วานนี้ (30 ม.ค.) นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวในระหว่างการจัดสัมมนาเวทีท้องถิ่นหัวข้อ "แนวทางพัฒนาความเข้มแข็งของสภาท้องถิ่น" ว่าเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รัฐธรรมนูญระบุไว้ในมาตรา 303 ว่า ภายในเวลาสองปีนับตั้งแต่วันที่แถลงนโยบายต่อสภา
รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นหลายฉบับ ได้แก่ กฎหมายการจัดตั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นฉบับใหม่ กฎหมายการกระจายรายได้ กฎหมายข้าราชการส่วนท้องถิ่น
และกฎหมายรายได้ท้องถิ่น โดยอาจจะทำเป็นประมวลกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งจะถือเป็นโอกาสในการทบทวน หรือปฏิรูปบทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นใหม่ทั้งหมดโดยจะต้องแก้ไขปัญหาเก่าในเรื่องอำนาจหน้าที่และสร้างกลไกให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของการเมืองระดับชาติว่า จะมองประโยชน์ของการเมืองส่วนท้องถิ่นว่าเข้ามาช่วยแบ่งเบาปัญหาให้กับรัฐบาล หรือมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการเมืองในระดับชาติ ตนไม่ค่อยแน่ใจว่า หาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย จะทำให้การปฏิรูปบทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นมีทิศทางอย่างไร เพราะไม่เคยทราบแนวความคิด
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเพราะรัฐธรรมนูญกำหนดทิศทางและกรอบเวลาไว้อยู่
นายวุฒิสาร กล่าวถึงแนวนโยบายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลที่นำโดย พรรคพลังประชาชนว่ารัฐบาลควรจะต้องปล่อยให้กลไกภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ได้ทำงานดูก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยปรับแก้เพราะอย่างไรเสีย การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องถูกตั้งคำถามอย่างแน่นอนว่า ทำเพื่ออะไร หากจะแก้ไขให้การตรวจสอบยากขึ้น ก็มีมุมมองให้คิดได้ว่า รัฐบาลต้องการจะทำอะไรให้ง่ายขึ้น ใช่หรือไม่
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดช่องให้มีการตรวจสอบมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน เพราะเสถียรภาพขึ้นอยู่ที่การทำงานของรัฐบาลเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเปิดอภิปรายในสภา ถ้าทำงานได้ดี การอภิปรายก็จะเป็นประโยชน์กับรัฐบาล แต่ถ้าอภิปรายโดยใช้ข้อมูลเท็จ
ผลเสียก็จะตกอยู่ที่ผู้อภิปรายเอง
ในขณะที่นายทนงศักดิ์ ทวีทอง อุปนายกสมาคมสันนิบาติเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
รัฐบาลใหม่ระบุว่าจะสนับสนุนนโยบายประชานิยมผ่านโครงการเงินทุนเอสเอ็มแอล กองทุนหมู่บ้านและโครงการอยู่ดีมีสุข จะทำให้ลดบทบาทการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลไทยรักไทยในอดีต ในฐานะตัวแทนของสมาชิกในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะระบบงานของโครงการเหล่านี้ มักจะไม่ขึ้นกับระเบียบขององค์กรท้องถิ่น ที่ผ่านมา รัฐบาลย้ำตลอดว่าไม่มีเงินงบประมาณให้องค์กรท้องถิ่นแต่ก็ไปลงกับโครงการเหล่านี้บางโครงการตัวนายกองค์การบริหารเองก็ไม่เคยรู้เรื่องเลยด้วยซ้ำ
"แล้วอย่างนี้จะมีองค์กรส่วนท้องถิ่นไว้เพื่ออะไร ทั้งๆที่เราก็ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน
แทนที่จะให้เดินตามระเบียบที่มีมาแต่ก็ไปตั้งองค์กรซ้อนขึ้นมาอีก"
นายทนงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากปัญหาถูกลดบทบาทจากโครงการในนโยบายประชานิยมแล้ว
องค์กรส่วนท้องถิ่นส่วนมากในขณะนี้ยังเจอกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหลายแห่งขอแบ่งเปอร์เซ็นต์เงินงบประมาณ 3 – 4 % จากทั้งหมดที่ลงมาที่องค์กรท้องถิ่น เพื่ออุดหนุนไปยังงบประมาณของจังหวัด ทั้งๆ
