ส.อ.ท.เตรียมพร้อมแผนฟื้นฟูหลังโควิด-19 เด้งรับลูก”สมคิด” เน้นศก.ฐานราก ปักหมุด 2 ส่วนอุตสาหกรรมดั้งเดิม 45กลุ่ม 11 คลัสเตอร์เร่งยกระดับใช้สินค้าไทย (Made In Thailand ) ผลิตให้ครบวงจรมุ่งลดพึ่งพิงวัตถุดิบและชิ้นสว่นจากต่างประเทศเพื่อความมั่นคงระยะยาว ดันเกษตรอาหารแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้รายได้ถือมือเกษตรกร และ อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะมาแรงในอนาคต 5 อุตสาหกรรม
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 เปิดเผยว่า คาดว่าระบบการผลิตของโลกจะถูกปฏิวัติใหม่อีกครั้งจากผลกระทบโควิด-19 โดยทุกประเทศจะหันมาพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้นเพื่อความมั่นคงซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกีดกันทางการค้าสูง ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯจึงเตรียมแผนที่จะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนดังกล่าวไว้ 2 ส่วนได้แก่1. อุตสาหกรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นสมาชิกส.อ.ท.45กลุ่มและ11 คลัสเตอร์ และ 2. กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น( S-Curve )
“ โควิด-19 ทำให้หลายประเทศต้องทบทวนการผลิตใหม่ที่จะเป็นการผลิตเองมากขึ้นเพราะจะเห็นว่าหลายประเทศในยุโรปขาดแคลนอาหาร วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากนี้เขาจะคำนึงถึงคนในประเทศก่อน โดยนโยบายของไทยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมตรีก็มุ่งเน้นเศรษฐกิจฐานรากหรือ Local Economy ดังนั้นแผนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมของส.อ.ท.จะสอดรับกับนโยบายท่านสมคิดเพราะคาดว่าโควิด-19 ทั่วโลกน่าจะอยู่ไปอีก1-2 ปี”นายเกรียงไกรกล่าว
สำหรับการพัฒนา2. ส่วนได้แก่ 1. อุตสาหกรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นสมาชิกส.อ.ท.42 กลุ่มและ11 คลัสเตอร์ทางส.อ.ท.จะผลักดันให้เกิดการใช้สินค้าไทยหรือ Made in Thailand เสนอให้ระบบจัดซื้อจัดจ้างโดยกรมบัญชีกลางให้มุ่งเน้นการใช้สินค้าไทยเป็นอันดับแรกก่อน ขณะเดียวกันจะเน้นการพัฒนาห่วงโซ่การผลิต(ซัพพลายเชน)ให้ครอบคลุมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเพื่อลดการพึ่งพิงชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศโดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาใช้เองแม้ระยะแรกต้นทุนอาจสูงแต่จำเป็นต้องหาแนวทางต่างๆมาส่งเสริมให้เกิดขึ้น และการพัฒนาเกษตรและอาหารที่ไทยมีศักยภาพอยู่แล้วแต่จำเป็นต้องดึงเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้รายได้เกษตรกรสูงขึ้น
“ภาคเกษตร และอาหารแปรรูปทำให้คนไทยไม่ลำบากในช่วงโควิด-19 จึงควรเร่งพัฒนาต่อยอดให้รายได้ถึงมือเกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่วนส่งออกไทยพึ่งพิงถึง 70% จากนี้ไปต้องปรับลดให้เน้นตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น โดยตลาดสหรัฐและยุโรป หรือแม้กระทั่งจีนเองก็คงไมได้ฟื้นง่ายและเขาก็คงจะเน้นพึ่งพาตนเองก่อนจึงมองในเรื่องของตลาดอาเซียนที่จะให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันที่ยังมีศักยภาพสูง ”นายเกรียงไกรกล่าว
2. . กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ( S-Curve ) ที่กำลังจะเข้ามารวดเร็วซึ่งประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมหลักได้แก่ 1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล ไอที ซึ่งไทยเตรียมที่จะเกิดขึ้นของเทคโนโลยี 5G ที่จะเร่งให้การนำมาใช้ในภาคการค้า บริการ มากขึ้นซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นตัวชูโรงเพราะจากพฤติกรรมการทำงานอยู่บ้าน(WFH)ทำให้เกิดการซื้อขายออนไลน์ พฤติกรรมเหล่านี้จะกลายเป็น New Normal 2. อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งจากนี้คาดว่าจะมาแรงเพราะหลังจากโควิด-19 จะทำให้ทุกส่วนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น
3. เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งไทยมีโอกาสที่จะก้าวสู่ตลาดนี้มากขึ้นหลังจากที่ไทยประสบความสำคัญในการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสจนกลายเป็นประเทสอันดับต้นๆ ที่ทั่วโลกยกย่องซึ่งจะเอื้อให้คนไทยก้าวยมาผลิตในอุตสาหกรรมนี้ที่เป็นแบรนด์โดยคนไทย 4.อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ ที่จะมีส่วนสำคัญในการจัดการการขนส่งสินค้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากตลาดค้าออนไลน์ และค้าปลีก 5. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์((Robotics) ที่จะพัฒนาเข้ามาเสริมศักยภาพในงานต่างๆ ซึ่งในช่วงโควิด-19 นักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆได้มีการทำเพื่อช่วยงานของแพทย์พยาบาลทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะพัฒนามาเป็นเชิงพาณิชย์เพื่อบริการคนในประเทศและต่างประเทศได้ในอนาคต
“ การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากนี้เราต้องมุ่งเน้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆให้มากขึ้นเพื่อให้สิ่งที่จะพัฒนาเป็นของคนไทยที่จะมุ่งเน้นพึ่งพิงตนเอง”นายเกรียงไกรกล่าว