นายบิล กรอส ผู้จัดการกองทุนพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกของบริษัท พิมโค กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจโลก ขณะที่นักลงทุนควรที่จะลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งได้แก่พันธบัตรระยะสั้นและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ได้รับการคุ้มครองจากภาวะเงินเฟ้อ(TIPS)
ในจดหมายถึงนักลงทุนประจำเดือนก.ย. นายกรอสระบุว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศมีประสิทธิภาพลดลงในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะนี้่ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใกล้ 0 % ถือเป็นภัยคุกคามต่อการเงินและการลงทุนใน "ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง"
นายกรอสกล่าวว่า "เราจะลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่แท้จริงไปทำไม ถ้าหากราคาพันธบัตรมีแนวโน้มร่วงลงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และราคาหุ้นจะไม่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีกต่อไป" โดยถ้อยแถลงนี้เป็นการอ้างอิงถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น มาตรการของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปัจจุบัน
นายกรอสกล่าวว่า จะเกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง เมื่อผู้กำหนดนโยบายเริ่มต้นคุมเข้มนโยบายการเงิน และตลาดหุ้นอาจเผชิญกับความเสี่ยงเมื่อเฟดยุติ QE
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรในช่วงที่ผ่านมา โดยดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้น สหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 16 % จากช่วงต้นปีนี้
รายงานการประชุมของเฟดประจำวันที่ 30-31 ก.ค.แทบไม่ได้บ่งชี้ ถึงกำหนดเวลาในการปรับลดขนาด QE อย่างไรก็ดี ประธานเฟด 4 สาขา กล่าวในเดือนส.ค.ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาด QE ในเร็วๆนี้
นายกรอสระบุในจดหมายว่า การที่เฟดยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง เนื่องจากกองทุนรวมและกองทุน ETF จะไม่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอีกต่อไป และจะประสบความยากลำบากในการขาย
นายกรอสกล่าวว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพ และธนาคารกลางหลายแห่งมุ่งความสนใจไปที่ "สัญญาณบ่งชี้ล่วงหน้า" หรือ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต การลงทุนที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดคือการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น โดยเฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2008
ในการประชุมเฟดในเดือนมิ.ย.นั้น ผู้กำหนดนโยบายของเฟด 15 จาก 19 รายคาดว่า เฟดจะยังไม่เริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2015 อย่างไรก็ดี นายกรอสเคยระบุในช่วงกลางเดือน ก.ค.ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันต่อไปจนถึงปี 2016
นายกรอสกล่าวว่า นักลงทุนควรลงทุนในสินเชื่อหรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น และเข้าซื้อ TIPS ระยะยาวเพื่อปกป้องตนเองจากภาวะเงินเฟ้อในอนาคต
นายกรอสกล่าวว่า "นักลงทุนในพันธบัตรควรมุ่งความสนใจไปที่สินเชื่อหรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นที่มีความปลอดภัยสูง เพราะ เฟดได้หันไปใช้สัญญาณชี้นำล่วงหน้า"
นายกรอสเป็นผู้จัดการกองทุนพิมโค โททัล รีเทิร์น ฟันด์ ที่ครอบครองสินทรัพย์ 2.51 แสนล้านดอลลาร์ และถือเป็นกองทุนพันธบัตร ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยนายกรอสเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนร่วมของบริษัทแปซิฟิก อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์ โค(พิมโค) ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทอลิอันซ์ของเยอรมนี
พิมโค ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ครอบครองสินทรัพย์ 1.97 ล้านล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 30 มิ.ย.ปีนี้
กองทุนพิมโค โททัล รีเทิร์น ฟันด์ของนายกรอสมีมูลค่าลดลง 14 % ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการที่นักลงทุนแห่ถอนเงินลงทุนออกไป และเป็นผลจากการร่วงลงของราคาพันธบัตร
กองทุนแห่งนี้มีสินทรัพย์ลดลงจาก 2.92 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนเม.ย. สู่ 2.51 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค. ขณะที่นักลงทุนถอนเงินลงทุนออกไปแล้วราว 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์จากกองทุนแห่งนี้นับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. ส่วนพอร์ทลงทุนของกองทุนมีมูลค่าลดลง1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน
การร่วงลงของมูลค่าพอร์ทลงทุนเป็นผลมาจากแรงเทขายในตลาดพันธบัตร ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจพุ่งขึ้น เมื่อใดก็ตามที่เฟดปรับลดขนาด QE
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ 2.996 % เมื่อวานนี้ และขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 25 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 1 % นับตั้งแต่แตะระดับ 1.62 % ในวันที่ 2 พ.ค.
