ผู้จัดการรายวัน360- สภาองค์การนายจ้างฯ (อีคอนไทย) คาดปี้นี้แรงงานจะตกงานเฉลี่ยสะสม 2 ล้านคนลดลงจากเดิมเหตุรัฐเริ่มคลอดมาตรการกระตุ้นจ้างงานโดยเฉพาะเด็กจบใหม่ มองศก.ไทยยังซึมยาวถึงต้นปีหน้ารัฐควรทำเป็นแพคเกจดูแลเป็นคลัสเตอร์ให้ตรงจุด เผยรูปแบบการจ้างงานเริ่มเปลี่ยนไปภายใต้ New Normal ทั้งอาชีพอิสระ การทำงานไม่เต็มเวลา โดยเฉพาะการทำงานที่บ้าน WFH ยังคงมาแรง ดังนั้นควรจ่ายค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงเป็นอีกทางเลือก
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) กล่าวว่าจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ว่างงานทั้งระบบในปี 2563 สะสม 2 ล้านคน โดยปรับลดลงจะส่งกระทบ 3-4 ล้านคน เนื่องจากธุรกิจต่างๆ ทยอยกลับมาเปิดดำเนินกิจการต่อ รวมถึงมาตรการในการส่งเสริมการจ้างงานของภาครัฐ กับโครงการจ้างนักศึกษาจบใหม่และอื่นๆอีกราว 7 แสนคน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะยังคงถดถอยตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ที่อาจต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกปี 2564 จึงเห็นว่าภาครัฐควรจะออกมาตรการเยียวยา รักษา และกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นแพคเกจจะเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการออกมาเป็นช่วงๆเช่นปัจจุบัน
“เศรษฐกิจไทย พึ่งพิงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยว ส่งออก ลงทุนตรงจากต่างประเทศ แม้ว่าไทยจะคุมโควิด-19 แบบเอาอยู่ แต่ประเทศอีกจำนวนมากของโลกเอาไม่อยู่ ซึ่งล้วนเป็นคู่ค้าของเรา ทำให้เห็นว่าโควิด-19 จะยังอยู่ต่อแม้ว่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัว ก็คือ ติดลบ เปรียบไปก็เหมือนจมน้ำแล้วค่อยๆลอยขึ้น แต่ยังไม่พ้นน้ำ มาตรการดูแลเศรษฐกิจทั้งระบบ ต้องเป็นแพคเกจ”นายธนิตกล่าว
ทั้งนี้ เห็นว่าการดูแลเศรษฐกิจและแรงงาน ควรแยกเป็นคลัสเตอร์หลักๆ เช่น ท่องเที่ยว ส่งออก แรงงาน ฯลฯ และแยกเป็นภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหัวหน้าทีมทำงานร่วมกันกับเอกชน เพื่อให้เข้าใจในแต่ละธุรกิจ ไม่ใช่ใช้มาตรการหรือแนวทางเดียวกันได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การอัดฉีดที่ต่อเนื่อง
นอกจากนี้ รูปแบบการจ้างงานภายใต้ New Normal และเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้การทำงานเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งอาชีพอิสระ รวมถึงแรงงานที่ไม่ต้องเข้าสำนักงานหรือทำงานไม่เต็มเวลา รวมถึงล่าสุดภาคธุรกิจเริ่มให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้านหรือ "Work From Home มากขึ้น เพราะประหยัดต้นทุนทั้งลูกจ้างและนายจ้างได้ ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ เช่นกัน โดยเฉพาะการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมง
“แต่ก่อน WFH ทำเพราะโควิด-19 แต่ขณะนี้กลายเป็นสิ่งที่ทำแบบถาวรมากขึ้น และกำลังเป็นเทรนด์ โดยพบว่าโตเกียวเองธุรกิจ 1 ใน 5 กลายเป็น WFH ไปหมดแล้ว ซึ่งตรงนี้กฎหมายแรงงานครอบคลุม แต่กรณีที่เขามีทางเลือกที่จะเป็น Freelance ที่อื่นด้วยก็สามารถตกลงกนได้ แต่การจ้างรายชั่วโมงกฏหมายแรงงานไม่ครอบคลุมจุดนี้รัฐควรจะต้องเข้ามาพิจารณารายละเอียดเ พื่อคุ้มครองสวัสดิการ การคิดเงินชดเชยเลิกจ้าง ฯลฯ ”
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) กล่าวว่าจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ว่างงานทั้งระบบในปี 2563 สะสม 2 ล้านคน โดยปรับลดลงจะส่งกระทบ 3-4 ล้านคน เนื่องจากธุรกิจต่างๆ ทยอยกลับมาเปิดดำเนินกิจการต่อ รวมถึงมาตรการในการส่งเสริมการจ้างงานของภาครัฐ กับโครงการจ้างนักศึกษาจบใหม่และอื่นๆอีกราว 7 แสนคน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะยังคงถดถอยตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ที่อาจต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกปี 2564 จึงเห็นว่าภาครัฐควรจะออกมาตรการเยียวยา รักษา และกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นแพคเกจจะเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการออกมาเป็นช่วงๆเช่นปัจจุบัน
“เศรษฐกิจไทย พึ่งพิงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยว ส่งออก ลงทุนตรงจากต่างประเทศ แม้ว่าไทยจะคุมโควิด-19 แบบเอาอยู่ แต่ประเทศอีกจำนวนมากของโลกเอาไม่อยู่ ซึ่งล้วนเป็นคู่ค้าของเรา ทำให้เห็นว่าโควิด-19 จะยังอยู่ต่อแม้ว่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัว ก็คือ ติดลบ เปรียบไปก็เหมือนจมน้ำแล้วค่อยๆลอยขึ้น แต่ยังไม่พ้นน้ำ มาตรการดูแลเศรษฐกิจทั้งระบบ ต้องเป็นแพคเกจ”นายธนิตกล่าว
ทั้งนี้ เห็นว่าการดูแลเศรษฐกิจและแรงงาน ควรแยกเป็นคลัสเตอร์หลักๆ เช่น ท่องเที่ยว ส่งออก แรงงาน ฯลฯ และแยกเป็นภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหัวหน้าทีมทำงานร่วมกันกับเอกชน เพื่อให้เข้าใจในแต่ละธุรกิจ ไม่ใช่ใช้มาตรการหรือแนวทางเดียวกันได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การอัดฉีดที่ต่อเนื่อง
นอกจากนี้ รูปแบบการจ้างงานภายใต้ New Normal และเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้การทำงานเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งอาชีพอิสระ รวมถึงแรงงานที่ไม่ต้องเข้าสำนักงานหรือทำงานไม่เต็มเวลา รวมถึงล่าสุดภาคธุรกิจเริ่มให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้านหรือ "Work From Home มากขึ้น เพราะประหยัดต้นทุนทั้งลูกจ้างและนายจ้างได้ ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ เช่นกัน โดยเฉพาะการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมง
“แต่ก่อน WFH ทำเพราะโควิด-19 แต่ขณะนี้กลายเป็นสิ่งที่ทำแบบถาวรมากขึ้น และกำลังเป็นเทรนด์ โดยพบว่าโตเกียวเองธุรกิจ 1 ใน 5 กลายเป็น WFH ไปหมดแล้ว ซึ่งตรงนี้กฎหมายแรงงานครอบคลุม แต่กรณีที่เขามีทางเลือกที่จะเป็น Freelance ที่อื่นด้วยก็สามารถตกลงกนได้ แต่การจ้างรายชั่วโมงกฏหมายแรงงานไม่ครอบคลุมจุดนี้รัฐควรจะต้องเข้ามาพิจารณารายละเอียดเ พื่อคุ้มครองสวัสดิการ การคิดเงินชดเชยเลิกจ้าง ฯลฯ ”