xs
xsm
sm
md
lg

"ลัดมะยมโมเดล" ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศก.ฐานรากที่เป็นจริง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ผู้ที่ริเริ่ม ผลักดันให้เกิดตลาดน้ำคลองลัดมะยมเมื่อ 13 ปีก่อน จนประสบความสำเร็จ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน ถือได้ว่า เป็นต้นแบบของ ตลาดน้ำยุคปัจจุบันที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตตามธรรมชาติ แต่เป็นตลาดน้ำคนสร้าง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวซึ่งเกิดขึ้นหลายแห่งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานและร่วมปาฐกถาในงาน “เศรษฐกิจฐานราก พลิกความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย” โดยระดมความคิดเห็นในหัวข้อเสวนา “เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา” โดยคุณอติรัตน์ ด่านภัทรวรวัฒน์ ผู้บริหารแพ 500 ไร่ คุณแรม เชียงกา ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส.หนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ คุณประมุขพิสิฐ อัจฉริยะฉาย ประธานกรรมการโรงแรมในเครือกะตะกรุ๊ป คุณชวน ชูจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ผู้ก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต จ.ตราด พร้อมทั้งผู้บริหารสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผู้บริหารภาครัฐ ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ และผู้นำชุมชนร่วมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ “หัวใจเศรษฐกิจไทยยุคใหม่” และ “เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา” เพื่อร่วมเสนอแนะแนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก พร้อมผลักดันสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ณ อาคารอิมแพ็คฟอรัม เมืองทองธานี

นายชวน ชูจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม กล่าวบนเวทีเสวนา "เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา" ว่า หลังจากที่เราขับเคลื่อน เราใช้คำว่าฐานรากมานานพอสมควร วันนี้ภาพเริ่มชัดขึ้น ฐานรากทุกคนมองเห็นรูปร่างมากขึ้น หลายหน่วยงานก็ลงไปดูแล ลงไปเกี่ยวข้องมากขึ้น เดิมนั้นฐานรากอยู่ค่อนข้างลอยๆ ก็เรียนพี่น้องว่าวันนี้เรามีเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากนะครับ เราสร้างเครือข่ายซึ่งมีตัวแทนอยู่ทั่วประเทศ เขาเห็นว่าคำตอบของการพัฒนาจริงๆ แล้วมันอยู่ที่ชุมชน อยู่ที่หมู่บ้าน เราจะมีนโยบายดีอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าฐานราก หรือชุมชน หมู่บ้าน ไม่มีหลัก ไม่มีเป็นรูปธรรม มันก็มองไม่เห็น สุดท้ายก็ขาดตอน ขาดช่วงไป ฉะนั้นวันนี้เราพยายามอย่างยิ่งที่จะฝึกผู้นำตามธรรมชาติ ธนาคารออมสินทำมา 5-6 ปีแล้ว พยายามให้เห็นว่าในชุมชนต้องมีผู้นำนะ ต้องมีการเริ่มต้นนะ ต้องมีแกน ต้องมีวิธีคิดพอสมควร เพราะว่าถ้าเราไม่ปรับตัว ปัญหาในชุมชนเองก็มีมากมายมหาศาล ปัญหาโครงสร้างของรัฐก็มี ภาคการเมืองก็มี ภาคราชการก็มี ภาคชุมชนก็มีไม่น้อย ส่วนหนึ่งที่เราทำเครือข่ายฯ ก็เพื่อจะฝึก เพื่อจะให้แนวคิดเขา ให้หลักคิดเขาว่า คำตอบมันอยู่ที่คุณนะ คนอื่นเป็นแค่ผู้สนับสนุน เราต่างหากที่จะเป็นตัวตั้ง เราต่างหากที่เป็นตัวหลัก หลายๆ ท่านที่ประสบความสำเร็จที่เห็น ถ้ามองลึกๆ แล้วเขาเป็นหลัก และเขาทำอย่างกัดไม่ปล่อย ชุมชนถูกมัดตราสังพอสมควร ปิดไปหมดแทบทุกเรื่องที่จะขยับ วันนี้ก็ถูกปล่อยไปบ้างหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเรื่องป่าไม้ ป่าไม้นี่ปลดล็อกหมดแล้ว เราสามารถปลูกไม้ได้ทุกชนิดที่เคยห้าม ในที่ดินของตัวเองหรือในที่ดินของรัฐก็ได้ และต่อไปในอนาคตผมว่าต้องปลดอีกหลายเรื่อง

