มีใครเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ค้าความไปกินขี้หมาดีกว่า” บ้างไหม คำพูดนี้ไม่ได้หมายเพียงว่า ควรหลีกเลี่ยงเข้าไปเป็นจำเลยในคดีความต่างๆ แต่ยังรวมถึงการที่ตัวเองเข้าไปเป็นโจทก์ด้วย และหมายรวมไปถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งมวลด้วย เริ่มตั้งแต่ชั้นโรงพัก อัยการ ไปจนถึงศาลสถิตยุติธรรมหรืออำนาจตุลาการนั่นแหละครับ
สองสามปีมานี้เราฝากความหวังของบ้านเมืองไว้กับอำนาจตุลาการซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาก ก็เพราะที่ผ่านมาเราไม่สามารถฝากความหวังไว้กับ อีก 2 อำนาจคือ บริหาร และนิติบัญญัติได้
อำนาจตุลาการได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้วิกฤตบ้านเมือง และต่อมาสภาร่างรัฐธรรมนูญมีความพยายามจะเขียนรัฐธรรมนูญให้อำนาจตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น จนกระทั่งวงการตุลาการออกมาท้วงติงด้วยตัวเองว่า หากตุลาการจะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากจนเกินไป ก็จะขัดกับหลักการ check & balance อำนาจทั้ง 3 อำนาจ ซึ่งจะต้องคานกันเพื่อไม่ให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งมีอำนาจมากจนเกินไป
แม้ว่า ผมจะเห็นด้วยกับความคิดของคนในวงการตุลาการในตอนนั้น ที่พยายามแสดงจุดยืนถึงความเป็นอิสระ เป็นกลาง ต้องตัดสินคดีอย่างปราศจากอคติ และมีกฎหมายเป็นเครื่องมือ หลักแห่งความเป็นกลางและการอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนี่เอง ที่ทำให้ผู้พิพากษา ไม่อาจทำหน้าที่อื่นๆ ได้อีก
และแม้ว่า ผู้พิพากษามีหน้าที่จะต้องตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย ด้วยความเป็นอิสระ ของผู้พิพากษาเอง แต่การพิจารณาคดีในหลายๆ ครั้ง ก็ทำให้ผมอดตั้งคำถามถึงความเป็น “อิสระ” ของผู้พิพากษาไม่ได้ เพราะหลายครั้งคดีที่เหมือนกัน แต่การตัดสินของผู้พิพากษามีมาตรฐานที่แตกต่างกัน จนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า อะไรคือ มาตรฐานที่ถูกต้อง เพราะถ้าไร้ซึ่งมาตรฐานก็เท่ากับว่า เราปล่อยให้ความผิดถูกหนักเบาขึ้นอยู่สามัญสำนึกของผู้พิพากษาแต่ละคนมากกว่าตัวบทกฎหมาย
บ่อยครั้งที่เราเห็นคดีต่างๆ จบลงด้วยบทสรุปที่ขัดต่อความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นคดีฆาตกรรมดังๆ คดีพิพาททางสาธารณะ หรือคดีหมิ่นประมาทต่างๆ ที่ผลลัพธ์ออกมาต่างมาตรฐานกัน บางคดีศาลจำคุกด้วยโทษที่รุนแรง บางทีศาลเพียงแต่รอลงอาญา หรือบางคดีศาลก็พิจารณาให้ยกฟ้อง แต่สิ่งเหล่านี้ก็มักจะจบลงด้วยการเคารพในดุลพินิจของศาลที่กระทำภายใต้พระปรมาภิไธย ที่เหนือกว่าอื่นใดก็คือ เรากลัวข้อหาหมิ่นศาล ทำให้การพูดถึงเรื่องเหล่านี้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับสังคมไทย
ในขณะที่อีกด้าน เราถูกสอนให้เชื่อว่า ประชาชนทุกคนจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ดังนั้นกฎหมายจึงไม่มีผลบังคับใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่สำหรับสังคมไทยเรามักได้เห็น ได้ยิน ถึงความแตกต่างทางชนชั้นที่ไม่เท่าเทียมทางกฎหมายในหลายกรณี
