นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลงบ้างในขณะนี้ หลังจากช่วง 2 วันที่ผ่านมาผู้ส่งออกเทขายดอลลาร์น้อยลงเพื่อชะลอดูสถานการณ์ ขณะที่ผู้นำเข้าได้เข้ามาซื้อดอลลาร์มากขึ้นในการสั่งซื้อสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมัน นอกจากนี้ในช่วงที่ดัชนีตลาดหุ้นลดลง 1-2 วันที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติมีการขายหุ้นและมีเงินทุนไหลออกบ้าง
“ในส่วนของการขายหุ้นล็อตใหญ่จะมีการไหลออกของเงินทุนมากน้อยแค่ไหนต้องรอให้ครบกำหนดชำระราคาหลักทรัพย์ตามระเบียบ T+3 ก่อน แต่ตอนนี้เห็นเพียงนักลงทุนต่างชาติเอาพอสมควรแต่ก็ไม่มากนัก และขณะนี้นักลงทุนต่างชาติมีการแรงซื้อเงินดอลลาร์กลับมาบ้างในส่วนของตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) ดังนั้น สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนในขณะนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเงินบาทของไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะปัญหาซับไพร์ม ซึ่งในส่วนของการดูแลเงินบาท ธปท.ยังคงดูแลตามปกติ”
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า วิกฤตซับไพรม์ของสหรัฐฯ ยังไม่นิ่งและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้น แต่มีผลกระทบต่อการส่งออกด้วย ทุกคนยังติดตามดูสถานการณ์ว่าจะมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน โดย ธปท.ประเมินปัญหาซับไพรม์ถือว่าเป็นความเสี่ยงหลักของปีนี้และได้เตรียมพร้อมรับมือไว้หลายๆ ทาง
ทั้งนี้ การประเมินผลกระทบที่ชัดเจนจะมีการชี้แจงรายละเอียดในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ วันที่ 25 ม.ค.นี้ ซึ่งทางนางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน จะเป็นผู้ชี้แจง
วานนี้ (22 ม.ค.) เงินบาทปิดตลาด 33.18/20 อ่อนค่าทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 33.14 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 33.21 บาท/ดอลลาร์ นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เงินบาทอ่อนค่าลงตั้งแต่ช่วงเปิดตลาด และเริ่มทรงตัวในช่วงบ่าย ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับอ่อนค่าทั้งภูมิภาค เหตุผลหลักๆ เป็นเรื่องของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงและประกอบกับ ธปท.เข้ามาดูแล
ธปท.เลี้ยงข้าว สนช.ด้านการเงิน
วันเดียวกันเวลา 12.00-14.00 น.ธปท.ได้เชิญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อาทิ นายอัมมาร สยามวาลา นายชาติศิริ โสภณพนิช คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ รวมทั้งข้าราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และนายสมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง รวมทั้งสิ้นประมาณ 30-40 คน ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ หนึ่งในสมาชิกสนช. กล่าว่า ธปท.ได้เชิญมารับประทานอาหาร เพื่อเลี้ยงขอบคุณในการทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งเรื่องการผ่านการพิจารณาของ สนช.สำหรับกฎหมายการเงินทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.ธปท. พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน และพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
แนะหมอเลี๊ยบกระตุ้น ศก.
