จับตาศุกร์สยองของผู้ประกอบการอุปโภคบริโภค หลัง “มิ่งขวัญ” เรียกประชุมบีบ 250 ราย ปรับลดราคาสินค้า อ้างศึกษาต้นทุนมาแล้ว ผู้ผลิตสินค้ายันต้นทุนเพิ่มแบกภาระไม่ไหว ยันต้องปรับราคาแน่ ด้านผู้บริโภคโทรแจ้งสายด่วนแม่บ้าน 2 เดือนสายแทบไหม้กว่า 700 ราย ร้องเรียนอาหารแพง ด้านกระทรวงพลังงานนัดถกปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มวันนี้ ชะลอแผนลอยตัวสกัดการขึ้นราคาภาคครัวเรือน 80 สตางค์ต่อ กก. ในเดือน เม.ย.นี้ตามสูตรเดิม
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า วันนี้ (22 ก.พ.) เวลา 13.00 น. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ จะเชิญผู้ประกอบการ 250 ราย ทั้งกลุ่มอุปโภคและบริโภคมาหารือถึงแนวทางการในการปรับลดราคาสินค้า เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยจะเน้นไปยังกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ซึ่งผู้ประกอบการได้ตอบรับที่จะเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ครบทุกราย
สินค้าที่อยู่ในเป้าหมายที่จะขอให้มีการปรับลดราคาลงมามี 33 รายการ ได้แก่ ข้าวสารบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งสาลี อาหารปรุงสำเร็จ เนื้อสุกร ผงซักฟอก แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ถ่านไฟฉาย เยื่อกระดาษ กระดาษเหนียว กระดาษทำลูกฟูก แบตเตอรี่ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็ก รถจักรยานยนต์ ก๊าซหุงต้ม ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแท่ง ปุ๋ย ยาป้องกันและปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์ ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ค่าเช่าบ้าน และค่าโทรศัพท์มือถือ
ในการประชุมวันนี้ จะมีการหยิบยกสินค้าที่สามารถปรับลดราคาลงได้ทันทีมาชี้แจงกับผู้ประกอบการ หลังจากที่กรมการค้าภายในได้มีการวิเคราะห์ต้นทุนแต่ละรายการเสร็จแล้ว และจะหารือกับผู้ประกอบการว่าจะปรับลดราคาลงได้หรือไม่ หรือจะมีเหตุผลโต้แย้งอะไร ซึ่งหากไม่มีเหตุผลโต้แย้ง ก็จะขอให้มีการปรับลดราคาลงมา
**ผู้ผลิตเมินพาณิชย์ยันต้องปรับราคา
นายพิพัฒน พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปมาม่า กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น หากต้องการให้ผู้ประกอบการลดราคาสินค้าลงต้องไปทำให้ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นลดลงให้ได้ก่อน ถ้าทำได้แล้วค่อยมาว่ากัน ดังนั้นฟังธงเลยว่าผู้ประกอบการไม่สามารถปฏิบัติได้ โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบัน
“หากผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในแนวทางดังกล่าว มีอยู่วิธีเดียวคือ ลดคุณภาพของสินค้าลง หรือทำสินค้าไฟติ้งแบรนด์ แต่ความจริงไม่มีผู้ประกอบการรายใดอยากจะลดคุณภาพสินค้าลง เพราะมีโอกาสที่แบรนด์จะเสีย”
นายเจอโรม ชาราโรน รองประธานกรรมการบริหาร – กลุ่มธุรกิจอาหารและไอศกรีม บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ กล่าวถึงแนวทางที่กระทรวงพาณิชย์ของความร่วมมือกับผู้ประกอบการลดราคาสินค้าลงในสภาพที่ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ว่าเรื่องดังกล่าวในแง่ปฏิบัติคงทำได้ยาก
**ร้านอาหารทั่วไปพาณิชย์คุมราคาไม่ได้
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการร้านอาหาร กล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบในการประกอบอาหารเช่น น้ำมัน หมู แป้ง ผัก และเนื้อสัตว์อื่น ๆ แก๊สหุงต้ม นั้นเพิ่มขึ้น 20-25% จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ให้ผู้ค้าปรับราคาอาหาร ส่วนใหญ่จะปรับราคาขึ้นอีกจานละ 5 บาท ซึ่งต้องผลักภาระดังกล่าวไปให้ผู้บริโภค ซึ่งกรมการค้าภายในไม่สามารถควบคุมผู้ค้าอาหารทั่วไปได้ จะทำได้เฉพาะการแจ้งให้ติดราคาสินค้า หรือขอความร่วมมือไม่ให้ปรับราคาเท่านั้น
“กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ปล่อยให้ผู้ผลิตปรับราคาสินค้าขึ้นมา แล้วจะมาบังคับไม่ให้ขึ้นราคานั้นไม่ถูกต้อง พอมีรัฐมนตรีใหม่เข้ามาบริหารงานก็เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเพื่อโชว์ผลงานสินค้าแพง นั่นหมายความว่าที่ผ่านมาปล่อยให้สินค้าขึ้นราคาอย่างเดียว โดยไม่มีการแก้ไขอะไรเลย มีแต่ใช้มาตรการออกตรวจและขู่ลงโทษเท่านั้น แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ” แหล่งข่าวคนเดียวกัน กล่าว
**ร้องสินค้าแพงสายแทบไหม้
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2551 ที่ผ่านมา มียอดผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับราคาสินค้าผ่านสายด่วน 1569 ของกรมการค้าภายในรวม 788 ราย แบ่งเป็นเดือนม.ค. มียอดร้องเรียนรวม 475 ราย โดยมีการรับเรื่องไว้ดำเนินการตรวจสอบ 112 ราย และสามารถไกล่เกลี่ยปรับความเข้าใจถึงเหตุผลในการขึ้นราคาสินค้า 366 ราย เดือนก.พ. ยอดร้องเรียนจนถึงวันที่ 20 รวม 293 ราย มีการรับเรื่องไว้ดำเนินการตรวจสอบ 93 รายและสามารถไกล่เกลี่ยปรับความเข้าใจได้ 200 ราย ซึ่งการร้องเรียนส่วนใหญ่ของผู้บริโภคเป็นเรื่องของการปรับราคาสินค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยราคาสินค้าที่ได้รับการร่องเรียนมากที่สุด ได้แก่ เนื้อสุกรชำแหละ รองลงมาเป็นราคาน้ำมันพืช และ ราคาเหล็กเส้น ตามลำดับ
ส่วนบริเวณที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด ได้แก่ เขตในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะตลาดเขตบางกะปิ และมีนบุรี ที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากในเรื่องของการจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรมและเอาเปรียบในเรื่องของปริมาณ น้ำหนักสินค้า
“มีการรับเรื่องร้องเรียนมาตรวจสอบเป็นรายวัน ซึ่งจะมีการสอบถามกับผู้ร้องเรียนทุกรายพร้อมให้ข้อมูลสร้างความเข้าใจว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ หากไม่ผิดก็ไกล่เกลี่ยเคลียร์กันไป แต่หากผิดตามกฎหมายก็จะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ออกทำการตรวจสอบจับกุมทันที อย่างไรก็ตาม ให้ผู้แจ้งรับทราบว่า 1569 รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเอาเปรียบด้านราคาสินค้า และปริมาณที่ขาดแคลน ส่วนเรื่องคุณภาพสินค้าและการหลอกลวงด้านขายตรงเป็นหน้าที่ของ มอก.และสคบ.ซึ่งมีผู้ร้องเรียนแจ้งเข้ามาผิดอยู่บ่อยครั้ง”รายงานข่าวระบุ
**พลังงานชะลอขึ้นค่าก๊าซหุงต้ม
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (22 ก.พ.) พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และ บมจ.ปตท. เพื่อหารือถึงโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ตามแผนการปล่อยทยอยอิงราคาตลาดโลก 40% ภายในปี 2552 ซึ่งตามแผนดังกล่าวในไตรมาส 2 ปีนี้จะต้องใช้สูตรอิงราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศ 90% และอิงราคาตลาดโลก 10% ซึ่งจะมีผลให้ราคาก๊าซหุงต้มต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก 80 สต./กิโลกรัม (กก.) ในเดือนเม.ย. 2551 นี้
อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันมุ่งที่จะลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชนจึงมีแนวโน้มว่าการหารือดังกล่าวจะมีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มใหม่ให้สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจและการใช้งานให้ถูกประเภทดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่กระทรวงพลังงานจะมีนโยบายชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนออกไปก่อน แต่จะใช้วิธีการปรับราคาในภาคขนส่งเพิ่มขึ้นทันทีแทน 2 บาทต่อ กก.