นอกจากนั้น ยังมีเรื่องอื่นอีก เช่น การกำหนดวันนัด การจ่ายคดี การให้เหตุผลในการตัดสินคดี เราจะต้องตรวจสอบอย่างไรหากเรามีความรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม มีใครกล้าหาญที่จะฝ่าฟันการใช้อำนาจในการหมิ่นศาลบ้าง
ผมเข้าใจนะครับว่า ตุลาการจะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการทำงานที่เข้มงวดและรัดกุม และมีบทลงโทษที่รุนแรง ว่า วงการอื่นๆ มีลำดับชั้นของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา ซึ่งให้โอกาสทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย ซึ่งแม้ว่า การเปลี่ยนแนวคำพิพากษาของศาลสูงต้องมีเหตุผลแสดงด้วยว่ามีเหตุผลอย่างไร เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักกฎหมายแต่ ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้พิพากษาจะทำผิดไม่ได้
หรือแม้ว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 197 จะบัญญัติไว้ว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่า “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ” ก็ตามที
ดังนั้นสิ่งที่ผมตั้งคำถามไว้ในใจเสมอมาว่า เมื่อเราสามารถตรวจสอบอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติได้ แล้วทำไมเราจะตรวจสอบอำนาจตุลาการไม่ได้ แล้วทำอย่างไรเราจะสามารถตรวจสอบการทำงานของผู้พิพากษาได้โดยไม่ขัดกับหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาที่ถูกยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้ดูเสมือนว่า เป็นองค์กรที่แตะต้องไม่ได้ เพราะดำรงไว้ด้วยความถูกต้องและเป็นธรรมทั้งมวล
นั่นคือ ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ไว้วางใจความไม่เป็นธรรมของกฎหมาย ขององค์กรตุลาการ ไม่ใช่เราไม่เคารพในกฎหมายและกฎกติกาของบ้านเมือง แต่ทำอย่างไรให้เราสามารถตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาได้ในฐานะที่ผู้พิพากษาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ว่า การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ในทางปฏิบัติจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ศาลก็ยังไม่ต่างไปจากระบบราชการ ที่ต้องแข่งกันวิ่งขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในความเป็นมนุษย์ที่จะต้องแข่งขันกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เราคงไม่เชื่อว่า การแข่งขันเพื่อสู่ตำแหน่งที่สูงกว่าในวงการตุลาการนั้นจะเน่าเฟะเหมือนระบบราชการทั่วไป ที่มีการแลกเปลี่ยนด้วยผลประโยชน์และสิ่งต่างตอบแทน
ดังนั้นผมจึงอยากเรียกร้องให้มีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการ
ข้อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการทำงานขององค์กรตุลาการของผมนี้มิได้หมายถึงเพียงศาลยุติธรรม แต่รวมถึงศาลอื่นไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการในตัวเองอย่าง กกต.
ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ผมมีความกล้าหาญบังอาจเข้ามาแตะต้องในองค์กรที่ไม่มีใครอยากเข้ามาข้องแวะด้วย ความจริงแล้วผมมีเพื่อนอยู่ในวงการตุลาการไม่น้อย ผมอาจทำเพียงปรับทุกข์พูดคุยกับเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงการนี้ก็ได้ เพียงแต่ผมมองไม่เห็นประโยชน์อันใด
และหวังว่า สิ่งต่างๆ ที่เป็นความเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์ของผมอาจจะมีคำชี้แนะที่ดีเพื่อดับความคับข้องหมองใจกลับมาจากองค์กรตุลาการ ผมก็ถือว่า สิ่งนั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อองค์กรตุลาการแก่ผมและประชาชนทั่วไปด้วย
ที่สำคัญผมอยากให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีไปจากสำนวนที่ว่า “ค้าความไปกินขี้หมาดีกว่า”
และคิดว่า การแสดงความเห็นของผมนั้นเกิดขึ้นโดยปราศจากอคติ และมีเจตนาที่จะเห็นวงการตุลาการเป็นองค์กรที่สง่างามนั้น ไม่น่าจะทำให้กลายเป็นทัศนคติเชิงลบต่อวงการตุลาการจนเกิดโทษทัณฑ์แก่ตัวเองไปได้
สองสามปีมานี้เราฝากความหวังของบ้านเมืองไว้กับอำนาจตุลาการซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาก ก็เพราะที่ผ่านมาเราไม่สามารถฝากความหวังไว้กับ อีก 2 อำนาจคือ บริหาร และนิติบัญญัติได้
อำนาจตุลาการได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้วิกฤตบ้านเมือง และต่อมาสภาร่างรัฐธรรมนูญมีความพยายามจะเขียนรัฐธรรมนูญให้อำนาจตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น จนกระทั่งวงการตุลาการออกมาท้วงติงด้วยตัวเองว่า หากตุลาการจะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากจนเกินไป ก็จะขัดกับหลักการ check & balance อำนาจทั้ง 3 อำนาจ ซึ่งจะต้องคานกันเพื่อไม่ให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งมีอำนาจมากจนเกินไป
แม้ว่า ผมจะเห็นด้วยกับความคิดของคนในวงการตุลาการในตอนนั้น ที่พยายามแสดงจุดยืนถึงความเป็นอิสระ เป็นกลาง ต้องตัดสินคดีอย่างปราศจากอคติ และมีกฎหมายเป็นเครื่องมือ หลักแห่งความเป็นกลางและการอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนี่เอง ที่ทำให้ผู้พิพากษา ไม่อาจทำหน้าที่อื่นๆ ได้อีก
และแม้ว่า ผู้พิพากษามีหน้าที่จะต้องตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย ด้วยความเป็นอิสระ ของผู้พิพากษาเอง แต่การพิจารณาคดีในหลายๆ ครั้ง ก็ทำให้ผมอดตั้งคำถามถึงความเป็น “อิสระ” ของผู้พิพากษาไม่ได้ เพราะหลายครั้งคดีที่เหมือนกัน แต่การตัดสินของผู้พิพากษามีมาตรฐานที่แตกต่างกัน จนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า อะไรคือ มาตรฐานที่ถูกต้อง เพราะถ้าไร้ซึ่งมาตรฐานก็เท่ากับว่า เราปล่อยให้ความผิดถูกหนักเบาขึ้นอยู่สามัญสำนึกของผู้พิพากษาแต่ละคนมากกว่าตัวบทกฎหมาย
บ่อยครั้งที่เราเห็นคดีต่างๆ จบลงด้วยบทสรุปที่ขัดต่อความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นคดีฆาตกรรมดังๆ คดีพิพาททางสาธารณะ หรือคดีหมิ่นประมาทต่างๆ ที่ผลลัพธ์ออกมาต่างมาตรฐานกัน บางคดีศาลจำคุกด้วยโทษที่รุนแรง บางทีศาลเพียงแต่รอลงอาญา หรือบางคดีศาลก็พิจารณาให้ยกฟ้อง แต่สิ่งเหล่านี้ก็มักจะจบลงด้วยการเคารพในดุลพินิจของศาลที่กระทำภายใต้พระปรมาภิไธย ที่เหนือกว่าอื่นใดก็คือ เรากลัวข้อหาหมิ่นศาล ทำให้การพูดถึงเรื่องเหล่านี้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับสังคมไทย
ในขณะที่อีกด้าน เราถูกสอนให้เชื่อว่า ประชาชนทุกคนจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ดังนั้นกฎหมายจึงไม่มีผลบังคับใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่สำหรับสังคมไทยเรามักได้เห็น ได้ยิน ถึงความแตกต่างทางชนชั้นที่ไม่เท่าเทียมทางกฎหมายในหลายกรณี
