บริษัทอีพีเอฟอาร์ โกลบอลรายงานว่า ปริมาณเงินที่ไหลเข้าสู่กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.ย. โดยขึ้นไปแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้มียอดเงินลงทุนไหลออกเป็นสัปดาห์ที่ 16 ติดต่อกันอีพีเอฟอาร์ โกลบอล ซึ่งเป็นบริษัทที่ติดตามข้อมูลกองทุน รายงานต่อลูกค้าว่า กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.ย. หลังจากมีเงินลงทุนไหลออกเฉลี่ย 1 พันล้านดอลลาร์ต่อสัปดาห์ในช่วง 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา
กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินลงทุนไหลออกสุทธิ 1.35 หมื่นล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา
กองทุนหุ้นประเทศพัฒนาแล้วมีเงินลงทุนไหลเข้า 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากมีเงินลงทุนไหลออก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่า ปริมาณเงินไหลเข้านี้ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งในชาติตะวันตก, ญี่ปุ่น และในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศที่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในระยะนี้
กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินลงทุนไหลออก 4.4 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถือเป็นยอดเงินไหลออกที่สูงที่สุดในรอบ 10 สัปดาห์ แต่สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ตลาดได้ปรับตัวรับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ไปมากแล้ว หลังจากเม็ดเงินจากมาตรการ QE ได้ช่วยหนุนประเทศตลาดเกิดใหม่หลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา
นักวิเคราะห์ของธนาคาร RBS กล่าวว่า "ในขณะที่เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นนั้น เงินลงทุนจำนวนมากก็ไหลกลับเข้าสู่กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ ซึ่งถ้าหากตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่นี้ เป็นต้นไป เราก็คิดว่าช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดอาจจะผ่านพ้นไปแล้วในส่วนของปริมาณเงินที่ไหลออกจากหุ้นตลาดเกิดใหม่"
ดัชนีหุ้นตลาดเกิดใหม่พุ่งขึ้นกว่า 3 % ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการทะยานขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. อย่างไรก็ดี เงินลงทุนยังคงหลั่งไหลออกจากตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ต่อไป โดยกองทุนตราสารหนี้มีเม็ดเงินไหลออก 1.2 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.ย. แต่ยอดเงินไหลออกสุทธินี้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนส.ค.เป็นต้นมา
เงินไหลออกส่วนใหญ่เป็นเงินที่ไหลออกจากกองทุนตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ ซึ่งมียอดเงินไหลออก 685 ล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า กองทุนตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศมียอดเงินไหลออกสูงกว่ากองทุนตราสารหนี้สกุลเงินแข็งในช่วง 5 จาก 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา และเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากความเสี่ยงในการถือครองสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของสกุลเงิน ประเทศตลาดเกิดใหม่ ในขณะที่สกุลเงินกลุ่มนี้อ่อนค่าลง
ส่วนการรับมือต่อนโยบายของเฟดนักวิเคราะห์กล่าวว่า สิ่งที่นักลงทุนรอคอยมาเป็นเวลานานหลายเดือน จะสิ้นสุดลงในสัปดาห์นี้ เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศในวันที่ 18 ก.ย.ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงหรือไม่ หลังจากที่ได้อัดฉีดเม็ดเงินราว 2.75 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดการเงินในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนในหุ้น, จังค์บอนด์ และสินทรัพย์อื่นๆให้ทะยานขึ้นเป็นอย่างมาก
ขณะนี้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