กรณีที่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) ตัวเก็งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาระบุว่า จะใช้วิธีการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม อดีตประธานสมาคมธนาคารไทย และสมาชิก สนช.กล่าวว่า การใช้นโยบายบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง ควรต้องมีการชี้แจงเหตุผลให้ชัดเจน และต้องมีการหารือกับ ธปท.ด้วย เพราะการที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้นั้นก็มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาวะตลาดโลก ความเชื่อมั่นของนักลงทุน เป็นต้น จึงไม่ใช่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาเท่านั้น
“จริงๆ แล้วการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมาจากหลายปัจจัย คือจากตลาดโลก ซึ่งปัจจัยจากตลาดโลกในขณะนี้เห็นว่าเราคงยังพึ่งไม่ได้ อีกปัจจัยคือความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งโดยเฉพาะปัจจัยความเชื่อมั่น หากใครเข้ามาเป็นรัฐบาลควรจะต้องแสดงทิศทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชัดเจน ซึ่งในส่วนของภาคธุรกิจเอง ขณะนี้ก็กำลังที่จะต้องการรวบรวมสิ่งที่ภาคธุรกิขต้องการให้รัฐบาลใหม่ทำ” คุณหญิงชฎา กล่าว
ด้าน นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ สมาชิกสนช.กล่าวว่า เห็นด้วยหากรัฐมนตรีคลังคนใหม่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปรับลดดอกเบี้ย เพื่อเป็นส่วนช่วยเพิ่มการใช้จ่ายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดดอกเบี้ยในภาวะปัจจุบันคงลดลงได้ไม่มาก เพราะมีข้อจำกัดในการดูแลเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้ฝากเงินโดยเฉพาะกลุ่มเกษียณและคนทั่วไป ซึ่งมีรายได้หลักจากอัตราดอกเบี้ย เพราะถ้าผลตอบแทนเงินฝากลดลงมากๆ อาจจะยิ่งไปทให้มีการชะลอการจับจ่ายใช้สอยลงไปอีกจนทำให้เศรษฐกิจกลับกลายเป็นชะลอตัวได้เช่นกัน
“ถ้าจะลดดอกเบี้ยนโยบายการเงินก็น่าจะลดลงได้อีกประมาณ 1% ซึ่งต้องลงแรงๆ จึงจะดึงดอกเบี้ยในตลาดเงินลงได้ประมาณ 0.75% แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องลงพรวดทีเดียวต้องดูจังหวะเวลาให้ดีด้วย ค่อยๆลง เพื่อจะได้ช่วยให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศและการลงทุน แต่การใช้นโยบายการเงินให้ได้ผลก็ต้องทำควบคู่กับนโยบายการคลัง เช่น การลดภาษี แต่ก็ไม่ใช่ลดมากจนกระทบรายได้รัฐบาล การลงทุนเมกะโปรเจกต์ ซึ่งการทำนโยบายรัฐมนตรีคลังต้องคุยกับผู้ว่าแบงก์ชาติตามกรอบกฎหมายใหม่”นายสมชาย กล่าว
ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเลือกระหว่างการดูแลเงินเฟ้อกับแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ว่าจะได้ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐชะลอรุนแรงแค่ไหน ซึ่งมีการมองกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอรุนแรง ดังนั้นถ้าผลออกมาว่าชะลอรุนแรงผลกระทบต่อไทยและเศรษฐกิจทั่วโลกน่าจะไปในทิศทางที่รุนแรงด้วย โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่แทบทุกประเทศมีสินค้าที่ส่งไปขายที่สหรัฐทั้งนั้น รวมทั้งภาคการลงทุนโดยตรงก็น่าจะมีการดึงเงินกลับ ฉะนั้นภาวะนี้การห่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะเหมาะ เพราะเงินเฟ้อ เป็นเรื่องที่เพิ่มตามราคาน้ำมันมันที่ควบคุมไม่ได้ สรุปควรให้เศรษฐกิจเติบโตโดยมีภาวะเงินเฟ้อบ้างน่าจะดีกว่าปล่อยให้เศรษฐกิจหดตัวแบบมีเงินเฟ้อ
