ผู้จัดการรายวัน 360 - "อุตตม" เตรียมสรุปขายหุ้นการบินไทยให้กองทุนวายุภักษ์ สัปดาห์หน้า แย้มต่ำกว่าราคาทุนแน่ แต่สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย สหภาพการบินไทย ยอมรับต้องปลดพนักงาน ถูกเลิกจ้างรับชดเชยสูงสุด 400 วัน กมธ.คลัง วุฒิฯ แนะนายกฯ คัดและกำกับ 15 อรหันต์ ฟื้นฟูการบินไทยด้วยตัวเอง ดักอย่าให้นักการเมืองส่งพวกพ้องเข้ามาทำแผนเด็ดขาด ไม่งั้นเจ๊งซ้ำ แนะศึกษากลยุทธ์การบริหารกรณีเจแปนแอร์ไลน์ส ฟื้นวิกฤตขาดทุนเป็นกำไรในพริบตา
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึง ความคืบหน้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย ว่า กระทรวงการคลังและกองทุนวายุภักษ์ 1 จะเร่งสรุปการซื้อขายหุ้นในส่วนที่กระทรวงการคลังต้องขายออกโดยเร็วที่สุด ซึ่งคาดจะกำหนดราคาซื้อขายได้ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อนำเสนอเป็นวาระเพื่อทราบต่อที่คณะรัฐมนตรีซึ่งจะให้การเห็นชอบและอนุมัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลำดับถัดไป
"แม้การซื้อขายหุ้นของการบินไทยนั้น อาจจะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาต้นทุนที่กระทรวงการคลังเคยซื้อมาก็ถือว่าสามารถที่จะดำเนินการได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย เนื่องจากขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ซื้อและผู้ขาย" นายอุตตม กล่าว
ด้านนายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า หลังจากที่การบินไทยเข้าสู่ขบวนการฟื้นฟูกิจการภายในศาลล้มละลายกลาง จะหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และหลุดพ้นจากพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ทำให้สิทธิคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายดังกล่าวจะหมดไปด้วย แต่อาจจะเข้าสู่สิทธิ์ตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 แทน
ทั้งนี้ สหภาพฯขอชี้แจงว่า พนักงานทุกคนที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกัน โดยจะมีหลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้ 1.ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน 2.ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน 3.ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน 4.ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน 5.ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน และ 6.ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ
“ประภาศรี”จี้นายกฯ คัด กก.ฟื้นฟูการบินไทยเอง
นางประภาศรี สุฉันทบุตร สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกมธ.เศรษฐกิจ การเงินและการคลัง กล่าวถึงกรณี ครม. มีมติเห็นชอบต่อแผนการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้พ.ร.บ.ล้มละลาย โดยมีการตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟู 15 คนว่า ตนขอเสนอ 4 สูตร สำหรับการฟื้นตัวของการบินไทย ดังนี้ 1. เเนวทางลดพนักงานขอให้ใช้เป็นมาตรการท้ายๆ ในการทำเเผน เพราะพนักงานไม่ได้มีความผิด การจะล้มละลายของการบินไทยเกิดจากการโกงกินของกลุ่มการเมือง ที่ตั้งใจเข้ามากอบโกย เเละขาดความเชี่ยวชาญในการบริหาร รวมทั้งกลุ่มอำนาจที่เข้ามาบริหารมีการคอร์รัปชันสูงมากจากการสั่งซื้อหลายๆอย่างโดยไม่จำเป็น ดังที่ทราบกันดีจากสื่อต่างๆ ซึ่งประชาชนได้รับฟัง จนกลายเป็นเรื่องปกติ หากลดพนักงานเป็นอันดับต้นๆในเเผน จะทำให้การบินไทยขาดคนที่ มีความเชี่ยวชาญ การบินไทย มีพนักงานที่มี Service mind สูงมาก เเละ Well trained มาอย่างดี หากลดพนักงานมากเกินไป การบริการ เเละการบริหารกิจการที่เคยเป็นเลิศ จะลดลง
2. คนที่มาทำเเผนฟื้นฟู 15คน จะต้องเป็นคนเก่ง เเละมีคุณธรรม มือสะอาด ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ
3.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องเป็นผู้คัดคนที่มาทำเเผนด้วยตนเอง เเละกำกับดูเเล อย่าให้นักการเมืองส่งคนของตัวเองมาทำเเผนโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ คนทำเเผนต้องเป็นอิสระ นักการเมืองสั่งไม่ได้ ไม่เช่นนั้นการบินไทยจะไปไม่รอด
