การบินไทยสั่งติดตามสถานการณ์เชื้อไวรัสอีโบลาระบาดใกล้ชิด พร้อมกำชับผู้จัดการสถานีในพื้นที่เสี่ยงตรวจสอบข้อมูลเพื่อปรับมาตรการดูแลผู้โดยสารได้ทันเวลา เผยภาพรวมยังไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางโดยเครื่องบิน ด้าน ทอท.เผยยังไม่มีคำเตือนให้ปรับรูปแบบการตรวจผู้โดยสาร ยังคงใช้มาตรการเฝ้าระวัง สังเกตอาการตามปกติ
ร.อ.ท.สุรพล อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในขณะนี้ว่า ในส่วนของการบินไทยได้ให้ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (CMOC) ของบริษัทติดตามสถานการณ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างใกล้ชิด และรายงานข้อมูลตลอดเวลาเพื่อปรับมาตรการในการดูแลผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออกได้ทัน
โดยขณะนี้ กรณีไวรัสอีโบลาระบาดนั้นยังไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางโดยเครื่องบินมากนัก ซึ่งบริษัทฯ มีมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน โดยมีการติดามทุกสถานการณ์ในแต่ละจุดที่อยู่ในข่ายว่าจะได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่มีจุดบินใดที่ต้องเพิ่มมาตรการเป็นพิเศษ โดยในแต่ละพื้นที่ที่มีโอกาสจะได้รับผลกระทบนั้นบริษัทฯ ได้มีคำสั่งไปถึงผู้จัดการในแต่ละสถานีแล้วว่าให้ติดตามข้อมูลในพื้นที่อย่างใกล้ชิดและประสานกับส่วนกลางโดยตรง ซึ่งบริษัทฯ มีมาตรการรับเหตุฉุกเฉินอยู่แล้วว่ามีขั้นตอนที่ต้องทำอะไรบ้าง โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงในแต่ละสถานการณ์
“ตอนนี้ถือได้ว่ายังไม่มีผลกระทบอะไรต่อการเดินทาง เป็นคำเตือนจากสาธารณสุขเท่านั้นว่ามีสถานการณ์เกิดขึ้น แต่บริษัทฯ ไม่ได้วางใจเพราะเคยมีประสบการณ์ทั้งโรคซาร์ส ไข้หวัดนก มาแล้ว ดังนั้น มาตรการต่างๆ ได้ถูกบรรจุในคู่มืออยู่แล้ว ไม่ใช่มาตรการใหม่อะไร รอเวลาที่จะนำมาตรการไปใช้หรือไม่เท่านั้น” ร.อ.ท.สุรพลกล่าว
ด้านนายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ทอท.ได้ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกซึ่งยังไม่มีคำเตือนให้ปรับรูปแบบการเดินทางเข้าออกผ่านทางสนามบินแต่อย่างใด โดยกระบวนการตรวจผู้โดยสารยังเป็นไปตามเดิม คือการเฝ้าระวังพิเศษ โดยสังเกตการณ๋สำหรับผู้โดยสารที่มีอาการข้างเคียง หากพบจะนำผู้โดยสารไปตรวจร่างกายในพื้นที่ที่จัดไว้ และหากพบอาการบ่งชี้จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งถึงขณะนี้ยังไม่มีการตรวจพบผู้โดยสารรายใดมีอาการผิดปกติ
นายเมฆินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของผู้โดยสารที่มาจาก 45 ประเทศเฝ้าระวังในแอฟริกาและ 4 ประเทศที่มีการแพร่ระบาด เช่น กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน นั้น ทอท.ได้เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบ โดย จะต้องแสดงใบรับรอง ผ่านการตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีน (Certificate) ในชั้นแรก หากมีอาการต้องสงสัยจะถุกนำตัวเข้าศูนย์แพทย์ของทอท.ที่สนามบิน ก่อน เพื่อเฝ้าดูอาการ ทันที โดยคาดว่า ในรอบ 1 เดือนจะมีผู้โดยสารที่เดินทางจาก 45 ประเทศแถบในแอฟริกามายังสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 50-60 คนเท่านั้น ซึ่งมาตรการการตรวจสอบที่เข้มข้นจะไม่กระทบกับผู้โดยสารโดยรวมของสนามบิน และเป็นการเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวเข้าสู่ประเทศไทยได้มากขึ้น
