“ณรงค์ชัย” เตรียมเสนอปรับโครงสร้างราคาพลังงานทุกชนิดต่อ กพช.ในเดือน พ.ย.นี้ คาดจะมีผลให้ราคาพลังงานปรับขึ้นยกแผงในเดือนธันวาคม ส่วนดีเซลก็มีแผนจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น โดยลดการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันลง
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุม “World National Oil Companies Congress Asia 2014” ที่จัดโดยบริษัท ปตท. ร่วมกับบริษัทพลังงานระดับโลก วันนี้ (5 พ.ย.) ว่า กระทรวงพลังงานเตรียมเสนอปรับโครงสร้างราคาพลังงานทุกชนิดต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในเดือนนี้ และมีผลปรับราคาขายปลีกพลังงานในเดือนธันวาคมเพื่อให้สะท้อนความเป็นจริง โดยจะปรับขึ้นราคาแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้กระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
นอกจากนี้ จะมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น เพื่อให้ใกล้เคียงภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินที่จัดเก็บอยู่ เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดีเซลต่ำมากอยู่ที่ 0.75 บาท/ลิตร แต่ทั้งนี้ กระทรวงฯ มีแนวคิดที่จะปรับลดการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันที่เก็บจากดีเซลลิตรละ 3.7 บาทลง เพื่อให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด ส่วนการจัดเก็บภาษีดีเซลจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 บาท/ลิตรหรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้ คงต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลัง
ส่วนราคาแอลพีจีหน้าโรงแยกก๊าซธรมชาติ จะปรับเพิ่มขึ้จากราคาควบคุมที่ใช้มานานเกือบ 10 ปีที่ 330 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพื่อให้สะท้อนราคาตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่จะเป็นราคาเท่าไหร่ยังเปิดเผยไม่ได้ โดยจะพิจารณานำราคาต้นทุนแอลพีจีที่ผลิตได้จากในประเทศและราคานำเข้าแอลพีจี และแอลเอ็นจีมาถัวเฉลี่ยกัน ซึ่งการปรับขึ้นราคาแอลพีจีดังกล่าวนี้ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสม เนื่องจากราคาน้ำมันปรับลดลงทำให้ราคาแอลพีจีในตลาดโลกปรับลดลงมาอยู่ที่ 605 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้เงินอุดหนนจากกองทุนน้ำมันสำหรับการนำเข้าแอลพีจีลดลง ส่งให้กองทุนน้ำมันล่าสุดมีฐานะเป็นบวกแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท
นายณรงค์ชัยกล่าวว่า ภาพรวมหลังการปรับโครงสร้างราคาพลังงานใน 1 ปีนับจากนี้ ผู้ที่จะได้ประโยชน์คือ กลุ่มผู้ใช้ก๊าซโซฮอล์และน้ำมันเบนซิน ส่วนผู้ใช้น้ำมันดีเซล ก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจีภาคครัวเรือนและขนส่งน่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาบ้างเล็กน้อย ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเสียเต็มที่อยู่แล้ว
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุม “World National Oil Companies Congress Asia 2014” ที่จัดโดยบริษัท ปตท. ร่วมกับบริษัทพลังงานระดับโลก วันนี้ (5 พ.ย.) ว่า กระทรวงพลังงานเตรียมเสนอปรับโครงสร้างราคาพลังงานทุกชนิดต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในเดือนนี้ และมีผลปรับราคาขายปลีกพลังงานในเดือนธันวาคมเพื่อให้สะท้อนความเป็นจริง โดยจะปรับขึ้นราคาแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้กระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
นอกจากนี้ จะมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น เพื่อให้ใกล้เคียงภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินที่จัดเก็บอยู่ เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดีเซลต่ำมากอยู่ที่ 0.75 บาท/ลิตร แต่ทั้งนี้ กระทรวงฯ มีแนวคิดที่จะปรับลดการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันที่เก็บจากดีเซลลิตรละ 3.7 บาทลง เพื่อให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด ส่วนการจัดเก็บภาษีดีเซลจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 บาท/ลิตรหรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้ คงต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลัง
ส่วนราคาแอลพีจีหน้าโรงแยกก๊าซธรมชาติ จะปรับเพิ่มขึ้จากราคาควบคุมที่ใช้มานานเกือบ 10 ปีที่ 330 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพื่อให้สะท้อนราคาตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่จะเป็นราคาเท่าไหร่ยังเปิดเผยไม่ได้ โดยจะพิจารณานำราคาต้นทุนแอลพีจีที่ผลิตได้จากในประเทศและราคานำเข้าแอลพีจี และแอลเอ็นจีมาถัวเฉลี่ยกัน ซึ่งการปรับขึ้นราคาแอลพีจีดังกล่าวนี้ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสม เนื่องจากราคาน้ำมันปรับลดลงทำให้ราคาแอลพีจีในตลาดโลกปรับลดลงมาอยู่ที่ 605 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้เงินอุดหนนจากกองทุนน้ำมันสำหรับการนำเข้าแอลพีจีลดลง ส่งให้กองทุนน้ำมันล่าสุดมีฐานะเป็นบวกแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท
นายณรงค์ชัยกล่าวว่า ภาพรวมหลังการปรับโครงสร้างราคาพลังงานใน 1 ปีนับจากนี้ ผู้ที่จะได้ประโยชน์คือ กลุ่มผู้ใช้ก๊าซโซฮอล์และน้ำมันเบนซิน ส่วนผู้ใช้น้ำมันดีเซล ก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจีภาคครัวเรือนและขนส่งน่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาบ้างเล็กน้อย ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเสียเต็มที่อยู่แล้ว