คณะทำงานศึกษาข้อมูลยามะเร็งเผยจะสรุปตัวเลขทั้งหมด 29 ก.พ.นี้ เบื้องต้นมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปอดรายใหม่ 1-2 หมื่นคนต่อปี ขณะที่ เอ็นจีโอ นัดพบ “นพดล” สัปดาห์หน้า ขอฟังจากปากว่า สนับสนุนซีแอลจริง อาจารย์ ม.หอการค้ายันถ้าโดนตัดจีเอสพีจากกรณีซีแอลไม่น่าเกิน 50 % ชี้คุ้มค่าเมื่อเทียบกับชีวิตคน พร้อมเตือนสติ “ไชยา” ซีแอลเกิดจากรัฐบาลรัฐประหาร อย่าให้ดับจากรัฐบาลประชาธิปไตย
นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะรักษาการเลาธิการสปสช. กล่าวภายหลังการประชุมหารือคณะทำงานศึกษาข้อมูลยามะเร็งที่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร(ซีแอล) วานนี้(22 ก.พ.)ว่า การประชุมครั้งนี้เนื่องมาจากมติที่ประชุมให้ สปสช.เป็นเจ้าภาพในการรวบรวมข้อมูลยามะเร็ง 4 รายการ โดยร่วมหารือกับหลายหน่วยงาน ทั้งตัวแทนจากสถาบันมะเร็ง โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครือข่ายผู้ป่วย มูลนิธิผู้บริโภค องค์กรหมอไร้พรมแดน-เบลเยียม (ประเทศไทย) เพื่อร่วมกันหาข้อสรุปจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องใช้ยามะเร็ง 4 รายการ โดยอ้างอิงตัวเลขจากหลายๆ แห่ง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน เป็นเพียงการประมาณการเบื้อต้นเท่านั้น เช่น มะเร็งปอด และเต้านม มีตัวเลขใกล้เคียงกันคือ ผู้ป่วยรายใหม่ เฉลี่ยปีละ 10,000 -12,000 คน ดังนั้น ที่ประชุมได้ให้การบ้านกับทุกฝ่ายไปประมาณการตัวเลขผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยามาอย่างชัดเจน โดยให้คาดการณ์ต่อเนื่องไปถึงอนาคตอีก 5 ปี รวมถึงคำนวณงบประมาณในการจัดซื้อยาด้วย โดยในวันที่ 29 ก.พ.นี้จะได้ข้อสรุปตัวเลขสุดท้าย และตัวเลขงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการ
“ที่ผ่านมาไทยไม่มีการจัดทำระบบจัดเก็บประวัติผู้ป่วยมะเร็ง การจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบแบ่งแยกแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการสั่งซื้อยามะเร็งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะเป็นผู้สั่งยาเอง สปสช. ไม่ได้จัดซื้อยารวม แต่เป็นหาเหมาจ่ายรายหัวให้กับแต่ละโรงพยาบาลที่จะไปจัดสรรงบประมาณเอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแนวโน้มของผู้ป่วยมะเร็งทุกประเภทมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเต้านม”นพ.วินัย กล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับเรื่องการจะดำเนินการอย่างไรให้กระบวนการประกาศซีแอลเดินหน้าต่อ ซึ่งได้มีการเสนอให้สธ. ประกาศเชิญบริษัทยาสามัญที่สธ. ได้ประกาศซีแอลไปแล้วทั้งหมด ให้มายื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการจัดซื้อยาในราคาถูกลงได้ เพราะเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น ก็จะมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ราคาถูกลง
เครือข่ายผู้ป่วยบุกพบ “นภดล” 27 ก.พ.
