ผมไปนั่งที่โต๊ะหมากรุกทุกครั้งท่านก็เห็น ผมมองตัวหมากรุกที่วางอยู่ท่านก็รู้ แต่ท่านกลับไม่สนใจใดๆ จนเวลาผ่านไปนานหลายเดือน จนถึงวันหนึ่งเมื่อผมไปถึงและนั่งอยู่ที่โต๊ะหมากรุก ท่านก็เดินเข้ามาด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
พลางกล่าวว่า อยากเล่นหมากรุกมากนักหรือ? แล้วท่านก็หัวเราะฮึ ฮึ จากนั้นท่านก็นั่งลงที่โต๊ะหมากรุก แล้วถามว่าตัวหมากรุกที่วางอยู่ในขณะนั้น ฝ่ายไหนจะแพ้หรือชนะ ผมก็บอกว่าฝ่ายนั้นแพ้ ฝ่ายนี้ชนะ
ท่านกลับบอกว่าผิดแล้ว ถ้าหมากรุกยังตั้งอยู่เช่นนี้จะไม่มีฝ่ายไหนแพ้ ฝ่ายไหนชนะ ที่เห็นนั้นมันยังอยู่กับที่ อะไรก็ตามที่อยู่กับที่ย่อมไม่มีความหมายอะไร การแพ้ชนะจะต้องทำให้เกิดขึ้น คือต้องทำให้ฝ่ายหนึ่งจน
แล้วท่านก็บอกว่าสภาพที่ดูเหมือนเป็นต่อ อาจกลายเป็นรองและพ่ายแพ้ก็ได้ สภาพที่ดูเหมือนเป็นรอง อาจจะกลายเป็นต่อและชนะในที่สุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนเดินข้างไหน คนเดินหมากรุกนั่นแหละเป็นคนทำให้ความแพ้ชนะปรากฏขึ้น
คำพูดเรื่องหมากรุกไม่กี่คำ ได้สะท้อนให้เห็นความเป็นปราชญ์และภูมิปัญญาอันลึกล้ำกว้างขวางของท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ได้เป็นอย่างดียิ่ง ที่แม้เวลาผ่านมาเนิ่นนานปี แต่ความที่ท่านกล่าวบนโต๊ะหมากรุกครั้งนั้นก็ยังเป็นคติเตือนใจและสอนใจผมมาจนถึงวันนี้
ในวันนั้นได้ลองเล่นหมากรุกกันเพียงสองกระดาน แล้วท่านที่ปรึกษาก็บอกว่าวันนี้เอาแค่นี้ก่อน เพราะเบื่อที่จะเอาชนะ จะแกล้งแพ้ก็ไม่แพ้เสียที แต่ท่านก็ยังคงให้กำลังใจว่าเมื่อมีความตั้งใจ มีความพยายาม มีความใส่ใจค้นคว้า มีความใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งไรๆ แล้วย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งนั้นๆ อย่างแน่นอน วันนี้เล่นสู้ท่านไม่ได้ แต่หมากรุกเป็นกีฬาสู้ครู ถ้าพยายามต่อไปตามที่บอกไว้ ในวันหนึ่งก็จะเอาชนะท่านได้
ผมเคยศึกษาธรรมะมาบ้าง พอได้ฟังผมก็ยกมือขึ้นไหว้ เพราะคำที่กล่าวนั้นท่านที่ปรึกษาได้กล่าวถึงอิทธิบาทธรรมคือรากฐานแห่งความสำเร็จในกิจการงานทั้งปวงของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ หากเป็นบรรพชิตผู้แสวงหาความหลุดพ้นแล้ว อิทธิบาทธรรมนี้ก็คือรากฐานหรือกำลังที่จะเดินไปสู่ประตูพระนิพพานนั่นเอง
หลังจากเล่นหมากรุกกันในวันนั้นแล้ว ต่อมาเมื่อผมนำเรื่องราวไปปรึกษาท่านที่บ้านหรือไปส่งท่านที่บ้าน บางครั้งท่านก็ชวนเล่นหมากรุก แต่เป็นการเล่นในลักษณะเล่นแก้เหงามากกว่าที่จะเล่นเอาแพ้เอาชนะ
ปกติการเล่นหมากรุกของคนที่มีฝีมือเหนือกว่าก็มักจะให้แต้มต่อกับผู้ที่มีฝีมือน้อยกว่า เช่น ตะแคงเรือให้บ้าง ลดเม็ดให้บ้าง หรือลดเบี้ยให้บ้าง แต่ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ท่านไม่ลดให้