“ปัญหาของรัฐบาลที่แล้วที่ต้องปรับก๊าซหุงต้มนั้นเนื่องจากต้องการลดภาระการอุดหนุนของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลง ขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่สูงทำให้รถยนต์นำไปใช้เพิ่มขึ้นมากซึ่งถือว่าผิดประเภทและก๊าซหุงต้มควรจะเพิ่มมูลค่าได้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งหากปล่อยให้รถยนต์ใช้มากแทนครัวเรือนจึงไม่ได้เกิดประโยชน์และจะมีผลให้ก๊าซหุงต้มขาดแคลนได้เพราะการผลิตเริ่มจำกัดลง การขึ้นราคาเฉพาะภาคขนส่งจึงจะไม่กระทบโครงสร้างภาพรวม โดยโครงสร้างการลอยตัวนั้นยังอยู่แต่ชะลอใช้ออกไป” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ การปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคขนส่ง จะใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกเก็บจากหน้าโรงแยกก๊าซที่หัวจ่ายในอัตรา 2 บาท/ก.ก. ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะนำมาชดเชยราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชน โดยดำเนินการเก็บในอัตรา 2 บาท/ก.ก.จำนวน 3 ครั้งเป็นรายไตรมาส ขณะเดียวกันหากการเก็บเงินจากราคาก๊าซหุงต้มยังมีเหลือ ก็มีแนวคิดที่จะนำไปเพิ่มส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์ อี 20 และ ไบโอดีเซล บี 5
สำหรับราคาก๊าซหุงต้มภาคขนส่งที่ปรับขึ้นดังกล่าวยังช่วยลดช่องว่างของราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ที่จะต่างกันมากขึ้นเพียงพอที่จะจูงใจให้คนหันไปใช้ NGV แทน อย่างไรก็ตามการหารือยังจะต้องติดตามให้บริษัทปตท.ยืนยันถึงแผนการเปิดปั๊ม NGV ให้กับกลุ่มรถยนต์โดยเฉพาะผู้ประกอบการแท็กซี่ด้วยว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใดรองรับกับความต้องการหรือไม่ เพราะไม่ต้องการให้กลุ่มแท็กซี่ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน
“ขณะนี้กำลังพิจารณาว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอให้กรมสรรพสามิตเก็บภาษีก๊าซหุงต้มภาคขนส่งที่หัวจ่ายมิเตอร์เพิ่มขึ้นอีก เพื่อชะลออัตราการเติบโตการใช้ในภาคขนส่ง แต่ถ้ากระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย ก็อาจให้กรมธุรกิจพลังงานไปเจรจากับกลุ่มแท็กซี่ให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นราคาในภาคขนส่งด้วยการให้ไปใช้ NGV แทน” แหล่งข่าวกล่าว
แม้จะมีการปรับวิธีบริหารโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มครั้งนี้แล้ว แต่กระทรวงพลังงานยังมีความเป็นห่วงปริมาณการใช้ในประเทศเช่นกันว่าอาจจะยังคงมากขึ้นจนกระทบให้เกิดการขาดแคลนได้ในอนาคต จึงได้ขอให้กรมธุรกิจพลังงานออกหนังสือเวียนไปยังผู้ค้าห้ามไม่ให้มีการส่งออกก๊าซหุงต้มในช่วงนี้ เพราะมีการคาดการณ์ว่าก๊าซหุงต้มจะเริ่มขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากต่างประเทศในช่วงไตรมาสสองปีนี้
ปัจจุบันไทยมีการใช้ก๊าซหุงต้มเฉลี่ยเดือนละ 3 แสนก.ก. แยกเป็นภาคครัวเรือน 75% และอีก 25% เป็นของภาคขนส่ง ซึ่งการจัดทำผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม ซึ่งจัดทำโดยสนพ.นั้น ระบุไว้ว่า การปรับราคาแอลพีจีเพิ่มขึ้น 1.40 บาท/ก.. หรือ 21 บาท/ถังก๊าซขนาดครัวเรือน 15 ก.ก. ส่งผลให้เกิดผลกระทบดังนี้ 1.ค่าใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 62 ล้านบาท/เดือน 2. ค่าใช้จ่ายของรถแท็กซี่ (600กม./25.92 ลิตร/วัน) อยุ่ที่ 56 บาท/วัน 3. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน(1เดือน/ถัง15ก.ก.) อยู่ที่ 21 บาท/เดือน 4. อาหารสำเร็จรูป (1,440 จาน/ถัง 48 ก.