ท่านที่ปรึกษากฎหมาย ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ถูกกล่าวขานโดยทั่วไปว่าเป็นมหาสิบประโยค ทั้ง ๆ ที่มหาเปรียญนั้นมีขั้นสูงสุดแค่เก้าประโยค ก็เพราะว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ในพระธรรมวินัยอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง สามารถอธิบายพระธรรมคำสอนได้อย่างหมดจดงดงาม บริสุทธิ์บริบูรณ์ทั้งในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด
ท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่นเรื่องศาสดาปฏิภาณ เป็นต้น
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ เป็นคนบ้านเดียวกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชประดิษฐ์ และเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่น้อย เคยได้รับคำพยากรณ์จากพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดอยุธยาตั้งแต่ตอนยังเด็ก ๆ ว่าทั้งสองท่านนี้จะมีศักดิ์เป็นถึงพระยา แต่จะเป็นพระยากันคนละด้าน
ในกาลต่อมาท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีผู้พิพากษาภาคอยู่หลายภาค และเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา หากเทียบศักดิ์ชั้นกับสมัยโบราณก็อาจเทียบได้กับชั้นพระยา ส่วนพระภิกษุผู้เพื่อนที่ได้ครองสมณศักดิ์ถึงชั้นสมเด็จก็อาจเทียบชั้นพระยาได้เหมือนกัน
หลังจากที่ได้เข้าไปพบแนะนำตัวกับท่านที่ปรึกษาเป็นครั้งแรกแล้ว ผมก็เพียรพยายามเข้าไปพบท่านทุกครั้งที่ท่านมาบริษัท และพยายามสรุปเรื่องราวต่าง ๆ เข้าไปปรึกษาทุกครั้งไป
ท่านได้สอนให้ผมฝึกหัดสรุปประเด็นของเรื่องแต่ละเรื่องและเหตุผลความเป็นมา ตลอดจนความที่จะเป็นไป พร้อมกับเสนอความเห็นของผมด้วย ซึ่งในตอนแรก ๆ ผมไม่รู้ทางความคิดก็ทำผิดทำถูก แต่พอนานวันเข้าก็เตรียมการได้ตามที่ท่านต้องการ ทำให้ได้รับคำปรึกษาที่ชัดเจนรวดเร็วและนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย
แต่ผลที่ได้รับคือทำให้ผมรู้จักสรุปประเด็น ทำให้เข้าใจว่าประเด็นไหนเป็นประเด็นหลัก ประเด็นไหนเป็นประเด็นรอง เหตุผลที่มาและที่ไปของแต่ละประเด็นว่าเป็นประการใด ซึ่งนี่ก็คือรากฐานอันสำคัญของความเป็นนักกฎหมาย ที่บังเกิดประโยชน์ใหญ่หลวงกับผมในวันข้างหน้า เพราะนักกฎหมายจะเก่งได้ก็ต้องจับประเด็นได้เก่งและแม่นยำก่อน
จากนั้นท่านก็เน้นเรื่องการตรวจแก้เอกสาร รวมทั้งสัญญาต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องสัญญา ท่านไม่นิยมให้ร่างสัญญาอย่างยาว แนะนำให้ร่างอย่างสั้น ๆ แต่กำชับให้ศึกษาพิจารณาบทกฎหมายให้ชัดเจนก่อนว่าเรื่องไหนกฎหมายมีบัญญัติไว้แล้ว เรื่องไหนที่เปิดโอกาสให้คู่สัญญาตกลงกันเอง
เรื่องที่กฎหมายบัญญัติแล้ว ถ้าเป็นประโยชน์ก็ไม่ต้องเขียน แต่ถ้าเสียประโยชน์ก็อาจเขียนสัญญาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้หากไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง
ท่านที่ปรึกษาชี้แนะว่าเราเป็นนักกฎหมายไทยไม่จำเป็นต้องเอาอย่างนักกฎหมายฝรั่งที่เขาทำงานโดยคิดค่าจ้างตามเวลา ซึ่งต้องทำอะไรให้มากให้ยาวเข้าไว้ เราเป็นนักกฎหมายไทย ทำอะไรให้ได้ผลตามที่ต้องการ อย่าให้ยุ่งยากมากความ และทำให้คู่สัญญาสบายใจจะเป็นเรื่องดีที่สุด
เกี่ยวกับเอกสารนั้น ท่านพยายามแนะนำการใช้ภาษาไทยที่กระชับรัดกุมและชัดแจ้ง เว้นแต่จดหมายโต้ตอบที่ไม่เป็นเชิงทางการนัก ก็ให้ใช้โวหารต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น
ท่านชี้แนะว่าภาษาไทยของเราต่างกับภาษาชาติอื่น คือมีโวหารถึง 4 อย่างให้ใช้ ได้แก่ พรรณนาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร และอุปมาโวหาร หากรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมก็จักเป็นประโยชน์แก่ความเข้าใจและจิตใจของผู้อ่านได้มาก เสียดายนักที่คนรุ่นหลังเหินห่างความเป็นศาสตร์และศิลป์ของภาษาไทยไปจนไกลลิบลับ จึงมิได้สัมผัสกับอรรถรสและความลึกล้ำของภาษาไทยเหมือนกับคนยุคก่อน
ท่านบอกว่าภาษาไทยเรามีคำ ๆ หนึ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือคำว่าภาพพจน์ ซึ่งประกอบขึ้นจากคำว่า “ภาพ” และ “พจน์” ดังนั้นถ้าจะเขียนหนังสืออะไรก็ต้องเขียนให้เห็นทั้งภาพและทั้งพจน์ หรือถ้าจะพูดจาอะไรก็ต้องพูดจาให้เห็นทั้งภาพและพจน์
ท่านแนะว่านักภาษาที่เก่งเมื่อเขียนเรื่องเสือ อ่านแล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับว่าเสือนั้นมีชีวิต กระโดดเผ่นโผนโจนทะยานไปในพงป่า เขียนถึงปลา อ่านแล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับว่าปลาว่ายอยู่ในน้ำฉะนั้น
ที่ท่านแนะนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่กว่าจะฝึกฝนอบรมได้ท่านก็เพียรแก้แล้วแก้อีก บางครั้งแก้ไขต้นร่างของผมเกือบหมด เป็นเวลาปี ๆ การแก้ไขจึงน้อยลง และไปสู่การไม่แก้ไขเลย
ผมรู้สึกได้ด้วยตนเองว่าการที่ได้รู้จักกับท่านบุศย์ ขันธวิทย์ มหาบัณฑิตสิบประโยคผู้นี้ทำให้ความรู้ของผมก้าวรุดหน้าไปอีกขั้นใหญ่ ๆ โดยเฉพาะขั้นของการใช้วิชาชีพกฎหมาย และเป็นผลให้การทำหน้าที่นักกฎหมายในบริษัทเป็นไปโดยราบรื่น
ยิ่งนานวันเข้าท่านที่ปรึกษาก็มีความไว้วางใจผมมากขึ้น ให้ความรัก ให้ความอบอุ่น ให้ความสนิทสนมมากขึ้น บางวันที่ท่านไม่มีรถมาบริษัทเองผมก็จะเป็นคนนั่งรถบริษัทไปรับ และนั่งรถบริษัทไปส่งกลับ
บางครั้งระหว่างสัปดาห์ บริษัทมีการงานเร่งด่วนที่ต้องขอคำวินิจฉัย ผมก็หอบเรื่องราวไปหาท่านถึงบ้าน เตรียมอ่านเรื่องทั้งหมดไว้ก่อน พอไปถึงก็สรุปเรื่อง ตั้งประเด็นปัญหา ท่านก็ให้คำวินิจฉัย ในบางครั้งท่านก็ขอดูเอกสารหลักฐานประกอบว่าเป็นจริงดังที่ผมสรุปหรือไม่
ถัดมา ๆ ท่านก็ฟังแต่คำสรุปและให้คำวินิจฉัย จึงทำให้การงานยิ่งสะดวกดายง่ายขึ้นเป็นอันมาก และผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือผมได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ จากที่ได้อ่าน ที่ได้สรุป และที่ได้รับข้อวินิจฉัย