ที่จังหวัดเองก็น่าจะตั้งงบส่วนนี้ขึ้นมาเอง ในขณะที่องค์กรท้องถิ่นส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยกล้าคัดค้าน รัฐบาลชุดใหม่จะต้องเข้ามาดูแลปัญหาตรงนี้โดยเร็ว
รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นหลายฉบับ ได้แก่ กฎหมายการจัดตั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นฉบับใหม่ กฎหมายการกระจายรายได้ กฎหมายข้าราชการส่วนท้องถิ่น
และกฎหมายรายได้ท้องถิ่น โดยอาจจะทำเป็นประมวลกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งจะถือเป็นโอกาสในการทบทวน หรือปฏิรูปบทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นใหม่ทั้งหมดโดยจะต้องแก้ไขปัญหาเก่าในเรื่องอำนาจหน้าที่และสร้างกลไกให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของการเมืองระดับชาติว่า จะมองประโยชน์ของการเมืองส่วนท้องถิ่นว่าเข้ามาช่วยแบ่งเบาปัญหาให้กับรัฐบาล หรือมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการเมืองในระดับชาติ ตนไม่ค่อยแน่ใจว่า หาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย จะทำให้การปฏิรูปบทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นมีทิศทางอย่างไร เพราะไม่เคยทราบแนวความคิด
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเพราะรัฐธรรมนูญกำหนดทิศทางและกรอบเวลาไว้อยู่
นายวุฒิสาร กล่าวถึงแนวนโยบายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลที่นำโดย พรรคพลังประชาชนว่ารัฐบาลควรจะต้องปล่อยให้กลไกภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ได้ทำงานดูก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยปรับแก้เพราะอย่างไรเสีย การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องถูกตั้งคำถามอย่างแน่นอนว่า ทำเพื่ออะไร หากจะแก้ไขให้การตรวจสอบยากขึ้น ก็มีมุมมองให้คิดได้ว่า รัฐบาลต้องการจะทำอะไรให้ง่ายขึ้น ใช่หรือไม่
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดช่องให้มีการตรวจสอบมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน เพราะเสถียรภาพขึ้นอยู่ที่การทำงานของรัฐบาลเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเปิดอภิปรายในสภา ถ้าทำงานได้ดี การอภิปรายก็จะเป็นประโยชน์กับรัฐบาล แต่ถ้าอภิปรายโดยใช้ข้อมูลเท็จ
ผลเสียก็จะตกอยู่ที่ผู้อภิปรายเอง
ในขณะที่นายทนงศักดิ์ ทวีทอง อุปนายกสมาคมสันนิบาติเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
รัฐบาลใหม่ระบุว่าจะสนับสนุนนโยบายประชานิยมผ่านโครงการเงินทุนเอสเอ็มแอล กองทุนหมู่บ้านและโครงการอยู่ดีมีสุข จะทำให้ลดบทบาทการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลไทยรักไทยในอดีต ในฐานะตัวแทนของสมาชิกในท้องถิ่นนั้นๆ เพราะระบบงานของโครงการเหล่านี้ มักจะไม่ขึ้นกับระเบียบขององค์กรท้องถิ่น ที่ผ่านมา รัฐบาลย้ำตลอดว่าไม่มีเงินงบประมาณให้องค์กรท้องถิ่นแต่ก็ไปลงกับโครงการเหล่านี้บางโครงการตัวนายกองค์การบริหารเองก็ไม่เคยรู้เรื่องเลยด้วยซ้ำ
"แล้วอย่างนี้จะมีองค์กรส่วนท้องถิ่นไว้เพื่ออะไร ทั้งๆที่เราก็ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน
แทนที่จะให้เดินตามระเบียบที่มีมาแต่ก็ไปตั้งองค์กรซ้อนขึ้นมาอีก"
นายทนงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากปัญหาถูกลดบทบาทจากโครงการในนโยบายประชานิยมแล้ว
องค์กรส่วนท้องถิ่นส่วนมากในขณะนี้ยังเจอกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหลายแห่งขอแบ่งเปอร์เซ็นต์เงินงบประมาณ 3 – 4 % จากทั้งหมดที่ลงมาที่องค์กรท้องถิ่น เพื่ออุดหนุนไปยังงบประมาณของจังหวัด ทั้งๆ
ที่จังหวัดเองก็น่าจะตั้งงบส่วนนี้ขึ้นมาเอง ในขณะที่องค์กรท้องถิ่นส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยกล้าคัดค้าน รัฐบาลชุดใหม่จะต้องเข้ามาดูแลปัญหาตรงนี้โดยเร็ว