ที่ว่าเพราะเหตุที่ผมได้พบกับท่านบุศย์ ขันธวิทย์ มหาบัณฑิตสิบประโยคแล้ว ทำให้วิถีชีวิตของผมจากเด็กบ้านนอกคนหนึ่ง ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปจนคาดคิดไม่ถึงนั้น ก็เพราะว่าได้อาศัยภูมิวิทยาปัญญาคุณของท่านผู้นี้ จึงทำให้ผมได้รับประสบการณ์และส่งผลต่ออนาคตชนิดที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลย
เพราะไม่เพียงแต่จะได้ฝึกฝนในเรื่องหลักกฎหมายพื้นฐานต่างๆ การร่างเอกสาร หรือนิติกรรมสัญญาต่างๆ ตลอดจนหลักวิชาว่าด้วยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นหัวใจของอาชีพทนายความแล้ว ผมยังได้เรียนรู้ถึงเทคนิคในการทำหน้าที่ของทนายความอย่างลึกซึ้ง
ถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าหากไม่ได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากท่านบุศย์ ขันธวิทย์ แล้ว อย่างมากที่สุดชีวิตเด็กบ้านนอกคนหนึ่งก็จะประสพความสำเร็จได้แค่การเป็นทนายความธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น
อยู่มาวันหนึ่ง ในขณะที่ผมไปพบท่านที่ปรึกษากฎหมายที่บ้านราชวัตร หลังจากได้เล่นหมากรุกและสนทนาธรรมในหัวข้อธรรมต่างๆ เป็นช้านาน จนถึงเวลาที่จะต้องนั่งพักแล้ว ท่านที่ปรึกษาก็ได้ปรารภว่าคนเราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึ่ง ควรจะได้ตั้งเข็มทิศไปสู่เป้าหมายของชีวิตให้แน่นอน จะได้ไม่วอกแวกหวั่นไหว และไม่หลงทิศผิดทาง ทำให้เสียเวลาของชีวิตไปโดยเปล่าประโยชน์
แล้วท่านก็ถามว่าชีวิตของผมนี้ต้องการเป็นอะไร? ผมก็ตอบไปโดยไม่ลังเลว่าอยากจะเป็นทนายความ เพราะมีความฝังใจมาแต่น้อยที่พ่อถูกเจ้าหน้าที่ข่มเหงรังแกแกล้งจับกุมหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ได้ฟังดังนั้นก็ยิ้ม แล้วบอกว่าลุงเห็นด้วย เพราะเมื่อมุ่งมั่นมาถึงขนาดนี้แล้ว ก็ต้องทำหน้าที่ของชีวิตไปอย่างเด็ดเดี่ยว ก็จะถึงที่หมายแห่งความสำเร็จได้ การเปลี่ยนแปลงอย่างง่ายๆ หรือเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์จะต้องเริ่มต้นกันใหม่ ทำให้เสียเวลา
แล้วว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนมงคลชีวิตในข้อที่สามไว้ว่า ปฏิรู ปะเทสะวาโส เอตัมมัง คะละมุตตัมมัง ซึ่งแปลว่าการอยู่ในประเทศที่เหมาะแก่ตนเป็นมงคลสูงสุด หมายความว่าการตั้งหลักปักฐานที่ไหนอันเหมาะแก่ตนอย่างหนึ่ง การอยู่ในสังคมไหนที่เหมาะและเอื้อต่อความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนอย่างหนึ่ง และการประกอบสัมมาอาชีพใดจึงจะเหมาะแก่ตนอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสามประการนี้คือมงคลอันสูงสุดของชีวิต หากใครปฏิบัติได้ก็ย่อมถึงซึ่งความมงคล ไม่พ่ายแพ้ใคร จะมีชัยชนะในที่ทั้งปวง จะเป็นที่รักแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผมฟังคำท่านที่ปรึกษาด้วยความสนใจและนอบน้อม ประหนึ่งศิษย์ที่ฟังธรรมคำสอนของพระอาจารย์ผู้ใหญ่ฉะนั้น ท่านที่ปรึกษาก็ยิ่งมีน้ำใจเมตตาว่านักเรียนกฎหมายที่แม้ยังเรียนไม่จบ แต่มีความใส่ใจในวิถีชีวิตและพูดจากันรู้เรื่อง
