กก.มาตรา 13 เร่งสรุปเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เตรียมส่งหนังสือถึง BMCL ขอรายละเอียดแผนงานด้านเทคนิคการเดินรถ การให้บริการส่วนต่อขยายต่อเนื่องกับสายสีน้ำเงินเฉลิมมหานคร นำมาประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกวิธีเจรจาตรงหรือไม่
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณางานเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ที่มีนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม. (ฝ่ายบริหาร) และรักษาการผู้ว่าฯ รฟม.เป็นประธาน ได้ประชุมหารือโดยมีความเห็นว่าควรจะมีการสอบถามไปยังบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ในกรณีเจรจาให้ BMCL รับงานเดินรถทางบริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงด้านเทคนิคการให้บริการอย่างไรบ้าง เพื่อให้การเดินทางมีความเชื่อมต่อ สร้างความสะดวกแก่ผู้โดยสารมากที่สุด
ทั้งนี้ จะมีส่งหนังสือถือ BMCL ภายในสัปดาห์นี้ โดยจะขอให้ BMCL ตอบกลับมาภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจว่าจะใช้วิธีใดคัดเลือกเอกชนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ระหว่างการเจรจากับ BMCL ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสายเฉลิมมหานคร เพื่อให้เดินรถต่อเนื่องจากสายทางปัจจุบัน หรือเปิดประกวดราคาใหม่ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 13 จะรายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน รับทราบในวันที่ 19 ธันวาคมนี้
“ที่ประชุมคณะกรรมการมาตราฯ 13 มีความเห็นว่าจะให้ BMCL ช่วยส่งข้อมูลเพิ่มเติม โดยก่อนหน้านี้ BMCL เคยส่งหนังสือมาว่าหากเลือก BMCL จะมีข้อดีอย่างไรบ้าง ครั้งนี้ รฟม.จะขอให้ BMCL ช่วยแจกแจงรายละเอียดว่าหาก BMCL ได้รับงานเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะมีการปรับปรุงด้านเทคนิคการให้บริการอย่างไรบ้าง เช่น จะใช้ระบบใด จะจัดสรรตัวรถอย่างไรเพื่อเป้าหมายหลักคือให้การเดินทางมีความเชื่อมต่อ สร้างความสะดวกแก่โดยสารมากที่สุด แต่ยังไม่ได้หมายความว่าคณะกรรมการมาตรา 13 สรุปจะเลือกเจรจา BMCL แล้ว เพียงแต่ขอข้อมูลมาประกอบการพิจารณาก่อน” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงคมนาคมนั้นเห็นว่าการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนี้ รฟม.จะใช้วิธีเปิดประกวดราคา หรือเจรจากับ BMCL ก็ได้ เพราะเส้นทางเดินรถเป็นวงกลมขนาดใหญ่ สายทางแต่ละช่วงมีระยะทางยาวพอสมควรที่จะมีผู้เดินรถมากกว่า 1 ราย โดยสายเฉลิมรัชมงคลปัจจุบันมีระยะทาง 20 กิโลเมตร ขณะส่วนต่อขยายช่วง บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค มีระยะทาง 27 กิโลเมตร ซึ่งจะต่างจากสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีระยะทางเพียง 13 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตรงเชื่อมกับเส้นทางรถไฟฟ้า BTS เท่านั้น จึงเห็นควรว่าวิธีที่เหมาะสมคือเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ก่อนหากตกลงไม่ได้ค่อยเปิดประกวดราคา
โดยได้กำชับให้ รฟม.เร่งดำเนินการหาข้อสรุปการเดินรถไฟฟ้าทั้งสองสาย เนื่องจากเกรงว่างานเดินรถจะล่าช้าไม่ทันกับการก่อสร้างงานโยธาซึ่งมีความคืบหน้าไปมากแล้ว เนื่องจากมีการเร่งรัดโดยสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายงานก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2562 สายสีเขียวใต้จะแล้วเสร็จปี 2561
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณางานเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ที่มีนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม. (ฝ่ายบริหาร) และรักษาการผู้ว่าฯ รฟม.เป็นประธาน ได้ประชุมหารือโดยมีความเห็นว่าควรจะมีการสอบถามไปยังบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ในกรณีเจรจาให้ BMCL รับงานเดินรถทางบริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงด้านเทคนิคการให้บริการอย่างไรบ้าง เพื่อให้การเดินทางมีความเชื่อมต่อ สร้างความสะดวกแก่ผู้โดยสารมากที่สุด
ทั้งนี้ จะมีส่งหนังสือถือ BMCL ภายในสัปดาห์นี้ โดยจะขอให้ BMCL ตอบกลับมาภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจว่าจะใช้วิธีใดคัดเลือกเอกชนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ระหว่างการเจรจากับ BMCL ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสายเฉลิมมหานคร เพื่อให้เดินรถต่อเนื่องจากสายทางปัจจุบัน หรือเปิดประกวดราคาใหม่ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 13 จะรายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน รับทราบในวันที่ 19 ธันวาคมนี้
“ที่ประชุมคณะกรรมการมาตราฯ 13 มีความเห็นว่าจะให้ BMCL ช่วยส่งข้อมูลเพิ่มเติม โดยก่อนหน้านี้ BMCL เคยส่งหนังสือมาว่าหากเลือก BMCL จะมีข้อดีอย่างไรบ้าง ครั้งนี้ รฟม.จะขอให้ BMCL ช่วยแจกแจงรายละเอียดว่าหาก BMCL ได้รับงานเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะมีการปรับปรุงด้านเทคนิคการให้บริการอย่างไรบ้าง เช่น จะใช้ระบบใด จะจัดสรรตัวรถอย่างไรเพื่อเป้าหมายหลักคือให้การเดินทางมีความเชื่อมต่อ สร้างความสะดวกแก่โดยสารมากที่สุด แต่ยังไม่ได้หมายความว่าคณะกรรมการมาตรา 13 สรุปจะเลือกเจรจา BMCL แล้ว เพียงแต่ขอข้อมูลมาประกอบการพิจารณาก่อน” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงคมนาคมนั้นเห็นว่าการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนี้ รฟม.จะใช้วิธีเปิดประกวดราคา หรือเจรจากับ BMCL ก็ได้ เพราะเส้นทางเดินรถเป็นวงกลมขนาดใหญ่ สายทางแต่ละช่วงมีระยะทางยาวพอสมควรที่จะมีผู้เดินรถมากกว่า 1 ราย โดยสายเฉลิมรัชมงคลปัจจุบันมีระยะทาง 20 กิโลเมตร ขณะส่วนต่อขยายช่วง บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค มีระยะทาง 27 กิโลเมตร ซึ่งจะต่างจากสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีระยะทางเพียง 13 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตรงเชื่อมกับเส้นทางรถไฟฟ้า BTS เท่านั้น จึงเห็นควรว่าวิธีที่เหมาะสมคือเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ก่อนหากตกลงไม่ได้ค่อยเปิดประกวดราคา
โดยได้กำชับให้ รฟม.เร่งดำเนินการหาข้อสรุปการเดินรถไฟฟ้าทั้งสองสาย เนื่องจากเกรงว่างานเดินรถจะล่าช้าไม่ทันกับการก่อสร้างงานโยธาซึ่งมีความคืบหน้าไปมากแล้ว เนื่องจากมีการเร่งรัดโดยสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายงานก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2562 สายสีเขียวใต้จะแล้วเสร็จปี 2561