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ในวันที่ 27 ก.พ. เวลา 16.30 น.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย จะเดินทางไปนี้ ยังกระทรวงต่างประเทศ เพื่อขอเข้าพบ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขอความชัดเจนเรื่องการสนับสนุนให้ทำซีแอล เพราะขณะนี้ทราบว่าทางกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และกรมสนธิสัญญา กระทรวงต่างประเทศ ได้มีหนังสือสรุปผลการดำเนินการซีแอลของไทยถึงนายนพดล ว่าการประกาศซีแอลเป็นไปด้วยความถูกต้อง
“ก่อนหน้านี้ รมว.ต่างประเทศ ได้รับปากว่าจะให้การสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าถึงยา แต่เราต้องการฟังจากปากของคุณนพดลโดยตรงว่า จะสนับสนุนกระบวนการเข้าถึงยาของผู้ป่วย ทั้งนี้ ทราบมาว่าแม้แต่ทูตการค้าของสหรัฐฯ ก็ไม่ได้มีประสงค์ที่จะฟ้องร้องไทยในการทำซีแอล ขณะที่สภายุโรป(อียู) ก็มีมติเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมาให้สนับสนุนทุกประเทศที่ใช้มาตรการยืนหยุ่นขององค์การการค้าโลกซึ่งรวมทั้งซีแอลในการเข้าถึงยา”นายนิมิตร์กล่าว
"ไชยา"บ่นไม่เคยบอกจะเลิกซีแอล
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ไม่มีคำไหนที่พูดออกไปว่าจะยกเลิกซีแอลทั้งสิ้น มีแต่สั่งให้ทบทวนซีแอลยารักษาโรคมะเร็งเพื่อให้เกิดความรอบคอบ โดยไม่เคยไปแตะต้องการทำซีแอลยาต้านไวรัสเอดส์ทั้ง 2 รายการ และยาสลายลิ่มเลือดหัวใจอุดตันแต่อย่างใด แต่เหตุผลที่หลายฝ่ายพยายามดึงมาเกี่ยวข้องนั้นไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ตนบอกเสมอว่า อะไรที่ได้เคยทำไว้แล้วก็ให้ทำต่อไป แต่ข่าวที่ออกมาก็ยังทำให้ถูกตำหนิ แต่ตนก็รับได้ไม่เป็นไร
“อภ. ไม่เคยมาบอกผมเลยว่าจะมีการชะลอการส่งมอบยาโคลพิโดเกล และผมก็คงจะไม่ทำหนังสือไปยังบริษัท คาดิลาฯ เพื่อกำชับให้ส่งมอบยาตามที่สัญญากำหนดเพราะถือว่าไม่ใช่หน้าที่ของผม ขณะนี้มีนักกฎหมายต่างประเทศได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีสนับสนุนการทำซีแอลของไทย ผมก็ดีใจที่ให้ความสำคัญกับประเทศของเรา เพราะทุกวันนี้ผู้ป่วยน่าสงสาร ความแข็งแรงไม่มี หวั่นวิตกไปต่างๆ นานา แต่บางอย่างมันก็ต้องเวลา อยากให้ใจเย็นๆ หากทำแล้วไม่มีผลกระทบ ได้ยาราคาถูก มีคุณภาพ ก็ต้องทำ ขอให้สบายใจได้ว่าผมไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย”นายไชยา กล่าว
พูดหน้าตาเฉยไม่เคยตำหนิ"หมอมงคล"
นายไชยา กล่าวต่อว่า ส่วนการหารือระหว่างปลัดกระทรวง 3 กระทรวง คือ สธ. พาณิชย์ และต่างประเทศ แต่ละกระทรวงก็จะต้องถือธงไว้ โดยปลัดสธ. มีธงคือ จะต้องได้ยาที่มีคุณภาพและผู้ป่วยทุกคนต้องเข้าถึงยา ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของสธ. ส่วนอะไรที่นอกเหนือจากนี้ให้เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ
“ที่ผ่านมาผมไม่ได้ตำหนิหมอมงคล (นพ.มงคล ณ สงขลา ) แต่ติดที่เรื่องเงื่อนไขเวลาที่เซ็นลงนามประกาศซีแอลยารักษาโรคมะเร็งเท่านั้น ผมไม่อยากให้มีความขัดแย้งกันในการการทำงานระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และสธ. เหมือนรัฐบาลก่อนหน้านี้ ที่รมว.พาณิชย์ ส่งหนังสือคัดค้านการทำซีแอล ผมอยากให้ทิศทางการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน” นายไชยากล่าว