การที่นายกรอส ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นจำนวนมากได้ส่งผลกระทบต่อกองทุนของเขา โดยกองทุนแห่งนี้มีมูลค่าร่วงลง 4.13 % นับตั้งแต่ต้นปีนี้ และทางกองทุนถือครองหลักทรัพย์ของรัฐบาลสหรัฐราว 39 % ในวันที่ 31 ก.ค.
กองทุนแห่งนี้ร่วงลง 1.07 % ในเดือนส.ค. และส่งผลให้ผลประกอบการของกองทุนอยู่ในระดับที่สูงกว่ากองทุนประเภทเดียวกันเพียง 8 % เท่านั้น
ทางด้านกองทุนพิมโค โททัล รีเทิร์น เอ็กซ์เชนจ์-เทรดเด็ด ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่ใช้แผนยุทธศาสตร์การลงทุนแบบเดียวกับกองทุนรวมของนายกรอส ร่วงลง 0.68 % ในเดือนส.ค. และมีผลประกอบการดีกว่ากองทุนประเภทเดียวกันราว 24 %
ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์และรัฐบาลสหรัฐมีอำนาจจำกัดในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นายกรอสก็ระบุในจดหมายว่า กฎระเบียบต่างๆ อย่างเช่น Basel III, ค่าปรับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐ และการสอบสวนคดีอาญา ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ข้อตกลง Basel III มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และปรับลดความเสี่ยงทางธนาคาร หลังจากเกิดวิกฤติการเงินปี 2007-2009
บริษัทลิปเปอร์ในเครือธอมสัน รอยเตอร์รายงานว่า กองทุนในสหรัฐ ที่ลงทุนในหุ้นมีกระแสเงินทุนไหลออก 5.1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ก.ย. ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหนุนดัชนีตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ให้ปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ ลิปเปอร์จัดทำรายงานรายสัปดาห์โดยรวบรวมข้อมูลมาจากกองทุน ETF และกองทุนรวมที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ โดยตัวเลขของ ETF มักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน ในขณะที่ตัวเลขของกองทุนรวมมักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย
กองทุนหุ้นมียอดเงินลงทุนไหลออกสุทธิเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ถึงแม้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวงกว้าง โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ได้รับการปรับทบทวนให้สูงขึ้นจากเดิม และได้รับแรง หนุนจากตัวเลขภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง
นายเจฟฟ์ เทิร์นฮอย หัวหน้าฝ่ายวิจัยทวีปอเมริกาของลิปเปอร์กล่าวว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้นักลงทุนถอนเงินลงทุนออกจากกองทุนหุ้น คือความไม่แน่นอนในเรื่องที่ว่ารัฐบาลสหรัฐจะลงโทษรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรียหรือไม่ตามข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีสังหารพลเรือน
นายเทิร์นฮอยกล่าวว่า การที่สหรัฐโจมตีซีเรียอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ "ความขัดแย้งในระยะยาว" ที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น และปัจจัยนี้บดบังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งในสัปดาห์ล่าสุด
ยอดเงินไหลออกสุทธิ 5.1 พันล้านดอลลาร์จากกองทุนหุ้นในครั้งนี้ครอบคลุมยอดเงินไหลออก 5.91 พันล้านดอลลาร์จากกองทุน ETF หุ้น ขณะที่กองทุนรวมหุ้นมียอดเงินไหลเข้า 781.8 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็น ยอดเงินไหลเข้าที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมิ.ย.
