xs
xsm
sm
md
lg

ธุรกิจที่พัก “แพ 500 ไร่” ธุรกิจด้วยการคิดแบบ “ธรรมชาติ” อยู่ร่วมกับชุมชน และเชื่อในความสำเร็จที่แบ่งปันได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้บริหารแพ 500 ไร่เผยบนเวที “เศรษฐกิจฐานราก พลิกความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย” หัวข้อ “เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา” ในเรื่องทุนของแผ่นดิน เรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร รวมไปจนถึงกิจกรรมการกีฬาของไทย หรือแม้กระทั่งทรัพยากรทางธรรมชาติ จริงๆ แล้วประเทศไทยเรามีทุน สมกับคำว่า "สุวรรณภูมิ" บางอย่างอาจจะเหมาะกับการนำเสนอออกไปนอกประเทศ ไม่ว่าจะในภูมิภาคใด ของบางอย่างอาจจะไปสู่เวทีที่เป็นสากล หรืออาจจะเป็น Global ก็ได้








เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานและร่วมปาฐกถาในงาน “เศรษฐกิจฐานราก พลิกความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย” โดยระดมความคิดเห็นในหัวข้อเสวนา “เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา” โดยคุณอติรัตน์ ด่านภัทรวรวัฒน์ ผู้บริหารแพ 500 ไร่ คุณแรม เชียงกา ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส.หนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ คุณประมุขพิสิฐ อัจฉริยะฉาย ประธานกรรมการโรงแรมในเครือกะตะกรุ๊ป คุณชวน ชูจันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ผู้ก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต จ.ตราด พร้อมทั้งผู้บริหารสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผู้บริหารภาครัฐ ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ และผู้นำชุมชนร่วมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ “หัวใจเศรษฐกิจไทยยุคใหม่” และ “เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา” เพื่อร่วมเสนอแนะแนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก พร้อมผลักดันสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ณ อาคารอิมแพ็คฟอรัม เมืองทองธานี


อติรัตน์ ด่านภัทรวรวัฒน์ ผู้บริหารแพ 500 ไร่ กล่าวบนเวทีเสวนา "เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา" ว่า ในเรื่องทุนของแผ่นดินนะครับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร รวมไปจนถึงกิจกรรมการกีฬาของไทย หรือแม้กระทั่งทรัพยากรทางธรรมชาติ จริงๆ แล้วประเทศไทยเรามีทุนที่ต้องบอกเลยว่าสมกับคำว่า "สุวรรณภูมิ" บ้านเรามีของที่ดีมากๆ แต่อยู่ที่เราจะบริหารจัดการ การที่เราจะนำมันไปต่อยอด การที่เราจะนำไปเสนอว่ามันถูกที่ถูกทางถูกเวลาและถูกคนหรือเปล่า เราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่มีคุณค่าของเรานี้สิ่งนี้่เหมาะกับใคร ของบางอย่างอาจจะเหมาะกับพวกเรากันเอง ของบางอย่างอาจจะเหมาะกับการนำเสนอออกไปนอกประเทศ ไม่ว่าจะในภูมิภาคใด ของบางอย่างอาจจะไปสู่เวทีที่เป็นสากล หรืออาจจะเป็น Global ก็ได้

ในระดับของฐานราก เรามีอุปสรรคมากมายที่จะนำเสนอออกไป แน่นอนเรามีในส่วนของภาครัฐที่ช่วยในการสนับสนุน แต่ในบางครั้งภารกิจของภาครัฐหลายหน่วย หลายกระทรวง ก็ต้องทำในภาพรวม สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการ สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านอย่างพวกเราจะต้องทำ ก็คือการพัฒนาตนเอง ศึกษา เรียนรู้ด้วยตนเอง แต่สิ่งหนึ่งที่จะเป็นเหมือนกัน

ดังนั้น ที่ผมกำลังคิดก็คือว่า ถ้าเป็นไปได้ ในอนาคตข้างหน้า นโยบายดีๆ ที่ทางผู้บริหารแบงก์ได้พูด รวมไปถึงนโยบายที่รัฐบาลทำ เช่น โครงการประชารัฐต่างๆ อยากให้มีสานต่อ แต่ในเมื่อมีคณะกรรมการเหล่านี้แล้ว ในการทำ ในการพิจารณา ถ้าเราเจอช้างเผือกในแต่ละชุมชน ที่มีความรู้ มีความสามารถมากพอ เราควรที่จะให้โอกาส ไม่ใช่จำกัดแค่ 2 ล้าน 3 ล้าน 5 ล้าน ขณะเดียวกัน ให้โอกาสในการที่จะให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ ได้โอกาสพัฒนา ได้มีโอกาสสร้างการตลาด ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นๆ กิจการนั้นๆ สามารถที่จะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ให้กับประเทศได้ อาจจะมีการขยายขอบเขตขึ้นมา เพราะผมเชื่อว่าถ้าหากเราไม่มีวิธีคิดพิจารณาพิเศษเหล่านี้ ไม่มีการมองรายจ่ายในบางรายจ่ายที่มันจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับบางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว อนาคตที่เราจะเห็นในระดับฐานรากเติบโต ยืนด้วยตนเอง จะค่อนข้างยาก เพราะวันข้างหน้าจะต้องมีการลงทุนกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ สิ่งที่เป็นเทคโนโลยี สิ่งที่เป็นความน่าเชื่อถือ การจดจำ และการสร้างมูลค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ฐานรากยังขาด และต้องลงทุนกับมันมาก และขณะเดียวกันยังเป็นเรื่องรายจ่าย จึงฝากทางธนาคารไว้สักหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ฐานรากจะก้าวไปสู่การสร้างเป็นฐานเป็นอนาคตให้กับประเทศของเราด้วยครับ