ถึงแม้นักลงทุนเคยกังวลกันว่า การปรับลดขนาด QE ลงจากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนอาจส่งผลกระทบต่อตลาด แต่ก็มีแนวโน้มว่าตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรจะสามารถปรับตัวรับการตัดสินใจของเฟด ในสัปดาห์นี้ได้เป็นอย่างดี ถ้าหากเฟดไม่ได้สร้างความประหลาดใจต่อตลาดด้วยการปรับลดในวงเงินมากกว่าที่คาดไว้ หรือด้วยวิธีการอื่นๆ
เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 17-18 ก.ย. และเฟดได้ส่งสัญญาณล่วงหน้าแล้วว่า เฟดตั้งใจจะปรับลดขนาด QE ลงในการประชุมครั้งนี้ โดยสิ่งที่จะส่งผลกระทบสำคัญต่อตลาดในสัปดาห์นี้คือขนาดของการปรับลดดังกล่าว และถ้อยแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดในการแถลงข่าว โดยสัญญาณที่เฟดส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ตลาดจะไม่ดิ่งลงมากนักในสัปดาห์นี้
นักลงทุนได้ปรับตัวรับสัญญาณของเฟดไปมากแล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทรงตัวใกล้จุดสูงสุดรอบ 2 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงจากสถิติสูงสุดที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือนส.ค. ซึ่งช่วยลดภาวะฟองสบู่ที่เคยสร้างความกังวลต่อนักยุทธศาสตร์การลงทุนบางราย ในช่วงก่อนหน้านี้
นายแดเนียล เฮคแมน นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของบริษัท ยู.เอส. แบงก์ เวลธ์ แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "เฟดปรับลดแรงหนุนเศรษฐกิจลงไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้ปรับลดขนาด QE ลงอย่างแท้จริง"
มาตรวัดความผันผวนและสถานะการลงทุนในสัญญาล่วงหน้าบ่งชี้ว่า นักลงทุนไม่มีความกังวลมากนักในช่วงนี้ โดยดัชนีความผันผวน CBOE ซึ่งเป็นมาตรวัดความกังวลในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เคลื่อนตัวอยู่ที่ระดับราว 14 ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้ว่าตลาดอยู่ในภาวะสงบ
เฟดเคยระบุว่า เฟดจะปรับลดขนาด QE ลง ถ้าหากเฟดมีความมั่นใจว่า เศรษฐกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าหากอัตราการว่างงานลดลง และถ้าหากเฟดเลื่อนเวลาในการปรับลดขนาด QE ออกไป เฟดก็อาจทำให้นักลงทุนกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจเติบโตในระดับที่อ่อนแอเกินไปถ้าหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเฟด
ตัวเลขเศรษฐกิจระยะนี้อยู่ในภาวะไร้ทิศทาง โดยตัวเลขยอดค้าปลีกและการจ้างงานเดือนส.ค.อยู่ในระดับอ่อนแอเกินคาด และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงลงโดยมีสาเหตุบางส่วนมาจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดขนาด QE ลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า เฟดจะปรับลดขนาด QE ลงเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีความผันผวนอยู่ในระดับต่ำในช่วงนี้หมายความว่าเฟดอาจทำให้ตลาดแกว่งตัวผันผวนได้ ถ้าหากเฟดดำเนินการเร็วเกินไป หรือสร้างความประหลาดใจในเรื่องจุดประสงค์ของเฟด
นายลีโอ โกรโฮว์สกี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทบีเอ็นวาย เมลลอน เวลธ์ แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "เฟดจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแข็งกร้าว มาเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมาก แต่ตลาดไม่ได้ เตรียมพร้อมสำหรับการที่เฟดจะดำเนินการมากไปกว่านั้น ซึ่งถ้าหากเฟดดำเนินการมากไปกว่านั้น นักลงทุนก็อาจจะกลับไปซื้อหุ้นกลุ่มปลอดภัย"
ในเดือนพ.ค.ปีนี้ นายเบอร์นันเก้ได้เริ่มกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดขนาด QE ลง และปัจจัยดังกล่าวก็มีส่วนทำให้ดัชนี S&P 500 ดิ่งลง 7.5 % อย่างไรก็ดี ดัชนีไม่มีแนวโน้มทรุดตัวลงแบบนั้นอีกในสัปดาห์นี้ โดยนักวิเคราะห์หลายรายคาดว่า ดัชนีมีแนวรับอยู่ที่เส้นค่าเฉลี่ยรอบ 50 วัน
ดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 1,687.99 ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยอยู่เหนือแนวรับดังกล่าวราว 0.7 %