ท่านที่ปรึกษาได้ให้คำมั่นสัญญาว่าลุงเคยเป็นทนายความมาก่อนและเป็นทนายความที่ประสพความสำเร็จในบางนั้น ไม่ว่าจะว่าความสู้กับทนายผู้ใหญ่ชั้นไหน ลุงก็ไม่เคยแพ้ใคร แล้วถามว่ารู้ไหมว่าปมเงื่อนอยู่ที่ตรงไหน ผมก็บอกว่ากำลังตั้งหน้าฟังคำลุงอยู่นี่แหละ
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ บอกว่าอันความยุติธรรมนั้นใครเข้าถึงธรรม แสดงธรรมได้ ชูธรรมให้ชัดเจน เป็นที่ประจักษ์ จนผู้พิพากษาตุลาการเห็นว่าเป็นฝ่ายที่ชอบธรรมแล้ว ก็จะครองใจผู้พิพากษาตุลาการ และเป็นปฐมเหตุแห่งชัยชนะ
ท่านเตือนว่าผู้พิพากษาตุลาการโดยทั่วไปมีน้ำใจเป็นธรรม เข้าใจโลก เข้าใจธรรม และถือธรรมเป็นใหญ่ ไม่ชอบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม พิทักษ์ปกป้องสิ่งที่เป็นธรรม ความยากจึงอยู่ที่จะทำอย่างไรจึงจะเป็นฝ่ายที่เป็นธรรม ซึ่งต้องใส่ใจหาข้อเท็จจริง หาเหตุหาผลให้หนักแน่น แล้วหาจังหวะโอกาสแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลเหล่านั้นให้ประจักษ์
ท่านได้เล่าเรื่องราวแต่หนหลังเกี่ยวกับคดีความต่างๆ เป็นนิทรรศน์อุทาหรณ์มากมายหลายเรื่อง ซึ่งหลายเรื่องผมก็ได้จดจำแบบอย่างมาประพฤติปฏิบัติในภายหลังได้เป็นอย่างดี
คุณบุศย์ ขันธวิทย์ กล่าวด้วยความมั่นใจว่าเมื่อผมมีความตั้งใจมั่นคงเช่นนี้ ท่านก็เต็มใจที่จะทำนุบำรุงพร่ำสอนวิชาทนายความให้ ขอให้ตั้งใจฝึกให้ดี ในเวลาแค่สองปีท่านจะฝึกให้มีความรู้ความสามารถเสมอด้วยคนอื่นที่เขาฝึกสิบปี
นั่นคือการประกาศเจตนารับผมเป็นศิษย์ และผมก็กราบฝากตัวเองขอเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาเชิงความจากท่าน และนับแต่นั้นมาทุกวันหลังจากเลิกงานหรือเลิกเรียนแล้ว ผมก็จะเดินทางไปที่บ้านของท่าน
ไปคุยเรื่องธรรมะ เล่นหมากรุก จนเป็นที่ผ่อนคลายแล้ว ก็ร่ำเรียนวิชาเชิงความอันเป็นวิชาทนายความโดยเฉพาะ ตั้งแต่วิชาข้อเท็จจริง วิชาแห่งเหตุและผลสามัญ การใช้กฎหมายทั้งที่เป็นแม่บทหลัก ทั้งที่เป็นข้อยกเว้น และทั้งที่เป็นข้อยกเว้นของข้อยกเว้น
จากนั้นท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็สอนถึงวิธีการสรุปข้อเท็จจริง สอนวิธีเขียนคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องแย้ง ตลอดจนคำคู่ความและเอกสารที่เกี่ยวกับคดีทุกประเภท และที่ท่านเน้นย้ำมากที่สุดก็คือสิ่งที่เรียกว่าลูกไม้เชิงความ
ท่านบอกว่าการเขียนคำคู่ความธรรมดาได้ใครๆ ก็ทำได้ การไปศาลและซักความก็เป็นเรื่องที่ทนายความทั่วไปก็ทำได้ หากทำได้แค่นั้นจะวิเศษวิโสกว่าคนอื่นได้อย่างไร
จากนั้นท่านก็สอนเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องการร้องสอด ทำให้ผมเข้าใจประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในมิติของการใช้กฎหมายอย่างล้ำลึกได้ตั้งแต่บัดนั้น