นายสมชายเห็นด้วยหากธปท.จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เพราะปัจจุบันเนื้อหาของมาตรการจริงๆมีการยกเว้นไปหลายประเภทแล้ว ที่เหลือบังคับใช้อยู่ก็น้อยมากไม่ได้มีผลต่อการไหลเข้าออกของเงิน และมีผลต่อค่าเงินบาทแต่อย่างไรแล้ว เพราะที่ผ่านมาผลของมาตรากรก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่ามาตรการ 30% ไม่ได้มีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแต่อย่างใด ฉะนั้นจะยกเลิกตอนนี้หรือยกเลิกเมื่อไรก็ไม่ส่งผลอะไรแล้ว และที่สำคัญหากยกเลิก 30% ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวไปแล้ว ธปท.จะนำกลับมาใช้อีก เป็นกันสำรอง 10%,20%หรือ 30%ก็ได้ หรือจะใช้มาตรการในการดูแลอื่นๆ ก็ยังสามารถทำได้
“ในส่วนของการขายหุ้นล็อตใหญ่จะมีการไหลออกของเงินทุนมากน้อยแค่ไหนต้องรอให้ครบกำหนดชำระราคาหลักทรัพย์ตามระเบียบ T+3 ก่อน แต่ตอนนี้เห็นเพียงนักลงทุนต่างชาติเอาพอสมควรแต่ก็ไม่มากนัก และขณะนี้นักลงทุนต่างชาติมีการแรงซื้อเงินดอลลาร์กลับมาบ้างในส่วนของตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) ดังนั้น สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนในขณะนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเงินบาทของไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะปัญหาซับไพร์ม ซึ่งในส่วนของการดูแลเงินบาท ธปท.ยังคงดูแลตามปกติ”
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า วิกฤตซับไพรม์ของสหรัฐฯ ยังไม่นิ่งและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้น แต่มีผลกระทบต่อการส่งออกด้วย ทุกคนยังติดตามดูสถานการณ์ว่าจะมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน โดย ธปท.ประเมินปัญหาซับไพรม์ถือว่าเป็นความเสี่ยงหลักของปีนี้และได้เตรียมพร้อมรับมือไว้หลายๆ ทาง
ทั้งนี้ การประเมินผลกระทบที่ชัดเจนจะมีการชี้แจงรายละเอียดในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ วันที่ 25 ม.ค.นี้ ซึ่งทางนางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน จะเป็นผู้ชี้แจง
วานนี้ (22 ม.ค.) เงินบาทปิดตลาด 33.18/20 อ่อนค่าทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 33.14 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 33.21 บาท/ดอลลาร์ นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เงินบาทอ่อนค่าลงตั้งแต่ช่วงเปิดตลาด และเริ่มทรงตัวในช่วงบ่าย ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับอ่อนค่าทั้งภูมิภาค เหตุผลหลักๆ เป็นเรื่องของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงและประกอบกับ ธปท.เข้ามาดูแล
ธปท.เลี้ยงข้าว สนช.ด้านการเงิน
วันเดียวกันเวลา 12.00-14.00 น.ธปท.ได้เชิญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อาทิ นายอัมมาร สยามวาลา นายชาติศิริ โสภณพนิช คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ รวมทั้งข้าราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และนายสมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง รวมทั้งสิ้นประมาณ 30-40 คน ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ หนึ่งในสมาชิกสนช. กล่าว่า ธปท.ได้เชิญมารับประทานอาหาร เพื่อเลี้ยงขอบคุณในการทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งเรื่องการผ่านการพิจารณาของ สนช.สำหรับกฎหมายการเงินทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.ธปท. พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน และพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
แนะหมอเลี๊ยบกระตุ้น ศก.
