ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทสามารถพุ่งขึ้นทำสถิติปิดตลาดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ หลายครั้งในสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเชื่อดั้งเดิมที่ว่านักลงทุนควรจะ "ขายหุ้นในเดือนพ.ค.และออกไปอยู่นอกตลาด" อาจจะเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ในปีนี้
ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วที่ 1,633.70 โดยพุ่งขึ้นมาแล้ว 2.3 % จากช่วงต้นเดือนพ.ค. และทะยานขึ้น 14.6 % จากช่วงต้นปีนี้
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งแบบนี้ในช่วงต้นปี ตลาดหุ้นก็มีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงขาขึ้นต่อไปจนถึงสิ้นปี
นายไรอัน ดีทริค นักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคของบริษัทเชฟเฟอร์ส อินเวสท์เมนท์ รีเสิร์ช กล่าวว่า "แทนที่นักลงทุนจะขายหุ้นในเดือนพ.ค. และออกไปอยู่นอกตลาด ตลาดหุ้นสหรัฐก็อาจจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งจนน่าประหลาดใจในเดือนพ.ค.ปีนี้"
"สิ่งที่น่าพึงพอใจก็คือ ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นโดยรวมในระยะนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังเข้าซื้อแม้แต่ หุ้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด"
ทั้งดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ต่างก็พุ่งขึ้นเหนือระดับสำคัญได้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นเดือนพ.ค. โดยดัชนีดาวโจนส์สามารถทะยานขึ้นเหนือ 15,000 และดัชนี S&P 500 สามารถพุ่งขึ้นเหนือ 1,600 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดัชนีทั้งสองก็ทรงตัวอยู่เหนือระดับสำคัญดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นปิดตลาดที่ระดับปิดสูงสุด ในรอบ 12 ปีครึ่งในระยะนี้
ดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในระยะนี้ได้เช่นกัน และสิ่งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดหุ้นกำลังปรับตัวขึ้นในวงกว้าง
นักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคกล่าวว่า ระดับสำคัญถัดไปที่ต้องจับตาดูคือระดับ 1,660 สำหรับดัชนี S&P 500
นายอารี วาลด์ นักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคของบริษัทพรินซ์ริดจ์ กรุ๊ป กล่าวว่า "คำถามสำคัญก็คือว่า นักลงทุนที่คาดการณ์ในทางบวกจะสามารถทำให้ดัชนี S&P 500 รักษาระดับ 1,600 ได้ต่อไปอีกสัปดาห์ หนึ่งหรือไม่"
"ถ้าหากนักลงทุนทำได้ ระดับสำคัญถัดไปก็คือ 1,660 แต่เนื่องจากตลาดอยู่ในระดับที่สูงมากแล้วในขณะนี้ ดังนั้นเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย"
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ถึงแม้มีความกังวลกันว่า ตลาดหุ้นอาจจะปรับลงตามปัจจัยทางเทคนิค แต่การที่ตลาดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งนับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ ก็ทำให้มีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่ตลาดหุ้นจะปรับขึ้นต่อไปจนถึงสิ้นปี
นักวิเคราะห์ของบริษัทบีสโปค อินเวสท์เมนท์ กรุ๊ป กล่าวว่า "เนื่องจากตลาดหุ้นพุ่งขึ้นมามากแล้ว สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ ตลาดจะปรับขึ้นได้ต่อไปในช่วง 7 เดือนที่เหลือของปีนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ ตลาดหุ้นมีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่จะปรับตัวขึ้นได้ต่อไปในปีที่มีการเริ่มต้นอย่างแข็งแกร่ง มากกว่าในปีที่ตลาดไม่ได้พุ่งขึ้นอย่างมาก"
บีสโปคตั้งข้อสังเกตว่า การพุ่งขึ้นของตลาดในช่วงต้นปีนี้ถือเป็นการทะยานขึ้นครั้งใหญ่เป็นอันดับที่ 11 นับตั้งแต่ปี 1991 โดยในปีดังกล่าว ดัชนีทะยานขึ้นต่อไปอีก 9.7 % ในช่วงที่เหลือของปี
ถ้าหากตลาดหุ้นปี 2013 ปรับตัวเหมือนในปี 1991 โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นอีก 9.7 % ในช่วงที่เหลือของปี ดัชนีก็อาจจะปิดตลาดปีนี้ด้วยการทะยานขึ้น 24.3 % จากปี 2012
ในบรรดาหุ้นที่พุ่งขึ้นในระยะนี้ หุ้นที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นกลุ่มการเงินกำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อไล่ตามหุ้นกลุ่มอื่นๆ หลังจากที่เคยปรับตัวอ่อนแอกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆในช่วงเวลาส่วนใหญ่ในปีนี้
นายวาลด์กล่าวว่า "หุ้นกลุ่มที่เคยดิ่งลงในช่วงก่อนหน้านี้กำลังฟื้นตัวขึ้นมา โดยมีการโยกย้ายหุ้นกลุ่มที่เป็นผู้นำตลาดในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา และสิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า สิ่งนี้จะดำเนินต่อไป" ในสัปดาห์ ที่สิ้นสุดในวันที่ 17 พ.ค.หรือไม่
ดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้นมาแล้วราว 2 % จากช่วงต้นเดือนนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศพุ่งขึ้นราว 3 %
นักวิเคราะห์บางรายคาดว่า ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอาจปรับตัวขึ้นต่อไป โดยอาจปรับตัวดีกว่าหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค โดยดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 13 % จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ ดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศดีดตัวขึ้นไม่ถึง 8 % จากช่วงต้นปีนี้
นักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังตัวเลขเกี่ยวกับผู้บริโภคสหรัฐในสัปดาห์นี้ ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทค้าปลีกอาจบ่งชี้ว่า ผู้บริโภคซื้อสิ่งอื่นนอกเหนือจากสินค้าจำเป็นบ้างหรือไม่
กระทรวงพาณิขย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเกินคาด 0.1% ในเดือนเม.ย. หลังจากลดลง 0.5% ในเดือนมี.ค.