คำต่อคำ : เสวนา "เศรษฐกิจฐานราก อนาคตไทย อนาคตเรา"

อติรัตน์ ด่านภัทรวรวัฒน์ ผู้บริหารแพ 500 ไร่

ขอบคุณครับ ก่อนอื่นขออนุญาตต่อยอดจากที่ท่านมงคลได้กล่าวในเรื่องทุนของแผ่นดินนะครับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร รวมไปจนถึงกิจกรรมการกีฬาของไทย หรือแม้กระทั่งทรัพยากรทางธรรมชาติ จริงๆ แล้วประเทศไทยเรามีทุนที่ต้องบอกเลยว่า สมกับคำว่า "สุวรรณภูมิ" บ้านเรามีของที่ดีมากๆ แต่อยู่ที่เราจะบริหารจัดการ การที่เราจะนำมันไปต่อยอด การที่เราจะนำไปเสนอว่ามันถูกที่ถูกทางถูกเวลาและถูกคนหรือเปล่า

จริงๆ ในส่วนของผมเป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ ซึ่งเรามองเห็นเลยว่าจริงๆ แล้วในสังคมไทยมีมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่เราเดินมาได้ และสิ่งที่เราเรียนรู้และได้รับก็คือ การที่จะเอาทุนของแผ่นดิน หรือเอาทรัพยากรสิ่งเหล่านี้ที่เรามีคุณค่าต่างๆ ของเราออกไปนำเสนอ เราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่มีคุณค่าของเรานี้ สิ่งนี้่เหมาะกับใคร ของบางอย่างอาจจะเหมาะกับพวกเรากันเอง ของบางอย่างอาจจะเหมาะกับการนำเสนอออกไปนอกประเทศ ไม่ว่าจะในภูมิภาคใด ของบางอย่างอาจจะไปสู่เวทีที่เป็นสากล หรืออาจจะเป็น Global ก็ได้

แต่ทีนี้ในระดับของฐานราก เรามีอุปสรรคมากมายที่จะนำเสนอออกไป แน่นอนเรามีในส่วนของภาครัฐที่ช่วยในการสนับสนุน แต่ในบางครั้งภารกิจของภาครัฐหลายหน่วย หลายกระทรวง ก็ต้องทำในภาพรวม สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการ สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านอย่างพวกเราจะต้องทำ ก็คือการพัฒนาตนเอง ศึกษา เรียนรู้ด้วยตนเอง แต่สิ่งหนึ่งที่จะเป็นเหมือนกัน ที่จะเป็นอุปสรรคและจะเป็นโอกาสในขณะเดียวกัน ในยุคปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าเรามีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ เข้าถึงแหล่งทุนที่ภาครัฐได้มอบให้ค่อนข้างมาก ตัวผมก็เช่นเดียวกันที่ได้รับโอกาส โดยเฉพาะจาก 2 ธนาคารหลักที่เป็นธนาคารรัฐ ก็คือเอสเอ็มอีแบงก์ และในส่วนของกรุงไทย

ในการที่จะเติบโตไปข้างหน้าได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในส่วนของโดยเฉพาะธุรกิจของรากหญ้า ฐานราก จะต้องมีการพัฒนาในเรื่องขององค์ความรู้มาก เพิ่มเติมพอสมควร เพื่อที่จะให้ยืนด้วยขาของตัวเองได้ก่อนที่จะพึ่งพาผู้อื่นด้วย ในส่วนตรงนี้ตั้งแต่ในเรื่องขององค์ความรู้ ในเรื่องของการตลาด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เนื่องจากวันนี้ผมมานั่งอยู่กับทางธนาคาร จึงอยากจะบอกในมุมมองหนึ่งว่า ในการที่เราจะพัฒนาเติบโตขึ้นมาได้ การลงทุนอย่างหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นค่าใช้จ่าย แต่จริงๆ แล้วมันคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ฐานรากก้าวขึ้นไปยืนด้วยขาตนเองได้ แต่มุมมองที่ต่างกัน เช่น การที่เรายังอยู่ในระดับฐานรากที่ยังขาดในเรื่ององค์ความรู้ กำไรส่วนหนึ่งที่ได้มา จะถูกเอาไปลงทุนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ไปลงทุนกับระบบต่างๆ ไปลงทุนกับภาคการตลาดต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่สามารถที่จะสร้างในสิ่งส่วนที่เป็นสินทรัพย์ ทรัพย์สิน ที่จะถูกนำมาประเมินเพื่อจะเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อต่อยอดต่อไปได้ จึงจะเห็นได้ว่าในโลกที่ต้องมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วย ระดับฐานรากจึงมีข้อจำกัดและมีเพดานที่ตันในระดับหนึ่ง สุดท้ายระดับฐานราก หรือระดับล่างของชุมชน ไม่สามารถที่จะเดินต่อไปเองด้วยตัวเองได้ ก็ต้องไปพึ่งในส่วนของพาร์ทเนอร์ต่างๆ แน่นอนเราต้องพึ่งพาร์ทเนอร์ แต่ถ้าเราไม่สามารถมีอีกช่องทางที่สามารถยืนเองด้วยตนเองได้ ท้ายที่สุดแล้วกำหนดราคาไม่ได้ กำหนดปริมาณไม่ได้ เติบโตไม่ได้ ท้ายที่สุดก็จะต้องมีผู้เข้ามาร่วมลงทุน ถือหุ้น หรือเป็นสตาร์ทอัพ เพื่อให้กลุ่มนายทุนนำเอาไปต่อยอดต่อไป

