หมอเลี้ยบแบ่งงานกระทรวงเรียบร้อย "กองสลากฯ-ออมสิน-ธ.ก.ส.-กรุงไทย" ขอคุมเอง สานฝันนโยบายประชานิยม ลั่นปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน ขอพิสูจน์ผลงานฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใน 6 เดือน ขณะที่ "ประดิษฐ์" รับผิดชอบกรมสรรพากร-ศุลกากร ส่วนพยาบาล "ระนองรักษ์" เฝ้าไข้กรมสรรพสามิต-เอ็กซิมแบงก์-กบข.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมแบ่งงานกับ รมช.คลังแล้ว โดยตนเองจะดูแลสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ส่วนนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ จะดูแลกรมสรรพากร กรมศุลกากร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) โรงงานยาสูบ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขณะที่ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ดูแลกรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลาง กรมธนารักษ์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) องค์การสุรา โรงงานไพ่ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า หลังจากแบ่งงานแล้ว รมช.คลัง คงจะเดินสายเพื่อพบปะกับหน่วยงานที่กำกับและมอบนโยบาย ส่วนตนเนื่องจากก่อนหน้าได้ศึกษาภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานกระทรวงการคลังมาแล้วทั้งหมด จึงจะเร่งเดินหน้าให้หน่วยงานของกระทรวงการคลังทั้งหมดเร่งขับเคลื่อนภารกิจ ตามนโยบายของรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะประกาศออกมาในวันที่ 18 ก.พ.นี้
"ผมได้ศึกษางานมาแล้วและคิดว่าเข้าใจภารกิจทั้งหมด รวมถึงก่อนหน้าก็ได้สั่งการบ้านให้แต่ละหน่วยงานไปศึกษาพร้อมหาแนวทางรองรับนโยบายรัฐบาลที่จะประกาศอออกมา ซึ่งทุกหน่วยงานจะเป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์แล้วมารวมกันเพื่อเดินหน้างานทุกอย่างให้สำเร็จไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะประกาศออกมา"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงานนำเสนอร่างกฎหมายความโปร่งใสทางการคลัง ภายใต้โครงการปรับปรุงแก้ไข และเฝ้าระวังกฎหมาย เพื่อศึกษากรอบแนวคิด ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.การประเมินผลและเปิดเผยฐานะทางการคลัง พ.ศ.... และ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 โดยทั้งสองหน่วยงานหวังว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลในการจัดทำร่างกฎหมายเพิ่มเติมตามกรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อพัฒนากระบวนการคลังสาธารณะของไทยให้โปร่งใส โดยการจัดทำกฎหมายการเงินการคลัง ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ตามกรอบมาตรา 167
"ในอดีตการรักษาวินัยทางการคลังนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะการตั้งงบประมาณ และการบริหารการคลัง จึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 มาได้" นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคการเงินการคลัง สภาที่ ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นในงานฯ ว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ฐานะการคลังถูกโจมตีจากนโยบายประชานิยม และนโยบายกึ่งการคลัง ทำให้สภาร่างฯ ต้องวางกรอบวินัยการเงินการคลังลงในรัฐธรรมนญู เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และวินัยการคลังอย่างแท้จริง
ประกาศปี 51 เป็นปีแห่งการลงทุน
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า การบ้านเบื้องต้นที่ได้มอบหมายไปนั้น มีประมาณ 2-3 ข้อ เช่น จะให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน (investment year) ดังนั้นจะมีมาตรการด้านการคลังใดเพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามา ซึ่งกรมจัดเก็บทั้ง 3 กรมต้องไปคิดมารวมถึงศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากมาตรการดังกล่าวด้วย
"ในฐานะผู้กุมนโยบายคาดว่าเวลา 6 เดือน ที่ได้ประกาศไว้ให้พิสูจน์ผลงาน จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ว่ารัฐบาลเอาจริงในการดูแลปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ และพร้อมให้นักลงทุนเข้ามา จากนั้นจึงจะเป็นหน้าที่ของนักลงทุนเอกชนจะเข้ามาผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อเนื่องต่อไป" นพ.สุรพงษ์กล่าว.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมแบ่งงานกับ รมช.คลังแล้ว โดยตนเองจะดูแลสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ส่วนนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ จะดูแลกรมสรรพากร กรมศุลกากร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) โรงงานยาสูบ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขณะที่ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ดูแลกรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลาง กรมธนารักษ์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) องค์การสุรา โรงงานไพ่ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า หลังจากแบ่งงานแล้ว รมช.คลัง คงจะเดินสายเพื่อพบปะกับหน่วยงานที่กำกับและมอบนโยบาย ส่วนตนเนื่องจากก่อนหน้าได้ศึกษาภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานกระทรวงการคลังมาแล้วทั้งหมด จึงจะเร่งเดินหน้าให้หน่วยงานของกระทรวงการคลังทั้งหมดเร่งขับเคลื่อนภารกิจ ตามนโยบายของรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะประกาศออกมาในวันที่ 18 ก.พ.นี้
"ผมได้ศึกษางานมาแล้วและคิดว่าเข้าใจภารกิจทั้งหมด รวมถึงก่อนหน้าก็ได้สั่งการบ้านให้แต่ละหน่วยงานไปศึกษาพร้อมหาแนวทางรองรับนโยบายรัฐบาลที่จะประกาศอออกมา ซึ่งทุกหน่วยงานจะเป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์แล้วมารวมกันเพื่อเดินหน้างานทุกอย่างให้สำเร็จไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะประกาศออกมา"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงานนำเสนอร่างกฎหมายความโปร่งใสทางการคลัง ภายใต้โครงการปรับปรุงแก้ไข และเฝ้าระวังกฎหมาย เพื่อศึกษากรอบแนวคิด ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.การประเมินผลและเปิดเผยฐานะทางการคลัง พ.ศ.... และ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 โดยทั้งสองหน่วยงานหวังว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลในการจัดทำร่างกฎหมายเพิ่มเติมตามกรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อพัฒนากระบวนการคลังสาธารณะของไทยให้โปร่งใส โดยการจัดทำกฎหมายการเงินการคลัง ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ตามกรอบมาตรา 167
"ในอดีตการรักษาวินัยทางการคลังนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะการตั้งงบประมาณ และการบริหารการคลัง จึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 มาได้" นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคการเงินการคลัง สภาที่ ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นในงานฯ ว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ฐานะการคลังถูกโจมตีจากนโยบายประชานิยม และนโยบายกึ่งการคลัง ทำให้สภาร่างฯ ต้องวางกรอบวินัยการเงินการคลังลงในรัฐธรรมนญู เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และวินัยการคลังอย่างแท้จริง
ประกาศปี 51 เป็นปีแห่งการลงทุน
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า การบ้านเบื้องต้นที่ได้มอบหมายไปนั้น มีประมาณ 2-3 ข้อ เช่น จะให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน (investment year) ดังนั้นจะมีมาตรการด้านการคลังใดเพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามา ซึ่งกรมจัดเก็บทั้ง 3 กรมต้องไปคิดมารวมถึงศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากมาตรการดังกล่าวด้วย
"ในฐานะผู้กุมนโยบายคาดว่าเวลา 6 เดือน ที่ได้ประกาศไว้ให้พิสูจน์ผลงาน จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ว่ารัฐบาลเอาจริงในการดูแลปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ และพร้อมให้นักลงทุนเข้ามา จากนั้นจึงจะเป็นหน้าที่ของนักลงทุนเอกชนจะเข้ามาผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อเนื่องต่อไป" นพ.สุรพงษ์กล่าว.