นายชวน กล่าวอีกว่า ทำตลาดน้ำมาวันนี้ก็ปีที่ 16 เกิดปัญหาในชุมชนมากมายเหมือนอย่างหลายท่านเจอ ปัญหาเรื่องขยะ ปัญหาเรื่องตลาด ที่เราไม่มี ปัญหาเรื่องเงินทุน และปัญหาการรวมตัวกันทำงาน จริงๆ วิสาหกิจนี่ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากนะครับ เรารวมตัวกันทำงานเมื่อไรนั่นก็เรียกวิสาหกิจได้ จากทำคนเดียว ของใครของมัน มารวมกัน คิดร่วมกัน ทำเรื่องเล็กๆ ก่อนแล้วค่อยเติบโตไปได้ วิสาหกิจไม่จำเป็นต้องเป็นการค้ากำไรอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องเป็นการค้าก็ได้ วิสาหกิจเพื่อดูแลน้ำในชุมชนก็ได้ เรารวมตัวกันทำงานเพื่อส่วนรวมสัก 1-2 อย่าง แต่ไม่ได้จดทะเบียน ก็ต้องมีจำนวนสักนิด 8 คน 10 คนขึ้นไป ก็ไปจดทะเบียน จดทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์นะครับ วิสาหกิจต้องกระทรวงเกษตรฯ

ผมเริ่มต้นเมื่อปี 47 ก่อนหน้านั้นก็ทำเรื่องเกษตรเหมือนกันนะครับ แต่มาเริ่มทำเพราะเห็นปัญหาในชุมชน ผมมีวิดีทัศน์มานิดหนึ่ง ในวิดีทัศน์จะเห็นว่าเราคิดอย่างไร เราทำเครือข่ายในประเทศอย่างไร และโดยเฉพาะท่านจะเห็นความสำคัญว่าวันนี้ วันที่ 10 เดือนธันวาคม เป็นเดือนที่มีวันสำคัญกับประเทศไทยมาก เราผ่านวันที่ 5 มาได้ 5 วัน ผมว่าถ้าฐานรากของเราจะมั่นคง ยั่งยืนได้ ต้องใช้ทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างยิ่ง ถึงจะทำให้เราไม่หลุด และมันจะยั่งยืนได้ ผมว่าตรงนี้สำคัญ

หลังจากที่เราทำ เรามีเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากชุมชน เพื่อที่จะให้เขาเกิดแนวคิด คือเราต้องสร้างหลักคิดให้เขาก่อนว่าวันนี้คุณต้องลุกขึ้นมานะ วิธีคิด ทำอย่างไร แล้วก็มารับกับภาครัฐกับภาคผู้ประกอบการทั้งหลายแหล่ เครือข่ายฐานรากเราไม่ได้เป็นศัตรูหรือปฏิปักษ์กับกลุ่มใดนะครับ เรามีคำขวัญของเราว่า "คนจนอยู่ดี คนมีอยู่ได้ ประเทศไทยยั่งยืน" เพราะฉะนั้นวันนี้ก็จะเห็นภาพชัดว่าหลายส่วนก็ร่วมไม้ร่วมมือ แต่เราในภาคตัวแทนฐานรากก็ต้องตั้งหลักให้ถูกเหมือนกันว่าเราจะทำอย่างไร ต้องมีความขยัน ต้องมีความซื่อสัตย์ ต้องมีความมุ่งมั่น ต้องมีความต่อเนื่อง พัฒนาชุมชนให้มันเกิดความสมดุล ปัญหาของชุมชนอย่างหนึ่งคือความยั่งยืน ที่ผ่านมาที่เราล้มเหลวมากๆ ก็คือเราไม่ทำอย่างต่อเนื่อง ถูกไหมครับ โดยเฉพาะภาครัฐนี่ไม่สามารถทำต่อเนื่องได้โดยโครงสร้าง ชุมชนจะต้องยืนเป็นหลัก ต้องฝึกเขาไปเรื่อยๆ วันนี้เราฝึกมาคิดว่าหลายชุมชนพร้อมที่จะช่วยกัน ตัวอย่างความสำเร็จก็มีมาก ฉะนั้นถ้าภาครัฐกับภาคเอกชนลงไปเสริม ผมคิดว่าจากวันนี้ไปคงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เราเปลี่ยนประเทศไทยด้วยภาคพลเมืองได้ต่อจากนี้ ผมคิดว่า