นางคาริน คาวานัฟ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทไอเอ็นจี ยู.เอส. อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "ยอดค้าปลีกเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง หลังจากตัวเลขเดือนมี.ค.อยู่ในระดับอ่อนแอ โดยได้รับแรงกดดันจากมาตรการตัดงบรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐ (sequestration) และปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ"
"ตลาดหุ้นได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยพื้นฐานที่ดีในตัวเลขผลประกอบการภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคครองสัดส่วน 70 % ของเศรษฐกิจสหรัฐและถือเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง"
ในส่วนของผลประกอบการภาคเอกชนนั้น บริษัทค้าปลีกหลายแห่งมีกำหนด จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทเมซีส์ อิงค์ในวันพุธ และ บริษัทเจ.ซี. เพนนีย์ โค อิงค์, นอร์ดสตรอม อิงค์, โคห์ลส์ คอร์ป และ วอล-มาร์ทในวันพฤหัสบดี
บริษัท 89 % ในดัชนี S&P 500 เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้ว โดยบริษัท 66.7 % ในจำนวนนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี 1994 ที่ 63 % อย่างไรก็ดี มีบริษัทเพียงแค่ 46.4 % เท่านั้นที่เปิดเผยรายได้ที่ดีเกินคาด ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี 2002 ที่ 62 %
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วที่ 1,633.70 โดยพุ่งขึ้นมาแล้ว 2.3 % จากช่วงต้นเดือนพ.ค. และทะยานขึ้น 14.6 % จากช่วงต้นปีนี้
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งแบบนี้ในช่วงต้นปี ตลาดหุ้นก็มีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงขาขึ้นต่อไปจนถึงสิ้นปี
นายไรอัน ดีทริค นักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคของบริษัทเชฟเฟอร์ส อินเวสท์เมนท์ รีเสิร์ช กล่าวว่า "แทนที่นักลงทุนจะขายหุ้นในเดือนพ.ค. และออกไปอยู่นอกตลาด ตลาดหุ้นสหรัฐก็อาจจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งจนน่าประหลาดใจในเดือนพ.ค.ปีนี้"
"สิ่งที่น่าพึงพอใจก็คือ ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นโดยรวมในระยะนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังเข้าซื้อแม้แต่ หุ้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด"
ทั้งดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ต่างก็พุ่งขึ้นเหนือระดับสำคัญได้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นเดือนพ.ค. โดยดัชนีดาวโจนส์สามารถทะยานขึ้นเหนือ 15,000 และดัชนี S&P 500 สามารถพุ่งขึ้นเหนือ 1,600 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดัชนีทั้งสองก็ทรงตัวอยู่เหนือระดับสำคัญดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นปิดตลาดที่ระดับปิดสูงสุด ในรอบ 12 ปีครึ่งในระยะนี้
ดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในระยะนี้ได้เช่นกัน และสิ่งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดหุ้นกำลังปรับตัวขึ้นในวงกว้าง
นักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคกล่าวว่า ระดับสำคัญถัดไปที่ต้องจับตาดูคือระดับ 1,660 สำหรับดัชนี S&P 500
นายอารี วาลด์ นักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคของบริษัทพรินซ์ริดจ์ กรุ๊ป กล่าวว่า "คำถามสำคัญก็คือว่า นักลงทุนที่คาดการณ์ในทางบวกจะสามารถทำให้ดัชนี S&P 500 รักษาระดับ 1,600 ได้ต่อไปอีกสัปดาห์ หนึ่งหรือไม่"
"ถ้าหากนักลงทุนทำได้ ระดับสำคัญถัดไปก็คือ 1,660 แต่เนื่องจากตลาดอยู่ในระดับที่สูงมากแล้วในขณะนี้ ดังนั้นเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย"
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ถึงแม้มีความกังวลกันว่า ตลาดหุ้นอาจจะปรับลงตามปัจจัยทางเทคนิค แต่การที่ตลาดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งนับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ ก็ทำให้มีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่ตลาดหุ้นจะปรับขึ้นต่อไปจนถึงสิ้นปี
