เมื่อกว่าสิบปีก่อน ผมเคยเขียนบทความชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับ คุณสมัคร สุนทรเวช โดยตรง เป็นบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการรายวัน” ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540 ชื่อเรื่อง “สมัคร สุนทรเวช ในฐานะแบบอย่างที่ดีของนักการเมืองไทย”
บทความชิ้นนี้ของผมได้ชี้ให้เห็นถึงความมั่นคงในความคิดอนุรักษนิยมและอุดมการณ์แบบขวาๆ ของ คุณสมัคร ที่แต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งผมเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของนักการเมืองไทยที่หาได้ยากยิ่ง เพราะการที่ คุณสมัคร มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบนั้นโดยไม่คลอนแคลน ทำให้ผมสามารถตัดสินใจได้อย่างสบายอกสบายใจว่า ถึงยังไงๆ ผมก็ไม่มีทางเลือก คุณสมัคร เป็นตัวแทนของผมเป็นอันขาด
ผิดกับนักการเมืองคนอื่นๆ ที่เห็นกันดาษดื่น ที่ชอบพูดอะไรตามกระแสหรือไม่ก็เอาใจชาวบ้าน ไม่มีอุดมการณ์หรือจุดยืนทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่า สามารถเปลี่ยนได้ทุกวินาที ว่ากันเหอะ
ผมจึงไม่เคยเลือกนักการเมืองประเภทที่ว่าเลยแม้แต่ครั้งเดียว ต่อให้เขาและเธอพูดในสิ่งที่ผมเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ผมก็ไม่เคยเชื่อคนเหล่านี้ และความจริงก็เป็นเช่นนั้น ตอนนั้นผมจึงเขียนไปด้วยว่า รู้สึกเสียดายคนที่มีความมั่นคงทางการเมืองอย่าง คุณสมัคร ดันมีอุดมการณ์แบบขวาๆ ที่ให้บังเอิญว่าผมไม่ชอบและไม่เห็นด้วย ไม่งั้นผมคงเลือกไปแล้ว
ตอนที่บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์นั้น มีผู้อ่านสวดชยันโตผมเสียยับเยิน ด้วยพอเห็นชื่อบทความเท่านั้น ก็เข้าใจไปว่าผมกำลังเชียร์ คุณสมัคร บางคนแม้ได้อ่านบทความของผมเต็มๆ ก็คงจะอ่านไม่แตก จึงได้โมโหโกรธาผม
จะอย่างไรก็ตาม หลังจากสิบปีผ่านไป คุณสมัคร ก็ยังคงเป็น คุณสมัคร คนเดิม จะคิดจะพูดยังไงก็ เหมือนเดิมหมดทุกอย่าง จะเปลี่ยนไปก็แต่เรื่องเดียวคือ ตอนนี้ คุณสมัคร ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทยแล้ว
น่าสนใจและเร้าใจแค่ไหน ที่เมืองไทยเรากำลังจะมีนายกรัฐมนตรีที่มีความคิดอนุรักษนิยม และมีอุดมการณ์เชิงอำนาจนิยม แถมยังมาจากการเลือกตั้งของประชาชนอีกต่างหาก
บางคนอาจจะแย้งผมว่า คุณสมัคร เปลี่ยนแปลงตนเองแล้ว เห็นได้จากการที่ คุณสมัคร ได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา
ข้อแย้งนี้ผมเห็นด้วยที่ว่า คุณสมัคร มีท่าทีเช่นนั้นจริง แต่ผมก็มีเหตุผลที่จะชี้ให้เห็นว่า คุณสมัคร ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร เหตุผลที่ว่าก็คือ ภายหลังผลการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้ปรากฏออกมาอย่างไม่เป็นทางการ พรรคพลังประชาชนซึ่งชนะอย่างท่วมท้น (ถึงแม้จะไม่ถึงกึ่งหนึ่งก็ตาม) นั้น ได้ออกมาแถลงข่าวโดยมี คุณสมัคร เป็นผู้แถลงหลักตามธรรมเนียม
ตอนหนึ่งของถ้อยแถลง คุณสมัคร ได้วิจารณ์การรัฐประหาร 19 กันยาว่า เป็นการรัฐประหารที่ไม่สมเหตุสมผล โดย คุณสมัคร กล่าวว่า “ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมารัฐประหาร”
หากฟังดูเผินๆ แล้ว จะเห็นได้ว่า คำพูดดังกล่าวของ คุณสมัคร นั้นได้แสดงให้เห็นว่าตนไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารจริง แต่ถ้าคิดให้ลึกแล้วก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าเป็นการรัฐประหารที่มีเหตุผลสมควรที่จะรัฐประหารแล้ว คุณสมัคร ก็ต้องเห็นด้วยมิใช่หรือ?