นายชวน ชูจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม


กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ท่านผู้แทนจากธนาคาร จาก ปตท. และพี่น้องเครือข่ายเศรษฐกิจฐานรากชุมชนที่เคารพรักทุกท่าน อยากจะเรียนว่าวันนี้หลังจากที่เราขับเคลื่อน เราใช้คำว่าฐานรากมานานพอสมควร วันนี้ภาพเริ่มชัดขึ้น ฐานรากทุกคนมองเห็นรูปร่างมากขึ้น หลายหน่วยงานก็ลงไปดูแล ลงไปเกี่ยวข้องมากขึ้น เดิมนั้นฐานรากอยู่ค่อนข้างลอยๆ ก็เรียนพี่น้องว่าวันนี้เรามีเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากนะครับ เราสร้างเครือข่ายซึ่งมีตัวแทนอยู่ทั่วประเทศ เขาเห็นว่าคำตอบของการพัฒนาจริงๆ แล้วมันอยู่ที่ชุมชน อยู่ที่หมู่บ้าน เราจะมีนโยบายดีอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าฐานราก หรือชุมชน หมู่บ้าน ไม่มีหลัก ไม่มีเป็นรูปธรรม มันก็มองไม่เห็น สุดท้ายก็ขาดตอน ขาดช่วงไป ฉะนั้นวันนี้เราพยายามอย่างยิ่งที่จะฝึกผู้นำตามธรรมชาติ ธนาคารออมสินทำมา 5-6 ปีแล้ว พยายามให้เห็นว่าในชุมชนต้องมีผู้นำนะ ต้องมีการเริ่มต้นนะ ต้องมีแกน ต้องมีวิธีคิดพอสมควร เพราะว่าถ้าเราไม่ปรับตัว ปัญหาในชุมชนเองก็มีมากมายมหาศาล ปัญหาโครงสร้างของรัฐก็มี ภาคการเมืองก็มี ภาคราชการก็มี ภาคชุมชนก็มีไม่น้อย ส่วนหนึ่งที่เราทำเครือข่ายฯ ก็เพื่อจะฝึก เพื่อจะให้แนวคิดเขา ให้หลักคิดเขาว่า คำตอบมันอยู่ที่คุณนะ คนอื่นเป็นแค่ผู้สนับสนุน เราต่างหากที่จะเป็นตัวตั้ง เราต่างหากที่เป็นตัวหลัก หลายๆ ท่านที่ประสบความสำเร็จที่เห็น ถ้ามองลึกๆ แล้วเขาเป็นหลัก และเขาทำอย่างกัดไม่ปล่อย


อย่าลืมว่าในอดีตที่ผ่านมา ชุมชนถูกมัดตราสังพอสมควร ปิดไปหมดแทบทุกเรื่องที่จะขยับ วันนี้ก็ถูกปล่อยไปบ้างหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเรื่องป่าไม้ ป่าไม้นี่ปลดล็อกหมดแล้ว เราสามารถปลูกไม้ได้ทุกชนิดที่เคยห้าม ในที่ดินของตัวเองหรือในที่ดินของรัฐก็ได้ และต่อไปในอนาคตผมว่าต้องปลดอีกหลายเรื่อง คืออย่ากลัวชุมชนที่จะเข้มแข็งหรือที่จะเติบโต ต้องปล่อยให้เขาเลย ปลดล็อกเมื่อไรก็ไปได้ เพียงแต่ว่าวันนี้เราก็ต้องสร้างผู้นำในชุมชนขึ้นมาเหมือนกัน


ผมเองก่อนที่จะทำตัวนี้ ทำตลาดน้ำมาวันนี้ก็ปีที่ 16 เกิดปัญหาในชุมชนมากมายเหมือนอย่างหลายท่านเจอ ปัญหาเรื่องขยะ ปัญหาเรื่องตลาด ที่เราไม่มี ปัญหาเรื่องเงินทุน และปัญหาการรวมตัวกันทำงาน จริงๆ วิสาหกิจนี่ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากนะครับ เรารวมตัวกันทำงานเมื่อไรนั่นก็เรียกวิสาหกิจได้ จากทำคนเดียว ของใครของมัน มารวมกัน คิดร่วมกัน ทำเรื่องเล็กๆ ก่อนแล้วค่อยเติบโตไปได้ วิสาหกิจไม่จำเป็นต้องเป็นการค้ากำไรอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องเป็นการค้าก็ได้ วิสาหกิจเพื่อดูแลน้ำในชุมชนก็ได้ เรารวมตัวกันทำงานเพื่อส่วนรวมสัก 1-2 อย่าง แต่ไม่ได้จดทะเบียน ก็ต้องมีจำนวนสักนิด 8 คน 10 คนขึ้นไป ก็ไปจดทะเบียน จดทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์นะครับ วิสาหกิจต้องกระทรวงเกษตรฯ