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ท่านมีวิสัยเป็นครู ทุกครั้งที่มีการวินิจฉัยในเรื่องราวใด ๆ นอกจากวินิจฉัยในเรื่องนั้นแล้ว ท่านยังยกตัวอย่างเรื่องราวในอดีตให้ฟังเพื่อเทียบเคียง บางเรื่องก็ลึกซึ้งพิสดาร บางเรื่องก็แทบไม่น่าเชื่อ
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ บอกว่าเจ้าปีกผู้เป็นเพื่อนของผมนั้นมันหาว่าลุงเป็นคนแก่ ชอบเล่าแต่เรื่องความหลัง ที่ว่าลุงแก่นั้นจริงเพราะอายุล่วง 60 ปีมาแล้ว เข้าสู่วัยสัญญาสีหรือวัยส่องตะเกียง คือวัยของความเป็นผู้ให้แล้ว แต่ไม่ใช่พูดแต่เรื่องความหลังตามที่นึกอยากจะพูด ลุงจะพูดเรื่องความหลังก็แต่เฉพาะเรื่องที่เป็นเรื่องจริง ที่เป็นประโยชน์เทียบเคียงกับเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้ลึกซึ้งมากกว่าที่จะฟังแต่คำวินิจฉัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยลำพัง
ผมไปที่บ้านของท่านที่ปรึกษาแต่ละครั้งก็เห็นที่โต๊ะทำงานซึ่งตั้งอยู่ตรงชานด้านนอกมีกระดานหมากรุกวางอยู่เสมอ บางครั้งบนกระดานไม่มีตัวหมากรุก บางครั้งบนกระดานมีตัวหมากรุกวางอยู่ เหมือนหนึ่งว่ากำลังเดินหมากรุกค้างกันอยู่ แล้วมีอันธุระเกิดขึ้นจึงต้องละไว้เสียกลางคัน
เมื่อผมไปถึงบ้านของท่านก็รักที่จะไปนั่งที่โต๊ะหมากรุกก่อนเพื่อรอท่านเรียกหา แต่ท่านไม่ยอมมานั่งด้วย มักจะเรียกเข้าไปนั่งข้างในบ้าน หรือไม่ก็ที่โต๊ะอีกตัวหนึ่งซึ่งมีหนังสือวางอยู่เต็ม ซึ่งผมรู้สึกว่าท่านไม่มีความคิดหรือความอยากที่จะเล่นหมากรุกกับผมเลย.
โปรดติดตามตอนที่ 67 “ขุมทรัพย์อันล้ำค่า ตอน 2 (จบ)” ในวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2551
ท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่นเรื่องศาสดาปฏิภาณ เป็นต้น
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ เป็นคนบ้านเดียวกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชประดิษฐ์ และเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่น้อย เคยได้รับคำพยากรณ์จากพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดอยุธยาตั้งแต่ตอนยังเด็ก ๆ ว่าทั้งสองท่านนี้จะมีศักดิ์เป็นถึงพระยา แต่จะเป็นพระยากันคนละด้าน
ในกาลต่อมาท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีผู้พิพากษาภาคอยู่หลายภาค และเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา หากเทียบศักดิ์ชั้นกับสมัยโบราณก็อาจเทียบได้กับชั้นพระยา ส่วนพระภิกษุผู้เพื่อนที่ได้ครองสมณศักดิ์ถึงชั้นสมเด็จก็อาจเทียบชั้นพระยาได้เหมือนกัน
หลังจากที่ได้เข้าไปพบแนะนำตัวกับท่านที่ปรึกษาเป็นครั้งแรกแล้ว ผมก็เพียรพยายามเข้าไปพบท่านทุกครั้งที่ท่านมาบริษัท และพยายามสรุปเรื่องราวต่าง ๆ เข้าไปปรึกษาทุกครั้งไป
