กกต.ยังไม่ยอมชี้ขาดกรณีขอถอนคำร้อง"ยุทธตู้เย็น" ได้หรือไม่ อ้างยังไม่ผ่านความเห็นของเลขากกต. ตามระเบียบที่กำหนดไว้ ต้องเลื่อนไป 25 ม.ค. ด้านกก.ด้านกิจการพรรคการเมือง ชง 2 แนวทางให้ กกต.ตัดสินกรณียุบพรรคมัชฌิมาหรือไม่ ชี้หากความผิดครบองค์ประกอบแล้วไม่ส่งอาจกลายเป็นบรรทัดฐาน แถมอาจเท่ากับเป็นการใช้ดุลยพินิจแทนศาลรัฐธรรมนูญ "รสนา"เซ็งกกต.ไม่ยอมตอบให้ชัดเรื่องคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ว. หวั่นมีปัญหาหลังสอบได้
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่าถึงการพิจารณา กรณี นายวิจิตร ยอดสุวรรณ ผู้ร้องคัดค้าน นายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 1 ขอถอนคำร้องได้หรือไม่ว่า แม้ที่ประชุม กกต. จะได้รับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนกรณีเรื่องทุจริตเลือกตั้งที่ จ.เชียงราย ที่มี นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ เป็นประธาน กรณีที่ไม่เห็นสมควรให้นายวิจิตร ผู้ร้องคัดค้านนายยงยุทธ ถอนคำร้องคัดค้าน แต่เนื่องจาก ตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวน ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เลขาธิการ กกต. ต้องทำความเห็นก่อนที่จะนำเสนอสู่ที่ประชุม กกต. ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ประชุม กกต. จึงได้ส่งเรื่องให้เลขาธิการทำความเห็นมาเสียก่อน
ขณะที่ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ตนจะรับเรื่องนี้ไปแล้วไปทำความเห็น โดยจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กกต. วันที่ 25 ม.ค. ที่จะถึงนี้ โดยเหตุผลที่คณะอนุกรรมการสอบกรณีทุจริต จ.เชียงราย ระบุว่า นายวิจิตร ได้ให้เหตุผลของการขอถอนคำคัดค้านว่า เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจทางการเมือง ซึ่งทางคณะกรรมการสอบฯได้พิจารณา แล้วเห็นว่า เหตุผลดังกล่าวนั้นไม่สมควรที่จะให้ถอนเรื่องออกไป ทั้งนี้ ตนก็จะทำความเห็นตามที่คณะกรรมการสอบฯ ได้ดำเนินการมา เพื่อให้กกต.พิจารณาอีกครั้งว่าจะเห็นควรอย่างไร
ชง 2 แนวทางกรณียุบมัชฌิมาฯ
นายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการหารือกรณี กกต.ขอความเห็นเกี่ยวกับการที่กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กกต.จะต้องมีการพิจารณาสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยด้วยหรือไม่ โดยมีการดูรัฐธรรมนูญกฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายพรรคการเมืองโดยเฉพาะ มาตรา 94 รวมทั้งดูว่า การกระทำผิดอยู่ในระดับไหน และความผิดดังกล่าวมีแรงสั่นสะเทือนเป็นอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการก็มีความเห็นเป็น 2 แนวทางว่า กฎหมายเปิดช่องให้ กกต.สามารถยื่นเรื่องไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้
แต่ถ้าไม่มีการส่งเรื่องไปให้ศาล กกต.ก็ต้องอธิบายถึงเหตุผล ซึ่งไม่ได้มีการก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่า สำนวนที่ทางเจ้าหน้าที่สืบสวนได้มีการเสนอมานั้น เป็นความผิดถึงขั้นที่ กกต.สามารถเสนอยุบพรรคได้หรือไม่ เพราะเรื่องดังกล่าวกรรมการเห็นว่า เป็นเรื่องของ กกต.ที่จะให้ดุลยพินิจ โดยจากนี้ทางรองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองในฐานะเลขานุการ ก็จะนำเสนอต่อ กกต.
"คณะกรรมการก็ดูตามข้อกฎหมาย แต่การกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่นำไปสู่การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะโยงไปถึงว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องหรือไม่ จนเป็นเหตุต้องยุบพรรค เป็นเรื่องที่ กกต.จะต้องให้ดุลยพินิจ เราเพียงแต่บอกว่า ตามช่องทางของกฎหมายแล้วเปิดช่องให้ กกต.เสนอได้ หากการกระทำนั้นๆ ปรากฏหลักฐานว่า เป็นการกระทำที่เข้าข่าย เป็นการทำลาย และล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ตามที่ มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองบัญญัติไว้ แต่เราไม่ได้มีการชี้ว่า การกระทำที่นำมาสู่การเพิกถอนสิทธิ ถือเป็นการทำลายประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะตรงนั้นเท่ากับเป็นการก้าวล่วงดุลยพินิจของ กกต.ที่ กกต.ต้องพิจารณาจากหลักฐานตามสำนวน"
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมมีการเสนอความเห็นเฉพาะด้านกฎหมาย 2 ทาง คือ การดำเนินการให้ยุบพรรค หรือพิจารณาไม่ดำเนินการว่าจะส่งผลอะไรตามมา แต่ไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดว่า กรณีที่เกิดขึ้นสมควรยุบพรรคหรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าควรจะเป็นดุลยพินิจของ กกต.เอง เพราะมีข้อมูลของฝ่ายสืบสวนสอบสวนประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้ในการประชุม กรรมการที่เป็นนักกฎหมายมหาชนคนหนึ่งได้เสนอว่า หากพิจารณาตามองค์ประกอบทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ จะพบว่า กฎหมายกำหนดให้ กกต. ต้องดำเนินการเมื่อครบองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1.มีเรื่องปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง 2.มีกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดเกี่ยวข้อง และ 3.กกต.เห็นว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งอันอาจส่งผลต่อความสุจริตในการเลือกตั้งครั้งนั้น ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับนายสุนทร วิลาวัลย์ ก็ต้องถือว่าครบองค์ประกอบที่ กกต.จะต้องยื่นต่ออัยการสูงสุด เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเข้าข่ายตาม มาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง
"แต่หาก กกต.จะไม่ส่ง ก็ต้องมีคำอธิบายเหตุผลที่จะไม่ส่ง ซึ่งอาจจะต้องชี้แจงว่า ในกรณีที่เกิดขึ้นเข้าข่ายส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งโดยรวมหรือไม่ โดยหากเห็นว่าไม่ส่งผล ก็อาจจะพิจารณาไม่ส่งก็ได้ เช่นเดียวกับกรณีการทำผิดระเบียบ กกต.อื่นๆ เช่นขนาดของแผ่นป้าย ก็ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีร้ายแรงจนต้องยุบพรรคทุกกรณี เนื่องจากไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อการเลือกตั้งแต่อย่างใด"กรรมการนักกฎหมายรายหนึ่ง กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีข้อสรุปว่าควรจะส่งความเห็นว่า ควรจะเสนอทางออกทั้ง 2 แนวทางให้ กกต. ประกอบการพิจารณา โดยมีการย้ำไปว่าหาก กกต.ตัดสินใจที่จะไม่ส่ง จะต้องคำนึงว่าจะกลายเป็นบรรทัดฐานว่าต่อไปการทุจริตการเลือกตั้งทุกกรณีที่เกี่ยวพันกับกรรมการบริหารพรรค กกต.จะต้องใช้ดุลยพินิจเองว่า มีความร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งกลายเป็นการใช้ดุลยพินิจแทนศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดข้อครหาหากผลออกมาทางใดทางหนึ่ง
เซ็ง กกต.ปัดชี้คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ว.
นางสาวรสนา โตสิตระกูล หนึ่งในผู้ประสงค์จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เปิดเผยว่า ตนได้ทำหนังสือไปยังกกต. เพื่อสอบถามประเด็นคุณสมบัติต้องห้ามของผู้สมัครส.ว. เนื่องจากตนได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตาม รธน. 2550 มาตรา 308 และได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) จึงขอความชัดเจนจากกกต. ตำแหน่งทั้งสองที่ตนเองดำรงอยู่ในขณะนี้ขัดต่อคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. ตามรธน. มาตรา 102 (11) หรือไม่
ต่อมา เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ทางกกต.โดยนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า กกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำรงตำแหน่งต่างๆ ของตนเองไม่เข้าลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2543 ลงวันที่ 14 ก.พ. 43 แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.นั้น เป็นอำนาจโดยตรงของผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง และศาลฎีกา ตามาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.