ผมเริ่มต้นเมื่อปี 47 ก่อนหน้านั้นก็ทำเรื่องเกษตรเหมือนกันนะครับ แต่มาเริ่มทำเพราะเห็นปัญหาในชุมชน ผมมีวิดีทัศน์มานิดหนึ่ง ในวิดีทัศน์จะเห็นว่าเราคิดอย่างไร เราทำเครือข่ายในประเทศอย่างไร และโดยเฉพาะท่านจะเห็นความสำคัญว่าวันนี้ วันที่ 10 เดือนธันวาคม เป็นเดือนที่มีวันสำคัญกับประเทศไทยมาก เราผ่านวันที่ 5 มาได้ 5 วัน ผมว่าถ้าฐานรากของเราจะมั่นคง ยั่งยืนได้ ต้องใช้ทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างยิ่ง ถึงจะทำให้เราไม่หลุด และมันจะยั่งยืนได้ ผมว่าตรงนี้สำคัญ และเดือนนี้เป็นเดือนสำคัญ เราลองดูว่าเราใช้อะไร และพระองค์มีหลักคิดอย่างไร และเราทำตามพระองค์ท่านรัชกาลที่ 9 เราจะยั่งยืนอย่างไร อย่าลืมนะครับ 17 ข้อของยูเอ็น มีอยู่ข้อหนึ่งที่สหประชาชาติยอมรับว่าทฤษฎีของพระองค์ท่านสามารถเอาไปใช้ในการพัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ และโลกจะอยู่อย่างสงบสุขได้ โดยใช้ทฤษฎีของพระองค์ท่าน ลองเชิญดูสักนิดก็ได้ครับ (คลิป)


นี่คือสิ่งที่เราย่อมา หลังจากที่เราทำ เรามีเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากชุมชน เพื่อที่จะให้เขาเกิดแนวคิด คือเราต้องสร้างหลักคิดให้เขาก่อนว่าวันนี้คุณต้องลุกขึ้นมานะ วิธีคิด ทำอย่างไร แล้วก็มารับกับภาครัฐกับภาคผู้ประกอบการทั้งหลายแหล่ เครือข่ายฐานรากเราไม่ได้เป็นศัตรูหรือปฏิปักษ์กับกลุ่มใดนะครับ เรามีคำขวัญของเราว่า "คนจนอยู่ดี คนมีอยู่ได้ ประเทศไทยยั่งยืน" เพราะฉะนั้นวันนี้ก็จะเห็นภาพชัดว่าหลายส่วนก็ร่วมไม้ร่วมมือ แต่เราในภาคตัวแทนฐานรากก็ต้องตั้งหลักให้ถูกเหมือนกันว่าเราจะทำอย่างไร ต้องมีความขยัน ต้องมีความซื่อสัตย์ ต้องมีความมุ่งมั่น ต้องมีความต่อเนื่อง พัฒนาชุมชนให้มันเกิดความสมดุล ปัญหาของชุมชนอย่างหนึ่งคือความยั่งยืน ที่ผ่านมาที่เราล้มเหลวมากๆ ก็คือเราไม่ทำอย่างต่อเนื่อง ถูกไหมครับ โดยเฉพาะภาครัฐนี่ไม่สามารถทำต่อเนื่องได้โดยโครงสร้าง ชุมชนจะต้องยืนเป็นหลัก ต้องฝึกเขาไปเรื่อยๆ วันนี้เราฝึกมาคิดว่าหลายชุมชนพร้อมที่จะช่วยกัน ตัวอย่างความสำเร็จก็มีมาก ฉะนั้นถ้าภาครัฐกับภาคเอกชนลงไปเสริม ผมคิดว่าจากวันนี้ไปคงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เราเปลี่ยนประเทศไทยด้วยภาคพลเมืองได้ต่อจากนี้ ผมคิดว่า


ผมมีตัวอย่างชุมชน ที่เรียกว่าลัดมะยมโมเดล ที่ทุกคนมาดูและเผยแพร่ออกไปเรื่อยๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเริ่มอย่างไรครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น