ท่านได้สอนให้ผมฝึกหัดสรุปประเด็นของเรื่องแต่ละเรื่องและเหตุผลความเป็นมา ตลอดจนความที่จะเป็นไป พร้อมกับเสนอความเห็นของผมด้วย ซึ่งในตอนแรก ๆ ผมไม่รู้ทางความคิดก็ทำผิดทำถูก แต่พอนานวันเข้าก็เตรียมการได้ตามที่ท่านต้องการ ทำให้ได้รับคำปรึกษาที่ชัดเจนรวดเร็วและนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย
แต่ผลที่ได้รับคือทำให้ผมรู้จักสรุปประเด็น ทำให้เข้าใจว่าประเด็นไหนเป็นประเด็นหลัก ประเด็นไหนเป็นประเด็นรอง เหตุผลที่มาและที่ไปของแต่ละประเด็นว่าเป็นประการใด ซึ่งนี่ก็คือรากฐานอันสำคัญของความเป็นนักกฎหมาย ที่บังเกิดประโยชน์ใหญ่หลวงกับผมในวันข้างหน้า เพราะนักกฎหมายจะเก่งได้ก็ต้องจับประเด็นได้เก่งและแม่นยำก่อน
จากนั้นท่านก็เน้นเรื่องการตรวจแก้เอกสาร รวมทั้งสัญญาต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องสัญญา ท่านไม่นิยมให้ร่างสัญญาอย่างยาว แนะนำให้ร่างอย่างสั้น ๆ แต่กำชับให้ศึกษาพิจารณาบทกฎหมายให้ชัดเจนก่อนว่าเรื่องไหนกฎหมายมีบัญญัติไว้แล้ว เรื่องไหนที่เปิดโอกาสให้คู่สัญญาตกลงกันเอง
เรื่องที่กฎหมายบัญญัติแล้ว ถ้าเป็นประโยชน์ก็ไม่ต้องเขียน แต่ถ้าเสียประโยชน์ก็อาจเขียนสัญญาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้หากไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง
ท่านที่ปรึกษาชี้แนะว่าเราเป็นนักกฎหมายไทยไม่จำเป็นต้องเอาอย่างนักกฎหมายฝรั่งที่เขาทำงานโดยคิดค่าจ้างตามเวลา ซึ่งต้องทำอะไรให้มากให้ยาวเข้าไว้ เราเป็นนักกฎหมายไทย ทำอะไรให้ได้ผลตามที่ต้องการ อย่าให้ยุ่งยากมากความ และทำให้คู่สัญญาสบายใจจะเป็นเรื่องดีที่สุด
เกี่ยวกับเอกสารนั้น ท่านพยายามแนะนำการใช้ภาษาไทยที่กระชับรัดกุมและชัดแจ้ง เว้นแต่จดหมายโต้ตอบที่ไม่เป็นเชิงทางการนัก ก็ให้ใช้โวหารต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น
ท่านชี้แนะว่าภาษาไทยของเราต่างกับภาษาชาติอื่น คือมีโวหารถึง 4 อย่างให้ใช้ ได้แก่ พรรณนาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร และอุปมาโวหาร หากรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมก็จักเป็นประโยชน์แก่ความเข้าใจและจิตใจของผู้อ่านได้มาก เสียดายนักที่คนรุ่นหลังเหินห่างความเป็นศาสตร์และศิลป์ของภาษาไทยไปจนไกลลิบลับ จึงมิได้สัมผัสกับอรรถรสและความลึกล้ำของภาษาไทยเหมือนกับคนยุคก่อน
ท่านบอกว่าภาษาไทยเรามีคำ ๆ หนึ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือคำว่าภาพพจน์ ซึ่งประกอบขึ้นจากคำว่า “ภาพ” และ “พจน์” ดังนั้นถ้าจะเขียนหนังสืออะไรก็ต้องเขียนให้เห็นทั้งภาพและทั้งพจน์ หรือถ้าจะพูดจาอะไรก็ต้องพูดจาให้เห็นทั้งภาพและพจน์
ท่านแนะว่านักภาษาที่เก่งเมื่อเขียนเรื่องเสือ อ่านแล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับว่าเสือนั้นมีชีวิต กระโดดเผ่นโผนโจนทะยานไปในพงป่า เขียนถึงปลา อ่านแล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับว่าปลาว่ายอยู่ในน้ำฉะนั้น