ในบรรดากระแสเงินไหลออกจากกองทุน ETF หุ้นนั้น นักลงทุนถอนเงินลงทุน 4.8 พันล้านดอลลาร์ออกจากกองทุน ETF ที่ถือครองหุ้นสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวครอบคลุมยอดเงินไหลออก 3.04 พันล้านดอลลาร์จาก
กองทุน SPDR S&P 500 ETF Trust ถึงแม้ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้น 1.1 % ในช่วงสัปดาห์สิ้้นสุดวันที่ 4 ก.ย.
กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินไหลออก 819.3 ล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์ล่าสุด และถือเป็นกระแสเงินทุนไหลออกสุทธิครั้งแรกนับตั้งแต่ เดือนก.ค. ถึงแม้ว่าดัชนี MSCI สำหรับตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลกพุ่งขึ้น 3.1 % ในสัปดาห์ล่าสุด
นายเทิร์นฮอยกล่าวว่า นักลงทุนมองว่าถ้าหากเฟดปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ลงจากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยก็จะพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทในตลาดเกิดใหม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นในการกู้ยืมเงิน
กองทุนหุ้นญี่ปุ่นมีกระแสเงินทุนไหลออกสุทธิ 331.6 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งถือเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกันที่มีเงินไหลออกสุทธิ ถึงแม้ว่าดัชนีนิกเกอิพุ่งขึ้น 5.4 % ในสัปดาห์ล่าสุด
นายเทิร์นฮอยกล่าวว่า ยอดเงินไหลออกในระยะนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า นักลงทุนได้รับแรงกระตุ้นน้อยลงจากมาตรการของธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) ในการอัดฉีดเม็ดเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่เศรษฐกิจญี่ปุ่นภายในเวลา 2 ปี
นักลงทุนถอนเงินลงทุน 503 ล้านดอลลาร์ออกจากกองทุนตราสารหนี้ ที่ต้องเสียภาษี และส่งผลให้กองทุนประเภทนี้มีกระแสเงินไหลออกสุทธิ 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้น 0.13 % สู่ 2.9 % ในช่วงสัปดาห์ล่าสุด
ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาด QE ในเร็วๆนี้ และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มีแรงเทขายเข้ามาในตลาดพันธบัตรในสัปดาห์ล่าสุด
กองทุนจังค์บอนด์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงสูงมีกระแสเงินไหลออก 416 ล้านดอลลาร์ หลังจากมีเงินไหลเข้าเล็กน้อยในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ขณะที่กองทุนที่ถือครองสินเชื่อธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว มีเงินไหลเข้าเพียง 728.3 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนม.ค.