อย่างไรก็ดี นักลงทุนได้ดำเนินขั้นตอนบางประการในการปรับลดขนาดความเสี่ยงลงก่อนเฟดเผยผลการประชุม โดยการซื้อขายออปชั่นในกองทุน SPDR ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่ลงทุนตามดัชนี S&P 500 ส่วนใหญ่แล้วเป็นการเข้าซื้อ put option ในช่วงนี้ ซึ่งเป็นสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือ ในการขายหลักทรัพย์อ้างอิงตามราคาที่กำหนดภายในวันเวลาที่ระบุไว้ และนักลงทุนมักจะใช้ put option ในการทำประกันความเสี่ยงต่อกรณีที่ตลาดอาจจะดิ่งลงในอนาคต
มีการซื้อขาย put option ราว 1.16 ล้านสัญญา และ call Option ราว 559,000 สัญญาในกองทุน SPDR ในวันพฤหัสบดี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนได้ 2.08 ต่อ 1 และสัดส่วนนี้อยู่สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยรอบ 22 วันที่ 1.64
นายเจเจ คินาแฮน หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัททีดี อเมริเทรด กล่าวในวันศุกร์ว่า "เทรดเดอร์เริ่มทำประกันความเสี่ยงต่อสถานะซื้อหุ้นก่อนช่วงสุดสัปดาห์ และก่อนการประชุมเฟด"
นายไมเคิล มัลแลนีย์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทฟิดูเชียรี ทรัสต์ โคกล่าวว่า บริษัทของเขากำลังถอนการลงทุนเพราะความไม่แน่นอน
นายมัลแลนีย์กล่าวว่า "เราไม่ต้องการลงทุนขนาดใหญ่เป็นเวลาระยะหนึ่ง เพราะมีปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนมากเกินไป จนทำให้เราไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงในระยะนี้" และเขากล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่ยังคงค้างคาอยู่ในตลาดรวมถึงปัจจัยด้านฤดูกาลและงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐ
ปัจจัยเหล่านี้เคยส๋งผลให้ดัชนี S&P 500 ดิ่งลง 3.1 % ในเดือนส.ค. และถือการเป็นมรุดตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 ปี แต่การดิ่งลงดังกล่าวช่วยจำกัดมูลค่าของดัชนี S&P 500 และส่งผลให้ค่าพี/อี เรโชล่วงหน้าของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 14.6 ในช่วงนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15
หุ้นกลุ่มที่ผูกพันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นกลุ่มที่ได้รับผลบวกเป็นอย่างมากจากมาตรการ QE ในช่วงที่ผ่านมา โดยหุ้นกลุ่มการเงินและสินค้าฟุ่มเฟือยของผู้บริโภคต่างก็พุ่งขึ้นกว่า 20 % ในปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นเพียง 18 % เท่านั้น และหุ้นกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อาจได้รับความเสียหายมากที่สุด ถ้าหากเฟดสร้างความประหลาดใจใดๆในการประชุมสัปดาห์นี้
นายโกรโฮว์สกีกล่าวว่า "หุ้นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด และภาคที่อยู่อาศัยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่อ่อนไหวมากที่สุดด้วย"
หุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้นมาแล้ว 6.3 % จากช่วงต้นเดือนก.ย. แต่ยังคงร่วงลงมาแล้วกว่า 16 % จากจุดสูงสุดของเดือนพ.ค. โดยหุ้นกลุ่มนี้อาจรูดลงต่อไป ถ้าหากเฟดดำเนินขั้นตอนใดๆที่อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้น
นายมัลแลนีย์กล่าวว่า "ทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรจะได้รับแรงบวก ถ้าหากเฟดปรับลดขนาดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ถ้าหากเฟดปรับลดขนาดการซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญา จำนอง (MBS) ลงด้วยแล้ว เราก็มีความกังวลเป็นอย่างมากต่อผลกระทบที่ตลาดที่อยู่อาศัยอาจได้รับจากการกระทำดังกล่าว"
ตลาดคาดว่า เฟดจะเข้าซื้อ MBS ในอัตรา 4 หมื่นล้านดอลลลาร์ต่อ เดือนต่อไป และจะมุ่งความสนใจไปที่การปรับลดขนาดการเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐลงจากระดับ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยการคาดการณ์ใน เรื่องนี้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นติดต่อกัน 5 เดือน โดยอยู่ที่ระดับราว 2.89 % ในวันศุกร์ เทียบกับ1.6240 % ในช่วงต้นเดือนพ.ค.