"กกต.ไม่ยอมตอบข้อหารือให้ชัด กลับโยนไปให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเป็นผู้ชี้ขาด หากผู้ที่รับสมัคร ส.ว.ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแล้วมีข้อร้องเรียนภายหลัง ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาเหมือนช่วง กกต.ชุดที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน"นางสาวรสนา กล่าว
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่าถึงการพิจารณา กรณี นายวิจิตร ยอดสุวรรณ ผู้ร้องคัดค้าน นายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 1 ขอถอนคำร้องได้หรือไม่ว่า แม้ที่ประชุม กกต. จะได้รับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนกรณีเรื่องทุจริตเลือกตั้งที่ จ.เชียงราย ที่มี นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ เป็นประธาน กรณีที่ไม่เห็นสมควรให้นายวิจิตร ผู้ร้องคัดค้านนายยงยุทธ ถอนคำร้องคัดค้าน แต่เนื่องจาก ตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวน ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เลขาธิการ กกต. ต้องทำความเห็นก่อนที่จะนำเสนอสู่ที่ประชุม กกต. ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ประชุม กกต. จึงได้ส่งเรื่องให้เลขาธิการทำความเห็นมาเสียก่อน
ขณะที่ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ตนจะรับเรื่องนี้ไปแล้วไปทำความเห็น โดยจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กกต. วันที่ 25 ม.ค. ที่จะถึงนี้ โดยเหตุผลที่คณะอนุกรรมการสอบกรณีทุจริต จ.เชียงราย ระบุว่า นายวิจิตร ได้ให้เหตุผลของการขอถอนคำคัดค้านว่า เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจทางการเมือง ซึ่งทางคณะกรรมการสอบฯได้พิจารณา แล้วเห็นว่า เหตุผลดังกล่าวนั้นไม่สมควรที่จะให้ถอนเรื่องออกไป ทั้งนี้ ตนก็จะทำความเห็นตามที่คณะกรรมการสอบฯ ได้ดำเนินการมา เพื่อให้กกต.พิจารณาอีกครั้งว่าจะเห็นควรอย่างไร
ชง 2 แนวทางกรณียุบมัชฌิมาฯ
นายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการหารือกรณี กกต.ขอความเห็นเกี่ยวกับการที่กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กกต.จะต้องมีการพิจารณาสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยด้วยหรือไม่ โดยมีการดูรัฐธรรมนูญกฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายพรรคการเมืองโดยเฉพาะ มาตรา 94 รวมทั้งดูว่า การกระทำผิดอยู่ในระดับไหน และความผิดดังกล่าวมีแรงสั่นสะเทือนเป็นอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการก็มีความเห็นเป็น 2 แนวทางว่า กฎหมายเปิดช่องให้ กกต.สามารถยื่นเรื่องไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้
แต่ถ้าไม่มีการส่งเรื่องไปให้ศาล กกต.ก็ต้องอธิบายถึงเหตุผล ซึ่งไม่ได้มีการก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่า สำนวนที่ทางเจ้าหน้าที่สืบสวนได้มีการเสนอมานั้น เป็นความผิดถึงขั้นที่ กกต.สามารถเสนอยุบพรรคได้หรือไม่ เพราะเรื่องดังกล่าวกรรมการเห็นว่า เป็นเรื่องของ กกต.ที่จะให้ดุลยพินิจ โดยจากนี้ทางรองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองในฐานะเลขานุการ ก็จะนำเสนอต่อ กกต.