ในส่วนของตัวผมและในชุมชมของผม ก็คือพื้นที่เชี่ยวหลานและเขาสก ผมแทบจะเป็นผู้ประกอบการรายเดียวในประเทศไทยที่มาจากชุมชนอย่างแท้จริง ด้านท่องเที่ยว ที่ออกไปสู่เวทีต่างประเทศระดับโลก แต่การที่ออกไปยากมาก เหนื่อยมาก กว่าที่จะออกไป การลงทุนกับการตลาด การลงทุนกับการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากร ในตลอด 3-4 ปีที่เราทำ ใช้เวลา จะต้องมีกำไร มีรายได้มากพอ และในขณะเดียวกันขณะที่พัฒนาต่อยอดขึ้นไป มันเกิดเป็นค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมา ใครจะรับได้บ้างว่าอีก 4 ปีถึงจะได้เห็นผล ขณะเดียวกัน ในฝั่งสถาบันการเงินมองตัวเลขกำไรขาดทุน เราอาจจะเหลือกำไรค่อนข้างต่ำ เพื่อที่หวังไว้ว่าทั้งธุรกิจของเราจะได้กำไรในอนาคต และชุมชนของเราจะสามารถยืนด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องหวังพึ่งพาแพลตฟอร์มที่อยู่ตรงกลาง หวังพึ่งพาในส่วนของพ่อค้าคนกลาง ในขณะเดียวกันเราเองก็สามารถที่จะยืนด้วยตนเองได้ ขณะเดียวกันพ่อค้าคนกลางก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เราสามารถขยาย เติบโตไปได้อย่างรวดเร็วด้วย

ยุทธิยง - เสริมคนที่กำลังง่วง ท่านใดอยากจะไปพักผ่อนที่แพ 500 ไร่ ยกมือครับ รอปี 64 นะครับ เพราะปีหน้าจองเต็มหมดแล้วครับ

อติรัตน์ - ดังนั้น ที่ผมกำลังคิดก็คือว่า ถ้าเป็นไปได้ ในอนาคตข้างหน้า นโยบายดีๆ ที่ทางผู้บริหารแบงก์ได้พูด รวมไปถึงนโยบายที่รัฐบาลทำ เช่น โครงการประชารัฐต่างๆ อยากให้มีสานต่อ แต่ในเมื่อมีคณะกรรมการเหล่านี้แล้ว ในการทำ ในการพิจารณา ถ้าเราเจอช้างเผือกในแต่ละชุมชน ที่มีความรู้ มีความสามารถมากพอ เราควรที่จะให้โอกาส ไม่ใช่จำกัดแค่ 2 ล้าน 3 ล้าน 5 ล้าน ขณะเดียวกัน ให้โอกาสในการที่จะให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ ได้มีโอกาสพัฒนา ได้มีโอกาสสร้างการตลาด ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นๆ กิจการนั้นๆ สามารถที่จะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ให้กับประเทศได้ อาจจะมีการขยายขอบเขตขึ้นมา เพราะผมเชื่อว่าถ้าหากเราไม่มีวิธีคิดพิจารณาพิเศษเหล่านี้ ไม่มีการมองรายจ่ายในบางรายจ่ายที่มันจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับบางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว อนาคตที่เราจะเห็นในระดับฐานรากเติบโต ยืนด้วยตนเอง จะค่อนข้างยาก เพราะวันข้างหน้าจะต้องมีการลงทุนกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ สิ่งที่เป็นเทคโนโลยี สิ่งที่เป็นความน่าเชื่อถือ การจดจำ และการสร้างมูลค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ฐานรากยังขาด และต้องลงทุนกับมันมาก และขณะเดียวกันยังเป็นเรื่องรายจ่าย จึงฝากทางธนาคารไว้สักหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ฐานรากจะก้าวไปสู่การสร้างเป็นฐานเป็นอนาคตให้กับประเทศของเราด้วยครับ




กำลังโหลดความคิดเห็น