อย่างไรก็ดี มีผู้สนใจเข้าซื้อหุ้นกู้ในวงเงิน 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ของบริษัทเวริซอนเป็นจำนวนมากในสัปดาห์ที่แล้ว และการเปิดขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ก็ได้รับการตอบรับอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งสิ่งนี้ บ่งชี้ว่า นักลงทุนไม่ค่อยกังวลกับการปรับลดขนาด QE
นายสตีเวน อิงแลนเดอร์ จากบริษัทซิตี้เอฟเอ็กซ์ กล่าวว่า ในส่วนของตลาดสกุลเงินนั้น ถ้าหากเฟดปรับลดขนาด QE ลงอย่างแข็งแกร่ง ดอลลาร์สหรัฐก็อาจจะแข็งค่าขึ้น "เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับสูงขึ้น และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนในสหรัฐมีความน่าดึงดูด นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดก็อาจปรับขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนญี่ปุ่นกังวลว่าต้นทุนการทำประกันความเสี่ยงอาจพุ่งขี้นอย่างรวดเร็วเกินคาด"
ตลาดเกิดใหม่ได้รับแรงกดดันอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่เฟด เริ่มแสดงแนวโน้มในการปรับลดขนาด QE โดยหุ้นและตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ขณะที่ตลาดบางแห่งเริ่มลดช่วงติดลบกลับขึ้นมาได้บ้างแล้ว แต่นักลงทุนก็ทำประกันความเสี่ยงสำหรับกรณีที่ตลาดเกิดใหม่อาจได้รับแรงกดดัน ถ้าหากเฟดสร้างความประหลาดใจใดๆ
นายไมค์ โทซอว์ จากบริษัทอาร์ซีเอ็ม ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กล่าวว่า บริษัทของเขาลงทุนใน put option ในกองทุน ETF ของ iShares ที่ลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในจีน เพราะบริษัทของเขากังวลว่า "การประชุม เฟดในสัปดาห์นี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดทั่วโลก"
ทางด้านรัสเซียและสหรัฐสามารถตกลงกันได้ในเรื่องการกำจัดอาวุธเคมีของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรีย ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการโจมตีทางทหารของสหรัฐต่อซีเรีย
นางลีนา โคมิเลวา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจีพลัส อิโคโนมิคส์ กล่าวว่า "ในขณะที่สถานการณ์เรื่องซีเรียมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น นักลงทุนก็จะแสดงความพึงพอใจ และจะมุ่งความสนใจไปที่เฟดและเศรษฐกิจ โดย การที่นักลงทุนลดความกังวลต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางจะส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง"
นางโคมิเลวากล่าวว่า "ฉันคาดว่าการที่ความตึงเครียดเรื่องซีเรียลดระดับลงจะส่งผลให้นักลงทุนยังคงปรับลดสถานะซื้อในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ดอลลาร์ และทอง และปัจจัยอื่นที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดคือเฟด"
ในขณะที่เฟดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดในสัปดาห์นี้ นักลงทุนก็จะจับตาดูผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทเฟดเอ็กซ์ คอร์ป และบริษัทออราเคิล คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ยักษ์ใหญ่ด้วย
ในส่วนของตัวเลขเศรษฐกิจนั้น นักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขยอดเริ่มต้นสร้างบ้านเดือนส.ค., ยอดขายบ้านมือสอง และดัชนีธุรกิจรายเดือนของเฟดสาขา ฟิลาเดลเฟีย
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินลงทุนไหลออกสุทธิ 1.35 หมื่นล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา
กองทุนหุ้นประเทศพัฒนาแล้วมีเงินลงทุนไหลเข้า 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากมีเงินลงทุนไหลออก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่า ปริมาณเงินไหลเข้านี้ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งในชาติตะวันตก, ญี่ปุ่น และในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศที่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในระยะนี้
กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินลงทุนไหลออก 4.4 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถือเป็นยอดเงินไหลออกที่สูงที่สุดในรอบ 10 สัปดาห์ แต่สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ตลาดได้ปรับตัวรับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ไปมากแล้ว หลังจากเม็ดเงินจากมาตรการ QE ได้ช่วยหนุนประเทศตลาดเกิดใหม่หลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา
นักวิเคราะห์ของธนาคาร RBS กล่าวว่า "ในขณะที่เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นนั้น เงินลงทุนจำนวนมากก็ไหลกลับเข้าสู่กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ ซึ่งถ้าหากตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่นี้ เป็นต้นไป เราก็คิดว่าช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดอาจจะผ่านพ้นไปแล้วในส่วนของปริมาณเงินที่ไหลออกจากหุ้นตลาดเกิดใหม่"
ดัชนีหุ้นตลาดเกิดใหม่พุ่งขึ้นกว่า 3 % ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการทะยานขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. อย่างไรก็ดี เงินลงทุนยังคงหลั่งไหลออกจากตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ต่อไป โดยกองทุนตราสารหนี้มีเม็ดเงินไหลออก 1.2 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.ย. แต่ยอดเงินไหลออกสุทธินี้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนส.ค.เป็นต้นมา
เงินไหลออกส่วนใหญ่เป็นเงินที่ไหลออกจากกองทุนตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ ซึ่งมียอดเงินไหลออก 685 ล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า กองทุนตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศมียอดเงินไหลออกสูงกว่ากองทุนตราสารหนี้สกุลเงินแข็งในช่วง 5 จาก 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา และเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากความเสี่ยงในการถือครองสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของสกุลเงิน ประเทศตลาดเกิดใหม่ ในขณะที่สกุลเงินกลุ่มนี้อ่อนค่าลง
ส่วนการรับมือต่อนโยบายของเฟดนักวิเคราะห์กล่าวว่า สิ่งที่นักลงทุนรอคอยมาเป็นเวลานานหลายเดือน จะสิ้นสุดลงในสัปดาห์นี้ เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศในวันที่ 18 ก.ย.ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงหรือไม่ หลังจากที่ได้อัดฉีดเม็ดเงินราว 2.75 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดการเงินในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนในหุ้น, จังค์บอนด์ และสินทรัพย์อื่นๆให้ทะยานขึ้นเป็นอย่างมาก
ขณะนี้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
ถึงแม้นักลงทุนเคยกังวลกันว่า การปรับลดขนาด QE ลงจากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนอาจส่งผลกระทบต่อตลาด แต่ก็มีแนวโน้มว่าตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรจะสามารถปรับตัวรับการตัดสินใจของเฟด ในสัปดาห์นี้ได้เป็นอย่างดี ถ้าหากเฟดไม่ได้สร้างความประหลาดใจต่อตลาดด้วยการปรับลดในวงเงินมากกว่าที่คาดไว้ หรือด้วยวิธีการอื่นๆ
เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 17-18 ก.ย. และเฟดได้ส่งสัญญาณล่วงหน้าแล้วว่า เฟดตั้งใจจะปรับลดขนาด QE ลงในการประชุมครั้งนี้ โดยสิ่งที่จะส่งผลกระทบสำคัญต่อตลาดในสัปดาห์นี้คือขนาดของการปรับลดดังกล่าว และถ้อยแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดในการแถลงข่าว โดยสัญญาณที่เฟดส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ตลาดจะไม่ดิ่งลงมากนักในสัปดาห์นี้
