ผู้จัดการรายวัน - “มิ่งขวัญ” คุยมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากเศษสตางค์เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้า ด้าน "อภิสิทธิ์" จวกเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ประเด็นอยู่ที่ความสามารถของรัฐบาลว่ามีน้ำยาหรือไม่ กรมธนารักษ์แบข้อมูลเหรียญกษาปณ์ผลิตออกมาเพียงพอยู่แล้ว
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า นโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากเศษสตางค์นั้น เป็นนโยบายหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งจะต้องศึกษาต้นทุนของสินค้าว่าแต่ละรายเป็นอย่างไร จากนั้นจะต้องดูเรื่องของต้นทุนและกำไรว่ามีส่วนต่างอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะกำหนดมาตรการต่างๆ อีกครั้งว่าจะทำอย่างไรต่อไป จะให้ราคาคงที่หรือลดราคาสินค้าลง
นายมิ่งขวัญกล่าวด้วยว่า ในวันที่ 22 ก.พ.จะมีการนัดผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคประมาณ 250 คนมาพูดคุยกัน โดยมีกรมการค้าภายในของกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้นัดหมาย จากนั้นกระทรวงพาณิชย์ก็จะศึกษาต้นทุนราคาสินค้าก่อน ส่วนจะมีมาตรกาออกมาอย่างไรต่อไปนั้นคงจะมีการประกาศให้ทราบในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม การดูแลราคาสินค้านั้นคงจะต้องดูทุกตัวที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น เพื่อไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพงเกินไป ทั้งนี้ยอมรับว่า มีสินค้าบางตัวที่ขึ้นราคาเกินที่จะยอมรับได้
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบเศษสตางค์ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า จริงๆแล้วเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องทำหลายอย่างพร้อมๆกัน เรื่องของเศษสตางค์เป็นเรื่องของปลายเหตุ เพราะสิ่งสำคัญคือว่าทำอย่างไรเราสามารถที่จะตรวจสอบต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆได้ และให้การขึ้นราคาสินค้าที่จำเป็น เป็นไปตามต้นทุนไม่ฉวยโอกาสขึ้นไปมากกว่า นี่คือสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดูแล
นายกรณ์ จาติกวณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทฤษฎีแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากเศษสตางค์ของนายสมัครสุนทรเวช นายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ใช่แค่เพียงทฤษฎี ต้องนำไปปฏิบัติด้วย และเราก็ไม่ขัดข้องหากนำมาใช้แล้วทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ แต่ก็มีผลเพียงแค่ในทางจิตวิทยาเท่านั้น ก็ต้องถามรัฐบาลว่า การนำมาใช้นั้นจะทำให้ราคาสินค้าลดลงได้จริงหรือไม่ ส่วนนโยบายด้ายการเงินการคลังนั้น คงต้องดูแหล่งที่มาของรายได้ด้วยว่า มีมูลค่าสูงกว่ารายรับหรือไม่
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในการอภิปรายงบประมาณวานนี้ว่า คงเน้นในเรื่องของราคาสินค้าราคาแพงซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมาก และรัฐบาลก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างไร คงไม่ใช้แค่แก้ด้วยเศรษฐกิจหรือเศษสตางค์เท่านั้น เพราะความจริงปัญหาไม่ได้อยู่ที่เศษสตางค์ ความจริงสตางค์นั้นมีพอ แต่ประเด็นคือความสามารถที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ของรัฐบาลมากกว่าว่า มีความสามารถที่จะแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงปัญหาการทุจริตด้วยรัฐบาลต ้องตอบให้ได้ว่าจะแก้ปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่านโยบายของรัฐบาล พยายามที่จะต่อยอดนโยบายประชานิยมของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ความจริงรัฐบาลนี้ก็ประกาศมาตลอดว่าจะนำมาใช้ แต่ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมานั้นนโยบายประชานิยมได้สร้างปัญหาและเป็นภาระมาจนถึงปัจจบัน ดังนั้นถ้ารัฐบาลจะนำมาใช้อีกก็จะต้องตอบให้ชัดเจนว่าจะนำแนวคิดเดิมมาทั้งดุ้นหรือจะต้องมีการปรัปปรุงแก้ไขอย่างไร