เผยไทยจ่ายค่ารอยัลตี้ 4% สูงสุด
วันเดียวกัน ที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อาคารพญาไท พลาซ่า ได้มีการจัดเสวนาวิชาการ “ซีแอล: กฎหมาย การค้า และสุขภาพ” โดยเชิญนักวิชาการด้านสิทธิบัตร นักเศรษฐศาสตร์ นักกฎหมายสิทธิบัตร ผู้แทนภาคธุรกิจ และตัวแทนจากองค์การเอกชน เครือข่ายผู้ป่วย เข้าร่วมเสนา
นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าไทย กล่าวว่า การทำซีแอลตามนโยบายรัฐบาลชุดที่แล้วได้มีการตกลงจ่ายค่ารอยัลตี้ โดยไทยจะขอจ่ายสูงถึงร้อยละ 4 ซึ่งเป็นค่ารอยัลตี้ที่แพงที่สุดในประเทศที่ทำซีแอล ซึ่งคิดว่าเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว
“ก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมว่าด้วยปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของไทย ที่หอการค้า เจ้าหน้าที่จากสหรัฐฯได้ยืนยันหนักแน่นว่า ถ้าจะมีการเลื่อนสถานประเทศไทยก็มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาไทยละเมิดลิขสิทธิ์เทปผีซีดีเถื่อนและซอฟแวร์เป็นจำนวนมาก มิใช่ปัญหาซีแอลแต่อย่างใด”นายบัณฑูร กล่าวย้ำ
เตือนสติอย่าให้ดับจากรัฐบาล ปชต.
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการจาก ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ไม่ช้าก็เร็วไทยต้องถูกตัดจีเอสพีแน่นอน เพราะไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และมีการพัฒนาประเทศมากขึ้นและเร็วขึ้น ดังนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งสหรัฐฯก็ต้องระงับจีเอสพี
อย่างไรก็ตาม หากจะถูกตัดจีเอสพีจากสหรัฐ ด้วยสาเหตุของการทำซีแอลจริง สหรัฐฯไม่น่าจะล้มกระดานโดยการตัดจีเอสพีถึง 100% เลวร้ายที่สุดน่าจะครึ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าคุ้มค่า หากรัฐบาลจะเสียเงินส่วนนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชน
“ผมคิดว่าถ้าให้ผมช่างน้ำหนักระหว่างมือซ้ายและมือขวา ระหว่างชีวิตกับเศรษฐกิจการเงินของประเทศ ผมขอยืนอยู่ข้างชีวิตผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยชาวไทยที่กำลังประสบปัญหาการเข้าถึงยาอยู่ในขณะนี้ ผมคิดว่ารัฐบาลที่มาจากประชาชน หากยอมเสียจีเอสพี 50% เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เลือกท่านมาเป็นรัฐบาล ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ซีแอลเกิดจากรัฐบาลรัฐประหาร ก็ไม่ต้องการให้เสียไปในรัฐบาลมาจากประชาชน”ดร.อัทธ์กล่าว
คกก.สิทธิยันไทยยังทำน้อยไปด้วยซ้ำ
ส่วนนายวีรวิทย์ วีรวรวิทย์ รองเลขาธิการสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวอย่างหนักแน่นว่า ตั้งแต่สมัย พ.ศ. 4624 กฎหมายลิขสิทธิ์ในอังกฤษระบุว่า สิทธิบัตรไม่เคยมีสิทธิขาดแก่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรทั้งหมด เพราะการให้สิทธิบัตรเป็นการให้เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ไม่ใช่เพื่อความร่ำรวย และไม่มีกฎหมายสิทธิบัตรฉบับใดในโลกที่แจ้งว่า การให้สิทธิบัตรให้เพื่อความร่ำรวย
ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือไม่หมด เพราะมักจะอ่านเฉพาะมาตราที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเอง ในกฎหมายสิทธิบัตรนั้นมีการรวมเอาสัญญาอนุสัญญากรุงปารีส โดยเฉพาะข้อ 5 A (2) และ 5A z4x ในอนุสัญญาฯ ระบุว่าประเทศสมาชิก สามารถใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรได้ ในกรณีที่สิทธิบัตรถูกใช้ไปในทางมิชอบ เช่น การตั้งราคายาสูงเกินไป หรือการจดสิทธิบัตรซ้ำซ้อน ซึ่งตนเองมองว่า ไทยยังใช้สิทธิซีแอลน้อยไปด้วยซ้ำ
นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะรักษาการเลาธิการสปสช. กล่าวภายหลังการประชุมหารือคณะทำงานศึกษาข้อมูลยามะเร็งที่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร(ซีแอล) วานนี้(22 ก.พ.)ว่า การประชุมครั้งนี้เนื่องมาจากมติที่ประชุมให้ สปสช.เป็นเจ้าภาพในการรวบรวมข้อมูลยามะเร็ง 4 รายการ โดยร่วมหารือกับหลายหน่วยงาน ทั้งตัวแทนจากสถาบันมะเร็ง โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครือข่ายผู้ป่วย มูลนิธิผู้บริโภค องค์กรหมอไร้พรมแดน-เบลเยียม (ประเทศไทย) เพื่อร่วมกันหาข้อสรุปจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องใช้ยามะเร็ง 4 รายการ โดยอ้างอิงตัวเลขจากหลายๆ แห่ง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน เป็นเพียงการประมาณการเบื้อต้นเท่านั้น เช่น มะเร็งปอด และเต้านม มีตัวเลขใกล้เคียงกันคือ ผู้ป่วยรายใหม่ เฉลี่ยปีละ 10,000 -12,000 คน ดังนั้น ที่ประชุมได้ให้การบ้านกับทุกฝ่ายไปประมาณการตัวเลขผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยามาอย่างชัดเจน โดยให้คาดการณ์ต่อเนื่องไปถึงอนาคตอีก 5 ปี รวมถึงคำนวณงบประมาณในการจัดซื้อยาด้วย โดยในวันที่ 29 ก.พ.นี้จะได้ข้อสรุปตัวเลขสุดท้าย และตัวเลขงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการ
“ที่ผ่านมาไทยไม่มีการจัดทำระบบจัดเก็บประวัติผู้ป่วยมะเร็ง การจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบแบ่งแยกแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการสั่งซื้อยามะเร็งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะเป็นผู้สั่งยาเอง สปสช. ไม่ได้จัดซื้อยารวม แต่เป็นหาเหมาจ่ายรายหัวให้กับแต่ละโรงพยาบาลที่จะไปจัดสรรงบประมาณเอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแนวโน้มของผู้ป่วยมะเร็งทุกประเภทมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเต้านม”นพ.วินัย กล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับเรื่องการจะดำเนินการอย่างไรให้กระบวนการประกาศซีแอลเดินหน้าต่อ ซึ่งได้มีการเสนอให้สธ. ประกาศเชิญบริษัทยาสามัญที่สธ. ได้ประกาศซีแอลไปแล้วทั้งหมด ให้มายื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการจัดซื้อยาในราคาถูกลงได้ เพราะเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น ก็จะมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ราคาถูกลง
เครือข่ายผู้ป่วยบุกพบ “นภดล” 27 ก.พ.