เมื่อเข้าใจเรื่องร้องสอดและทำเป็นแล้ว ก็เป็นการง่ายในการเรียนเรื่องการฟ้องแย้ง การร้องขัดทรัพย์ การร้องขอส่วนแบ่ง และอื่นๆ ที่สำคัญคือการเรียกร้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งรับรองข้อเท็จจริง การท้ากันในศาล การเผชิญสืบ ตลอดจนกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา และในชั้นบังคับคดี
เพียงแค่สองปีจริงๆ ผมก็ได้ร่ำเรียนวิชาเชิงความได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งและทำหน้าที่ทนายความได้เป็นอย่างดี
ราว 5 ปีหลังจากนั้นเกิดคดีดังเรื่องหนึ่งขึ้นในประเทศ คือคดี รพช. ซึ่งเป็นคดีเนื่องจากโครงการเงินกู้ของรัฐบาลไทยที่กู้เงินต่างประเทศมาก่อสร้างถนนร้อยกว่าสายในประเทศไทยแล้วเกิดปัญหาขึ้น
คุณชะลอ วนะภูติ สหายเก่าของท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ในฐานะปลัดกระทรวงมหาดไทยถูกลูกหลงตกเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย แล้วไปหาท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ให้ช่วยหาทนายความให้ ท่านก็แนะนำให้ผมเป็นทนายความ คุณชะลอ วนะภูติ ก็มาพบผมที่สำนักงาน คุยกันได้ไม่กี่คำ คุณชะลอ วนะภูติ ก็บอกว่าวันนี้รีบไปธุระ จะขอกลับไปก่อน แล้วจะนัดมาใหม่
ผมเพิ่งทราบในภายหลังว่าหลังจากวันนั้นแล้ว คุณชะลอ วนะภูติ ได้ไปหาท่านบุศย์ ขันธวิทย์ แล้วปรารภว่าทนายความที่พี่บุศย์หาให้ผมนั้นเป็นเด็กละอ่อนนักหนา ไหนเลยจะว่าความคดีใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ร่วมพันล้านบาทได้.
โปรดติดตามตอนที่ 68 “วิถีชีวิตที่ผกผัน ตอน 2 (จบ)” ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551
เพราะไม่เพียงแต่จะได้ฝึกฝนในเรื่องหลักกฎหมายพื้นฐานต่างๆ การร่างเอกสาร หรือนิติกรรมสัญญาต่างๆ ตลอดจนหลักวิชาว่าด้วยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นหัวใจของอาชีพทนายความแล้ว ผมยังได้เรียนรู้ถึงเทคนิคในการทำหน้าที่ของทนายความอย่างลึกซึ้ง
ถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าหากไม่ได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากท่านบุศย์ ขันธวิทย์ แล้ว อย่างมากที่สุดชีวิตเด็กบ้านนอกคนหนึ่งก็จะประสพความสำเร็จได้แค่การเป็นทนายความธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น
อยู่มาวันหนึ่ง ในขณะที่ผมไปพบท่านที่ปรึกษากฎหมายที่บ้านราชวัตร หลังจากได้เล่นหมากรุกและสนทนาธรรมในหัวข้อธรรมต่างๆ เป็นช้านาน จนถึงเวลาที่จะต้องนั่งพักแล้ว ท่านที่ปรึกษาก็ได้ปรารภว่าคนเราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึ่ง ควรจะได้ตั้งเข็มทิศไปสู่เป้าหมายของชีวิตให้แน่นอน จะได้ไม่วอกแวกหวั่นไหว และไม่หลงทิศผิดทาง ทำให้เสียเวลาของชีวิตไปโดยเปล่าประโยชน์