ท่านบอกว่าการลดให้แบบนั้นไม่เป็นผลดีใดๆ เลย คือฝ่ายลดก็จะเกิดความคุ้นเคยแบบนั้น และทำให้การเล่นจริงๆ ด้อยลง ฝ่ายที่ถูกลดก็จะคุ้นเคยกับการเล่นกับอีกฝ่ายหนึ่งที่มีตัวไม่ครบกระบวน พอไปเล่นจริงๆ ที่มีตัวหมากรุกครบทั้งกระบวนก็งุนงงและไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดการพ่ายแพ้ได้โดยง่าย
ท่านจึงบอกว่าจะเอาชนะเพราะเขาลดให้นั้นไม่ว่าวันนี้หรือวันไหนไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะคิดว่าเมื่อเราไม่ใช่นักพนัน ไม่ได้หวังเอาเงินทองในการเล่นพนันแล้ว ก็ย่อมหวังเอาความสุขใจและความภูมิใจในฝีไม้ลายมือและความคิดอ่านวางแผน จึงต้องว่ากันอย่างเต็มที่และเต็มกระบวน
วันหนึ่งหลังจากเล่นหมากรุกท่านก็ยกกล้วยหวีใหญ่มาให้กิน แล้วก็บอกว่างานที่บริษัทนี้มีเรื่องสัญญาและเรื่องละเมิดเสียเป็นส่วนใหญ่ งานสัญญานั้นให้เพียรใส่ใจและเข้าใจให้ถ่องแท้ในหลักกฎหมายนิติกรรมและหนี้ ก็จะเป็นประโยชน์มาก เพราะหลักกฎหมายเรื่องนิติกรรมและหนี้นั้นเป็นแม่บทและแม่ไม้และเป็นหลักกฎหมายที่ต้องใช้ทั่วไป
ส่วนในเรื่องละเมิดนั้นท่านบอกว่าที่โต้แย้งถกเถียงกันเป็นเรื่องการโกหกทั้งนั้น ใครโกหกเก่ง ใครหาเหตุผลเก่งก็จะได้เปรียบแต่มีประโยชน์น้อย ถึงกระนั้นท่านก็บอกว่าการมีประสบการณ์ในเรื่องนิติกรรมสัญญาและเรื่องละเมิดในระหว่างทำงานที่บริษัทจะเป็นประโยชน์ต่อการทำหน้าที่นักกฎหมายในวันข้างหน้า ให้พยายามตั้งใจศึกษาทำความเข้าใจให้จงดี
ท่านแนะว่าเรื่องละเมิดนั้นอย่าไปเสียเวลาเอาแพ้เอาชนะ ให้หาทางศึกษาว่าความต้องการของแต่ละฝ่ายอยู่ที่ตรงไหน และหาทางปรองดองให้เป็นที่ตกลงกันก็จะเป็นผลดีกว่า
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ เล่าให้ฟังว่าการประนีประนอมคือหลักใหญ่ของความยุติธรรม เมื่อครั้งที่ท่านเป็นผู้พิพากษาท่านทำคดีได้มาก เพราะคดีส่วนใหญ่ท่านสามารถไกล่เกลี่ยให้คู่ความปรองดองประนีประนอมกันได้
อธิบดีผู้พิพากษาภาคบางท่านมาตรวจงานแล้วลงบันทึกการตรวจผลงานว่าคดีศาลนี้มีแต่เรื่องประนีประนอม โดยไม่พูดถึงความดีความชอบใดๆ เลย ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ บอกว่าอย่างนี้เป็นเรื่องของความไม่เข้าใจเรื่องความยุติธรรม
แล้วท่านก็ชี้ว่าการปรองดองประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เป็นเรื่องยาก ผู้ไกล่เกลี่ยต้องทรงธรรม คือทรงความยุติธรรม และคู่ความปราศจากความสงสัยในความยุติธรรมนั้น และผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีความสามารถแสดงเหตุผลและผลตลอดจนประโยชน์ของการปรองดองและเปรียบเทียบความต้องการของแต่ละฝ่ายจนได้ข้อยุติเป็นที่พอใจ
หากขาดไปเสียอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่มีทางสำเร็จ ท่านเคยเล่าว่าคราวหนึ่งพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์เป็นอธิบดีศาล มีชื่อเสียงว่าดุดันเข้มงวดนักหนา ได้ไปตรวจราชการที่ศาลของท่าน เพื่อนผู้พิพากษาเป็นห่วงว่าท่านจะถูกดุเพราะมีงานทำน้อย เนื่องจากงานส่วนใหญ่เสร็จไปโดยการประนีประนอม ท่านบอกว่าถ้าถูกดุเรื่องนี้ก็จะต้องพูดกันให้เข้าใจเรื่องความยุติธรรม