ก.) อยู่ที่ 0.05 บาท/จาน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า วันนี้ (22 ก.พ.) เวลา 13.00 น. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ จะเชิญผู้ประกอบการ 250 ราย ทั้งกลุ่มอุปโภคและบริโภคมาหารือถึงแนวทางการในการปรับลดราคาสินค้า เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยจะเน้นไปยังกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ซึ่งผู้ประกอบการได้ตอบรับที่จะเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ครบทุกราย
สินค้าที่อยู่ในเป้าหมายที่จะขอให้มีการปรับลดราคาลงมามี 33 รายการ ได้แก่ ข้าวสารบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งสาลี อาหารปรุงสำเร็จ เนื้อสุกร ผงซักฟอก แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ถ่านไฟฉาย เยื่อกระดาษ กระดาษเหนียว กระดาษทำลูกฟูก แบตเตอรี่ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็ก รถจักรยานยนต์ ก๊าซหุงต้ม ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแท่ง ปุ๋ย ยาป้องกันและปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์ ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ค่าเช่าบ้าน และค่าโทรศัพท์มือถือ
ในการประชุมวันนี้ จะมีการหยิบยกสินค้าที่สามารถปรับลดราคาลงได้ทันทีมาชี้แจงกับผู้ประกอบการ หลังจากที่กรมการค้าภายในได้มีการวิเคราะห์ต้นทุนแต่ละรายการเสร็จแล้ว และจะหารือกับผู้ประกอบการว่าจะปรับลดราคาลงได้หรือไม่ หรือจะมีเหตุผลโต้แย้งอะไร ซึ่งหากไม่มีเหตุผลโต้แย้ง ก็จะขอให้มีการปรับลดราคาลงมา
**ผู้ผลิตเมินพาณิชย์ยันต้องปรับราคา
นายพิพัฒน พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปมาม่า กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น หากต้องการให้ผู้ประกอบการลดราคาสินค้าลงต้องไปทำให้ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นลดลงให้ได้ก่อน ถ้าทำได้แล้วค่อยมาว่ากัน ดังนั้นฟังธงเลยว่าผู้ประกอบการไม่สามารถปฏิบัติได้ โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบัน
“หากผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในแนวทางดังกล่าว มีอยู่วิธีเดียวคือ ลดคุณภาพของสินค้าลง หรือทำสินค้าไฟติ้งแบรนด์ แต่ความจริงไม่มีผู้ประกอบการรายใดอยากจะลดคุณภาพสินค้าลง เพราะมีโอกาสที่แบรนด์จะเสีย”
นายเจอโรม ชาราโรน รองประธานกรรมการบริหาร – กลุ่มธุรกิจอาหารและไอศกรีม บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ กล่าวถึงแนวทางที่กระทรวงพาณิชย์ของความร่วมมือกับผู้ประกอบการลดราคาสินค้าลงในสภาพที่ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ว่าเรื่องดังกล่าวในแง่ปฏิบัติคงทำได้ยาก
**ร้านอาหารทั่วไปพาณิชย์คุมราคาไม่ได้
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการร้านอาหาร กล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบในการประกอบอาหารเช่น น้ำมัน หมู แป้ง ผัก และเนื้อสัตว์อื่น ๆ แก๊สหุงต้ม นั้นเพิ่มขึ้น 20-25% จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ให้ผู้ค้าปรับราคาอาหาร ส่วนใหญ่จะปรับราคาขึ้นอีกจานละ 5 บาท ซึ่งต้องผลักภาระดังกล่าวไปให้ผู้บริโภค ซึ่งกรมการค้าภายในไม่สามารถควบคุมผู้ค้าอาหารทั่วไปได้ จะทำได้เฉพาะการแจ้งให้ติดราคาสินค้า หรือขอความร่วมมือไม่ให้ปรับราคาเท่านั้น
“กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ปล่อยให้ผู้ผลิตปรับราคาสินค้าขึ้นมา แล้วจะมาบังคับไม่ให้ขึ้นราคานั้นไม่ถูกต้อง พอมีรัฐมนตรีใหม่เข้ามาบริหารงานก็เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเพื่อโชว์ผลงานสินค้าแพง นั่นหมายความว่าที่ผ่านมาปล่อยให้สินค้าขึ้นราคาอย่างเดียว โดยไม่มีการแก้ไขอะไรเลย มีแต่ใช้มาตรการออกตรวจและขู่ลงโทษเท่านั้น แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ” แหล่งข่าวคนเดียวกัน กล่าว
**ร้องสินค้าแพงสายแทบไหม้
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2551 ที่ผ่านมา มียอดผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับราคาสินค้าผ่านสายด่วน 1569 ของกรมการค้าภายในรวม 788 ราย แบ่งเป็นเดือนม.ค. มียอดร้องเรียนรวม 475 ราย โดยมีการรับเรื่องไว้ดำเนินการตรวจสอบ 112 ราย และสามารถไกล่เกลี่ยปรับความเข้าใจถึงเหตุผลในการขึ้นราคาสินค้า 366 ราย เดือนก.พ. ยอดร้องเรียนจนถึงวันที่ 20 รวม 293 ราย มีการรับเรื่องไว้ดำเนินการตรวจสอบ 93 รายและสามารถไกล่เกลี่ยปรับความเข้าใจได้ 200 ราย ซึ่งการร้องเรียนส่วนใหญ่ของผู้บริโภคเป็นเรื่องของการปรับราคาสินค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยราคาสินค้าที่ได้รับการร่องเรียนมากที่สุด ได้แก่ เนื้อสุกรชำแหละ รองลงมาเป็นราคาน้ำมันพืช และ ราคาเหล็กเส้น ตามลำดับ
ส่วนบริเวณที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด ได้แก่ เขตในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะตลาดเขตบางกะปิ และมีนบุรี ที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากในเรื่องของการจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรมและเอาเปรียบในเรื่องของปริมาณ น้ำหนักสินค้า
“มีการรับเรื่องร้องเรียนมาตรวจสอบเป็นรายวัน ซึ่งจะมีการสอบถามกับผู้ร้องเรียนทุกรายพร้อมให้ข้อมูลสร้างความเข้าใจว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ หากไม่ผิดก็ไกล่เกลี่ยเคลียร์กันไป แต่หากผิดตามกฎหมายก็จะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ออกทำการตรวจสอบจับกุมทันที อย่างไรก็ตาม ให้ผู้แจ้งรับทราบว่า 1569 รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเอาเปรียบด้านราคาสินค้า และปริมาณที่ขาดแคลน ส่วนเรื่องคุณภาพสินค้าและการหลอกลวงด้านขายตรงเป็นหน้าที่ของ มอก.และสคบ.ซึ่งมีผู้ร้องเรียนแจ้งเข้ามาผิดอยู่บ่อยครั้ง”รายงานข่าวระบุ
**พลังงานชะลอขึ้นค่าก๊าซหุงต้ม
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (22 ก.พ.) พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และ บมจ.ปตท. เพื่อหารือถึงโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ตามแผนการปล่อยทยอยอิงราคาตลาดโลก 40% ภายในปี 2552 ซึ่งตามแผนดังกล่าวในไตรมาส 2 ปีนี้จะต้องใช้สูตรอิงราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศ 90% และอิงราคาตลาดโลก 10% ซึ่งจะมีผลให้ราคาก๊าซหุงต้มต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก 80 สต./กิโลกรัม (กก.) ในเดือนเม.ย. 2551 นี้
อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันมุ่งที่จะลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชนจึงมีแนวโน้มว่าการหารือดังกล่าวจะมีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มใหม่ให้สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจและการใช้งานให้ถูกประเภทดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่กระทรวงพลังงานจะมีนโยบายชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนออกไปก่อน แต่จะใช้วิธีการปรับราคาในภาคขนส่งเพิ่มขึ้นทันทีแทน 2 บาทต่อ กก.