แล้วท่านก็ถามว่าชีวิตของผมนี้ต้องการเป็นอะไร? ผมก็ตอบไปโดยไม่ลังเลว่าอยากจะเป็นทนายความ เพราะมีความฝังใจมาแต่น้อยที่พ่อถูกเจ้าหน้าที่ข่มเหงรังแกแกล้งจับกุมหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ได้ฟังดังนั้นก็ยิ้ม แล้วบอกว่าลุงเห็นด้วย เพราะเมื่อมุ่งมั่นมาถึงขนาดนี้แล้ว ก็ต้องทำหน้าที่ของชีวิตไปอย่างเด็ดเดี่ยว ก็จะถึงที่หมายแห่งความสำเร็จได้ การเปลี่ยนแปลงอย่างง่ายๆ หรือเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์จะต้องเริ่มต้นกันใหม่ ทำให้เสียเวลา
แล้วว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนมงคลชีวิตในข้อที่สามไว้ว่า ปฏิรู ปะเทสะวาโส เอตัมมัง คะละมุตตัมมัง ซึ่งแปลว่าการอยู่ในประเทศที่เหมาะแก่ตนเป็นมงคลสูงสุด หมายความว่าการตั้งหลักปักฐานที่ไหนอันเหมาะแก่ตนอย่างหนึ่ง การอยู่ในสังคมไหนที่เหมาะและเอื้อต่อความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนอย่างหนึ่ง และการประกอบสัมมาอาชีพใดจึงจะเหมาะแก่ตนอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสามประการนี้คือมงคลอันสูงสุดของชีวิต หากใครปฏิบัติได้ก็ย่อมถึงซึ่งความมงคล ไม่พ่ายแพ้ใคร จะมีชัยชนะในที่ทั้งปวง จะเป็นที่รักแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผมฟังคำท่านที่ปรึกษาด้วยความสนใจและนอบน้อม ประหนึ่งศิษย์ที่ฟังธรรมคำสอนของพระอาจารย์ผู้ใหญ่ฉะนั้น ท่านที่ปรึกษาก็ยิ่งมีน้ำใจเมตตาว่านักเรียนกฎหมายที่แม้ยังเรียนไม่จบ แต่มีความใส่ใจในวิถีชีวิตและพูดจากันรู้เรื่อง
ท่านที่ปรึกษาได้ให้คำมั่นสัญญาว่าลุงเคยเป็นทนายความมาก่อนและเป็นทนายความที่ประสพความสำเร็จในบางนั้น ไม่ว่าจะว่าความสู้กับทนายผู้ใหญ่ชั้นไหน ลุงก็ไม่เคยแพ้ใคร แล้วถามว่ารู้ไหมว่าปมเงื่อนอยู่ที่ตรงไหน ผมก็บอกว่ากำลังตั้งหน้าฟังคำลุงอยู่นี่แหละ
ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ บอกว่าอันความยุติธรรมนั้นใครเข้าถึงธรรม แสดงธรรมได้ ชูธรรมให้ชัดเจน เป็นที่ประจักษ์ จนผู้พิพากษาตุลาการเห็นว่าเป็นฝ่ายที่ชอบธรรมแล้ว ก็จะครองใจผู้พิพากษาตุลาการ และเป็นปฐมเหตุแห่งชัยชนะ
ท่านเตือนว่าผู้พิพากษาตุลาการโดยทั่วไปมีน้ำใจเป็นธรรม เข้าใจโลก เข้าใจธรรม และถือธรรมเป็นใหญ่ ไม่ชอบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม พิทักษ์ปกป้องสิ่งที่เป็นธรรม ความยากจึงอยู่ที่จะทำอย่างไรจึงจะเป็นฝ่ายที่เป็นธรรม ซึ่งต้องใส่ใจหาข้อเท็จจริง หาเหตุหาผลให้หนักแน่น แล้วหาจังหวะโอกาสแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลเหล่านั้นให้ประจักษ์
ท่านได้เล่าเรื่องราวแต่หนหลังเกี่ยวกับคดีความต่างๆ เป็นนิทรรศน์อุทาหรณ์มากมายหลายเรื่อง ซึ่งหลายเรื่องผมก็ได้จดจำแบบอย่างมาประพฤติปฏิบัติในภายหลังได้เป็นอย่างดี
คุณบุศย์ ขันธวิทย์ กล่าวด้วยความมั่นใจว่าเมื่อผมมีความตั้งใจมั่นคงเช่นนี้ ท่านก็เต็มใจที่จะทำนุบำรุงพร่ำสอนวิชาทนายความให้ ขอให้ตั้งใจฝึกให้ดี ในเวลาแค่สองปีท่านจะฝึกให้มีความรู้ความสามารถเสมอด้วยคนอื่นที่เขาฝึกสิบปี