แต่พอมีการตรวจราชการกันจริงๆ พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์มีความพึงพอใจในผลการดำเนินงานของศาลนั้น แล้วบันทึกการตรวจงานว่าคดีเหลือมีน้อย คดีเสร็จมีมาก และส่วนใหญ่เสร็จไปด้วยการประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นถึงความยุติธรรมของผู้พิพากษา
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ เข้าไปยกมือไหว้อธิบดีศาลแล้วกล่าวว่า ท่านอธิบดีเป็นบัณฑิต ผู้แจ้งในวิชาธรรมศาสตร์ ท่านรู้สึกอิ่มใจที่ได้พบกับท่านอธิบดีและได้รับคำชมเช่นนั้น
หลังจากวันนั้นแล้วต่างคนต่างก็นับถือกัน และทั้งคู่ก็ได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่งที่ศาลแพ่ง โดยพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์มาดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง และท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง ซึ่งในครั้งนั้นถือกันว่าผู้พิพากษาในต่างจังหวัดท่านใด หากย้ายเข้ามาแล้วประจำที่ศาลแพ่งก็คือผู้พิพากษาที่มีฝีมือดี เป็นที่ไว้ใจของคณะกรรมการตุลาการ
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ แนะนำว่าการทำงานที่บริษัทนี้มีเรื่องที่น่าสนใจมากและต้องพยายามตักตวงความรู้ให้ได้มากที่สุด คือเรื่องการบริหาร
ท่านบอกว่าคุณเต๋งหรือคุณเติมศักดิ์ ตุลย์วัฒนจิต กรรมการผู้อำนวยการเป็นนักบริหารชั้นยอด มีความรู้เป็นสากล และพยายามทำให้การบริหารงานของบริษัทเป็นสากล จึงต้องหาโอกาสเรียนรู้เรื่องการบริหารให้ได้ เพราะนักกฎหมายเรามักรักและคุ้นเคยที่จะทำอะไรโดยลำพังคนเดียว ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ และใช้คนมากๆ ก็ไม่เป็น จึงยากที่จะทำงานใหญ่ได้ แต่ทำงานหรือกิจการเล็กๆ เท่านั้น แต่หลักวิชาบริหารจะอำนวยประโยชน์ในส่วนนี้เป็นอย่างดี
ท่านบอกด้วยว่าคุณนายซึ่งหมายถึงคุณจรรย์สมร วัธนเวคิน กรรมการรองผู้อำนวยการ เป็นผู้หญิงก็จริง แต่เก่งกล้าสามารถมาก สามารถครองใจผู้คนได้ทั่วทั้งบริษัท ที่บริษัทมีคนหลากหลายจำพวก มีโอกาสที่จะรั่วไหลได้มากเพราะการงานส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด หากครองใจคนไม่ได้ก็ใช้คนไม่ได้ ก็จะเกิดความเสียหายมากมาย
ท่านแนะว่าการครองใจคนนั้นเป็นเรื่องของผู้นำคน คนเราทำอะไรโดยคนเดียวไม่ได้ ยิ่งทำการใหญ่ยิ่งต้องใช้คนมาก ดังนั้นจึงต้องรู้หลักวิธีการครองใจคน ให้พยายามศึกษาวิธีการครองใจคนของคุณนายให้ดี จะเป็นหลักวิชาติดตัวไปในวันข้างหน้า
ผมก็รับคำท่านด้วยความเคารพ ในขณะที่ในใจก็รู้สึกว่าการได้พบปะรู้จักกับมหาบัณฑิตสิบประโยคผู้นี้เสมือนหนึ่งว่าได้พบกับขุมทรัพย์อันประเสริฐล้ำค่ายิ่งและก็เป็นความจริงเช่นนั้น เพราะถึงวันนี้ผมก็รู้ว่าเนื่องเพราะขุมทรัพย์อันประเสริฐนี้นี่เอง วิถีชีวิตผมจากเด็กบ้านนอกคนหนึ่งก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปจนคาดคิดไม่ถึง.
