สภาองค์การนายจ้างส่งสัญญาณ 10 วิถีใหม่ลูกจ้างต้องเร่งปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 ที่ทุกองค์กรยังคงลดขนาดเพื่อรับสภาพตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง คาดสภาพตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวง่ายไปจนถึงไตรมาสแรกปีหน้า หลายอาชีพจะหายไป แรงงานต้องปรับสู่ยุคดิจิทัลภายใต้ทักษะใหม่ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอนาล็อกจะถูกคุมคาม
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า แนวโน้มการจ้างงานของผู้ประกอบการคาดว่ายังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจไปอย่างน้อยจนถึงไตรมาสแรกของปี 2564 เนื่องจากภาคการผลิตขณะนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยยังอยู่ที่เพียง60.8% แม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ก็ยังเป็นอัตรากำลังการผลิตที่ยังคงเหลืออยู่ยังไม่ส่งผลให้เกิดการจ้างงานใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นผลกระทบโควิด-19 ทำให้ลูกจ้างจะต้องปรับตัวรับกับวิถีใหม่ที่จะเกิดขึ้น
“ แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการต่างๆ เพื่อดูดซับแรงงานที่ตกงานทั้งการจัดงาน Expo Thailand 2020 จากทุกส่วนโดยมีตำแหน่งว่างงานเป็นล้านคน รวมถึงโครงการจ้างงานเด็กจบใหม่ (Co-payment) ล่าสุดซึ่งยอมรับว่ามีส่วนกระตุ้นในการช่วยไม่ให้คนตกงานหรือชะลอการเอาคนออกเป็นสำคัญแต่ยังไม่อาจทำให้เกิดการจ้างงานใหม่ได้เพิ่มขึ้นมากนักเพราะกำลังการผลิตสินค้ายังคงเหลือที่วันนี้ยังคงมีสต็อกสินค้าเดิมค้างอยู่ทำให้นายจ้างลดขนาดองค์กรให้รองรับกับตลาดที่เปลี่ยนไปรวมถึงเทคโนโลยี”นายธนิตกล่าว
สำหรับวิถีใหม่ของลูกจ้างที่จะต้องเปลี่ยนไปมี 10 ด้านได้แก่ 1 . อุปสงค์ของตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัว ทําให้แรงงานใหม่และผู้ที่ตกงานจะหางานได้ลําบากรวมถึง ผู้ทีมีงานทําอยู่แล้วล้วนมีความเสี่ยง 2. หลังโควิด-19 หลายอาชีพจะเปลี่ยนไปหรือหายไป วิกฤตเศรษฐกิจจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานทั้งเชิงปริมาณ ทักษะ คุณสมบัติรวมถึงแรงงานสูงวัย 3. แรงงานต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากนายจ้างส่วนใหญ่จะมีการเร่งปรับตัวในการนําเทคโนโลยีก้าวหน้าเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ-ลดต้นทุนเพิมผลผลิต-เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับการลงทุนใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผลข้างเคียงคือการใช้แรงงานจะน้อยลง
4.ความท้าทายของแรงงานภายใต้ทักษะใหม่(New Skill Challenge) เนื่องจากประสบการณ์ความรู้และทักษะทีมีอยู่เดิมความต้องการจะลดน้อยหรือไม่ต้องการเลย ออโตเมชันและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในกระบวนการผลิตไม่ต้องการคนมาก ๆ และไม่ต้องการทักษะเดิม ๆ และอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้เครืองยนต์ฟอสซิลกําลังจะเปลี่ยนไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ทักษะที่มีทั้งหมดตั้งแต่ต้นนําไปจนถึงปลายน้ำจะกลายเป็นทักษะที่ไม่มีประโยชน์หลายอาชีพจะหายไปหมด
5. ทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอนาล็อกกําลังถูกคุกคาม (Analog Work Threaten) ภาคบริการ กําลังถูกคุกคามจาก Digital Platform ในรูปของออนไลน์ ภาคการผลิต ทักษะที่ใช้มือทําจะค่อย ๆ ลดบทบาทโดยเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่สื่อทุกแขนงกําลังถูกคุกคาม อาชีพ Face to Face กําลังถูกแทนที่ด้วยออนไลน์
6. งานที่ไม่ต้องเข้าสํานักงานกําลังอยู่ในกระแส (Non-Office Worker Steam)ประเทศไทยแนวโน้มการจ้างงานแบบไม่ต้องเข้าสํานักงานสําหรับบางหน้าที่เริ่มเป็นกระแสเพราะเป็นการลดต้นทุนทังนายจ้างและลูกจ้างพอใจ 7. อาชีพใหม่ของอนาคต (New S-Curve Occupation) มาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นของคนรุ่นใหม่มีจํานวนไม่มาก งานที่เกี่ยวข้องกับที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือเทคโนโลยีขั้นสูงจะมีอัตราเร่งตัว แรงงานในภาคเอกชน 22 ล้านคนจะต้องทําอะไรที่สามารถเข้าถึงงานใหม่แห่งอนาคต
8. Work per hour wage ภายใต้งานในอนาคตงานประเภทฟรีแลนซ์-พาร์ทไทม์หรือ “Work From Home” จะเป็นอาชีพใหม่ที่คนรุ่นใหม่เลือกที่จะเข้าไปทําเพราะเป็นงานอิสระ จําเป็นที่จะต้องมีอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง ต้องเข้าใจว่าระบบการจ้างงานในอนาคตกําลังเปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
9. อาชีพดั้งเดิมยังคงอยู่ : อาชีพที่ใช้ทักษะร่างกายเป็นองค์ประกอบสําคัญของการทํางาน อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตบางประเภทที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนคน งานที่เกี่ยวกับคนขับรถ,หมอนวด, ลูกจ้างในบ้าน, งานเสริมความงาม, งานที่เกี่ยวกับศิลปะ,วินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง, งานแบกหาม, งานก่อสร้าง งานที่ทํางานในภาคเกษตร, ประมง
10. ความไม่แน่นอนของการลงทุนใหม่และการย้ายฐานการผลิต ประเทศไทยอาจไม่ใช่แหล่งลงทุนในฝันเหมือนในอดีตเนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เช่น แรงงานหายาก, ต้นทุนสูง, สังคมสูงวัย, ปัญหาการเมืองในประเทศ การลงทุนใหม่มาพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีและทักษะใหม่ ซึงใช้แรงงานน้อย