ธนารักษ์ลั่นเหรียญเพียงพอ
น.ส.จารุวรรณ จันทิมาพงษ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ด้านเหรียญกษาปณ์ เปิดเผยว่า แนวคิดการใช้เหรียญสตางค์ในการปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงและเงินเฟ้อในส่วนของกรมธนารักษ์นั้นได้ผลิตเหรียญกษาปณ์ออกไปใช้หมุนเวียนในระบบเพียงพอกับความต้องการอยู่แล้ว แต่การปรับขึ้นราคาสินค้าน่าจะอยู่ที่ผู้ประกอบการมากกว่า รวมไปถึงพฤติกรรมและค่านิยมการใช้เหรียญของคนไทยด้วยที่ทำให้เหรียญ 25 สตางค์และ 50 สตางค์ไม่เป็นที่นิยม
น.ส.สาวจารุวรรณกล่าวว่า หากพ่อค้าแม่ค้าอ้างกลัวว่าจะไม่มีเหรียญทอนสามารถมาแลกที่กรมฯได้ทุกวันทำการอยู่แล้ว ยืนยันว่าปริมาณเหรียญทุกประเภทที่ผลิตออกมาแต่ละเดือนนั้นมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการใช้ แต่จากการสำรวจพฤติกรรมประชาชนพบว่า มีเพศหญิง 7.7% ไม่คิดเอาเหรียญออกมาใช้ โดยจะเก็บไว้มากๆแล้วค่อยนำมาใช้ถึง 45% ส่วนเพศชายมีจำนวน 12.4% ที่ไม่คิดเอาเหรียญออกมาใช้ ให้มีเหรียญส่วนหนึ่งถูกเก็บหรือวางทิ้งไว้ไมได้เอาออกมาหมุนเวียน ส่วนการสำรวจจากเด็ก 6-13 ปี พบว่าครึ่งหนึ่งไม่เคยใช้เหรียญสตางค์มาก่อนเลย จึงสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยจำนวนมากไม่นิยมพกเหรียญสตางค์
ก่อนหน้านี้กรมธนารักษ์ลงนามในเอ็มโอยูกับกระทรวงพาณิชย์ไปแล้วในการสนับสนุนให้ใช้เหรียญสตางค์ แต่ก็ไม่ได้มีผลให้ความต้องการจ่ายแลกเหรียญมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากนัก โดยยังอยู่ในปริมาณที่ผลิตออกมาแต่ละเดือน แต่ในอนาคตหากมีการรณรงค์ใช้อย่างจริงจังและมีความต้องการจ่ายแลกมากขึ้นกรมก็พร้อมจะผลิตให้เพียงพอความต้องการเพราะมีวัตถุดิบและงบประมาณรองรับไว้แล้ว
ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีการผลิตเหรียญ 25 สตางค์และ 50 สตางค์เดือนละประมาณ 14-15 ล้านเหรียญ และมีการจ่ายแลกออกไปเดือนละ 10-12 ล้านเหรียญ โดยปัจจุบันมีเหรียญ 25 สตางค์ใช้หมุนเวียนในระบบจำนวน 2,300 ล้านเหรียญ เหรียญ 50 สตางค์ 1,650 ล้านเหรียญ ส่วนเหรียญ 1 บาทมีความต้องการใช้เดือนละ 60 ล้านเหรียญลดลงจากที่เคยมีความต้องการ 80ล้านเหรียญหรือบางช่วงขึ้นไปสูงถึง 120 ล้านเหรียญเพราะเหรียญบาทขาดตลาด โดยมีการผลิตเข้าไปใช้ในระบบแล้วกว่า 9,300 ล้านเหรียญ
ส่วนเหรียญ 5 บาทมีจำนวน 1,600 ล้านเหรียญ ส่วนเหรียญ 10 บาทมีจำนวน 1,100 ล้านเหรียญ ขณะที่เหรียญ 2 บาทที่เพิ่งนำมาใช้เมื่อปี 48 นั้นมีใช้หมุนเวียนในระบบแล้ว 295 ล้านเหรียญ เหลืออีก 105 ล้านเหรียญจะทยอยเข้าระบบประมาณเดือนละ 14-15 ล้านเหรียญ ส่วนเหรียญ 1 สตางค์ 5 สตางค์ และ 10 สตางค์นั้นผลิตเดือนละ 1 หมื่นเหรียญแต่ไม่มีความนิยมใช้เพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคมไทย
“ในส่วนของเหรียญ 2 บาทนั้นยังมีความจำเป็นต้องมีใช้หมุนเวียนเพิ่มขึ้นและจะใช้ต่อไป เพราะเป็นส่วนที่มาทดแทนการใช้เงินบาทได้ส่วนหนึ่งและในแง่ความสะดวกของผู้ใช้ ซึ่งอาจช่วยให้การปรับราคาสินค้าลดลงจากที่จะปรับขึ้นทีละ 5 บาทก็เหลือแค่ 2 บาทเป็นต้น ส่วนการเปลี่ยนรูปแบบเหรียญแต่ละประเภทนั้นจะเริ่มนำมาใช้กลางปีนี้แน่นอน โดยเปลี่ยนวัสดุใหม่เพื่อให้มีต้นทุนการผลิตลดลง และจะไม่มีการเก็บเหรียญเก่าเข้ามาแต่จะใช้ควบคู่กันไปเชื่อว่าจะไม่สร้างความสับสนมากนัก” น.ส.จารุวรรณ กล่าว
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า นโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากเศษสตางค์นั้น เป็นนโยบายหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งจะต้องศึกษาต้นทุนของสินค้าว่าแต่ละรายเป็นอย่างไร จากนั้นจะต้องดูเรื่องของต้นทุนและกำไรว่ามีส่วนต่างอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะกำหนดมาตรการต่างๆ อีกครั้งว่าจะทำอย่างไรต่อไป จะให้ราคาคงที่หรือลดราคาสินค้าลง
นายมิ่งขวัญกล่าวด้วยว่า ในวันที่ 22 ก.พ.จะมีการนัดผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคประมาณ 250 คนมาพูดคุยกัน โดยมีกรมการค้าภายในของกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้นัดหมาย จากนั้นกระทรวงพาณิชย์ก็จะศึกษาต้นทุนราคาสินค้าก่อน ส่วนจะมีมาตรกาออกมาอย่างไรต่อไปนั้นคงจะมีการประกาศให้ทราบในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม การดูแลราคาสินค้านั้นคงจะต้องดูทุกตัวที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น เพื่อไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพงเกินไป ทั้งนี้ยอมรับว่า มีสินค้าบางตัวที่ขึ้นราคาเกินที่จะยอมรับได้
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบเศษสตางค์ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า จริงๆแล้วเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องทำหลายอย่างพร้อมๆกัน เรื่องของเศษสตางค์เป็นเรื่องของปลายเหตุ เพราะสิ่งสำคัญคือว่าทำอย่างไรเราสามารถที่จะตรวจสอบต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆได้ และให้การขึ้นราคาสินค้าที่จำเป็น เป็นไปตามต้นทุนไม่ฉวยโอกาสขึ้นไปมากกว่า นี่คือสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดูแล
นายกรณ์ จาติกวณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทฤษฎีแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากเศษสตางค์ของนายสมัครสุนทรเวช นายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ใช่แค่เพียงทฤษฎี ต้องนำไปปฏิบัติด้วย และเราก็ไม่ขัดข้องหากนำมาใช้แล้วทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ แต่ก็มีผลเพียงแค่ในทางจิตวิทยาเท่านั้น ก็ต้องถามรัฐบาลว่า การนำมาใช้นั้นจะทำให้ราคาสินค้าลดลงได้จริงหรือไม่ ส่วนนโยบายด้ายการเงินการคลังนั้น คงต้องดูแหล่งที่มาของรายได้ด้วยว่า มีมูลค่าสูงกว่ารายรับหรือไม่
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในการอภิปรายงบประมาณวานนี้ว่า คงเน้นในเรื่องของราคาสินค้าราคาแพงซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมาก และรัฐบาลก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างไร คงไม่ใช้แค่แก้ด้วยเศรษฐกิจหรือเศษสตางค์เท่านั้น เพราะความจริงปัญหาไม่ได้อยู่ที่เศษสตางค์ ความจริงสตางค์นั้นมีพอ แต่ประเด็นคือความสามารถที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ของรัฐบาลมากกว่าว่า มีความสามารถที่จะแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงปัญหาการทุจริตด้วยรัฐบาลต ้องตอบให้ได้ว่าจะแก้ปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่านโยบายของรัฐบาล พยายามที่จะต่อยอดนโยบายประชานิยมของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ความจริงรัฐบาลนี้ก็ประกาศมาตลอดว่าจะนำมาใช้ แต่ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมานั้นนโยบายประชานิยมได้สร้างปัญหาและเป็นภาระมาจนถึงปัจจบัน ดังนั้นถ้ารัฐบาลจะนำมาใช้อีกก็จะต้องตอบให้ชัดเจนว่าจะนำแนวคิดเดิมมาทั้งดุ้นหรือจะต้องมีการปรัปปรุงแก้ไขอย่างไร