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ในวันที่ 27 ก.พ. เวลา 16.30 น.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย จะเดินทางไปนี้ ยังกระทรวงต่างประเทศ เพื่อขอเข้าพบ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขอความชัดเจนเรื่องการสนับสนุนให้ทำซีแอล เพราะขณะนี้ทราบว่าทางกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และกรมสนธิสัญญา กระทรวงต่างประเทศ ได้มีหนังสือสรุปผลการดำเนินการซีแอลของไทยถึงนายนพดล ว่าการประกาศซีแอลเป็นไปด้วยความถูกต้อง
“ก่อนหน้านี้ รมว.ต่างประเทศ ได้รับปากว่าจะให้การสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าถึงยา แต่เราต้องการฟังจากปากของคุณนพดลโดยตรงว่า จะสนับสนุนกระบวนการเข้าถึงยาของผู้ป่วย ทั้งนี้ ทราบมาว่าแม้แต่ทูตการค้าของสหรัฐฯ ก็ไม่ได้มีประสงค์ที่จะฟ้องร้องไทยในการทำซีแอล ขณะที่สภายุโรป(อียู) ก็มีมติเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมาให้สนับสนุนทุกประเทศที่ใช้มาตรการยืนหยุ่นขององค์การการค้าโลกซึ่งรวมทั้งซีแอลในการเข้าถึงยา”นายนิมิตร์กล่าว
"ไชยา"บ่นไม่เคยบอกจะเลิกซีแอล
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ไม่มีคำไหนที่พูดออกไปว่าจะยกเลิกซีแอลทั้งสิ้น มีแต่สั่งให้ทบทวนซีแอลยารักษาโรคมะเร็งเพื่อให้เกิดความรอบคอบ โดยไม่เคยไปแตะต้องการทำซีแอลยาต้านไวรัสเอดส์ทั้ง 2 รายการ และยาสลายลิ่มเลือดหัวใจอุดตันแต่อย่างใด แต่เหตุผลที่หลายฝ่ายพยายามดึงมาเกี่ยวข้องนั้นไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ตนบอกเสมอว่า อะไรที่ได้เคยทำไว้แล้วก็ให้ทำต่อไป แต่ข่าวที่ออกมาก็ยังทำให้ถูกตำหนิ แต่ตนก็รับได้ไม่เป็นไร
“อภ. ไม่เคยมาบอกผมเลยว่าจะมีการชะลอการส่งมอบยาโคลพิโดเกล และผมก็คงจะไม่ทำหนังสือไปยังบริษัท คาดิลาฯ เพื่อกำชับให้ส่งมอบยาตามที่สัญญากำหนดเพราะถือว่าไม่ใช่หน้าที่ของผม ขณะนี้มีนักกฎหมายต่างประเทศได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีสนับสนุนการทำซีแอลของไทย ผมก็ดีใจที่ให้ความสำคัญกับประเทศของเรา เพราะทุกวันนี้ผู้ป่วยน่าสงสาร ความแข็งแรงไม่มี หวั่นวิตกไปต่างๆ นานา แต่บางอย่างมันก็ต้องเวลา อยากให้ใจเย็นๆ หากทำแล้วไม่มีผลกระทบ ได้ยาราคาถูก มีคุณภาพ ก็ต้องทำ ขอให้สบายใจได้ว่าผมไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย”นายไชยา กล่าว
พูดหน้าตาเฉยไม่เคยตำหนิ"หมอมงคล"
นายไชยา กล่าวต่อว่า ส่วนการหารือระหว่างปลัดกระทรวง 3 กระทรวง คือ สธ. พาณิชย์ และต่างประเทศ แต่ละกระทรวงก็จะต้องถือธงไว้ โดยปลัดสธ. มีธงคือ จะต้องได้ยาที่มีคุณภาพและผู้ป่วยทุกคนต้องเข้าถึงยา ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของสธ. ส่วนอะไรที่นอกเหนือจากนี้ให้เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ
“ที่ผ่านมาผมไม่ได้ตำหนิหมอมงคล (นพ.มงคล ณ สงขลา ) แต่ติดที่เรื่องเงื่อนไขเวลาที่เซ็นลงนามประกาศซีแอลยารักษาโรคมะเร็งเท่านั้น ผมไม่อยากให้มีความขัดแย้งกันในการการทำงานระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และสธ. เหมือนรัฐบาลก่อนหน้านี้ ที่รมว.พาณิชย์ ส่งหนังสือคัดค้านการทำซีแอล ผมอยากให้ทิศทางการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน” นายไชยากล่าว
เผยไทยจ่ายค่ารอยัลตี้ 4% สูงสุด
วันเดียวกัน ที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อาคารพญาไท พลาซ่า ได้มีการจัดเสวนาวิชาการ “ซีแอล: กฎหมาย การค้า และสุขภาพ” โดยเชิญนักวิชาการด้านสิทธิบัตร นักเศรษฐศาสตร์ นักกฎหมายสิทธิบัตร ผู้แทนภาคธุรกิจ และตัวแทนจากองค์การเอกชน เครือข่ายผู้ป่วย เข้าร่วมเสนา
นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าไทย กล่าวว่า การทำซีแอลตามนโยบายรัฐบาลชุดที่แล้วได้มีการตกลงจ่ายค่ารอยัลตี้ โดยไทยจะขอจ่ายสูงถึงร้อยละ 4 ซึ่งเป็นค่ารอยัลตี้ที่แพงที่สุดในประเทศที่ทำซีแอล ซึ่งคิดว่าเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว
“ก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมว่าด้วยปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของไทย ที่หอการค้า เจ้าหน้าที่จากสหรัฐฯได้ยืนยันหนักแน่นว่า ถ้าจะมีการเลื่อนสถานประเทศไทยก็มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาไทยละเมิดลิขสิทธิ์เทปผีซีดีเถื่อนและซอฟแวร์เป็นจำนวนมาก มิใช่ปัญหาซีแอลแต่อย่างใด”นายบัณฑูร กล่าวย้ำ
เตือนสติอย่าให้ดับจากรัฐบาล ปชต.