ถ้าเช่นนั้นแล้ว รัฐประหารแบบไหนเล่าที่มีเหตุผลควรแก่การรัฐประหาร? จะตอบคำถามนี้ได้เราก็ต้องย้อนกลับไปดูว่า คุณสมัคร ยอมรับการรัฐประหารแบบไหน
ครับ...ก็เห็นจะมีชัดๆ อยู่ครั้งเดียว นั่นคือ รัฐประหารวันที่ 6 ตุลาคม 2519
ถ้าคิดอย่างที่ คุณสมัคร คิดแล้ว ความสมเหตุสมผลของการรัฐประหารครั้งนั้นจะอยู่ตรงที่บ้านเมืองในขณะนั้นกำลังน่าเป็นห่วงและสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ด้วยว่ากระแสความคิดสังคมนิยมกำลังแพร่หลายในหมู่คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในขบวนการนักศึกษา
คุณสมัคร เห็นว่า อิทธิพลของกระแสความคิดดังกล่าวที่กำลังขยายตัวอย่างเต็มที่นั้น ไม่เพียงจะเป็นภัยต่อชาติและศาสนาเท่านั้น หากยังเป็นภัยต่อราชบัลลังก์อีกด้วย ซึ่ง คุณสมัคร ยอมไม่ได้ ดังนั้น คุณสมัคร จึงออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านขบวนการนักศึกษาอย่างเปิดเผยด้วยท่าทีแข็งกร้าวดุดัน
ตอนนั้นอย่าว่าแต่การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาเลยที่ คุณสมัคร ต่อต้าน แม้แต่การเรียกร้องค่าแรงและสวัสดิการของสหภาพแรงงาน คุณสมัคร ยังบริภาษว่าเป็นการเคลื่อนไหวของ “แก๊งข้างถนน” ด้วยซ้ำไป
แต่จนแล้วจนรอด การเคลื่อนไหวของ คุณสมัคร และพรรคพวกที่เป็นขวาด้วยกันก็ไม่สำเร็จ เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น การเคลื่อนไหวของ คุณสมัคร จะสำเร็จได้ก็แต่เพียงประการเดียว นั่นคือ การรัฐประหาร และก็เป็นที่มาของการรัฐประหาร 6 ตุลา อันเป็นการรัฐประหารที่มีเหตุผลควรแก่การรัฐประหารในความคิดของ คุณสมัคร
และคงด้วยเหตุที่ คุณสมัคร เคลื่อนไหวมาก่อนหน้านั้นนานนับปี พอรัฐประหารผ่านไปไม่นาน คุณสมัคร ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยด้วยวัยเพียง 40 และก็ทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้ด้วยความซื่อสัตย์ในความคิดหรืออุดมการณ์ขวาๆ ของตน อันเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า คุณสมัคร รับการรัฐประหารได้ แต่ต้องเป็นการรัฐประหารตามแบบที่ตนคิดเท่านั้น
ถึงตรงนี้ก็คงเข้าใจนะครับ ที่บอกว่า คุณสมัคร ความคิดไม่เคยเปลี่ยนนั้นไม่เปลี่ยนอย่างไร แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังคงคิดว่า การไม่เปลี่ยนที่ว่าของ คุณสมัคร แล้วโน้มนำให้ คุณสมัคร ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และเป็นนายกฯ ได้ในที่สุดนั้น กลับมีความหมายต่อสังคมไทยอย่างเหลือล้นและอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความหมายแรก เป็นการยืนยันว่า มีคนจำนวนมากที่นิยม คุณสมัคร ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับ คุณทักษิณ ชินวัตร แล้วก็แทบไม่มีอะไรต่างกันเลย นอกจากลีลาเท่านั้นที่ คุณสมัคร ดูดุดันแข็งกร้าวกว่า คุณทักษิณ หลายช่วงตัว ซึ่งก็คงสอดรับกับผู้ที่นิยม คุณทักษิณ มาก่อนหน้านี้
ความไม่ต่างกันแล้วแถมยังดุดันแข็งกร้าวกว่านี้เอง การได้ คุณสมัคร มาเป็นนายกฯ จึงเท่ากับเป็นหลักประกันในการสานต่อนโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทยได้ว่าจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิม หรือดีไม่ดีอาจบรรลุผลมากกว่าเดิมอีกด้วย (เพราะความแข็งกร้าวกว่าของ คุณสมัคร) ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยม หรือนโยบายต่อต้านยาเสพติด หรือนโยบายต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ความหมายต่อมา เป็นความหมายที่เกี่ยวกับคนเดือนตุลาโดยตรง ที่ตั้งแต่สามารถอยู่ได้กับ คุณทักษิณ ในพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งออกมายิ้มร่ายิ้มร่าต้อนรับ คุณสมัคร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนนั้น เขาคิดเหมือนกับ คุณสมัคร แล้วหรือไร หรือเพียงแค่คิดว่า คุณสมัคร เป็นแนวร่วมที่ตนจำต้องต้อนรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะถ้าคิดอย่างแรกก็เท่ากับว่า คนเดือนตุลาเห็นว่า การรัฐประหาร 6 ตุลาเป็นการรัฐประหารที่ชอบด้วยเหตุผล และตนเองรวมทั้งผู้เสียชีวิตจากการสังหารหมู่ครั้งนั้นเป็นฝ่ายผิด แต่ถ้าคิดแบบหลัง เชื่อหรือว่าคนอย่าง คุณสมัคร จะยอมเป็นแนวร่วมให้กับตัวเองได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า หลังจากนี้ต่อไปการเมืองไทยจะหายเซ็ง และจะ “มัน” กว่าครั้งใดๆ
บทความชิ้นนี้ของผมได้ชี้ให้เห็นถึงความมั่นคงในความคิดอนุรักษนิยมและอุดมการณ์แบบขวาๆ ของ คุณสมัคร ที่แต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งผมเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของนักการเมืองไทยที่หาได้ยากยิ่ง เพราะการที่ คุณสมัคร มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบนั้นโดยไม่คลอนแคลน ทำให้ผมสามารถตัดสินใจได้อย่างสบายอกสบายใจว่า ถึงยังไงๆ ผมก็ไม่มีทางเลือก คุณสมัคร เป็นตัวแทนของผมเป็นอันขาด
ผิดกับนักการเมืองคนอื่นๆ ที่เห็นกันดาษดื่น ที่ชอบพูดอะไรตามกระแสหรือไม่ก็เอาใจชาวบ้าน ไม่มีอุดมการณ์หรือจุดยืนทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่า สามารถเปลี่ยนได้ทุกวินาที ว่ากันเหอะ
ผมจึงไม่เคยเลือกนักการเมืองประเภทที่ว่าเลยแม้แต่ครั้งเดียว ต่อให้เขาและเธอพูดในสิ่งที่ผมเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ผมก็ไม่เคยเชื่อคนเหล่านี้ และความจริงก็เป็นเช่นนั้น ตอนนั้นผมจึงเขียนไปด้วยว่า รู้สึกเสียดายคนที่มีความมั่นคงทางการเมืองอย่าง คุณสมัคร ดันมีอุดมการณ์แบบขวาๆ ที่ให้บังเอิญว่าผมไม่ชอบและไม่เห็นด้วย ไม่งั้นผมคงเลือกไปแล้ว
ตอนที่บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์นั้น มีผู้อ่านสวดชยันโตผมเสียยับเยิน ด้วยพอเห็นชื่อบทความเท่านั้น ก็เข้าใจไปว่าผมกำลังเชียร์ คุณสมัคร บางคนแม้ได้อ่านบทความของผมเต็มๆ ก็คงจะอ่านไม่แตก จึงได้โมโหโกรธาผม
