นักวิเคราะห์กล่าวว่า ถ้าหากตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้นต่อไปในปีนี้ราคาทองก็อาจจะร่วงลงต่อไป เนื่องจากสินทรัพย์สองประเภทนี้เริ่มปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกันอีกครั้ง
ทั้งนี้ หลังจากราคาทองปรับตัวสอดคล้องกับดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐมาเป็นเวลานานเกือบ 10 ปี ขณะนี้ราคาทองและตลาดหุ้นก็เริ่มปรับตัวในทิศทางตรงกันข้าม โดยตลาดหุ้นพุ่งขึ้นและราคาทองดิ่งลง
หลังจากดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นมาแล้ว 10 % จากช่วงต้นปีนี้ ราคาทองก็ได้ดิ่งลงเข้าสู่ภาวะหมี โดยขณะนี้ราคาทองทรุดตัวลงมาแล้วราว 24 % จากระดับเมื่อหนึ่งปีก่อน
ข้อมูลของสแตนดาร์ด แบงก์ รีเสิร์ชระบุว่า ดัชนี S&P 500 และราคาทองในตลาดสปอตมีค่าความสัมพันธ์เป็นบวก โดยอยู่ที่ระดับ 0.6-0.9 ในปี 2004-2012 หลังจากที่เคยมีค่าติดลบในปี 1990-2003
นายวอลเตอร์ เดอ เวท นักวิเคราะห์ของธนาคารสแตนดาร์ด กล่าวว่า "ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นจะมีบทบาทสำคัญต่อราคาทองมากกว่าในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา และราคาทองกับตลาดหุ้นจะปรับตัวสวนทางกันมากยิ่งขึ้น ในขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินดอลลาร์"
นักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐจะปรับตัวขึ้น ต่อไปในปีนี้ และจะทำสถิติสูงสุดใหม่อีก โดยทำลายสถิติสูงสุดเดิมที่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์กับดัชนี S&P 500 เพิ่งทำไว้ในช่วงต้นปีนี้
ราคาทองเคยปรับตัวขึ้นรายปีเป็นเวลานานติดต่อกันถึง 12 ปี จนถึงช่วงสิ้นปี 2012 โดยได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย ในขณะที่การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลายรอบที่ผ่านมาส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยร่วงลงสู่ระดับติดลบ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ระดับต่ำและมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคาร ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน และส่งผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์
หลังจากเฟดดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาเป็นเวลานานเกือบ 6 ปี ก็มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดกำลังจะปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ และการปรับลดนี้จะส่งผลกระทบต่อราคาทองแต่อาจจะไม่ส่งผลลบมากนักต่อตลาดหุ้น
นายวิลเลม เซลส์ หัวหน้าฝ่ายการลงทุนของธนาคารเอชเอสบีซี ไพรเวท กล่าวว่า "มีการคาดการณ์กันว่า ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นหลังจากเฟดลดขนาด QE ลง และปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบต่อราคาทอง ในขณะที่ตลาดหุ้นจะรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ เพราะเฟดจะลดขนาด QE ลงก็ต่อเมื่อเฟดเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง"
"เราคาดการณ์ในทางลบต่อราคาทอง และคาดการณ์ในทางบวกต่อตลาดหุ้น"
ตลาดทองเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในช่วง 13 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนได้เข้ามามีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในฐานะผู้ซื้อทอง โดยปัจจุบันนี้นักลงทุนครองสัดส่วน 35 % ของปริมาณ การใช้ทองทั่วโลก เทียบกับระดับเพียง 9 % ในช่วงต้นทศวรรษ 2000
นายโทเบียส เมราธ หัวหน้าฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์โลกของธนาคารเครดิต สวิส กล่าวว่า "การที่นักลงทุนเข้ามามีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในตลาดทอง คือสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆเปลี่ยนแปลงไป"
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์นี้ ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเปิดกองทุน ETF ทองตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาด้วย โดยกองทุน ETF ทองคือกองทุนที่จำหน่ายหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากทอง
นายเดอ เวทกล่าวว่า "ในช่วงที่มีการเปิดกองทุน ETF ผู้จัดการกองทุนหลายแห่งก็โยกย้ายเงินลงทุนเข้าสู่กองทุน ETF เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนในพอร์ท โดยไม่คำนึงถึงว่าตลาดหุ้นอยู่ในสภาพใดบ้างในช่วงนั้น"
"การโยกย้ายสินทรัพย์ดังกล่าวส่งผลให้ตลาดบิดเบือนไปจากความเป็นจริง และดูเหมือนว่าการโยกย้ายแบบนี้ได้สิ้นสุดลงแล้วในปัจจุบัน"
ข้อมูลของบริษัทแบล็คร็อคระบุว่า สินทรัพย์ทั้งหมดในตราสารอ้างอิง (ETP) ราคาทองคำทั่วโลกหดตัวลง 32 % สู่ 9.62 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. จาก 1.412 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2012 และถือเป็นการดิ่งลงครั้งแรกนับตั้งแต่มีการเปิดกองทุน ETF ทองเป็นต้นมา
ราคาทองไม่เพียงแค่เคยปรับตัวสอดคล้องกับตลาดหุ้นสหรัฐเท่านั้น แต่ยังพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นสหรัฐมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีด้วย
ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นเพียง 6.7 % ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2003-2012 แต่ราคาทองพุ่งขึ้น 17 % ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ดี ในช่วงปีนี้นั้น ดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นมาแล้ว 14 % จากช่วงต้นปีนี้ แต่ราคาทองดิ่งลงกว่า 20 %
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่ราคาทองกลับมาปรับตัวสวนทางกับตลาดหุ้นอีกครั้งนั้น อาจจะส่งผลให้ทองมีความน่าดึงดูดในฐานะเครื่องมือกระจายความเสี่ยงในพอร์ทลงทุน
นายเซลส์กล่าวว่า "สาเหตุที่ทำให้เรายังคงถือครองทองเอาไว้ ก็เพื่อใช้ประกันความเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้ต่ำแต่ส่งผลกระทบสูง (tail risk) โดยมีสินทรัพย์เพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่สามารถคุ้มครองคุณจาก tail risk และทองก็เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดังกล่าว ส่วนสินทรัพย์อื่นๆอย่างเช่นพันธบัตรได้สูญเสียความสามารถในการกระจายความเสี่ยงไปแล้ว เพราะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงอยู่ในระดับต่ำมาก"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ทั้งนี้ หลังจากราคาทองปรับตัวสอดคล้องกับดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐมาเป็นเวลานานเกือบ 10 ปี ขณะนี้ราคาทองและตลาดหุ้นก็เริ่มปรับตัวในทิศทางตรงกันข้าม โดยตลาดหุ้นพุ่งขึ้นและราคาทองดิ่งลง
หลังจากดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นมาแล้ว 10 % จากช่วงต้นปีนี้ ราคาทองก็ได้ดิ่งลงเข้าสู่ภาวะหมี โดยขณะนี้ราคาทองทรุดตัวลงมาแล้วราว 24 % จากระดับเมื่อหนึ่งปีก่อน
ข้อมูลของสแตนดาร์ด แบงก์ รีเสิร์ชระบุว่า ดัชนี S&P 500 และราคาทองในตลาดสปอตมีค่าความสัมพันธ์เป็นบวก โดยอยู่ที่ระดับ 0.6-0.9 ในปี 2004-2012 หลังจากที่เคยมีค่าติดลบในปี 1990-2003
นายวอลเตอร์ เดอ เวท นักวิเคราะห์ของธนาคารสแตนดาร์ด กล่าวว่า "ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นจะมีบทบาทสำคัญต่อราคาทองมากกว่าในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา และราคาทองกับตลาดหุ้นจะปรับตัวสวนทางกันมากยิ่งขึ้น ในขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินดอลลาร์"
นักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐจะปรับตัวขึ้น ต่อไปในปีนี้ และจะทำสถิติสูงสุดใหม่อีก โดยทำลายสถิติสูงสุดเดิมที่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์กับดัชนี S&P 500 เพิ่งทำไว้ในช่วงต้นปีนี้
ราคาทองเคยปรับตัวขึ้นรายปีเป็นเวลานานติดต่อกันถึง 12 ปี จนถึงช่วงสิ้นปี 2012 โดยได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย ในขณะที่การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลายรอบที่ผ่านมาส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยร่วงลงสู่ระดับติดลบ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ระดับต่ำและมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคาร ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน และส่งผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์
หลังจากเฟดดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาเป็นเวลานานเกือบ 6 ปี ก็มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดกำลังจะปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ และการปรับลดนี้จะส่งผลกระทบต่อราคาทองแต่อาจจะไม่ส่งผลลบมากนักต่อตลาดหุ้น
นายวิลเลม เซลส์ หัวหน้าฝ่ายการลงทุนของธนาคารเอชเอสบีซี ไพรเวท กล่าวว่า "มีการคาดการณ์กันว่า ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นหลังจากเฟดลดขนาด QE ลง และปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบต่อราคาทอง ในขณะที่ตลาดหุ้นจะรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ เพราะเฟดจะลดขนาด QE ลงก็ต่อเมื่อเฟดเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง"
"เราคาดการณ์ในทางลบต่อราคาทอง และคาดการณ์ในทางบวกต่อตลาดหุ้น"
ตลาดทองเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในช่วง 13 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนได้เข้ามามีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในฐานะผู้ซื้อทอง โดยปัจจุบันนี้นักลงทุนครองสัดส่วน 35 % ของปริมาณ การใช้ทองทั่วโลก เทียบกับระดับเพียง 9 % ในช่วงต้นทศวรรษ 2000
นายโทเบียส เมราธ หัวหน้าฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์โลกของธนาคารเครดิต สวิส กล่าวว่า "การที่นักลงทุนเข้ามามีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในตลาดทอง คือสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆเปลี่ยนแปลงไป"
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์นี้ ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเปิดกองทุน ETF ทองตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาด้วย โดยกองทุน ETF ทองคือกองทุนที่จำหน่ายหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากทอง
นายเดอ เวทกล่าวว่า "ในช่วงที่มีการเปิดกองทุน ETF ผู้จัดการกองทุนหลายแห่งก็โยกย้ายเงินลงทุนเข้าสู่กองทุน ETF เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนในพอร์ท โดยไม่คำนึงถึงว่าตลาดหุ้นอยู่ในสภาพใดบ้างในช่วงนั้น"
"การโยกย้ายสินทรัพย์ดังกล่าวส่งผลให้ตลาดบิดเบือนไปจากความเป็นจริง และดูเหมือนว่าการโยกย้ายแบบนี้ได้สิ้นสุดลงแล้วในปัจจุบัน"
ข้อมูลของบริษัทแบล็คร็อคระบุว่า สินทรัพย์ทั้งหมดในตราสารอ้างอิง (ETP) ราคาทองคำทั่วโลกหดตัวลง 32 % สู่ 9.62 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. จาก 1.412 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2012 และถือเป็นการดิ่งลงครั้งแรกนับตั้งแต่มีการเปิดกองทุน ETF ทองเป็นต้นมา
ราคาทองไม่เพียงแค่เคยปรับตัวสอดคล้องกับตลาดหุ้นสหรัฐเท่านั้น แต่ยังพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นสหรัฐมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีด้วย
ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นเพียง 6.7 % ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2003-2012 แต่ราคาทองพุ่งขึ้น 17 % ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ดี ในช่วงปีนี้นั้น ดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นมาแล้ว 14 % จากช่วงต้นปีนี้ แต่ราคาทองดิ่งลงกว่า 20 %
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่ราคาทองกลับมาปรับตัวสวนทางกับตลาดหุ้นอีกครั้งนั้น อาจจะส่งผลให้ทองมีความน่าดึงดูดในฐานะเครื่องมือกระจายความเสี่ยงในพอร์ทลงทุน
นายเซลส์กล่าวว่า "สาเหตุที่ทำให้เรายังคงถือครองทองเอาไว้ ก็เพื่อใช้ประกันความเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้ต่ำแต่ส่งผลกระทบสูง (tail risk) โดยมีสินทรัพย์เพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่สามารถคุ้มครองคุณจาก tail risk และทองก็เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดังกล่าว ส่วนสินทรัพย์อื่นๆอย่างเช่นพันธบัตรได้สูญเสียความสามารถในการกระจายความเสี่ยงไปแล้ว เพราะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงอยู่ในระดับต่ำมาก"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak