บล.เจ.พี.มอร์แกนเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า นักลงทุนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในสัปดาห์ล่าสุด หลังจากตัวเลขการจ้างงานที่น่าผิดหวังของสหรัฐไม่ได้ทำให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเฟดวันที่ 17-18 ก.ย.
นักวิเคราะห์กล่าวว่า มีปัจจัยอีก 2 ประการที่กระตุ้นให้นักลงทุนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาว ซึ่งได้แก่การที่สหรัฐออกพันธบัตร 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ และการที่บริษัท เวริซอน ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของสหรัฐออกหุ้นกู้จำนวนมาก
เจ.พี.มอร์แกนรายงานว่า ลูกค้า 15 % ระบุในวันจันทร์ว่า ตนเองมีสถานะ long หรือถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน โดยสัดส่วนนี้ ลดลงจาก 23 % ในสัปดาห์ก่อน
การลดปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาว จะส่งผลให้นักลงทุนลดความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงด้านระยะเวลาไถ่ถอนในพอร์ทลงทุน โดยนักลงทุนมักจะลดการถือครองเมื่อคาดว่าตลาดจะปรับตัวลงในอนาคต เนื่องจากจะทำให้นักลงทุนมียอดขาดทุนจากพันธบัตรระยะยาวมากกว่าพันธบัตรระยะสั้น
นักลงทุนที่มีสถานะ neutral หรือระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในระดับที่เท่ากับเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน มีสัดส่วน 62 % ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเท่ากับสัปดาห์ก่อนนักลงทุนที่มีสถานะ short หรือระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในระดับที่น้อยกว่าเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน มีสัดส่วน 23 % ในสัปดาห์นี้ โดยพุ่งขึ้นจาก 15 % ในสัปดาห์ก่อน
สัดส่วนของลูกค้ากลุ่ม short สูงกว่าลูกค้ากลุ่ม long อยู่ 8 % ในสัปดาห์นี้ และถือเป็นสัดส่วน short สุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.เป็นต้นมา ขณะที่ในสัปดาห์ที่แล้วนั้น สัดส่วนลูกค้ากลุ่ม long สูงกว่าลูกค้ากลุ่ม short อยู่ 8 %
ในการซื้อขายช่วงเช้าวานนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้น 0.045 % สู่ 2.959 % โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสของจีน และจากการคาดการณ์ที่ว่า มีโอกาสน้อยลงที่สหรัฐจะโจมตีซีเรีย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภท 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือ 3 % ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2011 โดยหลังจากอัตราผลตอบแทนแตะระดับดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐก็รายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น 169,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 180,000 ตำแหน่ง
หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานเดือนส.ค. นักเศรษฐศาสตร์ ในโพลล์รอยเตอร์ก็คาดว่า เฟดอาจจะปรับลดขนาด QE ลง 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หลังจากที่เคยคาดการณ์ในโพลล์เดือนส.ค.ว่าอาจปรับลด 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
ในบรรดาลูกค้าเชิงรุกหรือลูกค้าที่ลงทุนแบบเก็งกำไรในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐนั้น ลูกค้า 54 % ระบุว่า ตนมีสถานะ neutral หรือถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในระดับที่เท่ากับเกณฑ์อ้างอิง โดยสัดส่วนนี้ลดลงจาก 62 % ในสัปดาห์ที่แล้ว
ลูกค้าเชิงรุก 15 % ระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาว สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิง โดยสัดส่วนนี้ลดลงจาก 23 % ในสัปดาห์ที่แล้ว
ลูกค่าเชิงรุก 31 % ระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวต่ำกว่าเกณฑ์อ้างอิง โดยสัดส่วนนี้พุ่งขึ้นจาก 15 % ในสัปดาห์ที่แล้ว
เจ.พี.มอร์แกนจัดทำผลสำรวจนี้จากการสอบถามลูกค้า 40-60 รายต่อสัปดาห์ โดยในบรรดาลูกค้ากลุ่มนี้นั้น 60 % เป็นผู้จัดการกองทุน, 25 % เป็นนักเก็งกำไร และ 15 % เป็นธนาคารกลางและกองทุนบริหารความมั่งคั่งของรัฐบาล
เจ.พี.มอร์แกนสอบถามลูกค้าเชิงรุกราว 10-20 รายต่อสัปดาห์ เกี่ยวกับปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยในบรรดาลูกค้าเชิงรุกนั้น 70 % เป็นนักเก็งกำไร และ 30 % เป็นผู้จัดการกองทุน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท จะทำการปรับเปลี่ยนหุ้นที่ใช้ในการคำนวณดัชนีครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี โดยจะมีการนำหุ้นน้องใหม่ 3 ตัวเข้ามาในดัชนี ซึ่งได้แก่หุ้นของ วาณิชธนกิจโกลด์แมน แซคส์, วีซ่า ซึ่งเป็นผู้ประกอบการบัตรเครดิตและไนกี้ ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องแต่งกาย
หุ้นทั้ง 3 ตัวดังกล่าวจะเข้ามาทดแทนหุ้น 3 ตัวที่จะถูกปลดออกเนื่องจากมีราคาต่ำเกินไป ซึ่งได้แก่หุ้น อัลโค ซึ่งเป็นบริษัทอะลูมิเนียม โดยหุ้นตัวนี้อยู่ในดัชนี DJIA มาเป็นเวลานานกว่า 50 ปีแล้ว, หุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป และหุ้นบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด โดยดัชนี DJIA ประกอบด้วยหุ้นทั้งหมด 30 ตัว
คณะกรรมการดัชนีของบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซส เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการปรับเปลี่ยนหุ้นในการคำนวณดัชนี โดยทางบริษัทประกาศเรื่องนี้ออกมาเมื่อวานนี้ และการปรับเปลี่ยนจะเริ่มมีผลบังคับใช้ ในช่วงเปิดตลาดวันที่ 23 ก.ย.
คณะกรรมการตัดสินใจไม่นำหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ และบริษัท กูเกิล อิงค์เข้ามาในดัชนี ถึงแม้ว่าแอปเปิลเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในตลาดสหรัฐ และกูเกิลเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 โดยหุ้นแอปเปิลมีราคาอยู่สูงกว่า 500 ดอลลาร์ และหุ้นกูเกิลปิดตลาดวันจันทร์เหนือ 888 ดอลลาร์
นายเดวิด บลิทเซอร์ส ประธานคณะกรรมการดัชนี S&P กล่าวต่อ CNBC ว่า ทางคณะกรรมการได้พิจารณาเรื่องการนำหุ้นกูเกิลและหุ้นตัวอื่นๆเข้าคำนวณในดัชนี แต่ก็ตัดสินใจไม่นำเข้าคำนวณ โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่หุ้นกลุ่มนี้มีราคาสูง
กระบวนการในการจัดทำดัชนี DJIA ซึ่งคำนวณน้ำหนักของหุ้นตามราคาหุ้น แทนที่จะเป็นมูลค่าในตลาด ส่งผลให้หุ้นกูเกิลและแอปเปิลไม่ได้ถูกนำเข้ามาคำนวณในดัชนี แม้ว่าบริษัท 2 แห่งนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบัน
ถึงแม้เอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสจัดประเภทของบริษัทวีซ่า อิงค์ ว่าเป็นบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยี แต่การนำหุ้นวีซ่าและโกลด์แมน แซคส์ เข้าสู่ดัชนีในครั้งนี้ก็สะท้อนถึงความโน้มเอียงในการให้น้ำหนักแก่บริษัทที่ให้บริการทางการเงิน
หุ้นไนกี้ อิงค์ถือเป็นหุ้นตัวแรกของบริษัทกลุ่มผู้ผลิตเครื่องแต่งกายที่ถูกนำเข้าคำนวณดัชนี DJIA นับตั้งแต่มีการปลดหุ้นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล ชู ในปี 1933
หุ้นวีซ่า อิงค์ปิดตลาดวานนี้พุ่งขึ้น 3.38 % สู่ 184.59 ดอลลาร์, หุ้นโกลด์แมน แซคส์ทะยานขึ้น 3.54 % สู่ 165.14 ดอลลาร์ และ หุ้นไนกี้ดีดตัวขึ้น 2.17 % สู่ 66.82 ดอลลาร์ โดยหุ้นไนกี้ได้ปรับตัวขึ้นแตะ 66.98 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่
ดัชนี DJIA เปิดตัวครั้งแรกในปี 1896 อย่างไรก็ดี กองทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนตามดัชนีดังกล่าว แต่มักอ้างอิงตามดัชนี S&P 500 ที่ครอบคลุมหุ้นในวงกว้างกว่า
กองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่มองว่า ดัชนี DJIA มีหุ้นองค์ประกอบจำนวนน้อยเกินไป โดยมีเพียง 30 ตัว นอกจากนี้ การที่ดัชนี DJIA ถูกถ่วงน้ำหนักตามราคาหุ้น ก็ถือเป็นปัญหาในสายตาของกองทุน เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กที่มีราคาหุ้นพุ่งสูงอาจจะส่งผลกระทบต่อดัชนีในระดับที่มากเกินไป
ปัจจุบันนี้ บริษัทไอบีเอ็มถือเป็นบริษัทที่มีราคาหุ้นสูงที่สุดในดัชนี DJIA และหุ้นดังกล่าวครองสัดส่วนกว่า 9 % ในดัชนี ขณะที่บริษัท เอ็กซอน โมบิล คอร์ป ในกลุ่มน้ำมันครองน้ำหนักราคามากเป็นอันดับ 8 ในดัชนี อย่างไรก็ดี ถ้าหากวัดตามมูลค่าตลาด สถานะของทั้งสองบริษัทจะเป็นตรงกันข้าม เพราะเอ็กซอน โมบิลมีมูลค่าในตลาดมากที่สุด ขณะที่ไอบีเอ็มมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 8
การใส่หุ้นวีซ่าและโกลด์แมนเข้ามาในดัชนี DJIA จะช่วยลดอิทธิพลของไอบีเอ็มลง เพราะน้ำหนักของไอบีเอ็มในดัชนีจะลดลงจาก 9.4 % เหลือ 8 % ในขณะที่วีซ่าจะมีน้ำหนัก 7.7 % และโกลด์แมน แซคส์ จะมีน้ำหนัก 6.9 %
หุ้นของ 3 บริษัทที่จะถูกรวมในดัชนี DJIA พุ่งขึ้นมากกว่าดัชนี ที่ดีดตัวขึ้นเพียง 14.9% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงระดับปิดวันจันทร์ โดย หุ้นวีซ่าทะยานขึ้น 17.8%, หุ้นโกลด์แมน แซคส์พุ่งขึ้น 25% และหุ้นไนกี้ปรับตัวขึ้น 26.7%
ในบรรดาหุ้น 3 ตัวที่จะถูกปลดออกจากดัชนี มีเพียงหุ้นอัลโค ที่ปรับตัวย่ำแย่กว่าดัชนี โดยร่วงลง 6.9% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงระดับปิดวันจันทร์ ขณะที่หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาพุ่งขึ้น 24.8% และหุ้นเอชพีทะยานขึ้น 56.9%
อัลโค ซึ่งแถลงว่า การถูกปลดออกจากดัชนี DJIA จะไม่กระทบความสามารถของบริษัทในการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ของบริษัทนั้น ถูกเก็งว่าจะถูกปลดออกจากดัชนีมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่มูลค่าหุ้นที่ระดับ 8.7 พันล้านดอลลาร์ ก็อยู่ในระดับต่ำสุดในดัชนี
หุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดต่ำสุดเป็นอันดับ 2 คือ หุ้นทราเวลเลอร์ส ซึ่งมีมูลค่า 3.07 หมื่นล้านดอลลาร์
การนำหุ้นใหม่ 3 ตัวเข้าดัชนี DJIA พร้อมกับปลดหุ้นออก 3 ตัวในครั้งนี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของดัชนีนับตั้งแต่ วันที่ 8 เม.ย.2004 เมื่อบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป, ไฟเซอร์ และ เวริซอน ได้เข้ามาแทนที่บริษัทเอทีแอนด์ที คอร์ป, อีสต์แมน โกดัค และอินเตอร์เนชันแนล เปเปอร์
ทั้งนี้ รายชื่อบริษัท 30 แห่งในดัชนี DJIA ในขณะนี้มีดังต่อไปนี้:-
3M Company
Alcoa Incorporated
American Express Company
AT&T Incorporation
Bank of America Corporation
Boeing Company
Caterpillar Incorporated
Chevron Corporation
Cisco Systems, Inc.
Coca-Cola Company
DuPont de Nemours & Company
Exxon Mobil Corporation
General Electric Company
Hewlett-Packard Company
Home Depot Incorporated
Intel Corporation
International Business Machines Corporation
Johnson & Johnson
JPMorgan Chase & Company
Kraft Foods Incorporated Cl A
McDonald's Corporation
Merck & Co. Incorporated
Microsoft Corporation
Pfizer Incorporated
Procter & Gamble Company
Travelers Companies, Inc.