นั่นคือการประกาศเจตนารับผมเป็นศิษย์ และผมก็กราบฝากตัวเองขอเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาเชิงความจากท่าน และนับแต่นั้นมาทุกวันหลังจากเลิกงานหรือเลิกเรียนแล้ว ผมก็จะเดินทางไปที่บ้านของท่าน
ไปคุยเรื่องธรรมะ เล่นหมากรุก จนเป็นที่ผ่อนคลายแล้ว ก็ร่ำเรียนวิชาเชิงความอันเป็นวิชาทนายความโดยเฉพาะ ตั้งแต่วิชาข้อเท็จจริง วิชาแห่งเหตุและผลสามัญ การใช้กฎหมายทั้งที่เป็นแม่บทหลัก ทั้งที่เป็นข้อยกเว้น และทั้งที่เป็นข้อยกเว้นของข้อยกเว้น
จากนั้นท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็สอนถึงวิธีการสรุปข้อเท็จจริง สอนวิธีเขียนคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องแย้ง ตลอดจนคำคู่ความและเอกสารที่เกี่ยวกับคดีทุกประเภท และที่ท่านเน้นย้ำมากที่สุดก็คือสิ่งที่เรียกว่าลูกไม้เชิงความ
ท่านบอกว่าการเขียนคำคู่ความธรรมดาได้ใครๆ ก็ทำได้ การไปศาลและซักความก็เป็นเรื่องที่ทนายความทั่วไปก็ทำได้ หากทำได้แค่นั้นจะวิเศษวิโสกว่าคนอื่นได้อย่างไร
จากนั้นท่านก็สอนเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องการร้องสอด ทำให้ผมเข้าใจประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในมิติของการใช้กฎหมายอย่างล้ำลึกได้ตั้งแต่บัดนั้น
เมื่อเข้าใจเรื่องร้องสอดและทำเป็นแล้ว ก็เป็นการง่ายในการเรียนเรื่องการฟ้องแย้ง การร้องขัดทรัพย์ การร้องขอส่วนแบ่ง และอื่นๆ ที่สำคัญคือการเรียกร้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งรับรองข้อเท็จจริง การท้ากันในศาล การเผชิญสืบ ตลอดจนกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา และในชั้นบังคับคดี
เพียงแค่สองปีจริงๆ ผมก็ได้ร่ำเรียนวิชาเชิงความได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งและทำหน้าที่ทนายความได้เป็นอย่างดี
ราว 5 ปีหลังจากนั้นเกิดคดีดังเรื่องหนึ่งขึ้นในประเทศ คือคดี รพช. ซึ่งเป็นคดีเนื่องจากโครงการเงินกู้ของรัฐบาลไทยที่กู้เงินต่างประเทศมาก่อสร้างถนนร้อยกว่าสายในประเทศไทยแล้วเกิดปัญหาขึ้น
คุณชะลอ วนะภูติ สหายเก่าของท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ในฐานะปลัดกระทรวงมหาดไทยถูกลูกหลงตกเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย แล้วไปหาท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ให้ช่วยหาทนายความให้ ท่านก็แนะนำให้ผมเป็นทนายความ คุณชะลอ วนะภูติ ก็มาพบผมที่สำนักงาน คุยกันได้ไม่กี่คำ คุณชะลอ วนะภูติ ก็บอกว่าวันนี้รีบไปธุระ จะขอกลับไปก่อน แล้วจะนัดมาใหม่
ผมเพิ่งทราบในภายหลังว่าหลังจากวันนั้นแล้ว คุณชะลอ วนะภูติ ได้ไปหาท่านบุศย์ ขันธวิทย์ แล้วปรารภว่าทนายความที่พี่บุศย์หาให้ผมนั้นเป็นเด็กละอ่อนนักหนา ไหนเลยจะว่าความคดีใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ร่วมพันล้านบาทได้.
โปรดติดตามตอนที่ 68 “วิถีชีวิตที่ผกผัน ตอน 2 (จบ)” ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551