4. ศึกษาบทเรียนการฟื้นฟูกิจการของสายการบินแห่งชาติญี่ปุ่น (Japan Airline)เมื่อปี 2553 ที่พลิกฟื้นวิกฤตขาดทุนเรื้อรังของความเป็นรัฐวิสาหกิจมาเป็นกำไรในช่วงเวลาเพียง1ปี และอีก 3 ปี ก็นำบริษัทซึ่งเป็นธุรกิจเอกชนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อีกครั้ง
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึง ความคืบหน้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย ว่า กระทรวงการคลังและกองทุนวายุภักษ์ 1 จะเร่งสรุปการซื้อขายหุ้นในส่วนที่กระทรวงการคลังต้องขายออกโดยเร็วที่สุด ซึ่งคาดจะกำหนดราคาซื้อขายได้ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อนำเสนอเป็นวาระเพื่อทราบต่อที่คณะรัฐมนตรีซึ่งจะให้การเห็นชอบและอนุมัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลำดับถัดไป
"แม้การซื้อขายหุ้นของการบินไทยนั้น อาจจะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาต้นทุนที่กระทรวงการคลังเคยซื้อมาก็ถือว่าสามารถที่จะดำเนินการได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย เนื่องจากขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ซื้อและผู้ขาย" นายอุตตม กล่าว
ด้านนายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า หลังจากที่การบินไทยเข้าสู่ขบวนการฟื้นฟูกิจการภายในศาลล้มละลายกลาง จะหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และหลุดพ้นจากพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ทำให้สิทธิคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายดังกล่าวจะหมดไปด้วย แต่อาจจะเข้าสู่สิทธิ์ตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 แทน
ทั้งนี้ สหภาพฯขอชี้แจงว่า พนักงานทุกคนที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกัน โดยจะมีหลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้ 1.ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน 2.ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน 3.ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน 4.ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน 5.ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน และ 6.ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ
“ประภาศรี”จี้นายกฯ คัด กก.ฟื้นฟูการบินไทยเอง
นางประภาศรี สุฉันทบุตร สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกมธ.เศรษฐกิจ การเงินและการคลัง กล่าวถึงกรณี ครม. มีมติเห็นชอบต่อแผนการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้พ.ร.บ.ล้มละลาย โดยมีการตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟู 15 คนว่า ตนขอเสนอ 4 สูตร สำหรับการฟื้นตัวของการบินไทย ดังนี้ 1. เเนวทางลดพนักงานขอให้ใช้เป็นมาตรการท้ายๆ ในการทำเเผน เพราะพนักงานไม่ได้มีความผิด การจะล้มละลายของการบินไทยเกิดจากการโกงกินของกลุ่มการเมือง ที่ตั้งใจเข้ามากอบโกย เเละขาดความเชี่ยวชาญในการบริหาร รวมทั้งกลุ่มอำนาจที่เข้ามาบริหารมีการคอร์รัปชันสูงมากจากการสั่งซื้อหลายๆอย่างโดยไม่จำเป็น ดังที่ทราบกันดีจากสื่อต่างๆ ซึ่งประชาชนได้รับฟัง จนกลายเป็นเรื่องปกติ หากลดพนักงานเป็นอันดับต้นๆในเเผน จะทำให้การบินไทยขาดคนที่ มีความเชี่ยวชาญ การบินไทย มีพนักงานที่มี Service mind สูงมาก เเละ Well trained มาอย่างดี หากลดพนักงานมากเกินไป การบริการ เเละการบริหารกิจการที่เคยเป็นเลิศ จะลดลง
2. คนที่มาทำเเผนฟื้นฟู 15คน จะต้องเป็นคนเก่ง เเละมีคุณธรรม มือสะอาด ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ
3.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องเป็นผู้คัดคนที่มาทำเเผนด้วยตนเอง เเละกำกับดูเเล อย่าให้นักการเมืองส่งคนของตัวเองมาทำเเผนโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ คนทำเเผนต้องเป็นอิสระ นักการเมืองสั่งไม่ได้ ไม่เช่นนั้นการบินไทยจะไปไม่รอด
4. ศึกษาบทเรียนการฟื้นฟูกิจการของสายการบินแห่งชาติญี่ปุ่น (Japan Airline)เมื่อปี 2553 ที่พลิกฟื้นวิกฤตขาดทุนเรื้อรังของความเป็นรัฐวิสาหกิจมาเป็นกำไรในช่วงเวลาเพียง1ปี และอีก 3 ปี ก็นำบริษัทซึ่งเป็นธุรกิจเอกชนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อีกครั้ง