นักลงทุนได้ปรับตัวรับสัญญาณของเฟดไปมากแล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทรงตัวใกล้จุดสูงสุดรอบ 2 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงจากสถิติสูงสุดที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือนส.ค. ซึ่งช่วยลดภาวะฟองสบู่ที่เคยสร้างความกังวลต่อนักยุทธศาสตร์การลงทุนบางราย ในช่วงก่อนหน้านี้
นายแดเนียล เฮคแมน นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของบริษัท ยู.เอส. แบงก์ เวลธ์ แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "เฟดปรับลดแรงหนุนเศรษฐกิจลงไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้ปรับลดขนาด QE ลงอย่างแท้จริง"
มาตรวัดความผันผวนและสถานะการลงทุนในสัญญาล่วงหน้าบ่งชี้ว่า นักลงทุนไม่มีความกังวลมากนักในช่วงนี้ โดยดัชนีความผันผวน CBOE ซึ่งเป็นมาตรวัดความกังวลในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เคลื่อนตัวอยู่ที่ระดับราว 14 ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้ว่าตลาดอยู่ในภาวะสงบ
เฟดเคยระบุว่า เฟดจะปรับลดขนาด QE ลง ถ้าหากเฟดมีความมั่นใจว่า เศรษฐกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าหากอัตราการว่างงานลดลง และถ้าหากเฟดเลื่อนเวลาในการปรับลดขนาด QE ออกไป เฟดก็อาจทำให้นักลงทุนกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจเติบโตในระดับที่อ่อนแอเกินไปถ้าหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเฟด
ตัวเลขเศรษฐกิจระยะนี้อยู่ในภาวะไร้ทิศทาง โดยตัวเลขยอดค้าปลีกและการจ้างงานเดือนส.ค.อยู่ในระดับอ่อนแอเกินคาด และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงลงโดยมีสาเหตุบางส่วนมาจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดขนาด QE ลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า เฟดจะปรับลดขนาด QE ลงเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีความผันผวนอยู่ในระดับต่ำในช่วงนี้หมายความว่าเฟดอาจทำให้ตลาดแกว่งตัวผันผวนได้ ถ้าหากเฟดดำเนินการเร็วเกินไป หรือสร้างความประหลาดใจในเรื่องจุดประสงค์ของเฟด
นายลีโอ โกรโฮว์สกี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทบีเอ็นวาย เมลลอน เวลธ์ แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "เฟดจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแข็งกร้าว มาเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมาก แต่ตลาดไม่ได้ เตรียมพร้อมสำหรับการที่เฟดจะดำเนินการมากไปกว่านั้น ซึ่งถ้าหากเฟดดำเนินการมากไปกว่านั้น นักลงทุนก็อาจจะกลับไปซื้อหุ้นกลุ่มปลอดภัย"
ในเดือนพ.ค.ปีนี้ นายเบอร์นันเก้ได้เริ่มกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดขนาด QE ลง และปัจจัยดังกล่าวก็มีส่วนทำให้ดัชนี S&P 500 ดิ่งลง 7.5 % อย่างไรก็ดี ดัชนีไม่มีแนวโน้มทรุดตัวลงแบบนั้นอีกในสัปดาห์นี้ โดยนักวิเคราะห์หลายรายคาดว่า ดัชนีมีแนวรับอยู่ที่เส้นค่าเฉลี่ยรอบ 50 วัน
ดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 1,687.99 ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยอยู่เหนือแนวรับดังกล่าวราว 0.7 %
อย่างไรก็ดี นักลงทุนได้ดำเนินขั้นตอนบางประการในการปรับลดขนาดความเสี่ยงลงก่อนเฟดเผยผลการประชุม โดยการซื้อขายออปชั่นในกองทุน SPDR ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่ลงทุนตามดัชนี S&P 500 ส่วนใหญ่แล้วเป็นการเข้าซื้อ put option ในช่วงนี้ ซึ่งเป็นสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือ ในการขายหลักทรัพย์อ้างอิงตามราคาที่กำหนดภายในวันเวลาที่ระบุไว้ และนักลงทุนมักจะใช้ put option ในการทำประกันความเสี่ยงต่อกรณีที่ตลาดอาจจะดิ่งลงในอนาคต