ร.อ.ท.สุรพล อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในขณะนี้ว่า ในส่วนของการบินไทยได้ให้ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (CMOC) ของบริษัทติดตามสถานการณ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างใกล้ชิด และรายงานข้อมูลตลอดเวลาเพื่อปรับมาตรการในการดูแลผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออกได้ทัน
โดยขณะนี้ กรณีไวรัสอีโบลาระบาดนั้นยังไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางโดยเครื่องบินมากนัก ซึ่งบริษัทฯ มีมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน โดยมีการติดามทุกสถานการณ์ในแต่ละจุดที่อยู่ในข่ายว่าจะได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่มีจุดบินใดที่ต้องเพิ่มมาตรการเป็นพิเศษ โดยในแต่ละพื้นที่ที่มีโอกาสจะได้รับผลกระทบนั้นบริษัทฯ ได้มีคำสั่งไปถึงผู้จัดการในแต่ละสถานีแล้วว่าให้ติดตามข้อมูลในพื้นที่อย่างใกล้ชิดและประสานกับส่วนกลางโดยตรง ซึ่งบริษัทฯ มีมาตรการรับเหตุฉุกเฉินอยู่แล้วว่ามีขั้นตอนที่ต้องทำอะไรบ้าง โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงในแต่ละสถานการณ์
“ตอนนี้ถือได้ว่ายังไม่มีผลกระทบอะไรต่อการเดินทาง เป็นคำเตือนจากสาธารณสุขเท่านั้นว่ามีสถานการณ์เกิดขึ้น แต่บริษัทฯ ไม่ได้วางใจเพราะเคยมีประสบการณ์ทั้งโรคซาร์ส ไข้หวัดนก มาแล้ว ดังนั้น มาตรการต่างๆ ได้ถูกบรรจุในคู่มืออยู่แล้ว ไม่ใช่มาตรการใหม่อะไร รอเวลาที่จะนำมาตรการไปใช้หรือไม่เท่านั้น” ร.อ.ท.สุรพลกล่าว
ด้านนายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ทอท.ได้ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกซึ่งยังไม่มีคำเตือนให้ปรับรูปแบบการเดินทางเข้าออกผ่านทางสนามบินแต่อย่างใด โดยกระบวนการตรวจผู้โดยสารยังเป็นไปตามเดิม คือการเฝ้าระวังพิเศษ โดยสังเกตการณ๋สำหรับผู้โดยสารที่มีอาการข้างเคียง หากพบจะนำผู้โดยสารไปตรวจร่างกายในพื้นที่ที่จัดไว้ และหากพบอาการบ่งชี้จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งถึงขณะนี้ยังไม่มีการตรวจพบผู้โดยสารรายใดมีอาการผิดปกติ
นายเมฆินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของผู้โดยสารที่มาจาก 45 ประเทศเฝ้าระวังในแอฟริกาและ 4 ประเทศที่มีการแพร่ระบาด เช่น กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน นั้น ทอท.ได้เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบ โดย จะต้องแสดงใบรับรอง ผ่านการตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีน (Certificate) ในชั้นแรก หากมีอาการต้องสงสัยจะถุกนำตัวเข้าศูนย์แพทย์ของทอท.ที่สนามบิน ก่อน เพื่อเฝ้าดูอาการ ทันที โดยคาดว่า ในรอบ 1 เดือนจะมีผู้โดยสารที่เดินทางจาก 45 ประเทศแถบในแอฟริกามายังสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 50-60 คนเท่านั้น ซึ่งมาตรการการตรวจสอบที่เข้มข้นจะไม่กระทบกับผู้โดยสารโดยรวมของสนามบิน และเป็นการเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวเข้าสู่ประเทศไทยได้มากขึ้น