xs
xsm
sm
md
lg

“พวงทิพย์” แจงตั้งผู้ทรงคุณวุฒิปิโตรเลียม เป็นไปตามหลักกฎหมายมุ่งความโปร่งใส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“พวงทิพย์” แจงตั้งผู้ทรงคุณวุฒิปิโตรเลียมเป็นไปตามหลักกฎหมาย มุ่งความโปร่งใส

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแถลงยืนยันการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการปิโตรเลียม เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีความเหมาะสมทั้งคุณวุฒิ และความหลากหลายของประสบการณ์ เพื่อมุ่งสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในกิจการพลังงาน

นางพวงทิพย์ ศิลปะศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวถึงประเด็นการวิจารณ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม (ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไปเมื่อวันที่ 17 มี์.ค. 58) ว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน และผิดกฎหมายนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงและยืนยันว่าการนำเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดไปจากข้อเท็จจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้

การกล่าวอ้างว่าการแต่งตั้งนายบูรณวงศ์ เสาวพฤกษ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 บุคคลที่ถูกเสนอชื่อร่วมเป็นกรรมการฯ ในครั้งนี้อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะปัจจุบันทำงานให้กับบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเอ็กซอนโมบิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด นั้น เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะนายบูรณวงศ์ไม่ได้เป็นผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัท เอ็กซอน โมบิล จำกัด ในขณะนี้แต่อย่างใด โดยนายบูรณวงศ์ได้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไปตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 แล้ว หลังจากนั้นจึงได้กลับมาประเทศไทย และประกอบธุรกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่อย่างใด

สำหรับการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียมเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี โดยจะแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่มีความหลากหลาย เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน กฎหมาย การบริหาร หรือสาขาอื่นใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งจำนวน 5 คนในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงกลาโหม และอดีตผู้บริหารจากภาคเอกชนอีก 2 ราย ซึ่งล้วนมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และทุกคนมีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความรู้ที่เหมาะสม และไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม ตามมาตรา 16 (1) แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550

อนึ่ง ในกรณีของนายบูรณวงศ์ เสาวพฤกษ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการปิโตรเลียมด้วยนั้น ก็ยังเป็นบุคคลที่ได้รับการแนะนำจากประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาปฏิรูปแห่งชาติ อีกด้วย เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความซื่อตรง มีประสบการณ์จริงทางด้านธุรกิจปิโตรเลียมในต่างประเทศมากว่า 30 ปี มีความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ การเงินและเศรษฐกิจปิโตรเลียมในธุรกิจปิโตรเลียม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความคิดเห็นในคณะกรรมการปิโตรเลียมได้เป็นอย่างดี อันจะก่อประโยชน์และประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อการบริหารนโยบายพลังงานของประเทศไทยด้วย

ดังนั้น จากคุณสมบัติข้างต้นจึงเห็นได้ว่านายบูรณวงศ์มีความเหมาะสม และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ในการได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียมดังกล่าว
ถกสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 นัดแรก 2 ฝ่ายเห็นพ้องแก้กฎหมาย 3 ฉบับ
ถกสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 นัดแรก 2 ฝ่ายเห็นพ้องแก้กฎหมาย 3 ฉบับ
ถกสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 นัดแรก “ประสงค์”นำ 10 ภาคประชาชนมาครบ ด้านภาครัฐ “อธิบดีกรมเชื้อเพลิงฯชิ่ง” มอบรองฯประชุมแทน อ้างติดภารกิจ เผยประชุมนัดแรกกว่า 2 ชั่วโมง 2 ฝ่ายเห็นพ้องแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ ส่วนการทบทวนการจัดสรรทรัพยากรปิโตรเลียม ทบทวนโครงสร้างและราคาก๊าซและนำมันสำเร็จรูป ทบทวนนโยบายเรื่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และแก้ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน รอสรุปครั้งหน้า ย้ำภาคประชาชนและภาครัฐ ต้องนั่งคุยกันเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ส่วนภาคประชาชนเดินหน้าตั้ง อนุกรรมการ 3 ฝ่าย ภาคนหลังเสนอรัฐ
กำลังโหลดความคิดเห็น