จะอย่างไรก็ตาม หลังจากสิบปีผ่านไป คุณสมัคร ก็ยังคงเป็น คุณสมัคร คนเดิม จะคิดจะพูดยังไงก็ เหมือนเดิมหมดทุกอย่าง จะเปลี่ยนไปก็แต่เรื่องเดียวคือ ตอนนี้ คุณสมัคร ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทยแล้ว
น่าสนใจและเร้าใจแค่ไหน ที่เมืองไทยเรากำลังจะมีนายกรัฐมนตรีที่มีความคิดอนุรักษนิยม และมีอุดมการณ์เชิงอำนาจนิยม แถมยังมาจากการเลือกตั้งของประชาชนอีกต่างหาก
บางคนอาจจะแย้งผมว่า คุณสมัคร เปลี่ยนแปลงตนเองแล้ว เห็นได้จากการที่ คุณสมัคร ได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา
ข้อแย้งนี้ผมเห็นด้วยที่ว่า คุณสมัคร มีท่าทีเช่นนั้นจริง แต่ผมก็มีเหตุผลที่จะชี้ให้เห็นว่า คุณสมัคร ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร เหตุผลที่ว่าก็คือ ภายหลังผลการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้ปรากฏออกมาอย่างไม่เป็นทางการ พรรคพลังประชาชนซึ่งชนะอย่างท่วมท้น (ถึงแม้จะไม่ถึงกึ่งหนึ่งก็ตาม) นั้น ได้ออกมาแถลงข่าวโดยมี คุณสมัคร เป็นผู้แถลงหลักตามธรรมเนียม
ตอนหนึ่งของถ้อยแถลง คุณสมัคร ได้วิจารณ์การรัฐประหาร 19 กันยาว่า เป็นการรัฐประหารที่ไม่สมเหตุสมผล โดย คุณสมัคร กล่าวว่า “ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมารัฐประหาร”
หากฟังดูเผินๆ แล้ว จะเห็นได้ว่า คำพูดดังกล่าวของ คุณสมัคร นั้นได้แสดงให้เห็นว่าตนไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารจริง แต่ถ้าคิดให้ลึกแล้วก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าเป็นการรัฐประหารที่มีเหตุผลสมควรที่จะรัฐประหารแล้ว คุณสมัคร ก็ต้องเห็นด้วยมิใช่หรือ?
ถ้าเช่นนั้นแล้ว รัฐประหารแบบไหนเล่าที่มีเหตุผลควรแก่การรัฐประหาร? จะตอบคำถามนี้ได้เราก็ต้องย้อนกลับไปดูว่า คุณสมัคร ยอมรับการรัฐประหารแบบไหน
ครับ...ก็เห็นจะมีชัดๆ อยู่ครั้งเดียว นั่นคือ รัฐประหารวันที่ 6 ตุลาคม 2519
ถ้าคิดอย่างที่ คุณสมัคร คิดแล้ว ความสมเหตุสมผลของการรัฐประหารครั้งนั้นจะอยู่ตรงที่บ้านเมืองในขณะนั้นกำลังน่าเป็นห่วงและสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ด้วยว่ากระแสความคิดสังคมนิยมกำลังแพร่หลายในหมู่คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในขบวนการนักศึกษา
คุณสมัคร เห็นว่า อิทธิพลของกระแสความคิดดังกล่าวที่กำลังขยายตัวอย่างเต็มที่นั้น ไม่เพียงจะเป็นภัยต่อชาติและศาสนาเท่านั้น หากยังเป็นภัยต่อราชบัลลังก์อีกด้วย ซึ่ง คุณสมัคร ยอมไม่ได้ ดังนั้น คุณสมัคร จึงออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านขบวนการนักศึกษาอย่างเปิดเผยด้วยท่าทีแข็งกร้าวดุดัน
ตอนนั้นอย่าว่าแต่การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาเลยที่ คุณสมัคร ต่อต้าน แม้แต่การเรียกร้องค่าแรงและสวัสดิการของสหภาพแรงงาน คุณสมัคร ยังบริภาษว่าเป็นการเคลื่อนไหวของ “แก๊งข้างถนน” ด้วยซ้ำไป