“ปัญหาของรัฐบาลที่แล้วที่ต้องปรับก๊าซหุงต้มนั้นเนื่องจากต้องการลดภาระการอุดหนุนของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลง ขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่สูงทำให้รถยนต์นำไปใช้เพิ่มขึ้นมากซึ่งถือว่าผิดประเภทและก๊าซหุงต้มควรจะเพิ่มมูลค่าได้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งหากปล่อยให้รถยนต์ใช้มากแทนครัวเรือนจึงไม่ได้เกิดประโยชน์และจะมีผลให้ก๊าซหุงต้มขาดแคลนได้เพราะการผลิตเริ่มจำกัดลง การขึ้นราคาเฉพาะภาคขนส่งจึงจะไม่กระทบโครงสร้างภาพรวม โดยโครงสร้างการลอยตัวนั้นยังอยู่แต่ชะลอใช้ออกไป” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ การปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคขนส่ง จะใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกเก็บจากหน้าโรงแยกก๊าซที่หัวจ่ายในอัตรา 2 บาท/ก.ก. ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะนำมาชดเชยราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชน โดยดำเนินการเก็บในอัตรา 2 บาท/ก.ก.จำนวน 3 ครั้งเป็นรายไตรมาส ขณะเดียวกันหากการเก็บเงินจากราคาก๊าซหุงต้มยังมีเหลือ ก็มีแนวคิดที่จะนำไปเพิ่มส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์ อี 20 และ ไบโอดีเซล บี 5
สำหรับราคาก๊าซหุงต้มภาคขนส่งที่ปรับขึ้นดังกล่าวยังช่วยลดช่องว่างของราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV ที่จะต่างกันมากขึ้นเพียงพอที่จะจูงใจให้คนหันไปใช้ NGV แทน อย่างไรก็ตามการหารือยังจะต้องติดตามให้บริษัทปตท.ยืนยันถึงแผนการเปิดปั๊ม NGV ให้กับกลุ่มรถยนต์โดยเฉพาะผู้ประกอบการแท็กซี่ด้วยว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใดรองรับกับความต้องการหรือไม่ เพราะไม่ต้องการให้กลุ่มแท็กซี่ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน
“ขณะนี้กำลังพิจารณาว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอให้กรมสรรพสามิตเก็บภาษีก๊าซหุงต้มภาคขนส่งที่หัวจ่ายมิเตอร์เพิ่มขึ้นอีก เพื่อชะลออัตราการเติบโตการใช้ในภาคขนส่ง แต่ถ้ากระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย ก็อาจให้กรมธุรกิจพลังงานไปเจรจากับกลุ่มแท็กซี่ให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นราคาในภาคขนส่งด้วยการให้ไปใช้ NGV แทน” แหล่งข่าวกล่าว
แม้จะมีการปรับวิธีบริหารโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มครั้งนี้แล้ว แต่กระทรวงพลังงานยังมีความเป็นห่วงปริมาณการใช้ในประเทศเช่นกันว่าอาจจะยังคงมากขึ้นจนกระทบให้เกิดการขาดแคลนได้ในอนาคต จึงได้ขอให้กรมธุรกิจพลังงานออกหนังสือเวียนไปยังผู้ค้าห้ามไม่ให้มีการส่งออกก๊าซหุงต้มในช่วงนี้ เพราะมีการคาดการณ์ว่าก๊าซหุงต้มจะเริ่มขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากต่างประเทศในช่วงไตรมาสสองปีนี้
ปัจจุบันไทยมีการใช้ก๊าซหุงต้มเฉลี่ยเดือนละ 3 แสนก.ก. แยกเป็นภาคครัวเรือน 75% และอีก 25% เป็นของภาคขนส่ง ซึ่งการจัดทำผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม ซึ่งจัดทำโดยสนพ.นั้น ระบุไว้ว่า การปรับราคาแอลพีจีเพิ่มขึ้น 1.40 บาท/ก.. หรือ 21 บาท/ถังก๊าซขนาดครัวเรือน 15 ก.ก. ส่งผลให้เกิดผลกระทบดังนี้ 1.ค่าใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 62 ล้านบาท/เดือน 2. ค่าใช้จ่ายของรถแท็กซี่ (600กม./25.92 ลิตร/วัน) อยุ่ที่ 56 บาท/วัน 3. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน(1เดือน/ถัง15ก.ก.) อยู่ที่ 21 บาท/เดือน 4. อาหารสำเร็จรูป (1,440 จาน/ถัง 48 ก.ก.) อยู่ที่ 0.05 บาท/จาน