xs
xsm
sm
md
lg

ดัน5อุตฯยุคใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด รณรงค์ใช้สินค้าไทย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ส.อ.ท.เตรียมพร้อมแผนฟื้นฟูหลังโควิด-19 รับลูก"สมคิด" เน้นศก.ฐานราก ปักหมุด 2 ส่วนอุตสาหกรรมดั้งเดิม 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์เร่งยกระดับใช้สินค้าไทย ผลิตให้ครบวงจร มุ่งลดพึ่งพิงวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากต่างประเทศเพื่อความมั่นคงระยะยาว

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 เปิดเผยว่า ระบบการผลิตของโลกจะถูกปฏิวัติใหม่อีกครั้ง จากผลกระทบโควิด-19 โดยทุกประเทศจะหันมาพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น เพื่อความมั่นคงซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกีดกันทางการค้าสูง ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ จึงเตรียมแผนที่จะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย ให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนดังกล่าวไว้ 2 ส่วน ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นสมาชิก ส.อ.ท.45 กลุ่ม และ11 คลัสเตอร์ และ 2. กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น( S-Curve )

“โควิด-19 ทำให้หลายประเทศต้องทบทวนการผลิตใหม่ที่จะเป็นการผลิตเองมากขึ้น เพราะจะเห็นว่าหลายประเทศในยุโรปขาดแคลนอาหาร วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากนี้เขาจะคำนึงถึงคนในประเทศก่อน สำหรับนโยบายของไทย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมตรี ก็มุ่งเน้นเศรษฐกิจฐานราก หรือ Local Economyดังนั้น แผนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. จะสอดรับกับนโยบายท่านสมคิด เพราะคาดว่า โควิด-19 ทั่วโลกน่าจะอยู่ไปอีก1-2 ปี” นายเกรียงไกร กล่าว

สำหรับการพัฒนา 2. ส่วน ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมดั้งเดิม ซึ่งเป็นสมาชิกส.อ.ท.42 กลุ่ม และ11 คลัสเตอร์ ทางส.อ.ท.จะผลักดันให้เกิดการใช้สินค้าไทย หรือ Made in Thailand เสนอให้ระบบจัดซื้อจัดจ้างโดยกรมบัญชีกลาง ให้มุ่งเน้นการใช้สินค้าไทยเป็นอันดับแรกก่อน ขณะเดียวกัน จะเน้นการพัฒนาห่วงโซ่การผลิต (ซัพพลายเชน) ให้ครอบคลุมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ เพื่อลดการพึ่งพิงชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาใช้เอง แม้ระยะแรกต้นทุนอาจสูงแต่จำเป็นต้องหาแนวทางต่างๆ มาส่งเสริมให้เกิดขึ้น และการพัฒนาเกษตรและอาหาร ที่ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องดึงเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้รายได้เกษตรกรสูงขึ้น

"ภาคเกษตร และอาหารแปรรูปทำให้คนไทยไม่ลำบากในช่วงโควิด-19 จึงควรเร่งพัฒนาต่อยอดให้รายได้ถึงมือเกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่วนส่งออกไทยพึ่งพิงถึง 70% จากนี้ไปต้องปรับลดให้เน้นตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น โดยตลาดสหรัฐฯ และยุโรป หรือแม้กระทั่งจีนเอง ก็คงไมได้ฟื้นง่าย และเขาก็คงจะเน้นพึ่งพาตนเองก่อน จึงมองในเรื่องของตลาดอาเซียน ที่จะให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันที่ยังมีศักยภาพสูง ”นายเกรียงไกร กล่าว

2. กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ( S-Curve )ที่กำลังจะเข้ามารวดเร็ว ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่

1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล ไอที ซึ่งไทยเตรียมที่จะเกิดขึ้นของเทคโนโลยี 5G ที่จะเร่งให้การนำมาใช้ในภาคการค้า บริการมากขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นตัวชูโรงเพราะจากการทำงานอยู่บ้าน (WFH)ทำให้เกิดการซื้อขายออนไลน์ พฤติกรรมเหล่านี้จะกลายเป็น New Normal

2. อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับสุขภาพ เพราะหลังจากนี้ คนจะหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น

3. เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งไทยมีโอกาสที่จะก้าวสู่ตลาดนี้มากขึ้น หลังจากที่ไทยประสบความสำคัญในการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัส จนกลายเป็นประเทสอันดับต้นๆ ที่ทั่วโลกยกย่อง ซึ่งจะเอื้อให้คนไทยก้าวยมาผลิตในอุตสาหกรรมนี้ที่เป็นแบรนด์โดยคนไทย

4. อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ ที่จะมีส่วนสำคัญในการจัดการการขนส่งสินค้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากตลาดค้าออนไลน์ และค้าปลีก

5. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์((Robotics) ที่จะพัฒนาเข้ามาเสริมศักยภาพในงานต่างๆ ซึ่งในช่วงโควิด-19 นักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆได้มีการทำเพื่อช่วยงานของแพทย์พยาบาลทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะพัฒนามาเป็นเชิงพาณิชย์เพื่อบริการคนในประเทศและต่างประเทศได้ในอนาคต

"การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากนี้เราต้องมุ่งเน้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆให้มากขึ้นเพื่อให้สิ่งที่จะพัฒนาเป็นของคนไทยที่จะมุ่งเน้นพึ่งพิงตนเอง" นายเกรียงไกรก ล่าว



กำลังโหลดความคิดเห็น