ส่งออกปี 2550 ปรอทแตก อัตราขยายตัวทะลุเป้า 17.5% จากเป้าเดิม 12-12.5% แถมได้ดุลการค้าสูงถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ยืนยันเป้าปีนี้ 10-12.5% เช่นเดิม แม้ฐานการส่งออกจะสูงมากก็ตาม เหตุแนวโน้มส่งออกยังคงไปได้ดี “ราเชนทร์” จับมือผู้ส่งออกลุยเจาะตลาดใหม่ เพิ่มสัดส่วนตลาดใหม่ ตลาดหลักเหลือ 50/50 เท่ากัน
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในปี 2550 มีมูลค่า 152,477.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.5% สูงกว่าเป้าหมายการส่งออกที่กำหนดไว้ 10-12.5% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 140,010.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.7% โดยเกินดุลการค้า 12,467 ล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้น 1,214.9%
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรในรอบปี เพิ่มขึ้น 16.5% โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง สินค้าอาหาร เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักและผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่แข็งและแปรรูป น้ำตาล และยางพารา
สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 17.7% สินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้เดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า
ส่วนสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 17.8% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่ม เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ส่วนประกอบของอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ทองแดง และเลนส์
สำหรับตลาดส่งออก เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งตลาดใหม่และตลาดหลัก โดยเพิ่มขึ้น 25.9% และ 11.2% ตามลำดับ และทำให้สัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 46.2% ตลาดหลักลดลงเหลือ 53.8% ตลาดหลักสำคัญที่ขยายตัว คือ อาเซียน 5 ประเทศ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 20.1% 15.6% และ 10.6% ส่วนสหรัฐฯ ลดลง 1.2% สืบเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง ภาวะการแข่งขันในตลาด การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิก GSP สินค้าไทย
ขณะที่ตลาดใหม่ เพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ได้แก่ ยุโรปตะวันออก เพิ่มขึ้น 58.2% อินเดีย 47.2% แอฟริกา 36.9% ลาตินอเมริกา 33.7% ออสเตรเลีย 29.5% ตะวันออกกลาง 29.1% จีน 26.5% อินโดจีนและพม่า 22.1% เป็นต้น
ในด้านการนำเข้า มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 2.2% สินค้าทุน 0.9% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 14.8% สินค้าอุปโภคบริโภค 24.6% และสินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 12.3% ส่วนอาวุธยุทธปัจจัย ลดลง 14.5%
นายเกริกไกร กล่าวอีกว่า แนวโน้มการส่งออกในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ส่วนไตรมาสที่ 2 ต้องดูปัจจัยสำคัญอย่างตลาดสหรัฐฯ ว่าทิศทางเศรษฐกิจจะเป็นยังไง ค่าเงินบาทของไทยจะมีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าเป้าหมายการส่งออกทั้งปีที่ตั้งไว้ในเบื้องต้นว่าจะขยายตัว 10-12.5% นั้น น่าจะมีความเป็นไปได้ แม้ฐานการส่งออกของปีที่ผ่านมาจะสูงมากก็ตาม ส่วนจะมีการปรับเป้าหรือไม่ เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีคนใหม่จะพิจารณา
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ขณะนี้ยังยืนยันเป้าหมายการส่งออกในปี 2551 ที่ 10-12.5% ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ฐานการส่งออกของปีที่ผ่านมาสูงมาก เพราะเห็นว่าการส่งออกจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้ที่จะขยายตัว 4.8% ยกเว้นสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ยังเชื่อว่าการส่งออกจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น 2% จากปีที่ผ่านมา ติดลบ 1.2% ขณะที่การค้าโลกขยายจะขยายตัว 6.7% ราคาสินค้าเกษตรยังคงดีต่อเนื่อง
เป้าส่งออกคงยังไม่ปรับ แม้ฐานปีที่ผ่านมาจะสูง โดยกรมฯ จะยังคงเดินหน้าผลักดันการส่งออกต่อไป ซึ่งจะร่วมมือกับภาคเอกชนเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกไปตลาดใหม่ให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าจะทำให้สัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่กับตลาดใหม่เหลือ 50/50 เท่ากัน จากปัจจุบันทำได้แล้ว 46/54 ส่วนปัจจัยที่ต้องระวัง คือ ค่าเงินบาท ราคาน้ำมัน และมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะมีมากขึ้น”นายราเชนทร์กล่าว