กองทุนสินเชื่อธนาคารดอกเบี้ยลอยตัวดึงดูดเงินลงทุนใหม่ได้ 4.69หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปีนี้ และอาจส่งผลให้กองทุนประเภทนี้ ทำสถิติสูงสุดใหม่สำหรับกระแสเงินไหลเข้าได้ในปีนี้ โดยกองทุนประเภทนี้ไม่ได้รับความเสียหายจากการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์และโลหะมีค่า ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในสัญญาล่วงหน้าทอง มีเงินไหลออกสุทธิ 120 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นเงินทุนไหลออกครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ ถึงแม้ราคาทองปรับตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากปัญหาเรื่องซีเรีย
ราคาทองในตลาดสปอตพุ่งขึ้นแตะ 1,416 ดอลลาร์/ออนซ์ และทะยานขึ้น 1.4 % ในวันที่ 3 ก.ย. หลังจากนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวสนับสนุนข้อเรียกร้องของประธานาธิบดี บารัค โอบามาในการโจมตีซีเรียในวงจำกัด
กองทุนตลาดเงินมียอดเงินไหลออก 2.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นยอดเงินไหลออกครั้งแรกในรอบ 5 สัปดาห์ โดยกองทุนตลาดเงินลงทุน ในหลักทรัพย์ระยะสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำ
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
ในจดหมายถึงนักลงทุนประจำเดือนก.ย. นายกรอสระบุว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศมีประสิทธิภาพลดลงในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะนี้่ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใกล้ 0 % ถือเป็นภัยคุกคามต่อการเงินและการลงทุนใน "ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง"
นายกรอสกล่าวว่า "เราจะลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่แท้จริงไปทำไม ถ้าหากราคาพันธบัตรมีแนวโน้มร่วงลงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และราคาหุ้นจะไม่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีกต่อไป" โดยถ้อยแถลงนี้เป็นการอ้างอิงถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น มาตรการของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปัจจุบัน
นายกรอสกล่าวว่า จะเกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง เมื่อผู้กำหนดนโยบายเริ่มต้นคุมเข้มนโยบายการเงิน และตลาดหุ้นอาจเผชิญกับความเสี่ยงเมื่อเฟดยุติ QE
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรในช่วงที่ผ่านมา โดยดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้น สหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 16 % จากช่วงต้นปีนี้
รายงานการประชุมของเฟดประจำวันที่ 30-31 ก.ค.แทบไม่ได้บ่งชี้ ถึงกำหนดเวลาในการปรับลดขนาด QE อย่างไรก็ดี ประธานเฟด 4 สาขา กล่าวในเดือนส.ค.ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาด QE ในเร็วๆนี้
นายกรอสระบุในจดหมายว่า การที่เฟดยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง เนื่องจากกองทุนรวมและกองทุน ETF จะไม่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอีกต่อไป และจะประสบความยากลำบากในการขาย
นายกรอสกล่าวว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพ และธนาคารกลางหลายแห่งมุ่งความสนใจไปที่ "สัญญาณบ่งชี้ล่วงหน้า" หรือ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต การลงทุนที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดคือการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น โดยเฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2008
ในการประชุมเฟดในเดือนมิ.ย.นั้น ผู้กำหนดนโยบายของเฟด 15 จาก 19 รายคาดว่า เฟดจะยังไม่เริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2015 อย่างไรก็ดี นายกรอสเคยระบุในช่วงกลางเดือน ก.ค.ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันต่อไปจนถึงปี 2016
นายกรอสกล่าวว่า นักลงทุนควรลงทุนในสินเชื่อหรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น และเข้าซื้อ TIPS ระยะยาวเพื่อปกป้องตนเองจากภาวะเงินเฟ้อในอนาคต
นายกรอสกล่าวว่า "นักลงทุนในพันธบัตรควรมุ่งความสนใจไปที่สินเชื่อหรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นที่มีความปลอดภัยสูง เพราะ เฟดได้หันไปใช้สัญญาณชี้นำล่วงหน้า"
นายกรอสเป็นผู้จัดการกองทุนพิมโค โททัล รีเทิร์น ฟันด์ ที่ครอบครองสินทรัพย์ 2.51 แสนล้านดอลลาร์ และถือเป็นกองทุนพันธบัตร ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยนายกรอสเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนร่วมของบริษัทแปซิฟิก อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์ โค(พิมโค) ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทอลิอันซ์ของเยอรมนี
พิมโค ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ครอบครองสินทรัพย์ 1.97 ล้านล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 30 มิ.ย.ปีนี้
กองทุนพิมโค โททัล รีเทิร์น ฟันด์ของนายกรอสมีมูลค่าลดลง 14 % ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการที่นักลงทุนแห่ถอนเงินลงทุนออกไป และเป็นผลจากการร่วงลงของราคาพันธบัตร
กองทุนแห่งนี้มีสินทรัพย์ลดลงจาก 2.92 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนเม.ย. สู่ 2.51 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค. ขณะที่นักลงทุนถอนเงินลงทุนออกไปแล้วราว 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์จากกองทุนแห่งนี้นับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. ส่วนพอร์ทลงทุนของกองทุนมีมูลค่าลดลง1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน
การร่วงลงของมูลค่าพอร์ทลงทุนเป็นผลมาจากแรงเทขายในตลาดพันธบัตร ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจพุ่งขึ้น เมื่อใดก็ตามที่เฟดปรับลดขนาด QE
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ 2.996 % เมื่อวานนี้ และขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 25 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 1 % นับตั้งแต่แตะระดับ 1.62 % ในวันที่ 2 พ.ค.