นักวิเคราะห์ของบริษัทบีสโปค อินเวสท์เมนท์ กรุ๊ป กล่าวว่า "เนื่องจากตลาดหุ้นพุ่งขึ้นมามากแล้ว สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ ตลาดจะปรับขึ้นได้ต่อไปในช่วง 7 เดือนที่เหลือของปีนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ ตลาดหุ้นมีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่จะปรับตัวขึ้นได้ต่อไปในปีที่มีการเริ่มต้นอย่างแข็งแกร่ง มากกว่าในปีที่ตลาดไม่ได้พุ่งขึ้นอย่างมาก"
บีสโปคตั้งข้อสังเกตว่า การพุ่งขึ้นของตลาดในช่วงต้นปีนี้ถือเป็นการทะยานขึ้นครั้งใหญ่เป็นอันดับที่ 11 นับตั้งแต่ปี 1991 โดยในปีดังกล่าว ดัชนีทะยานขึ้นต่อไปอีก 9.7 % ในช่วงที่เหลือของปี
ถ้าหากตลาดหุ้นปี 2013 ปรับตัวเหมือนในปี 1991 โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นอีก 9.7 % ในช่วงที่เหลือของปี ดัชนีก็อาจจะปิดตลาดปีนี้ด้วยการทะยานขึ้น 24.3 % จากปี 2012
ในบรรดาหุ้นที่พุ่งขึ้นในระยะนี้ หุ้นที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นกลุ่มการเงินกำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อไล่ตามหุ้นกลุ่มอื่นๆ หลังจากที่เคยปรับตัวอ่อนแอกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆในช่วงเวลาส่วนใหญ่ในปีนี้
นายวาลด์กล่าวว่า "หุ้นกลุ่มที่เคยดิ่งลงในช่วงก่อนหน้านี้กำลังฟื้นตัวขึ้นมา โดยมีการโยกย้ายหุ้นกลุ่มที่เป็นผู้นำตลาดในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา และสิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า สิ่งนี้จะดำเนินต่อไป" ในสัปดาห์ ที่สิ้นสุดในวันที่ 17 พ.ค.หรือไม่
ดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้นมาแล้วราว 2 % จากช่วงต้นเดือนนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศพุ่งขึ้นราว 3 %
นักวิเคราะห์บางรายคาดว่า ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอาจปรับตัวขึ้นต่อไป โดยอาจปรับตัวดีกว่าหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค โดยดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 13 % จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ ดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศดีดตัวขึ้นไม่ถึง 8 % จากช่วงต้นปีนี้
นักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังตัวเลขเกี่ยวกับผู้บริโภคสหรัฐในสัปดาห์นี้ ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทค้าปลีกอาจบ่งชี้ว่า ผู้บริโภคซื้อสิ่งอื่นนอกเหนือจากสินค้าจำเป็นบ้างหรือไม่
กระทรวงพาณิขย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเกินคาด 0.1% ในเดือนเม.ย. หลังจากลดลง 0.5% ในเดือนมี.ค.
นางคาริน คาวานัฟ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทไอเอ็นจี ยู.เอส. อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "ยอดค้าปลีกเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง หลังจากตัวเลขเดือนมี.ค.อยู่ในระดับอ่อนแอ โดยได้รับแรงกดดันจากมาตรการตัดงบรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐ (sequestration) และปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ"
"ตลาดหุ้นได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยพื้นฐานที่ดีในตัวเลขผลประกอบการภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคครองสัดส่วน 70 % ของเศรษฐกิจสหรัฐและถือเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง"
ในส่วนของผลประกอบการภาคเอกชนนั้น บริษัทค้าปลีกหลายแห่งมีกำหนด จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทเมซีส์ อิงค์ในวันพุธ และ บริษัทเจ.ซี. เพนนีย์ โค อิงค์, นอร์ดสตรอม อิงค์, โคห์ลส์ คอร์ป และ วอล-มาร์ทในวันพฤหัสบดี
บริษัท 89 % ในดัชนี S&P 500 เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้ว โดยบริษัท 66.7 % ในจำนวนนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี 1994 ที่ 63 % อย่างไรก็ดี มีบริษัทเพียงแค่ 46.4 % เท่านั้นที่เปิดเผยรายได้ที่ดีเกินคาด ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี 2002 ที่ 62 %
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak