หมอเลี้ยบ แบ่งงานกระทรวงเรียบร้อย “กองสลาก-ออมสิน-ธ.ก.ส.-กรุงไทย” ขอคุมเอง สานฝันนโยบายประชานิยม ลั่นปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน ขอพิสูจน์ผลงานฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใน 6 เดือน ขณะที่ “ประดิษฐ์” รับผิดชอบ กรมสรรพากร-ศุลกากร ส่วนพยาบาล “ระนองรักษ์” เฝ้าไข้ กรมสรรพสามิต-เอ็กซิมแบงก์-กบข.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมแบ่งงานกับ รมช.คลัง แล้ว โดยตนเองจะดูแลสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ส่วน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ จะดูแล กรมสรรพากร กรมศุลกากร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) โรงงานยาสูบ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขณะที่ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ดูแลกรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลาง กรมธนารักษ์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) องค์การสุรา โรงงานไพ่ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า หลังจากแบ่งงานแล้ว รมช.คลัง คงจะเดินสายเพื่อพบปะกับหน่วยงานที่กำกับและมอบนโยบาย ส่วนตนเนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ศึกษาภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานกระทรวงการคลังมาแล้วทั้งหมด จึงจะเร่งเดินหน้าให้หน่วยงานของกระทรวงการคลังทั้งหมดเร่งขับเคลื่อนภารกิจ ตามนโยบายของรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะประกาศออกมาในวันที่ 18 ก.พ.นี้
“ผมได้ศึกษางานมาแล้ว และคิดว่าเข้าใจภารกิจทั้งหมด รวมถึงก่อนหน้าก็ได้สั่งการบ้านให้แต่ละหน่วยงานไปศึกษาพร้อมหาแนวทางรองรับนโยบายรัฐบาลที่จะประกาศอออกมา ซึ่งทุกหน่วยงานจะเป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์แล้วมารวมกัน เพื่อเดินหน้างานทุกอย่างให้สำเร็จไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะประกาศออกมา”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงานนำเสนอร่างกฎหมายความโปร่งใสทางการคลัง ภายใต้โครงการปรับปรุงแก้ไข และเฝ้าระวังกฎหมาย เพื่อศึกษากรอบแนวคิด ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.การประเมินผลและเปิดเผยฐานะทางการคลัง พ.ศ.... และ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 โดยทั้งสองหน่วยงานหวังว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลในการจัดทำร่างกฎหมายเพิ่มเติมตามกรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อพัฒนากระบวนการคลังสาธารณะของไทยให้โปร่งใส โดยการจัดทำกฎหมายการเงินการคลัง ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตามกรอบมาตรา 167
“ในอดีตการรักษาวินัยทางการคลังนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะการตั้งงบประมาณ และการบริหารการคลัง จึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาได้” นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคการเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นในงาน ว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ฐานะการคลังถูกโจมตีจากนโยบายประชานิยม และนโยบายกึ่งการคลัง ทำให้สภาร่างฯ ต้องวางกรอบวินัยการเงินการคลังลงในรัฐธรรมนญู เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และวินัยการคลังอย่างแท้จริง
***ประกาศปี 51 เป็นปีแห่งการลงทุน
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า การบ้านเบื้องต้นที่ได้มอบหมายไปนั้น มีประมาณ 2-3 ข้อ เช่น จะให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน (investment year) ดังนั้น จะมีมาตรการด้านการคลังใดเพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามา ซึ่งกรมจัดเก็บทั้ง 3 กรมต้องไปคิดมารวมถึงศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากมาตรการดังกล่าวด้วย
“ในฐานะผู้กุมนโยบายคาดว่าเวลา 6 เดือน ที่ได้ประกาศไว้ให้พิสูจน์ผลงาน จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ว่ารัฐบาลเอาจริงในการดูแลปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ และพร้อมให้นักลงทุนเข้ามา จากนั้นจึงจะเป็นหน้าที่ของนักลงทุนเอกชนจะเข้ามาผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อเนื่องต่อไป” นพ.สุรพงษ์ กล่าว
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมแบ่งงานกับ รมช.คลัง แล้ว โดยตนเองจะดูแลสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ส่วน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ จะดูแล กรมสรรพากร กรมศุลกากร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) โรงงานยาสูบ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขณะที่ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ดูแลกรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลาง กรมธนารักษ์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) องค์การสุรา โรงงานไพ่ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า หลังจากแบ่งงานแล้ว รมช.คลัง คงจะเดินสายเพื่อพบปะกับหน่วยงานที่กำกับและมอบนโยบาย ส่วนตนเนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ศึกษาภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานกระทรวงการคลังมาแล้วทั้งหมด จึงจะเร่งเดินหน้าให้หน่วยงานของกระทรวงการคลังทั้งหมดเร่งขับเคลื่อนภารกิจ ตามนโยบายของรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะประกาศออกมาในวันที่ 18 ก.พ.นี้
“ผมได้ศึกษางานมาแล้ว และคิดว่าเข้าใจภารกิจทั้งหมด รวมถึงก่อนหน้าก็ได้สั่งการบ้านให้แต่ละหน่วยงานไปศึกษาพร้อมหาแนวทางรองรับนโยบายรัฐบาลที่จะประกาศอออกมา ซึ่งทุกหน่วยงานจะเป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์แล้วมารวมกัน เพื่อเดินหน้างานทุกอย่างให้สำเร็จไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะประกาศออกมา”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงานนำเสนอร่างกฎหมายความโปร่งใสทางการคลัง ภายใต้โครงการปรับปรุงแก้ไข และเฝ้าระวังกฎหมาย เพื่อศึกษากรอบแนวคิด ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.การประเมินผลและเปิดเผยฐานะทางการคลัง พ.ศ.... และ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 โดยทั้งสองหน่วยงานหวังว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลในการจัดทำร่างกฎหมายเพิ่มเติมตามกรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อพัฒนากระบวนการคลังสาธารณะของไทยให้โปร่งใส โดยการจัดทำกฎหมายการเงินการคลัง ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตามกรอบมาตรา 167
“ในอดีตการรักษาวินัยทางการคลังนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะการตั้งงบประมาณ และการบริหารการคลัง จึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาได้” นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคการเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นในงาน ว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ฐานะการคลังถูกโจมตีจากนโยบายประชานิยม และนโยบายกึ่งการคลัง ทำให้สภาร่างฯ ต้องวางกรอบวินัยการเงินการคลังลงในรัฐธรรมนญู เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และวินัยการคลังอย่างแท้จริง
***ประกาศปี 51 เป็นปีแห่งการลงทุน
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า การบ้านเบื้องต้นที่ได้มอบหมายไปนั้น มีประมาณ 2-3 ข้อ เช่น จะให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน (investment year) ดังนั้น จะมีมาตรการด้านการคลังใดเพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามา ซึ่งกรมจัดเก็บทั้ง 3 กรมต้องไปคิดมารวมถึงศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากมาตรการดังกล่าวด้วย
“ในฐานะผู้กุมนโยบายคาดว่าเวลา 6 เดือน ที่ได้ประกาศไว้ให้พิสูจน์ผลงาน จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ว่ารัฐบาลเอาจริงในการดูแลปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ และพร้อมให้นักลงทุนเข้ามา จากนั้นจึงจะเป็นหน้าที่ของนักลงทุนเอกชนจะเข้ามาผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อเนื่องต่อไป” นพ.สุรพงษ์ กล่าว