สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ ร้อง ITF-LONDON แจ้งรัฐบาลไทยคงสภาพแรงงานการบินไทย ปลดพนักงานต้องหลังฟื้นฟูสำเร็จ ด้าน สรส.ยันร่วมพนักงานบินไทย ชี้มีขบวนการปล้นการบินไทย ล้มสหภาพฯ
นายนเรศ ผึ้งแย้ม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการประสานงานสหพันธ์แรงงานขนส่ง ระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย (ITF-THAILAND) มีมติให้ส่งคำร้องขอต่อ ITF-LONDON เพื่อส่งเรื่องต่อรัฐบาลไทย ใน 3 ประด็น คือ 1. คงสวัสดิการและสภาพการจ้างพนักงานการบินไทยเหมือนเดิม 2. การปลดพนักงานให้ทำหลังจากแผนฟื้นฟูสำเร็จ 3. แผนฟื้นฟูให้มีตัวแทนแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วม
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 แจ้งมติเอกฉันท์องค์กรสมาชิก สรส. แต่งตั้งคณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย
โดยระบุว่า ตามที่รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตวีได้มีมติในการฟื้นฟูบริษัท การบินไทย โดยผ่านกระบวนการลัมละลายอันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการฟื้นฟูการบินไทยตามแผนที่ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้น และได้เสนอผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สังกัดกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และผ่านคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปก่อนหน้านี้กว่า 2 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทุกฝ่ายมีการรับรู้ในการดำเนินการทำแผน มีการรายงานทุกครั้งในการประชุม คนร. ยกเว้นสหภาพแรงงานและพนักงานที่ไม่มีส่วนรับรู้แต่ประการใด
จนในที่สุดกระบวนการฟื้นฟูตามแผนเดิมที่ผู้บริหาร สคร., คนร. และ คม. รับรู้และมีส่วนร่วมนั้นลัมเหลวโดยสิ้นเชิงแต่ปราศจากผู้รับผิดชอบ จนในที่สุดต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายและจะค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทยฟื้นฟูอีกเป็นจำนวน 54,000 ล้านบาท จนสังคมต้องก่นด่าผ่านสื่อออนไลน์ รวมทั้งสื่อมวลชนต่างพร้อมใจกันเสนอข่าว
และเป็นช่วงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และรัฐบาลต้องออก พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาทเพื่อเยียวยาประชาชน และยังไม่ทันเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ยังไม่ยื่นต่อศาลล้มละลาย ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะทำงานในการฟื้นฟู กระทรวงการคลังก็ได้ขายหุ้นบริษัท การบินไทย ออกไปทันทีจำนวน 69 ล้านหุ้นๆ ละ 4.03 บาท จำนวนเงิน 278 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.17 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆ ที่การบินไทยมีหนี้สินสูงถึง 246,000 ล้านบาท
การขายหุ้นออกไปจำนวนดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้สถานะหนี้ของการบินไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่ประการใด แต่การขายหุ้นออกไปจนกระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 51 ทำให้บริษัท การบินไทย พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ และทำให้การตรวจสอบ การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูจากพนักงานการบินไทยสิ้นสุดลงตามนัยของกฎหมาย เพราะจะทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยสิ้นสภาพไปด้วย จากนี้ไปการดำเนินการก็ปราศจากการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบจากคนการบินไทย
จากที่กล่าวมาคงกล่าวได้ว่านี่คือ “ขบวนการปล้นการบินไทย สายการบินแห่งชาติ” คือขบวนการล้มสหภาพแรงงาน ซึ่งได้พยายามทำมาก่อนหน้านี้และมาบรรลุในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และที่สำคัญคนที่พยายามทำลายการบินไทย สายการบินแห่งชาติ นับแต่ปี พ.ศ. 2544 ก็ยังเป็นเสนาบดีในรัฐบาลชุดนี้ ทั้งที่จริงแล้วเมื่อมีเหตุที่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูโดยผ่านกระบวนการโดยศาลล้มละลายทุกอย่างต้องหยุด เพื่อรอคำสั่งของศาลว่าให้ดำเนินการอย่างไร แต่กรณีนี้เร่งรีบในการขายหุ้น เร่งรีบแย่งซิงในการเสนอคนของตนเองเข้าไปเป็นคณะทำงาน และคณะกรรมการในการตรวจสอบของรัฐมนตรีและพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องซึ่งชี้ให้เห็นถึงเงื่อนงำที่ไม่นำไว้วางใจ
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มื่นโยบายที่แจ่มชัดในการต่อต้านการแปรูปรัฐวิสาหกิจต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ มีองค์กรสมาชิกที่เป็นสหภาพแรงงานทั้งรัฐวิสาหกิจ เอกชนและลูกจ้างภาครัฐจำนวน 44 แห่ง และมีสาขาภูมิภาค 9 สาขาและศูนย์ประสานงาน สรส.ประจำจังหวัดเกือบทุกจังหวัด ได้สื่อสารและหารือกันเป็นระยะในสถานการณ์ที่ผ่านมา และให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดและรัฐวิสาหกิจเป็นกำลังอันสำคัญในการเป็นเครื่องมือของรัฐบาล
แต่สำหรับเรื่องการบินไทยกับการตัดสินใจของฐบาลในครั้งนี้ ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก สรส. จึงได้เชิญประธานสหภาพแรงงานองค์กรสมาชิกทุกแห่ง ที่ปรึกษา และคนการบินไทยมาร่วมประชุมหารือเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง แต่เป็นทิศทางเดียวกันคือ ไม่ไว้วางใจต่อ กระบวนการในการฟื้นฟูของรัฐบาล เพราะการฟื้นฟูนั้นไม่ได้เริ่มที่การค้นหาความจริงและการทำความจริงให้ปรากฎ เพราะทราบกันดีว่าปัญหาที่แท้จริงของการลัมละลายของบริษัท การบินไทย สายการบินแห่งชาติ คือการทุจริต ของนักการเมืองและผู้บริหาร ทั้งทุจริตเชิงนโยบายและการบริหารงานในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การจัดซื้อเครื่องบิน การเปลี่ยนเครื่องยนต์ การให้ผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสาร การตั้งบริษัทลูกเพื่อแข่งขันในสายการบินต้นทุนต่ำ เป็นตัน แต่สุดท้ายมาจบลงที่การลดเงินเดือน ใส่ร้ายพนักงานที่ตั้งใจทำงาน และยุสหภาพแรงงาน คือเงื่อนงำที่ไม่อาจไว้วางใจและยอมรับได้
ที่ประชุมจึงมืมติเป็นเอกฉันท์ที่จะต่อสู้ร่วมกันจนถึงที่สุด พื่อให้บริษัทการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ ที่เป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งช่ติต่อไป และได้มีการตั้ง “คณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย”
โดยคณะทำงานประกอบด้วยประธานสหภาพแรงงานองค์กรสมาชิกของ สรส. และ “คนการบินไทย” ที่ยังมีจิตใจต่อสู้ โดยมีเลขาธิการ สรส.เป็นประธานคณะทำงาน และจะเชิญภาคีแนวร่วมพันธมิตร ทั้งที่เป็นองค์กรภาคประชาชน องค์การแรงงาน นักวิชาการ ที่ยังคงรักหวงแหนการบินไทย สายการบินแห่งชาติ และวางจังหวะก้าวในการขับเคลื่อนคู่ขนานกับรัฐบาล