มีการซื้อขาย put option ราว 1.16 ล้านสัญญา และ call Option ราว 559,000 สัญญาในกองทุน SPDR ในวันพฤหัสบดี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนได้ 2.08 ต่อ 1 และสัดส่วนนี้อยู่สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยรอบ 22 วันที่ 1.64
นายเจเจ คินาแฮน หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัททีดี อเมริเทรด กล่าวในวันศุกร์ว่า "เทรดเดอร์เริ่มทำประกันความเสี่ยงต่อสถานะซื้อหุ้นก่อนช่วงสุดสัปดาห์ และก่อนการประชุมเฟด"
นายไมเคิล มัลแลนีย์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทฟิดูเชียรี ทรัสต์ โคกล่าวว่า บริษัทของเขากำลังถอนการลงทุนเพราะความไม่แน่นอน
นายมัลแลนีย์กล่าวว่า "เราไม่ต้องการลงทุนขนาดใหญ่เป็นเวลาระยะหนึ่ง เพราะมีปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนมากเกินไป จนทำให้เราไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงในระยะนี้" และเขากล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่ยังคงค้างคาอยู่ในตลาดรวมถึงปัจจัยด้านฤดูกาลและงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐ
ปัจจัยเหล่านี้เคยส๋งผลให้ดัชนี S&P 500 ดิ่งลง 3.1 % ในเดือนส.ค. และถือการเป็นมรุดตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 ปี แต่การดิ่งลงดังกล่าวช่วยจำกัดมูลค่าของดัชนี S&P 500 และส่งผลให้ค่าพี/อี เรโชล่วงหน้าของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 14.6 ในช่วงนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15
หุ้นกลุ่มที่ผูกพันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นกลุ่มที่ได้รับผลบวกเป็นอย่างมากจากมาตรการ QE ในช่วงที่ผ่านมา โดยหุ้นกลุ่มการเงินและสินค้าฟุ่มเฟือยของผู้บริโภคต่างก็พุ่งขึ้นกว่า 20 % ในปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นเพียง 18 % เท่านั้น และหุ้นกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อาจได้รับความเสียหายมากที่สุด ถ้าหากเฟดสร้างความประหลาดใจใดๆในการประชุมสัปดาห์นี้
นายโกรโฮว์สกีกล่าวว่า "หุ้นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด และภาคที่อยู่อาศัยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่อ่อนไหวมากที่สุดด้วย"
หุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้นมาแล้ว 6.3 % จากช่วงต้นเดือนก.ย. แต่ยังคงร่วงลงมาแล้วกว่า 16 % จากจุดสูงสุดของเดือนพ.ค. โดยหุ้นกลุ่มนี้อาจรูดลงต่อไป ถ้าหากเฟดดำเนินขั้นตอนใดๆที่อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้น
นายมัลแลนีย์กล่าวว่า "ทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรจะได้รับแรงบวก ถ้าหากเฟดปรับลดขนาดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ถ้าหากเฟดปรับลดขนาดการซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญา จำนอง (MBS) ลงด้วยแล้ว เราก็มีความกังวลเป็นอย่างมากต่อผลกระทบที่ตลาดที่อยู่อาศัยอาจได้รับจากการกระทำดังกล่าว"
ตลาดคาดว่า เฟดจะเข้าซื้อ MBS ในอัตรา 4 หมื่นล้านดอลลลาร์ต่อ เดือนต่อไป และจะมุ่งความสนใจไปที่การปรับลดขนาดการเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐลงจากระดับ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยการคาดการณ์ใน เรื่องนี้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นติดต่อกัน 5 เดือน โดยอยู่ที่ระดับราว 2.89 % ในวันศุกร์ เทียบกับ1.6240 % ในช่วงต้นเดือนพ.ค.