ธนารักษ์ลั่นเหรียญเพียงพอ
น.ส.จารุวรรณ จันทิมาพงษ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ด้านเหรียญกษาปณ์ เปิดเผยว่า แนวคิดการใช้เหรียญสตางค์ในการปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงและเงินเฟ้อในส่วนของกรมธนารักษ์นั้นได้ผลิตเหรียญกษาปณ์ออกไปใช้หมุนเวียนในระบบเพียงพอกับความต้องการอยู่แล้ว แต่การปรับขึ้นราคาสินค้าน่าจะอยู่ที่ผู้ประกอบการมากกว่า รวมไปถึงพฤติกรรมและค่านิยมการใช้เหรียญของคนไทยด้วยที่ทำให้เหรียญ 25 สตางค์และ 50 สตางค์ไม่เป็นที่นิยม
น.ส.สาวจารุวรรณกล่าวว่า หากพ่อค้าแม่ค้าอ้างกลัวว่าจะไม่มีเหรียญทอนสามารถมาแลกที่กรมฯได้ทุกวันทำการอยู่แล้ว ยืนยันว่าปริมาณเหรียญทุกประเภทที่ผลิตออกมาแต่ละเดือนนั้นมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการใช้ แต่จากการสำรวจพฤติกรรมประชาชนพบว่า มีเพศหญิง 7.7% ไม่คิดเอาเหรียญออกมาใช้ โดยจะเก็บไว้มากๆแล้วค่อยนำมาใช้ถึง 45% ส่วนเพศชายมีจำนวน 12.4% ที่ไม่คิดเอาเหรียญออกมาใช้ ให้มีเหรียญส่วนหนึ่งถูกเก็บหรือวางทิ้งไว้ไมได้เอาออกมาหมุนเวียน ส่วนการสำรวจจากเด็ก 6-13 ปี พบว่าครึ่งหนึ่งไม่เคยใช้เหรียญสตางค์มาก่อนเลย จึงสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยจำนวนมากไม่นิยมพกเหรียญสตางค์
ก่อนหน้านี้กรมธนารักษ์ลงนามในเอ็มโอยูกับกระทรวงพาณิชย์ไปแล้วในการสนับสนุนให้ใช้เหรียญสตางค์ แต่ก็ไม่ได้มีผลให้ความต้องการจ่ายแลกเหรียญมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากนัก โดยยังอยู่ในปริมาณที่ผลิตออกมาแต่ละเดือน แต่ในอนาคตหากมีการรณรงค์ใช้อย่างจริงจังและมีความต้องการจ่ายแลกมากขึ้นกรมก็พร้อมจะผลิตให้เพียงพอความต้องการเพราะมีวัตถุดิบและงบประมาณรองรับไว้แล้ว
ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีการผลิตเหรียญ 25 สตางค์และ 50 สตางค์เดือนละประมาณ 14-15 ล้านเหรียญ และมีการจ่ายแลกออกไปเดือนละ 10-12 ล้านเหรียญ โดยปัจจุบันมีเหรียญ 25 สตางค์ใช้หมุนเวียนในระบบจำนวน 2,300 ล้านเหรียญ เหรียญ 50 สตางค์ 1,650 ล้านเหรียญ ส่วนเหรียญ 1 บาทมีความต้องการใช้เดือนละ 60 ล้านเหรียญลดลงจากที่เคยมีความต้องการ 80ล้านเหรียญหรือบางช่วงขึ้นไปสูงถึง 120 ล้านเหรียญเพราะเหรียญบาทขาดตลาด โดยมีการผลิตเข้าไปใช้ในระบบแล้วกว่า 9,300 ล้านเหรียญ
ส่วนเหรียญ 5 บาทมีจำนวน 1,600 ล้านเหรียญ ส่วนเหรียญ 10 บาทมีจำนวน 1,100 ล้านเหรียญ ขณะที่เหรียญ 2 บาทที่เพิ่งนำมาใช้เมื่อปี 48 นั้นมีใช้หมุนเวียนในระบบแล้ว 295 ล้านเหรียญ เหลืออีก 105 ล้านเหรียญจะทยอยเข้าระบบประมาณเดือนละ 14-15 ล้านเหรียญ ส่วนเหรียญ 1 สตางค์ 5 สตางค์ และ 10 สตางค์นั้นผลิตเดือนละ 1 หมื่นเหรียญแต่ไม่มีความนิยมใช้เพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคมไทย
“ในส่วนของเหรียญ 2 บาทนั้นยังมีความจำเป็นต้องมีใช้หมุนเวียนเพิ่มขึ้นและจะใช้ต่อไป เพราะเป็นส่วนที่มาทดแทนการใช้เงินบาทได้ส่วนหนึ่งและในแง่ความสะดวกของผู้ใช้ ซึ่งอาจช่วยให้การปรับราคาสินค้าลดลงจากที่จะปรับขึ้นทีละ 5 บาทก็เหลือแค่ 2 บาทเป็นต้น ส่วนการเปลี่ยนรูปแบบเหรียญแต่ละประเภทนั้นจะเริ่มนำมาใช้กลางปีนี้แน่นอน โดยเปลี่ยนวัสดุใหม่เพื่อให้มีต้นทุนการผลิตลดลง และจะไม่มีการเก็บเหรียญเก่าเข้ามาแต่จะใช้ควบคู่กันไปเชื่อว่าจะไม่สร้างความสับสนมากนัก” น.ส.จารุวรรณ กล่าว