United Technologies Corporation
Verizon Communications Incorporated
Wal-Mart Stores Incorporated
Walt Disney Company
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
นักวิเคราะห์กล่าวว่า มีปัจจัยอีก 2 ประการที่กระตุ้นให้นักลงทุนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาว ซึ่งได้แก่การที่สหรัฐออกพันธบัตร 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ และการที่บริษัท เวริซอน ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของสหรัฐออกหุ้นกู้จำนวนมาก
เจ.พี.มอร์แกนรายงานว่า ลูกค้า 15 % ระบุในวันจันทร์ว่า ตนเองมีสถานะ long หรือถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน โดยสัดส่วนนี้ ลดลงจาก 23 % ในสัปดาห์ก่อน
การลดปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาว จะส่งผลให้นักลงทุนลดความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงด้านระยะเวลาไถ่ถอนในพอร์ทลงทุน โดยนักลงทุนมักจะลดการถือครองเมื่อคาดว่าตลาดจะปรับตัวลงในอนาคต เนื่องจากจะทำให้นักลงทุนมียอดขาดทุนจากพันธบัตรระยะยาวมากกว่าพันธบัตรระยะสั้น
นักลงทุนที่มีสถานะ neutral หรือระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในระดับที่เท่ากับเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน มีสัดส่วน 62 % ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเท่ากับสัปดาห์ก่อนนักลงทุนที่มีสถานะ short หรือระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในระดับที่น้อยกว่าเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน มีสัดส่วน 23 % ในสัปดาห์นี้ โดยพุ่งขึ้นจาก 15 % ในสัปดาห์ก่อน
สัดส่วนของลูกค้ากลุ่ม short สูงกว่าลูกค้ากลุ่ม long อยู่ 8 % ในสัปดาห์นี้ และถือเป็นสัดส่วน short สุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.เป็นต้นมา ขณะที่ในสัปดาห์ที่แล้วนั้น สัดส่วนลูกค้ากลุ่ม long สูงกว่าลูกค้ากลุ่ม short อยู่ 8 %
ในการซื้อขายช่วงเช้าวานนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้น 0.045 % สู่ 2.959 % โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสของจีน และจากการคาดการณ์ที่ว่า มีโอกาสน้อยลงที่สหรัฐจะโจมตีซีเรีย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภท 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือ 3 % ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2011 โดยหลังจากอัตราผลตอบแทนแตะระดับดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐก็รายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น 169,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 180,000 ตำแหน่ง
หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานเดือนส.ค. นักเศรษฐศาสตร์ ในโพลล์รอยเตอร์ก็คาดว่า เฟดอาจจะปรับลดขนาด QE ลง 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หลังจากที่เคยคาดการณ์ในโพลล์เดือนส.ค.ว่าอาจปรับลด 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
ในบรรดาลูกค้าเชิงรุกหรือลูกค้าที่ลงทุนแบบเก็งกำไรในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐนั้น ลูกค้า 54 % ระบุว่า ตนมีสถานะ neutral หรือถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในระดับที่เท่ากับเกณฑ์อ้างอิง โดยสัดส่วนนี้ลดลงจาก 62 % ในสัปดาห์ที่แล้ว
ลูกค้าเชิงรุก 15 % ระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาว สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิง โดยสัดส่วนนี้ลดลงจาก 23 % ในสัปดาห์ที่แล้ว