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการจาก ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ไม่ช้าก็เร็วไทยต้องถูกตัดจีเอสพีแน่นอน เพราะไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และมีการพัฒนาประเทศมากขึ้นและเร็วขึ้น ดังนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งสหรัฐฯก็ต้องระงับจีเอสพี
อย่างไรก็ตาม หากจะถูกตัดจีเอสพีจากสหรัฐ ด้วยสาเหตุของการทำซีแอลจริง สหรัฐฯไม่น่าจะล้มกระดานโดยการตัดจีเอสพีถึง 100% เลวร้ายที่สุดน่าจะครึ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าคุ้มค่า หากรัฐบาลจะเสียเงินส่วนนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชน
“ผมคิดว่าถ้าให้ผมช่างน้ำหนักระหว่างมือซ้ายและมือขวา ระหว่างชีวิตกับเศรษฐกิจการเงินของประเทศ ผมขอยืนอยู่ข้างชีวิตผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยชาวไทยที่กำลังประสบปัญหาการเข้าถึงยาอยู่ในขณะนี้ ผมคิดว่ารัฐบาลที่มาจากประชาชน หากยอมเสียจีเอสพี 50% เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เลือกท่านมาเป็นรัฐบาล ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ซีแอลเกิดจากรัฐบาลรัฐประหาร ก็ไม่ต้องการให้เสียไปในรัฐบาลมาจากประชาชน”ดร.อัทธ์กล่าว
คกก.สิทธิยันไทยยังทำน้อยไปด้วยซ้ำ
ส่วนนายวีรวิทย์ วีรวรวิทย์ รองเลขาธิการสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวอย่างหนักแน่นว่า ตั้งแต่สมัย พ.ศ. 4624 กฎหมายลิขสิทธิ์ในอังกฤษระบุว่า สิทธิบัตรไม่เคยมีสิทธิขาดแก่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรทั้งหมด เพราะการให้สิทธิบัตรเป็นการให้เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ไม่ใช่เพื่อความร่ำรวย และไม่มีกฎหมายสิทธิบัตรฉบับใดในโลกที่แจ้งว่า การให้สิทธิบัตรให้เพื่อความร่ำรวย
ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือไม่หมด เพราะมักจะอ่านเฉพาะมาตราที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเอง ในกฎหมายสิทธิบัตรนั้นมีการรวมเอาสัญญาอนุสัญญากรุงปารีส โดยเฉพาะข้อ 5 A (2) และ 5A z4x ในอนุสัญญาฯ ระบุว่าประเทศสมาชิก สามารถใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรได้ ในกรณีที่สิทธิบัตรถูกใช้ไปในทางมิชอบ เช่น การตั้งราคายาสูงเกินไป หรือการจดสิทธิบัตรซ้ำซ้อน ซึ่งตนเองมองว่า ไทยยังใช้สิทธิซีแอลน้อยไปด้วยซ้ำ