โปรดติดตามตอนที่ 68 “วิถีชีวิตที่ผกผัน ตอน 1” ในวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2551
พลางกล่าวว่า อยากเล่นหมากรุกมากนักหรือ? แล้วท่านก็หัวเราะฮึ ฮึ จากนั้นท่านก็นั่งลงที่โต๊ะหมากรุก แล้วถามว่าตัวหมากรุกที่วางอยู่ในขณะนั้น ฝ่ายไหนจะแพ้หรือชนะ ผมก็บอกว่าฝ่ายนั้นแพ้ ฝ่ายนี้ชนะ
ท่านกลับบอกว่าผิดแล้ว ถ้าหมากรุกยังตั้งอยู่เช่นนี้จะไม่มีฝ่ายไหนแพ้ ฝ่ายไหนชนะ ที่เห็นนั้นมันยังอยู่กับที่ อะไรก็ตามที่อยู่กับที่ย่อมไม่มีความหมายอะไร การแพ้ชนะจะต้องทำให้เกิดขึ้น คือต้องทำให้ฝ่ายหนึ่งจน
แล้วท่านก็บอกว่าสภาพที่ดูเหมือนเป็นต่อ อาจกลายเป็นรองและพ่ายแพ้ก็ได้ สภาพที่ดูเหมือนเป็นรอง อาจจะกลายเป็นต่อและชนะในที่สุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนเดินข้างไหน คนเดินหมากรุกนั่นแหละเป็นคนทำให้ความแพ้ชนะปรากฏขึ้น
คำพูดเรื่องหมากรุกไม่กี่คำ ได้สะท้อนให้เห็นความเป็นปราชญ์และภูมิปัญญาอันลึกล้ำกว้างขวางของท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ได้เป็นอย่างดียิ่ง ที่แม้เวลาผ่านมาเนิ่นนานปี แต่ความที่ท่านกล่าวบนโต๊ะหมากรุกครั้งนั้นก็ยังเป็นคติเตือนใจและสอนใจผมมาจนถึงวันนี้
ในวันนั้นได้ลองเล่นหมากรุกกันเพียงสองกระดาน แล้วท่านที่ปรึกษาก็บอกว่าวันนี้เอาแค่นี้ก่อน เพราะเบื่อที่จะเอาชนะ จะแกล้งแพ้ก็ไม่แพ้เสียที แต่ท่านก็ยังคงให้กำลังใจว่าเมื่อมีความตั้งใจ มีความพยายาม มีความใส่ใจค้นคว้า มีความใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งไรๆ แล้วย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งนั้นๆ อย่างแน่นอน วันนี้เล่นสู้ท่านไม่ได้ แต่หมากรุกเป็นกีฬาสู้ครู ถ้าพยายามต่อไปตามที่บอกไว้ ในวันหนึ่งก็จะเอาชนะท่านได้
ผมเคยศึกษาธรรมะมาบ้าง พอได้ฟังผมก็ยกมือขึ้นไหว้ เพราะคำที่กล่าวนั้นท่านที่ปรึกษาได้กล่าวถึงอิทธิบาทธรรมคือรากฐานแห่งความสำเร็จในกิจการงานทั้งปวงของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ หากเป็นบรรพชิตผู้แสวงหาความหลุดพ้นแล้ว อิทธิบาทธรรมนี้ก็คือรากฐานหรือกำลังที่จะเดินไปสู่ประตูพระนิพพานนั่นเอง
หลังจากเล่นหมากรุกกันในวันนั้นแล้ว ต่อมาเมื่อผมนำเรื่องราวไปปรึกษาท่านที่บ้านหรือไปส่งท่านที่บ้าน บางครั้งท่านก็ชวนเล่นหมากรุก แต่เป็นการเล่นในลักษณะเล่นแก้เหงามากกว่าที่จะเล่นเอาแพ้เอาชนะ
ปกติการเล่นหมากรุกของคนที่มีฝีมือเหนือกว่าก็มักจะให้แต้มต่อกับผู้ที่มีฝีมือน้อยกว่า เช่น ตะแคงเรือให้บ้าง ลดเม็ดให้บ้าง หรือลดเบี้ยให้บ้าง แต่ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ท่านไม่ลดให้
ท่านบอกว่าการลดให้แบบนั้นไม่เป็นผลดีใดๆ เลย คือฝ่ายลดก็จะเกิดความคุ้นเคยแบบนั้น และทำให้การเล่นจริงๆ ด้อยลง ฝ่ายที่ถูกลดก็จะคุ้นเคยกับการเล่นกับอีกฝ่ายหนึ่งที่มีตัวไม่ครบกระบวน พอไปเล่นจริงๆ ที่มีตัวหมากรุกครบทั้งกระบวนก็งุนงงและไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดการพ่ายแพ้ได้โดยง่าย