ลูกค่าเชิงรุก 31 % ระบุว่า ตนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวต่ำกว่าเกณฑ์อ้างอิง โดยสัดส่วนนี้พุ่งขึ้นจาก 15 % ในสัปดาห์ที่แล้ว
เจ.พี.มอร์แกนจัดทำผลสำรวจนี้จากการสอบถามลูกค้า 40-60 รายต่อสัปดาห์ โดยในบรรดาลูกค้ากลุ่มนี้นั้น 60 % เป็นผู้จัดการกองทุน, 25 % เป็นนักเก็งกำไร และ 15 % เป็นธนาคารกลางและกองทุนบริหารความมั่งคั่งของรัฐบาล
เจ.พี.มอร์แกนสอบถามลูกค้าเชิงรุกราว 10-20 รายต่อสัปดาห์ เกี่ยวกับปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยในบรรดาลูกค้าเชิงรุกนั้น 70 % เป็นนักเก็งกำไร และ 30 % เป็นผู้จัดการกองทุน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท จะทำการปรับเปลี่ยนหุ้นที่ใช้ในการคำนวณดัชนีครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี โดยจะมีการนำหุ้นน้องใหม่ 3 ตัวเข้ามาในดัชนี ซึ่งได้แก่หุ้นของ วาณิชธนกิจโกลด์แมน แซคส์, วีซ่า ซึ่งเป็นผู้ประกอบการบัตรเครดิตและไนกี้ ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องแต่งกาย
หุ้นทั้ง 3 ตัวดังกล่าวจะเข้ามาทดแทนหุ้น 3 ตัวที่จะถูกปลดออกเนื่องจากมีราคาต่ำเกินไป ซึ่งได้แก่หุ้น อัลโค ซึ่งเป็นบริษัทอะลูมิเนียม โดยหุ้นตัวนี้อยู่ในดัชนี DJIA มาเป็นเวลานานกว่า 50 ปีแล้ว, หุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป และหุ้นบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด โดยดัชนี DJIA ประกอบด้วยหุ้นทั้งหมด 30 ตัว
คณะกรรมการดัชนีของบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซส เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการปรับเปลี่ยนหุ้นในการคำนวณดัชนี โดยทางบริษัทประกาศเรื่องนี้ออกมาเมื่อวานนี้ และการปรับเปลี่ยนจะเริ่มมีผลบังคับใช้ ในช่วงเปิดตลาดวันที่ 23 ก.ย.
คณะกรรมการตัดสินใจไม่นำหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ และบริษัท กูเกิล อิงค์เข้ามาในดัชนี ถึงแม้ว่าแอปเปิลเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในตลาดสหรัฐ และกูเกิลเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 โดยหุ้นแอปเปิลมีราคาอยู่สูงกว่า 500 ดอลลาร์ และหุ้นกูเกิลปิดตลาดวันจันทร์เหนือ 888 ดอลลาร์
นายเดวิด บลิทเซอร์ส ประธานคณะกรรมการดัชนี S&P กล่าวต่อ CNBC ว่า ทางคณะกรรมการได้พิจารณาเรื่องการนำหุ้นกูเกิลและหุ้นตัวอื่นๆเข้าคำนวณในดัชนี แต่ก็ตัดสินใจไม่นำเข้าคำนวณ โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่หุ้นกลุ่มนี้มีราคาสูง
กระบวนการในการจัดทำดัชนี DJIA ซึ่งคำนวณน้ำหนักของหุ้นตามราคาหุ้น แทนที่จะเป็นมูลค่าในตลาด ส่งผลให้หุ้นกูเกิลและแอปเปิลไม่ได้ถูกนำเข้ามาคำนวณในดัชนี แม้ว่าบริษัท 2 แห่งนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบัน
ถึงแม้เอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสจัดประเภทของบริษัทวีซ่า อิงค์ ว่าเป็นบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยี แต่การนำหุ้นวีซ่าและโกลด์แมน แซคส์ เข้าสู่ดัชนีในครั้งนี้ก็สะท้อนถึงความโน้มเอียงในการให้น้ำหนักแก่บริษัทที่ให้บริการทางการเงิน
หุ้นไนกี้ อิงค์ถือเป็นหุ้นตัวแรกของบริษัทกลุ่มผู้ผลิตเครื่องแต่งกายที่ถูกนำเข้าคำนวณดัชนี DJIA นับตั้งแต่มีการปลดหุ้นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล ชู ในปี 1933
หุ้นวีซ่า อิงค์ปิดตลาดวานนี้พุ่งขึ้น 3.38 % สู่ 184.59 ดอลลาร์, หุ้นโกลด์แมน แซคส์ทะยานขึ้น 3.54 % สู่ 165.14 ดอลลาร์ และ หุ้นไนกี้ดีดตัวขึ้น 2.17 % สู่ 66.82 ดอลลาร์ โดยหุ้นไนกี้ได้ปรับตัวขึ้นแตะ 66.98 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่
ดัชนี DJIA เปิดตัวครั้งแรกในปี 1896 อย่างไรก็ดี กองทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนตามดัชนีดังกล่าว แต่มักอ้างอิงตามดัชนี S&P 500 ที่ครอบคลุมหุ้นในวงกว้างกว่า
กองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่มองว่า ดัชนี DJIA มีหุ้นองค์ประกอบจำนวนน้อยเกินไป โดยมีเพียง 30 ตัว นอกจากนี้ การที่ดัชนี DJIA ถูกถ่วงน้ำหนักตามราคาหุ้น ก็ถือเป็นปัญหาในสายตาของกองทุน เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กที่มีราคาหุ้นพุ่งสูงอาจจะส่งผลกระทบต่อดัชนีในระดับที่มากเกินไป
ปัจจุบันนี้ บริษัทไอบีเอ็มถือเป็นบริษัทที่มีราคาหุ้นสูงที่สุดในดัชนี DJIA และหุ้นดังกล่าวครองสัดส่วนกว่า 9 % ในดัชนี ขณะที่บริษัท เอ็กซอน โมบิล คอร์ป ในกลุ่มน้ำมันครองน้ำหนักราคามากเป็นอันดับ 8 ในดัชนี อย่างไรก็ดี ถ้าหากวัดตามมูลค่าตลาด สถานะของทั้งสองบริษัทจะเป็นตรงกันข้าม เพราะเอ็กซอน โมบิลมีมูลค่าในตลาดมากที่สุด ขณะที่ไอบีเอ็มมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 8
การใส่หุ้นวีซ่าและโกลด์แมนเข้ามาในดัชนี DJIA จะช่วยลดอิทธิพลของไอบีเอ็มลง เพราะน้ำหนักของไอบีเอ็มในดัชนีจะลดลงจาก 9.4 % เหลือ 8 % ในขณะที่วีซ่าจะมีน้ำหนัก 7.7 % และโกลด์แมน แซคส์ จะมีน้ำหนัก 6.9 %
หุ้นของ 3 บริษัทที่จะถูกรวมในดัชนี DJIA พุ่งขึ้นมากกว่าดัชนี ที่ดีดตัวขึ้นเพียง 14.9% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงระดับปิดวันจันทร์ โดย หุ้นวีซ่าทะยานขึ้น 17.8%, หุ้นโกลด์แมน แซคส์พุ่งขึ้น 25% และหุ้นไนกี้ปรับตัวขึ้น 26.7%
ในบรรดาหุ้น 3 ตัวที่จะถูกปลดออกจากดัชนี มีเพียงหุ้นอัลโค ที่ปรับตัวย่ำแย่กว่าดัชนี โดยร่วงลง 6.9% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงระดับปิดวันจันทร์ ขณะที่หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาพุ่งขึ้น 24.8% และหุ้นเอชพีทะยานขึ้น 56.9%
อัลโค ซึ่งแถลงว่า การถูกปลดออกจากดัชนี DJIA จะไม่กระทบความสามารถของบริษัทในการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ของบริษัทนั้น ถูกเก็งว่าจะถูกปลดออกจากดัชนีมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่มูลค่าหุ้นที่ระดับ 8.7 พันล้านดอลลาร์ ก็อยู่ในระดับต่ำสุดในดัชนี
หุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดต่ำสุดเป็นอันดับ 2 คือ หุ้นทราเวลเลอร์ส ซึ่งมีมูลค่า 3.07 หมื่นล้านดอลลาร์
การนำหุ้นใหม่ 3 ตัวเข้าดัชนี DJIA พร้อมกับปลดหุ้นออก 3 ตัวในครั้งนี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของดัชนีนับตั้งแต่ วันที่ 8 เม.ย.2004 เมื่อบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป, ไฟเซอร์ และ เวริซอน ได้เข้ามาแทนที่บริษัทเอทีแอนด์ที คอร์ป, อีสต์แมน โกดัค และอินเตอร์เนชันแนล เปเปอร์
ทั้งนี้ รายชื่อบริษัท 30 แห่งในดัชนี DJIA ในขณะนี้มีดังต่อไปนี้:-
3M Company
Alcoa Incorporated
American Express Company
AT&T Incorporation
Bank of America Corporation
Boeing Company
Caterpillar Incorporated
Chevron Corporation
Cisco Systems, Inc.
Coca-Cola Company
DuPont de Nemours & Company
Exxon Mobil Corporation
General Electric Company
Hewlett-Packard Company
Home Depot Incorporated
Intel Corporation
International Business Machines Corporation
Johnson & Johnson
JPMorgan Chase & Company
Kraft Foods Incorporated Cl A
McDonald's Corporation
Merck & Co. Incorporated
Microsoft Corporation
Pfizer Incorporated
Procter & Gamble Company
Travelers Companies, Inc.
United Technologies Corporation
Verizon Communications Incorporated
Wal-Mart Stores Incorporated
Walt Disney Company
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group