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในปี 2550 มีมูลค่า 152,477.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.5% สูงกว่าเป้าหมายการส่งออกที่กำหนดไว้ 10-12.5% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 140,010.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.7% โดยเกินดุลการค้า 12,467 ล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้น 1,214.9%
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรในรอบปี เพิ่มขึ้น 16.5% โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง สินค้าอาหาร เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักและผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่แช่แข็งและแปรรูป น้ำตาล และยางพารา
สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 17.7% สินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้เดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า
ส่วนสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 17.8% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่ม เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ส่วนประกอบของอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ทองแดง และเลนส์
สำหรับตลาดส่งออก เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งตลาดใหม่และตลาดหลัก โดยเพิ่มขึ้น 25.9% และ 11.2% ตามลำดับ และทำให้สัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 46.2% ตลาดหลักลดลงเหลือ 53.8% ตลาดหลักสำคัญที่ขยายตัว คือ อาเซียน 5 ประเทศ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 20.1% 15.6% และ 10.6% ส่วนสหรัฐฯ ลดลง 1.2% สืบเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง ภาวะการแข่งขันในตลาด การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิก GSP สินค้าไทย
ขณะที่ตลาดใหม่ เพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ได้แก่ ยุโรปตะวันออก เพิ่มขึ้น 58.2% อินเดีย 47.2% แอฟริกา 36.9% ลาตินอเมริกา 33.7% ออสเตรเลีย 29.5% ตะวันออกกลาง 29.1% จีน 26.5% อินโดจีนและพม่า 22.1% เป็นต้น
ในด้านการนำเข้า มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 2.2% สินค้าทุน 0.9% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 14.8% สินค้าอุปโภคบริโภค 24.6% และสินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 12.3% ส่วนอาวุธยุทธปัจจัย ลดลง 14.5%
นายเกริกไกร กล่าวอีกว่า แนวโน้มการส่งออกในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ส่วนไตรมาสที่ 2 ต้องดูปัจจัยสำคัญอย่างตลาดสหรัฐฯ ว่าทิศทางเศรษฐกิจจะเป็นยังไง ค่าเงินบาทของไทยจะมีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าเป้าหมายการส่งออกทั้งปีที่ตั้งไว้ในเบื้องต้นว่าจะขยายตัว 10-12.5% นั้น น่าจะมีความเป็นไปได้ แม้ฐานการส่งออกของปีที่ผ่านมาจะสูงมากก็ตาม ส่วนจะมีการปรับเป้าหรือไม่ เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีคนใหม่จะพิจารณา
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ขณะนี้ยังยืนยันเป้าหมายการส่งออกในปี 2551 ที่ 10-12.5% ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ฐานการส่งออกของปีที่ผ่านมาสูงมาก เพราะเห็นว่าการส่งออกจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้ที่จะขยายตัว 4.8% ยกเว้นสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ยังเชื่อว่าการส่งออกจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น 2% จากปีที่ผ่านมา ติดลบ 1.2% ขณะที่การค้าโลกขยายจะขยายตัว 6.7% ราคาสินค้าเกษตรยังคงดีต่อเนื่อง
เป้าส่งออกคงยังไม่ปรับ แม้ฐานปีที่ผ่านมาจะสูง โดยกรมฯ จะยังคงเดินหน้าผลักดันการส่งออกต่อไป ซึ่งจะร่วมมือกับภาคเอกชนเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกไปตลาดใหม่ให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าจะทำให้สัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่กับตลาดใหม่เหลือ 50/50 เท่ากัน จากปัจจุบันทำได้แล้ว 46/54 ส่วนปัจจัยที่ต้องระวัง คือ ค่าเงินบาท ราคาน้ำมัน และมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะมีมากขึ้น”นายราเชนทร์กล่าว