ที่ท่านแนะนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่กว่าจะฝึกฝนอบรมได้ท่านก็เพียรแก้แล้วแก้อีก บางครั้งแก้ไขต้นร่างของผมเกือบหมด เป็นเวลาปี ๆ การแก้ไขจึงน้อยลง และไปสู่การไม่แก้ไขเลย
ผมรู้สึกได้ด้วยตนเองว่าการที่ได้รู้จักกับท่านบุศย์ ขันธวิทย์ มหาบัณฑิตสิบประโยคผู้นี้ทำให้ความรู้ของผมก้าวรุดหน้าไปอีกขั้นใหญ่ ๆ โดยเฉพาะขั้นของการใช้วิชาชีพกฎหมาย และเป็นผลให้การทำหน้าที่นักกฎหมายในบริษัทเป็นไปโดยราบรื่น
ยิ่งนานวันเข้าท่านที่ปรึกษาก็มีความไว้วางใจผมมากขึ้น ให้ความรัก ให้ความอบอุ่น ให้ความสนิทสนมมากขึ้น บางวันที่ท่านไม่มีรถมาบริษัทเองผมก็จะเป็นคนนั่งรถบริษัทไปรับ และนั่งรถบริษัทไปส่งกลับ
บางครั้งระหว่างสัปดาห์ บริษัทมีการงานเร่งด่วนที่ต้องขอคำวินิจฉัย ผมก็หอบเรื่องราวไปหาท่านถึงบ้าน เตรียมอ่านเรื่องทั้งหมดไว้ก่อน พอไปถึงก็สรุปเรื่อง ตั้งประเด็นปัญหา ท่านก็ให้คำวินิจฉัย ในบางครั้งท่านก็ขอดูเอกสารหลักฐานประกอบว่าเป็นจริงดังที่ผมสรุปหรือไม่
ถัดมา ๆ ท่านก็ฟังแต่คำสรุปและให้คำวินิจฉัย จึงทำให้การงานยิ่งสะดวกดายง่ายขึ้นเป็นอันมาก และผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือผมได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ จากที่ได้อ่าน ที่ได้สรุป และที่ได้รับข้อวินิจฉัย
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ท่านมีวิสัยเป็นครู ทุกครั้งที่มีการวินิจฉัยในเรื่องราวใด ๆ นอกจากวินิจฉัยในเรื่องนั้นแล้ว ท่านยังยกตัวอย่างเรื่องราวในอดีตให้ฟังเพื่อเทียบเคียง บางเรื่องก็ลึกซึ้งพิสดาร บางเรื่องก็แทบไม่น่าเชื่อ
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ บอกว่าเจ้าปีกผู้เป็นเพื่อนของผมนั้นมันหาว่าลุงเป็นคนแก่ ชอบเล่าแต่เรื่องความหลัง ที่ว่าลุงแก่นั้นจริงเพราะอายุล่วง 60 ปีมาแล้ว เข้าสู่วัยสัญญาสีหรือวัยส่องตะเกียง คือวัยของความเป็นผู้ให้แล้ว แต่ไม่ใช่พูดแต่เรื่องความหลังตามที่นึกอยากจะพูด ลุงจะพูดเรื่องความหลังก็แต่เฉพาะเรื่องที่เป็นเรื่องจริง ที่เป็นประโยชน์เทียบเคียงกับเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้ลึกซึ้งมากกว่าที่จะฟังแต่คำวินิจฉัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยลำพัง
ผมไปที่บ้านของท่านที่ปรึกษาแต่ละครั้งก็เห็นที่โต๊ะทำงานซึ่งตั้งอยู่ตรงชานด้านนอกมีกระดานหมากรุกวางอยู่เสมอ บางครั้งบนกระดานไม่มีตัวหมากรุก บางครั้งบนกระดานมีตัวหมากรุกวางอยู่ เหมือนหนึ่งว่ากำลังเดินหมากรุกค้างกันอยู่ แล้วมีอันธุระเกิดขึ้นจึงต้องละไว้เสียกลางคัน
เมื่อผมไปถึงบ้านของท่านก็รักที่จะไปนั่งที่โต๊ะหมากรุกก่อนเพื่อรอท่านเรียกหา แต่ท่านไม่ยอมมานั่งด้วย มักจะเรียกเข้าไปนั่งข้างในบ้าน หรือไม่ก็ที่โต๊ะอีกตัวหนึ่งซึ่งมีหนังสือวางอยู่เต็ม ซึ่งผมรู้สึกว่าท่านไม่มีความคิดหรือความอยากที่จะเล่นหมากรุกกับผมเลย.
โปรดติดตามตอนที่ 67 “ขุมทรัพย์อันล้ำค่า ตอน 2 (จบ)” ในวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2551