมีผลให้เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวแล้วส่งผลให้ราคาน้ำมันอาจจะไม่ปรับขึ้นก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในการประชุมของกนง.จะนำมาวิเคราะห์”นางอมรากล่าว