นักลงทุนต่างชาติยี้โผครม.รัฐบาลนอมินี"แม้ว" ผสมปัญหาซับไพรม์ลามท่วมทุ่ง กระหน่ำทิ้งตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นไทยรูดอีก 25 จุด หรือ 3.26% ระหว่างทรุดหนักไหลเกือบ 36 จุด ฝรั่งขายเพิ่มอีก 5 พันล้าน โบรกฯแนะหันถือเงินสด หวั่นปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯล้มกระทบเป็นโดมิโน ด้านกองทุนตั้งท่ารอดักเก็บหุ้นที่ดัชนี 720 จุด "พิชิต" ระบุ ปรับพอร์ตวายุภักษ์ขายหุ้นลดความเสี่ยง "TSFC" ขอเพิ่มวงเงินค้ำประกันกู้เงินซื้อหุ้น ขณะที่รมว.คลังเชื่อฝรั่งพร้อมรีเทิร์นหุ้นไทย ย้ำชัดยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษมาดูแล
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (22 ม.ค.) นักลงทุนต่างชาติยังกระหน่ำเทขายหุ้นในตลาดทั่วโลกออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯยังส่อวิกฤตหนัก ประกอบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ซึ่งลามแพร่กระจายกระทบสถาบันการเงินหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับความไม่มั่นใจต่อทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ 741.54 จุด ลดลง 24.99 จุด หรือ 3.26% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 754.16 จุดขณะที่จุดต่ำสุดอยู่ที่ 730.69 จุด ซึ่งลดลงถึง 35.84 จุด มูลค่าการซื้อขาย 24,249.05 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4,857.69 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 80.10 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,937.79 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปี 2551 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิแล้ว 34,920.03 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเป็นไปตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาคจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งตลาดหุ้นไทยดัชนีลดลง 3% กว่า ถือว่าต่ำกว่าตลาดภูมิภาคที่เฉลี่ยลดลง 4-10% จนทำให้ตลาดหุ้นต่างประเทศบางแห่งต้องหยุดการซื้อขายชั่วคราว
ทั้งนี้ในช่วงนี้ตลาดหุ้นแถบยุโรปจะมีความผันผวนมาก นักลงทุนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดก่อนตัดสินใจลงทุน รวมทั้งต้องรอความชัดเจนจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่จะออกมาตรการมาบรรเทาผลกระทบดังกล่าวอย่างไร ซึ่งขณะนี้นักวิเคราะห์ต่างๆ ก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกในเรื่องความยืดเยื้อของผลกระทบจากซับไพรม์
“2 วันที่ผ่านมานั้นไม่ถึงระดับที่จะต้องหยุดพักการซื้อขายและคงจะไม่ต้องออกมาตรการออกมาเพื่อรองรับ ซึ่งเมื่อราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงถึงจุดที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับก็จะมีนักลงทุนสถาบันรายย่อย กลับมาซื้อ”นางภัทรียา กล่าว
สำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่ขายสุทธิตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันจำนวน 3.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในปีที่ผ่านมามีการซื้อสุทธิ 5.5หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ในปีนี้ยอดการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศยังคงเหลืออีก 2.1 หมื่นล้านบาท คาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะไหลกลับไปที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาคถือว่าเป็นการปรับพอร์ตแต่นักลงทุนต่างประเทศก็ยังถือคองตลาดหุ้นไทยอยู่ 25%
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ระยะสั้น ดัชนีอาจปรับลดลงแตะระดับ 680 จุดได้ หากเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวต่ำกว่า 4% และเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ขณะเดียวกันหากปัญหาเหล่านี้คลี่คลายลงได้ดัชนีหุ้นไทยก็อาจรีบาวด์กลับขึ้นมาแตะระดับ 1,080 จุด ได้เช่นกัน ช่วงนี้จึงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีแต่ราคาหุ้นยังไม่ปรับตัวขึ้นมากนัก
เทขายหุ้นโยกถือเงินสด