อย่างไรก็ดี มีผู้สนใจเข้าซื้อหุ้นกู้ในวงเงิน 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ของบริษัทเวริซอนเป็นจำนวนมากในสัปดาห์ที่แล้ว และการเปิดขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ก็ได้รับการตอบรับอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งสิ่งนี้ บ่งชี้ว่า นักลงทุนไม่ค่อยกังวลกับการปรับลดขนาด QE
นายสตีเวน อิงแลนเดอร์ จากบริษัทซิตี้เอฟเอ็กซ์ กล่าวว่า ในส่วนของตลาดสกุลเงินนั้น ถ้าหากเฟดปรับลดขนาด QE ลงอย่างแข็งแกร่ง ดอลลาร์สหรัฐก็อาจจะแข็งค่าขึ้น "เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับสูงขึ้น และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนในสหรัฐมีความน่าดึงดูด นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดก็อาจปรับขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนญี่ปุ่นกังวลว่าต้นทุนการทำประกันความเสี่ยงอาจพุ่งขี้นอย่างรวดเร็วเกินคาด"
ตลาดเกิดใหม่ได้รับแรงกดดันอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่เฟด เริ่มแสดงแนวโน้มในการปรับลดขนาด QE โดยหุ้นและตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ขณะที่ตลาดบางแห่งเริ่มลดช่วงติดลบกลับขึ้นมาได้บ้างแล้ว แต่นักลงทุนก็ทำประกันความเสี่ยงสำหรับกรณีที่ตลาดเกิดใหม่อาจได้รับแรงกดดัน ถ้าหากเฟดสร้างความประหลาดใจใดๆ
นายไมค์ โทซอว์ จากบริษัทอาร์ซีเอ็ม ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กล่าวว่า บริษัทของเขาลงทุนใน put option ในกองทุน ETF ของ iShares ที่ลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในจีน เพราะบริษัทของเขากังวลว่า "การประชุม เฟดในสัปดาห์นี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดทั่วโลก"
ทางด้านรัสเซียและสหรัฐสามารถตกลงกันได้ในเรื่องการกำจัดอาวุธเคมีของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรีย ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการโจมตีทางทหารของสหรัฐต่อซีเรีย
นางลีนา โคมิเลวา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจีพลัส อิโคโนมิคส์ กล่าวว่า "ในขณะที่สถานการณ์เรื่องซีเรียมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น นักลงทุนก็จะแสดงความพึงพอใจ และจะมุ่งความสนใจไปที่เฟดและเศรษฐกิจ โดย การที่นักลงทุนลดความกังวลต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางจะส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง"
นางโคมิเลวากล่าวว่า "ฉันคาดว่าการที่ความตึงเครียดเรื่องซีเรียลดระดับลงจะส่งผลให้นักลงทุนยังคงปรับลดสถานะซื้อในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ดอลลาร์ และทอง และปัจจัยอื่นที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดคือเฟด"
ในขณะที่เฟดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดในสัปดาห์นี้ นักลงทุนก็จะจับตาดูผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทเฟดเอ็กซ์ คอร์ป และบริษัทออราเคิล คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ยักษ์ใหญ่ด้วย
ในส่วนของตัวเลขเศรษฐกิจนั้น นักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขยอดเริ่มต้นสร้างบ้านเดือนส.ค., ยอดขายบ้านมือสอง และดัชนีธุรกิจรายเดือนของเฟดสาขา ฟิลาเดลเฟีย
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group