การที่นายกรอส ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นจำนวนมากได้ส่งผลกระทบต่อกองทุนของเขา โดยกองทุนแห่งนี้มีมูลค่าร่วงลง 4.13 % นับตั้งแต่ต้นปีนี้ และทางกองทุนถือครองหลักทรัพย์ของรัฐบาลสหรัฐราว 39 % ในวันที่ 31 ก.ค.
กองทุนแห่งนี้ร่วงลง 1.07 % ในเดือนส.ค. และส่งผลให้ผลประกอบการของกองทุนอยู่ในระดับที่สูงกว่ากองทุนประเภทเดียวกันเพียง 8 % เท่านั้น
ทางด้านกองทุนพิมโค โททัล รีเทิร์น เอ็กซ์เชนจ์-เทรดเด็ด ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่ใช้แผนยุทธศาสตร์การลงทุนแบบเดียวกับกองทุนรวมของนายกรอส ร่วงลง 0.68 % ในเดือนส.ค. และมีผลประกอบการดีกว่ากองทุนประเภทเดียวกันราว 24 %
ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์และรัฐบาลสหรัฐมีอำนาจจำกัดในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นายกรอสก็ระบุในจดหมายว่า กฎระเบียบต่างๆ อย่างเช่น Basel III, ค่าปรับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐ และการสอบสวนคดีอาญา ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ข้อตกลง Basel III มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และปรับลดความเสี่ยงทางธนาคาร หลังจากเกิดวิกฤติการเงินปี 2007-2009
บริษัทลิปเปอร์ในเครือธอมสัน รอยเตอร์รายงานว่า กองทุนในสหรัฐ ที่ลงทุนในหุ้นมีกระแสเงินทุนไหลออก 5.1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ก.ย. ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหนุนดัชนีตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ให้ปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ ลิปเปอร์จัดทำรายงานรายสัปดาห์โดยรวบรวมข้อมูลมาจากกองทุน ETF และกองทุนรวมที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ โดยตัวเลขของ ETF มักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน ในขณะที่ตัวเลขของกองทุนรวมมักสะท้อนพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย
กองทุนหุ้นมียอดเงินลงทุนไหลออกสุทธิเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ถึงแม้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวงกว้าง โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ได้รับการปรับทบทวนให้สูงขึ้นจากเดิม และได้รับแรง หนุนจากตัวเลขภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง
นายเจฟฟ์ เทิร์นฮอย หัวหน้าฝ่ายวิจัยทวีปอเมริกาของลิปเปอร์กล่าวว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้นักลงทุนถอนเงินลงทุนออกจากกองทุนหุ้น คือความไม่แน่นอนในเรื่องที่ว่ารัฐบาลสหรัฐจะลงโทษรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรียหรือไม่ตามข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีสังหารพลเรือน
นายเทิร์นฮอยกล่าวว่า การที่สหรัฐโจมตีซีเรียอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ "ความขัดแย้งในระยะยาว" ที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น และปัจจัยนี้บดบังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งในสัปดาห์ล่าสุด
ยอดเงินไหลออกสุทธิ 5.1 พันล้านดอลลาร์จากกองทุนหุ้นในครั้งนี้ครอบคลุมยอดเงินไหลออก 5.91 พันล้านดอลลาร์จากกองทุน ETF หุ้น ขณะที่กองทุนรวมหุ้นมียอดเงินไหลเข้า 781.8 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็น ยอดเงินไหลเข้าที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมิ.ย.