นอกจากนั้น ยังมีเรื่องอื่นอีก เช่น การกำหนดวันนัด การจ่ายคดี การให้เหตุผลในการตัดสินคดี เราจะต้องตรวจสอบอย่างไรหากเรามีความรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม มีใครกล้าหาญที่จะฝ่าฟันการใช้อำนาจในการหมิ่นศาลบ้าง
ผมเข้าใจนะครับว่า ตุลาการจะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการทำงานที่เข้มงวดและรัดกุม และมีบทลงโทษที่รุนแรง ว่า วงการอื่นๆ มีลำดับชั้นของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา ซึ่งให้โอกาสทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย ซึ่งแม้ว่า การเปลี่ยนแนวคำพิพากษาของศาลสูงต้องมีเหตุผลแสดงด้วยว่ามีเหตุผลอย่างไร เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักกฎหมายแต่ ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้พิพากษาจะทำผิดไม่ได้
หรือแม้ว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 197 จะบัญญัติไว้ว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่า “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ” ก็ตามที
ดังนั้นสิ่งที่ผมตั้งคำถามไว้ในใจเสมอมาว่า เมื่อเราสามารถตรวจสอบอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติได้ แล้วทำไมเราจะตรวจสอบอำนาจตุลาการไม่ได้ แล้วทำอย่างไรเราจะสามารถตรวจสอบการทำงานของผู้พิพากษาได้โดยไม่ขัดกับหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาที่ถูกยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้ดูเสมือนว่า เป็นองค์กรที่แตะต้องไม่ได้ เพราะดำรงไว้ด้วยความถูกต้องและเป็นธรรมทั้งมวล
นั่นคือ ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ไว้วางใจความไม่เป็นธรรมของกฎหมาย ขององค์กรตุลาการ ไม่ใช่เราไม่เคารพในกฎหมายและกฎกติกาของบ้านเมือง แต่ทำอย่างไรให้เราสามารถตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาได้ในฐานะที่ผู้พิพากษาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ว่า การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ในทางปฏิบัติจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ศาลก็ยังไม่ต่างไปจากระบบราชการ ที่ต้องแข่งกันวิ่งขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในความเป็นมนุษย์ที่จะต้องแข่งขันกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เราคงไม่เชื่อว่า การแข่งขันเพื่อสู่ตำแหน่งที่สูงกว่าในวงการตุลาการนั้นจะเน่าเฟะเหมือนระบบราชการทั่วไป ที่มีการแลกเปลี่ยนด้วยผลประโยชน์และสิ่งต่างตอบแทน
ดังนั้นผมจึงอยากเรียกร้องให้มีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการ
ข้อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการทำงานขององค์กรตุลาการของผมนี้มิได้หมายถึงเพียงศาลยุติธรรม แต่รวมถึงศาลอื่นไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการในตัวเองอย่าง กกต.
ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ผมมีความกล้าหาญบังอาจเข้ามาแตะต้องในองค์กรที่ไม่มีใครอยากเข้ามาข้องแวะด้วย ความจริงแล้วผมมีเพื่อนอยู่ในวงการตุลาการไม่น้อย ผมอาจทำเพียงปรับทุกข์พูดคุยกับเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงการนี้ก็ได้ เพียงแต่ผมมองไม่เห็นประโยชน์อันใด
และหวังว่า สิ่งต่างๆ ที่เป็นความเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์ของผมอาจจะมีคำชี้แนะที่ดีเพื่อดับความคับข้องหมองใจกลับมาจากองค์กรตุลาการ ผมก็ถือว่า สิ่งนั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อองค์กรตุลาการแก่ผมและประชาชนทั่วไปด้วย
ที่สำคัญผมอยากให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีไปจากสำนวนที่ว่า “ค้าความไปกินขี้หมาดีกว่า”
และคิดว่า การแสดงความเห็นของผมนั้นเกิดขึ้นโดยปราศจากอคติ และมีเจตนาที่จะเห็นวงการตุลาการเป็นองค์กรที่สง่างามนั้น ไม่น่าจะทำให้กลายเป็นทัศนคติเชิงลบต่อวงการตุลาการจนเกิดโทษทัณฑ์แก่ตัวเองไปได้