ท่านจึงบอกว่าจะเอาชนะเพราะเขาลดให้นั้นไม่ว่าวันนี้หรือวันไหนไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะคิดว่าเมื่อเราไม่ใช่นักพนัน ไม่ได้หวังเอาเงินทองในการเล่นพนันแล้ว ก็ย่อมหวังเอาความสุขใจและความภูมิใจในฝีไม้ลายมือและความคิดอ่านวางแผน จึงต้องว่ากันอย่างเต็มที่และเต็มกระบวน
วันหนึ่งหลังจากเล่นหมากรุกท่านก็ยกกล้วยหวีใหญ่มาให้กิน แล้วก็บอกว่างานที่บริษัทนี้มีเรื่องสัญญาและเรื่องละเมิดเสียเป็นส่วนใหญ่ งานสัญญานั้นให้เพียรใส่ใจและเข้าใจให้ถ่องแท้ในหลักกฎหมายนิติกรรมและหนี้ ก็จะเป็นประโยชน์มาก เพราะหลักกฎหมายเรื่องนิติกรรมและหนี้นั้นเป็นแม่บทและแม่ไม้และเป็นหลักกฎหมายที่ต้องใช้ทั่วไป
ส่วนในเรื่องละเมิดนั้นท่านบอกว่าที่โต้แย้งถกเถียงกันเป็นเรื่องการโกหกทั้งนั้น ใครโกหกเก่ง ใครหาเหตุผลเก่งก็จะได้เปรียบแต่มีประโยชน์น้อย ถึงกระนั้นท่านก็บอกว่าการมีประสบการณ์ในเรื่องนิติกรรมสัญญาและเรื่องละเมิดในระหว่างทำงานที่บริษัทจะเป็นประโยชน์ต่อการทำหน้าที่นักกฎหมายในวันข้างหน้า ให้พยายามตั้งใจศึกษาทำความเข้าใจให้จงดี
ท่านแนะว่าเรื่องละเมิดนั้นอย่าไปเสียเวลาเอาแพ้เอาชนะ ให้หาทางศึกษาว่าความต้องการของแต่ละฝ่ายอยู่ที่ตรงไหน และหาทางปรองดองให้เป็นที่ตกลงกันก็จะเป็นผลดีกว่า
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ เล่าให้ฟังว่าการประนีประนอมคือหลักใหญ่ของความยุติธรรม เมื่อครั้งที่ท่านเป็นผู้พิพากษาท่านทำคดีได้มาก เพราะคดีส่วนใหญ่ท่านสามารถไกล่เกลี่ยให้คู่ความปรองดองประนีประนอมกันได้
อธิบดีผู้พิพากษาภาคบางท่านมาตรวจงานแล้วลงบันทึกการตรวจผลงานว่าคดีศาลนี้มีแต่เรื่องประนีประนอม โดยไม่พูดถึงความดีความชอบใดๆ เลย ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ บอกว่าอย่างนี้เป็นเรื่องของความไม่เข้าใจเรื่องความยุติธรรม
แล้วท่านก็ชี้ว่าการปรองดองประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เป็นเรื่องยาก ผู้ไกล่เกลี่ยต้องทรงธรรม คือทรงความยุติธรรม และคู่ความปราศจากความสงสัยในความยุติธรรมนั้น และผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีความสามารถแสดงเหตุผลและผลตลอดจนประโยชน์ของการปรองดองและเปรียบเทียบความต้องการของแต่ละฝ่ายจนได้ข้อยุติเป็นที่พอใจ
หากขาดไปเสียอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่มีทางสำเร็จ ท่านเคยเล่าว่าคราวหนึ่งพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์เป็นอธิบดีศาล มีชื่อเสียงว่าดุดันเข้มงวดนักหนา ได้ไปตรวจราชการที่ศาลของท่าน เพื่อนผู้พิพากษาเป็นห่วงว่าท่านจะถูกดุเพราะมีงานทำน้อย เนื่องจากงานส่วนใหญ่เสร็จไปโดยการประนีประนอม ท่านบอกว่าถ้าถูกดุเรื่องนี้ก็จะต้องพูดกันให้เข้าใจเรื่องความยุติธรรม