ในบรรดากระแสเงินไหลออกจากกองทุน ETF หุ้นนั้น นักลงทุนถอนเงินลงทุน 4.8 พันล้านดอลลาร์ออกจากกองทุน ETF ที่ถือครองหุ้นสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวครอบคลุมยอดเงินไหลออก 3.04 พันล้านดอลลาร์จาก
กองทุน SPDR S&P 500 ETF Trust ถึงแม้ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้น 1.1 % ในช่วงสัปดาห์สิ้้นสุดวันที่ 4 ก.ย.
กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่มีเงินไหลออก 819.3 ล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์ล่าสุด และถือเป็นกระแสเงินทุนไหลออกสุทธิครั้งแรกนับตั้งแต่ เดือนก.ค. ถึงแม้ว่าดัชนี MSCI สำหรับตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลกพุ่งขึ้น 3.1 % ในสัปดาห์ล่าสุด
นายเทิร์นฮอยกล่าวว่า นักลงทุนมองว่าถ้าหากเฟดปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ลงจากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยก็จะพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทในตลาดเกิดใหม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นในการกู้ยืมเงิน
กองทุนหุ้นญี่ปุ่นมีกระแสเงินทุนไหลออกสุทธิ 331.6 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งถือเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกันที่มีเงินไหลออกสุทธิ ถึงแม้ว่าดัชนีนิกเกอิพุ่งขึ้น 5.4 % ในสัปดาห์ล่าสุด
นายเทิร์นฮอยกล่าวว่า ยอดเงินไหลออกในระยะนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า นักลงทุนได้รับแรงกระตุ้นน้อยลงจากมาตรการของธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) ในการอัดฉีดเม็ดเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่เศรษฐกิจญี่ปุ่นภายในเวลา 2 ปี
นักลงทุนถอนเงินลงทุน 503 ล้านดอลลาร์ออกจากกองทุนตราสารหนี้ ที่ต้องเสียภาษี และส่งผลให้กองทุนประเภทนี้มีกระแสเงินไหลออกสุทธิ 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้น 0.13 % สู่ 2.9 % ในช่วงสัปดาห์ล่าสุด
ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาด QE ในเร็วๆนี้ และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มีแรงเทขายเข้ามาในตลาดพันธบัตรในสัปดาห์ล่าสุด
กองทุนจังค์บอนด์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงสูงมีกระแสเงินไหลออก 416 ล้านดอลลาร์ หลังจากมีเงินไหลเข้าเล็กน้อยในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ขณะที่กองทุนที่ถือครองสินเชื่อธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว มีเงินไหลเข้าเพียง 728.3 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนม.ค.
กองทุนสินเชื่อธนาคารดอกเบี้ยลอยตัวดึงดูดเงินลงทุนใหม่ได้ 4.69หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปีนี้ และอาจส่งผลให้กองทุนประเภทนี้ ทำสถิติสูงสุดใหม่สำหรับกระแสเงินไหลเข้าได้ในปีนี้ โดยกองทุนประเภทนี้ไม่ได้รับความเสียหายจากการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์และโลหะมีค่า ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในสัญญาล่วงหน้าทอง มีเงินไหลออกสุทธิ 120 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นเงินทุนไหลออกครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ ถึงแม้ราคาทองปรับตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากปัญหาเรื่องซีเรีย
ราคาทองในตลาดสปอตพุ่งขึ้นแตะ 1,416 ดอลลาร์/ออนซ์ และทะยานขึ้น 1.4 % ในวันที่ 3 ก.ย. หลังจากนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวสนับสนุนข้อเรียกร้องของประธานาธิบดี บารัค โอบามาในการโจมตีซีเรียในวงจำกัด
กองทุนตลาดเงินมียอดเงินไหลออก 2.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นยอดเงินไหลออกครั้งแรกในรอบ 5 สัปดาห์ โดยกองทุนตลาดเงินลงทุน ในหลักทรัพย์ระยะสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำ
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group