"คณะกรรมการก็ดูตามข้อกฎหมาย แต่การกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่นำไปสู่การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะโยงไปถึงว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องหรือไม่ จนเป็นเหตุต้องยุบพรรค เป็นเรื่องที่ กกต.จะต้องให้ดุลยพินิจ เราเพียงแต่บอกว่า ตามช่องทางของกฎหมายแล้วเปิดช่องให้ กกต.เสนอได้ หากการกระทำนั้นๆ ปรากฏหลักฐานว่า เป็นการกระทำที่เข้าข่าย เป็นการทำลาย และล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ตามที่ มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองบัญญัติไว้ แต่เราไม่ได้มีการชี้ว่า การกระทำที่นำมาสู่การเพิกถอนสิทธิ ถือเป็นการทำลายประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะตรงนั้นเท่ากับเป็นการก้าวล่วงดุลยพินิจของ กกต.ที่ กกต.ต้องพิจารณาจากหลักฐานตามสำนวน"
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมมีการเสนอความเห็นเฉพาะด้านกฎหมาย 2 ทาง คือ การดำเนินการให้ยุบพรรค หรือพิจารณาไม่ดำเนินการว่าจะส่งผลอะไรตามมา แต่ไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดว่า กรณีที่เกิดขึ้นสมควรยุบพรรคหรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าควรจะเป็นดุลยพินิจของ กกต.เอง เพราะมีข้อมูลของฝ่ายสืบสวนสอบสวนประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้ในการประชุม กรรมการที่เป็นนักกฎหมายมหาชนคนหนึ่งได้เสนอว่า หากพิจารณาตามองค์ประกอบทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ จะพบว่า กฎหมายกำหนดให้ กกต. ต้องดำเนินการเมื่อครบองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1.มีเรื่องปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง 2.มีกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดเกี่ยวข้อง และ 3.กกต.เห็นว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งอันอาจส่งผลต่อความสุจริตในการเลือกตั้งครั้งนั้น ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับนายสุนทร วิลาวัลย์ ก็ต้องถือว่าครบองค์ประกอบที่ กกต.จะต้องยื่นต่ออัยการสูงสุด เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเข้าข่ายตาม มาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง
"แต่หาก กกต.จะไม่ส่ง ก็ต้องมีคำอธิบายเหตุผลที่จะไม่ส่ง ซึ่งอาจจะต้องชี้แจงว่า ในกรณีที่เกิดขึ้นเข้าข่ายส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งโดยรวมหรือไม่ โดยหากเห็นว่าไม่ส่งผล ก็อาจจะพิจารณาไม่ส่งก็ได้ เช่นเดียวกับกรณีการทำผิดระเบียบ กกต.อื่นๆ เช่นขนาดของแผ่นป้าย ก็ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีร้ายแรงจนต้องยุบพรรคทุกกรณี เนื่องจากไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อการเลือกตั้งแต่อย่างใด"กรรมการนักกฎหมายรายหนึ่ง กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีข้อสรุปว่าควรจะส่งความเห็นว่า ควรจะเสนอทางออกทั้ง 2 แนวทางให้ กกต. ประกอบการพิจารณา โดยมีการย้ำไปว่าหาก กกต.ตัดสินใจที่จะไม่ส่ง จะต้องคำนึงว่าจะกลายเป็นบรรทัดฐานว่าต่อไปการทุจริตการเลือกตั้งทุกกรณีที่เกี่ยวพันกับกรรมการบริหารพรรค กกต.จะต้องใช้ดุลยพินิจเองว่า มีความร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งกลายเป็นการใช้ดุลยพินิจแทนศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดข้อครหาหากผลออกมาทางใดทางหนึ่ง
เซ็ง กกต.ปัดชี้คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ว.
นางสาวรสนา โตสิตระกูล หนึ่งในผู้ประสงค์จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เปิดเผยว่า ตนได้ทำหนังสือไปยังกกต. เพื่อสอบถามประเด็นคุณสมบัติต้องห้ามของผู้สมัครส.ว. เนื่องจากตนได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตาม รธน. 2550 มาตรา 308 และได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) จึงขอความชัดเจนจากกกต. ตำแหน่งทั้งสองที่ตนเองดำรงอยู่ในขณะนี้ขัดต่อคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. ตามรธน. มาตรา 102 (11) หรือไม่
ต่อมา เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ทางกกต.โดยนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า กกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำรงตำแหน่งต่างๆ ของตนเองไม่เข้าลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2543 ลงวันที่ 14 ก.พ. 43 แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.นั้น เป็นอำนาจโดยตรงของผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง และศาลฎีกา ตามาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.
"กกต.ไม่ยอมตอบข้อหารือให้ชัด กลับโยนไปให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเป็นผู้ชี้ขาด หากผู้ที่รับสมัคร ส.ว.ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแล้วมีข้อร้องเรียนภายหลัง ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาเหมือนช่วง กกต.ชุดที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน"นางสาวรสนา กล่าว