กรณีที่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) ตัวเก็งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาระบุว่า จะใช้วิธีการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม อดีตประธานสมาคมธนาคารไทย และสมาชิก สนช.กล่าวว่า การใช้นโยบายบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง ควรต้องมีการชี้แจงเหตุผลให้ชัดเจน และต้องมีการหารือกับ ธปท.ด้วย เพราะการที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้นั้นก็มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาวะตลาดโลก ความเชื่อมั่นของนักลงทุน เป็นต้น จึงไม่ใช่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาเท่านั้น
“จริงๆ แล้วการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมาจากหลายปัจจัย คือจากตลาดโลก ซึ่งปัจจัยจากตลาดโลกในขณะนี้เห็นว่าเราคงยังพึ่งไม่ได้ อีกปัจจัยคือความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งโดยเฉพาะปัจจัยความเชื่อมั่น หากใครเข้ามาเป็นรัฐบาลควรจะต้องแสดงทิศทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชัดเจน ซึ่งในส่วนของภาคธุรกิจเอง ขณะนี้ก็กำลังที่จะต้องการรวบรวมสิ่งที่ภาคธุรกิขต้องการให้รัฐบาลใหม่ทำ” คุณหญิงชฎา กล่าว
ด้าน นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ สมาชิกสนช.กล่าวว่า เห็นด้วยหากรัฐมนตรีคลังคนใหม่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปรับลดดอกเบี้ย เพื่อเป็นส่วนช่วยเพิ่มการใช้จ่ายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดดอกเบี้ยในภาวะปัจจุบันคงลดลงได้ไม่มาก เพราะมีข้อจำกัดในการดูแลเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้ฝากเงินโดยเฉพาะกลุ่มเกษียณและคนทั่วไป ซึ่งมีรายได้หลักจากอัตราดอกเบี้ย เพราะถ้าผลตอบแทนเงินฝากลดลงมากๆ อาจจะยิ่งไปทให้มีการชะลอการจับจ่ายใช้สอยลงไปอีกจนทำให้เศรษฐกิจกลับกลายเป็นชะลอตัวได้เช่นกัน
“ถ้าจะลดดอกเบี้ยนโยบายการเงินก็น่าจะลดลงได้อีกประมาณ 1% ซึ่งต้องลงแรงๆ จึงจะดึงดอกเบี้ยในตลาดเงินลงได้ประมาณ 0.75% แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องลงพรวดทีเดียวต้องดูจังหวะเวลาให้ดีด้วย ค่อยๆลง เพื่อจะได้ช่วยให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศและการลงทุน แต่การใช้นโยบายการเงินให้ได้ผลก็ต้องทำควบคู่กับนโยบายการคลัง เช่น การลดภาษี แต่ก็ไม่ใช่ลดมากจนกระทบรายได้รัฐบาล การลงทุนเมกะโปรเจกต์ ซึ่งการทำนโยบายรัฐมนตรีคลังต้องคุยกับผู้ว่าแบงก์ชาติตามกรอบกฎหมายใหม่”นายสมชาย กล่าว
ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเลือกระหว่างการดูแลเงินเฟ้อกับแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ว่าจะได้ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐชะลอรุนแรงแค่ไหน ซึ่งมีการมองกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอรุนแรง ดังนั้นถ้าผลออกมาว่าชะลอรุนแรงผลกระทบต่อไทยและเศรษฐกิจทั่วโลกน่าจะไปในทิศทางที่รุนแรงด้วย โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่แทบทุกประเทศมีสินค้าที่ส่งไปขายที่สหรัฐทั้งนั้น รวมทั้งภาคการลงทุนโดยตรงก็น่าจะมีการดึงเงินกลับ ฉะนั้นภาวะนี้การห่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะเหมาะ เพราะเงินเฟ้อ เป็นเรื่องที่เพิ่มตามราคาน้ำมันมันที่ควบคุมไม่ได้ สรุปควรให้เศรษฐกิจเติบโตโดยมีภาวะเงินเฟ้อบ้างน่าจะดีกว่าปล่อยให้เศรษฐกิจหดตัวแบบมีเงินเฟ้อ
นายสมชายเห็นด้วยหากธปท.จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เพราะปัจจุบันเนื้อหาของมาตรการจริงๆมีการยกเว้นไปหลายประเภทแล้ว ที่เหลือบังคับใช้อยู่ก็น้อยมากไม่ได้มีผลต่อการไหลเข้าออกของเงิน และมีผลต่อค่าเงินบาทแต่อย่างไรแล้ว เพราะที่ผ่านมาผลของมาตรากรก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่ามาตรการ 30% ไม่ได้มีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแต่อย่างใด ฉะนั้นจะยกเลิกตอนนี้หรือยกเลิกเมื่อไรก็ไม่ส่งผลอะไรแล้ว และที่สำคัญหากยกเลิก 30% ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวไปแล้ว ธปท.จะนำกลับมาใช้อีก เป็นกันสำรอง 10%,20%หรือ 30%ก็ได้ หรือจะใช้มาตรการในการดูแลอื่นๆ ก็ยังสามารถทำได้