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลก จากความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และปัญหาซับไพรม์ที่ลุกลามออกไปยังประเทศยุโรปและแถบเอเชีย โดยวานนี้ทางแบงก์ใหญ่ในประเทศจีน ออกมายอมรับว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ขณะที่กองทุนต่างๆ ยังมีการปรับพอร์ตลดการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเปลี่ยนไปถือเงินสดเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง
"วานนี้ตลาดหุ้นยุโรปถือว่าสาหัส ขณะที่เอเชียยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากวานนี้เห็นได้จากตลาดหุ้นนิกเคอิรวมถึงฮั่งเส็ง ที่ดัชนีลดลงค่อนข้างรุนแรง เรียกได้ว่ารอบนี้เป็นการปรับพอร์ตในระดับโลกจากความกลัวต่อสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในสหรัฐ ทำให้หุ้นไทยก็รับผลกระทบไปด้วย"นายพิชัย กล่าว
นายวรุฒม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า มีการกระหน่ำเทขายหุ้นในตลาดหุ้นทั่วโลกเรียกได้ว่าเกิด panic sell เพราะความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐที่จะถดถอยจากผลกระทบปัญหาซับไพรม์ ประกอบกับผู้ที่ถือหน่วยลงทุนในสหรัฐและยุโรป เกิดความตื่นตระหนก และแห่ทำการไถ่ถอนกองทุนที่ตัวเองถือไว้ทำให้บรรดากองทุนไม่มีทางเลือกอื่นต้องขายทรัพย์สินหรือขายหุ้นที่ลงทุนไว้ โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่เอเชียทุกตลาด
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาลูกโซ่ ทุกคนเกรงกันว่าหากปัญหาใหญ่
ขึ้นจนทำให้เศรษฐกิจต้องล้มจริงๆ อาจจะเกิดผลกระทบเป็นโดมิโนไปทุกตลาดหุ้น
วายุภักษ์ปรับพอร์ตขายหุ้น
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)หรือ MFC ในฐานะผู้ร่วมบริหารจัดการกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง กล่าวว่า กองทุนวายุภักษ์ได้ปรับพอร์ตการลงทุนไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งการปรับพอร์ตดังกล่าวเนื่องจากกองทุนฯ มีการนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาเป็นแนวทางในการลงทุน และจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนดี ขณะเดียวกันก็จะลดการลงทุนในตราสารที่มีแนวโน้มความผันผวนสูงลง
“พอร์ตส่วนใหญ่ของ วายุภักษ์หนึ่ง ถือลงทุนในหุ้นพลังงานและธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ทยอยปรับพอร์ตโดยขายหุ้นเหล่านี้ออกไปบ้าง ผลกระทบจึงไม่มากนัก”ดร.พิชิต กล่าว
สำหรับผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ 1 นั้นขอให้สบายใจเพราะแม้ดัชนีหุ้นจะปรับลดลงค่อนข้างแรง แต่กองทุนมีกำไรสะสมที่เพียงพอต่อการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละปีแน่นอน ซึ่งล่าสุดกองทุนได้ประกาศจ่ายปันผลจากผลประกอบการครึ่งปีหลังของปี 50 อีก 4% ทำให้ทั้งปี กองทุนฯ มียอดการจ่ายปันผลรวม 7% สูงกว่าปี 49 ที่จ่ายปันผล 6.5%
กองทุนรอเก็บหุ้นที่ 720 จุด
นายวิชชุ จันทาทับ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นไทยน่าจะยังแกว่งตัวอยู่ในระดับ 730-750 จุด ตามทิศทางการลงทุนของตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งในสัปดาห์หน้ามีปัจจัยการประกาศดอกเบี้ยของเฟด ที่ต้องจับตาดูอีกครั้งว่าจะออกมาเป็นอย่างไร และส่งผลต่อการลงทุนแค่ไหน อย่างไรก็ตาม หากมองภาพรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว จากสถิติที่ผ่านมา หากมีการยอมรับแล้วว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอยู่ในช่วงถดถอย ความผันผวนจะอยู่ต่อไปอีกประมาณ 6-8 เดือนแต่ไม่ลงลึก หลังจากนั้นก็จะกลับมาได้อีกครั้ง ดังนั้น เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลัง จะได้เห็นดัชนีดีดตัวขึ้นอีกครั้ง
สำหรับการลงทุนของบริษัท นายวิชชุ กล่าวว่า แม้ตลาดหุ้นจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่ผลตอบแทนกองทุนหุ้นของบลจ.ไทยพาณิชย์ก็ยังเป็นบวกและเหนือกว่าดัชนีอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากสัดส่วนการถือเงินสดที่ค่องข้างสูงโดยมีสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตเพียง 90% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเราเองก็เข้าไปลงทุนแบบซื้อถอยบ้าง แต่หากดัชนีปรับลดลงไปต่ำกว่า 720 จุด จะเป็นจังหวะที่จะทยอยซื้อแบบซื้อยัน นั่นคือซื้อเก็บไว้ในพอร์ตโดยไม่ขายออกเพื่อรอจังหวะทำกำไร
"ตอนนี้ P/E ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 11 เท่ากว่าๆ ซึ่งหากดัชนีปรับลดลงไปถึง 720 จุด ก็จะขยับลงมาอยู่ที่ 10 เท่า ซึ่ง P/E ในระดับนี้ถือว่าค่อนข้างถูก ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะดีขึ้นจากการได้รัฐบาลใหม่ ทำให้พื้นฐานของประเทศยังดีอยู่"นายวิชชุ กล่าว
TSFC ขอเพิ่มเงินค้ำประกัน
ด้าน แหล่งข่าวจาก บล.เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ TSFC กล่าวว่า การปรับลดลงของดัชนีหุ้นไทยนั้นทำให้บริษัทต้องขอให้ลูกค้าบางรายที่กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จิ้น) นำเงินมาวางเป็นหลักประกัน(คอล มาร์จิ้น) เพิ่มอย่างไรก็ตามมีนักลงทุนบางรายที่มองว่าการลงทุนในช่วงนี้ไม่ค่อยดี จึงไม่อยากวางเงินเพิ่มตัดสินใจขายหุ้นเพื่อถือเงินสดแทนก่อน ส่วนเรื่องการบังคับขาย(ฟอร์ซเซล) นั้นยังแทบไม่มี
รมว.คลังเชื่อฝรั่งพร้อมรีเทิร์น
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวถึงภาวะหุ้นในขณะนี้ว่า เป็นความกังวลต่อผลกระทบในวิกฤติซับไพรม์ของสหรัฐที่ลุกลามไปทั่วโลก และเป็นสาเหตุให้ตลาดหุ้นเกือบทุกแห่งร่วงลงอย่างแรง อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่านักลงทุนต่างชาติจะตัดสินใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดแรกๆ ในภูมิภาค หลังจากที่เทขายหุ้นทิ้งไป
ทั้งนี้การปรับลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยิ่งหากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ และมีคณะรัฐมนตรีเป็นที่ยอมรับ ก็ยิ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยตอนนี้ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษมาดูแล เพราะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนกันกับตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งยอมรับว่ามีเงินจากการขายหุ้นไหลออกไปลงทุนประเภทอื่นเพื่อไม่ให้เสียโอกาส ซึ่งส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปบ้าง แต่เชื่อในที่สุดก็จะกลับเข้ามาลงทุนเช่นเดิม
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (22 ม.ค.) นักลงทุนต่างชาติยังกระหน่ำเทขายหุ้นในตลาดทั่วโลกออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯยังส่อวิกฤตหนัก ประกอบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ซึ่งลามแพร่กระจายกระทบสถาบันการเงินหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับความไม่มั่นใจต่อทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ 741.54 จุด ลดลง 24.99 จุด หรือ 3.26% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 754.16 จุดขณะที่จุดต่ำสุดอยู่ที่ 730.69 จุด ซึ่งลดลงถึง 35.84 จุด มูลค่าการซื้อขาย 24,249.05 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4,857.69 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 80.10 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,937.79 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปี 2551 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิแล้ว 34,920.03 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเป็นไปตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาคจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งตลาดหุ้นไทยดัชนีลดลง 3% กว่า ถือว่าต่ำกว่าตลาดภูมิภาคที่เฉลี่ยลดลง 4-10% จนทำให้ตลาดหุ้นต่างประเทศบางแห่งต้องหยุดการซื้อขายชั่วคราว
ทั้งนี้ในช่วงนี้ตลาดหุ้นแถบยุโรปจะมีความผันผวนมาก นักลงทุนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดก่อนตัดสินใจลงทุน รวมทั้งต้องรอความชัดเจนจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่จะออกมาตรการมาบรรเทาผลกระทบดังกล่าวอย่างไร ซึ่งขณะนี้นักวิเคราะห์ต่างๆ ก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกในเรื่องความยืดเยื้อของผลกระทบจากซับไพรม์
“2 วันที่ผ่านมานั้นไม่ถึงระดับที่จะต้องหยุดพักการซื้อขายและคงจะไม่ต้องออกมาตรการออกมาเพื่อรองรับ ซึ่งเมื่อราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงถึงจุดที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับก็จะมีนักลงทุนสถาบันรายย่อย กลับมาซื้อ”นางภัทรียา กล่าว
สำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่ขายสุทธิตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันจำนวน 3.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในปีที่ผ่านมามีการซื้อสุทธิ 5.5หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ในปีนี้ยอดการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศยังคงเหลืออีก 2.1 หมื่นล้านบาท คาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะไหลกลับไปที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาคถือว่าเป็นการปรับพอร์ตแต่นักลงทุนต่างประเทศก็ยังถือคองตลาดหุ้นไทยอยู่ 25%
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ระยะสั้น ดัชนีอาจปรับลดลงแตะระดับ 680 จุดได้ หากเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวต่ำกว่า 4% และเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ขณะเดียวกันหากปัญหาเหล่านี้คลี่คลายลงได้ดัชนีหุ้นไทยก็อาจรีบาวด์กลับขึ้นมาแตะระดับ 1,080 จุด ได้เช่นกัน ช่วงนี้จึงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีแต่ราคาหุ้นยังไม่ปรับตัวขึ้นมากนัก
เทขายหุ้นโยกถือเงินสด
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลก จากความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และปัญหาซับไพรม์ที่ลุกลามออกไปยังประเทศยุโรปและแถบเอเชีย โดยวานนี้ทางแบงก์ใหญ่ในประเทศจีน ออกมายอมรับว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ขณะที่กองทุนต่างๆ ยังมีการปรับพอร์ตลดการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเปลี่ยนไปถือเงินสดเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง
"วานนี้ตลาดหุ้นยุโรปถือว่าสาหัส ขณะที่เอเชียยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากวานนี้เห็นได้จากตลาดหุ้นนิกเคอิรวมถึงฮั่งเส็ง ที่ดัชนีลดลงค่อนข้างรุนแรง เรียกได้ว่ารอบนี้เป็นการปรับพอร์ตในระดับโลกจากความกลัวต่อสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในสหรัฐ ทำให้หุ้นไทยก็รับผลกระทบไปด้วย"นายพิชัย กล่าว
นายวรุฒม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า มีการกระหน่ำเทขายหุ้นในตลาดหุ้นทั่วโลกเรียกได้ว่าเกิด panic sell เพราะความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐที่จะถดถอยจากผลกระทบปัญหาซับไพรม์ ประกอบกับผู้ที่ถือหน่วยลงทุนในสหรัฐและยุโรป เกิดความตื่นตระหนก และแห่ทำการไถ่ถอนกองทุนที่ตัวเองถือไว้ทำให้บรรดากองทุนไม่มีทางเลือกอื่นต้องขายทรัพย์สินหรือขายหุ้นที่ลงทุนไว้ โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่เอเชียทุกตลาด
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาลูกโซ่ ทุกคนเกรงกันว่าหากปัญหาใหญ่
ขึ้นจนทำให้เศรษฐกิจต้องล้มจริงๆ อาจจะเกิดผลกระทบเป็นโดมิโนไปทุกตลาดหุ้น
วายุภักษ์ปรับพอร์ตขายหุ้น
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)หรือ MFC ในฐานะผู้ร่วมบริหารจัดการกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง กล่าวว่า กองทุนวายุภักษ์ได้ปรับพอร์ตการลงทุนไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งการปรับพอร์ตดังกล่าวเนื่องจากกองทุนฯ มีการนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาเป็นแนวทางในการลงทุน และจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนดี ขณะเดียวกันก็จะลดการลงทุนในตราสารที่มีแนวโน้มความผันผวนสูงลง
“พอร์ตส่วนใหญ่ของ วายุภักษ์หนึ่ง ถือลงทุนในหุ้นพลังงานและธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ทยอยปรับพอร์ตโดยขายหุ้นเหล่านี้ออกไปบ้าง ผลกระทบจึงไม่มากนัก”ดร.พิชิต กล่าว
สำหรับผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ 1 นั้นขอให้สบายใจเพราะแม้ดัชนีหุ้นจะปรับลดลงค่อนข้างแรง แต่กองทุนมีกำไรสะสมที่เพียงพอต่อการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละปีแน่นอน ซึ่งล่าสุดกองทุนได้ประกาศจ่ายปันผลจากผลประกอบการครึ่งปีหลังของปี 50 อีก 4% ทำให้ทั้งปี กองทุนฯ มียอดการจ่ายปันผลรวม 7% สูงกว่าปี 49 ที่จ่ายปันผล 6.5%
กองทุนรอเก็บหุ้นที่ 720 จุด
นายวิชชุ จันทาทับ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นไทยน่าจะยังแกว่งตัวอยู่ในระดับ 730-750 จุด ตามทิศทางการลงทุนของตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งในสัปดาห์หน้ามีปัจจัยการประกาศดอกเบี้ยของเฟด ที่ต้องจับตาดูอีกครั้งว่าจะออกมาเป็นอย่างไร และส่งผลต่อการลงทุนแค่ไหน อย่างไรก็ตาม หากมองภาพรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว จากสถิติที่ผ่านมา หากมีการยอมรับแล้วว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอยู่ในช่วงถดถอย ความผันผวนจะอยู่ต่อไปอีกประมาณ 6-8 เดือนแต่ไม่ลงลึก หลังจากนั้นก็จะกลับมาได้อีกครั้ง ดังนั้น เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลัง จะได้เห็นดัชนีดีดตัวขึ้นอีกครั้ง
สำหรับการลงทุนของบริษัท นายวิชชุ กล่าวว่า แม้ตลาดหุ้นจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่ผลตอบแทนกองทุนหุ้นของบลจ.ไทยพาณิชย์ก็ยังเป็นบวกและเหนือกว่าดัชนีอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากสัดส่วนการถือเงินสดที่ค่องข้างสูงโดยมีสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตเพียง 90% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเราเองก็เข้าไปลงทุนแบบซื้อถอยบ้าง แต่หากดัชนีปรับลดลงไปต่ำกว่า 720 จุด จะเป็นจังหวะที่จะทยอยซื้อแบบซื้อยัน นั่นคือซื้อเก็บไว้ในพอร์ตโดยไม่ขายออกเพื่อรอจังหวะทำกำไร
"ตอนนี้ P/E ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 11 เท่ากว่าๆ ซึ่งหากดัชนีปรับลดลงไปถึง 720 จุด ก็จะขยับลงมาอยู่ที่ 10 เท่า ซึ่ง P/E ในระดับนี้ถือว่าค่อนข้างถูก ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะดีขึ้นจากการได้รัฐบาลใหม่ ทำให้พื้นฐานของประเทศยังดีอยู่"นายวิชชุ กล่าว
TSFC ขอเพิ่มเงินค้ำประกัน
ด้าน แหล่งข่าวจาก บล.เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ TSFC กล่าวว่า การปรับลดลงของดัชนีหุ้นไทยนั้นทำให้บริษัทต้องขอให้ลูกค้าบางรายที่กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จิ้น) นำเงินมาวางเป็นหลักประกัน(คอล มาร์จิ้น) เพิ่มอย่างไรก็ตามมีนักลงทุนบางรายที่มองว่าการลงทุนในช่วงนี้ไม่ค่อยดี จึงไม่อยากวางเงินเพิ่มตัดสินใจขายหุ้นเพื่อถือเงินสดแทนก่อน ส่วนเรื่องการบังคับขาย(ฟอร์ซเซล) นั้นยังแทบไม่มี
รมว.คลังเชื่อฝรั่งพร้อมรีเทิร์น
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวถึงภาวะหุ้นในขณะนี้ว่า เป็นความกังวลต่อผลกระทบในวิกฤติซับไพรม์ของสหรัฐที่ลุกลามไปทั่วโลก และเป็นสาเหตุให้ตลาดหุ้นเกือบทุกแห่งร่วงลงอย่างแรง อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่านักลงทุนต่างชาติจะตัดสินใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดแรกๆ ในภูมิภาค หลังจากที่เทขายหุ้นทิ้งไป
ทั้งนี้การปรับลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยิ่งหากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ และมีคณะรัฐมนตรีเป็นที่ยอมรับ ก็ยิ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยตอนนี้ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษมาดูแล เพราะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนกันกับตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งยอมรับว่ามีเงินจากการขายหุ้นไหลออกไปลงทุนประเภทอื่นเพื่อไม่ให้เสียโอกาส ซึ่งส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปบ้าง แต่เชื่อในที่สุดก็จะกลับเข้ามาลงทุนเช่นเดิม