แต่พอมีการตรวจราชการกันจริงๆ พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์มีความพึงพอใจในผลการดำเนินงานของศาลนั้น แล้วบันทึกการตรวจงานว่าคดีเหลือมีน้อย คดีเสร็จมีมาก และส่วนใหญ่เสร็จไปด้วยการประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นถึงความยุติธรรมของผู้พิพากษา
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ เข้าไปยกมือไหว้อธิบดีศาลแล้วกล่าวว่า ท่านอธิบดีเป็นบัณฑิต ผู้แจ้งในวิชาธรรมศาสตร์ ท่านรู้สึกอิ่มใจที่ได้พบกับท่านอธิบดีและได้รับคำชมเช่นนั้น
หลังจากวันนั้นแล้วต่างคนต่างก็นับถือกัน และทั้งคู่ก็ได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่งที่ศาลแพ่ง โดยพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์มาดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง และท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง ซึ่งในครั้งนั้นถือกันว่าผู้พิพากษาในต่างจังหวัดท่านใด หากย้ายเข้ามาแล้วประจำที่ศาลแพ่งก็คือผู้พิพากษาที่มีฝีมือดี เป็นที่ไว้ใจของคณะกรรมการตุลาการ
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ แนะนำว่าการทำงานที่บริษัทนี้มีเรื่องที่น่าสนใจมากและต้องพยายามตักตวงความรู้ให้ได้มากที่สุด คือเรื่องการบริหาร
ท่านบอกว่าคุณเต๋งหรือคุณเติมศักดิ์ ตุลย์วัฒนจิต กรรมการผู้อำนวยการเป็นนักบริหารชั้นยอด มีความรู้เป็นสากล และพยายามทำให้การบริหารงานของบริษัทเป็นสากล จึงต้องหาโอกาสเรียนรู้เรื่องการบริหารให้ได้ เพราะนักกฎหมายเรามักรักและคุ้นเคยที่จะทำอะไรโดยลำพังคนเดียว ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ และใช้คนมากๆ ก็ไม่เป็น จึงยากที่จะทำงานใหญ่ได้ แต่ทำงานหรือกิจการเล็กๆ เท่านั้น แต่หลักวิชาบริหารจะอำนวยประโยชน์ในส่วนนี้เป็นอย่างดี
ท่านบอกด้วยว่าคุณนายซึ่งหมายถึงคุณจรรย์สมร วัธนเวคิน กรรมการรองผู้อำนวยการ เป็นผู้หญิงก็จริง แต่เก่งกล้าสามารถมาก สามารถครองใจผู้คนได้ทั่วทั้งบริษัท ที่บริษัทมีคนหลากหลายจำพวก มีโอกาสที่จะรั่วไหลได้มากเพราะการงานส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด หากครองใจคนไม่ได้ก็ใช้คนไม่ได้ ก็จะเกิดความเสียหายมากมาย
ท่านแนะว่าการครองใจคนนั้นเป็นเรื่องของผู้นำคน คนเราทำอะไรโดยคนเดียวไม่ได้ ยิ่งทำการใหญ่ยิ่งต้องใช้คนมาก ดังนั้นจึงต้องรู้หลักวิธีการครองใจคน ให้พยายามศึกษาวิธีการครองใจคนของคุณนายให้ดี จะเป็นหลักวิชาติดตัวไปในวันข้างหน้า
ผมก็รับคำท่านด้วยความเคารพ ในขณะที่ในใจก็รู้สึกว่าการได้พบปะรู้จักกับมหาบัณฑิตสิบประโยคผู้นี้เสมือนหนึ่งว่าได้พบกับขุมทรัพย์อันประเสริฐล้ำค่ายิ่งและก็เป็นความจริงเช่นนั้น เพราะถึงวันนี้ผมก็รู้ว่าเนื่องเพราะขุมทรัพย์อันประเสริฐนี้นี่เอง วิถีชีวิตผมจากเด็กบ้านนอกคนหนึ่งก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปจนคาดคิดไม่ถึง.
โปรดติดตามตอนที่ 68 “วิถีชีวิตที่ผกผัน ตอน 1” ในวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2551