แต่จนแล้วจนรอด การเคลื่อนไหวของ คุณสมัคร และพรรคพวกที่เป็นขวาด้วยกันก็ไม่สำเร็จ เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น การเคลื่อนไหวของ คุณสมัคร จะสำเร็จได้ก็แต่เพียงประการเดียว นั่นคือ การรัฐประหาร และก็เป็นที่มาของการรัฐประหาร 6 ตุลา อันเป็นการรัฐประหารที่มีเหตุผลควรแก่การรัฐประหารในความคิดของ คุณสมัคร
และคงด้วยเหตุที่ คุณสมัคร เคลื่อนไหวมาก่อนหน้านั้นนานนับปี พอรัฐประหารผ่านไปไม่นาน คุณสมัคร ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยด้วยวัยเพียง 40 และก็ทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้ด้วยความซื่อสัตย์ในความคิดหรืออุดมการณ์ขวาๆ ของตน อันเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า คุณสมัคร รับการรัฐประหารได้ แต่ต้องเป็นการรัฐประหารตามแบบที่ตนคิดเท่านั้น
ถึงตรงนี้ก็คงเข้าใจนะครับ ที่บอกว่า คุณสมัคร ความคิดไม่เคยเปลี่ยนนั้นไม่เปลี่ยนอย่างไร แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังคงคิดว่า การไม่เปลี่ยนที่ว่าของ คุณสมัคร แล้วโน้มนำให้ คุณสมัคร ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และเป็นนายกฯ ได้ในที่สุดนั้น กลับมีความหมายต่อสังคมไทยอย่างเหลือล้นและอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความหมายแรก เป็นการยืนยันว่า มีคนจำนวนมากที่นิยม คุณสมัคร ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับ คุณทักษิณ ชินวัตร แล้วก็แทบไม่มีอะไรต่างกันเลย นอกจากลีลาเท่านั้นที่ คุณสมัคร ดูดุดันแข็งกร้าวกว่า คุณทักษิณ หลายช่วงตัว ซึ่งก็คงสอดรับกับผู้ที่นิยม คุณทักษิณ มาก่อนหน้านี้
ความไม่ต่างกันแล้วแถมยังดุดันแข็งกร้าวกว่านี้เอง การได้ คุณสมัคร มาเป็นนายกฯ จึงเท่ากับเป็นหลักประกันในการสานต่อนโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทยได้ว่าจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิม หรือดีไม่ดีอาจบรรลุผลมากกว่าเดิมอีกด้วย (เพราะความแข็งกร้าวกว่าของ คุณสมัคร) ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยม หรือนโยบายต่อต้านยาเสพติด หรือนโยบายต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ความหมายต่อมา เป็นความหมายที่เกี่ยวกับคนเดือนตุลาโดยตรง ที่ตั้งแต่สามารถอยู่ได้กับ คุณทักษิณ ในพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งออกมายิ้มร่ายิ้มร่าต้อนรับ คุณสมัคร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนนั้น เขาคิดเหมือนกับ คุณสมัคร แล้วหรือไร หรือเพียงแค่คิดว่า คุณสมัคร เป็นแนวร่วมที่ตนจำต้องต้อนรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะถ้าคิดอย่างแรกก็เท่ากับว่า คนเดือนตุลาเห็นว่า การรัฐประหาร 6 ตุลาเป็นการรัฐประหารที่ชอบด้วยเหตุผล และตนเองรวมทั้งผู้เสียชีวิตจากการสังหารหมู่ครั้งนั้นเป็นฝ่ายผิด แต่ถ้าคิดแบบหลัง เชื่อหรือว่าคนอย่าง คุณสมัคร จะยอมเป็นแนวร่วมให้กับตัวเองได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า หลังจากนี้ต่อไปการเมืองไทยจะหายเซ็ง และจะ “มัน” กว่าครั้งใดๆ