xs
xsm
sm
md
lg

นักวิเคราะห์เตือนเอเชียอย่าตื่นเฟดหั่น QE เหตุต่างชาติถอนเงินต่ำกว่าคาด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

        ความวิตกในตลาดการเงินเอเชียเกี่ยวกับการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นั้น อาจจะเป็นความวิตกที่มากเกินไป เมื่อพิจารณาจากการที่ปริมาณเงินลงทุนของต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น ได้ไหลออกเพียงเล็กน้อยในขณะนี้ จากการคาดการณ์เกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐที่คุมเข้มมากขึ้น 
        ทั้งนี้ พันธบัตรรัฐบาล, สกุลเงินและหุ้นในเอเชียได้ถูกเทขายนับตั้งแต่เดือน เม..ที่ผ่านมา หลังเฟดส่งสัญญาณว่าจะปรับลดโครงการซื้อพันธบัตรเร็วๆนี้  โดยจะเริ่มคุมเข้มนโยบายหลังจากผ่อนคลายเป็นพิเศษในช่วงเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา 
        อย่างไรก็ตาม แม้มีการเทขายในตลาดเกิดใหม่ในเดือนมิ..ซึ่งฉุดตลาดหุ้นเอเชียดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปีและสกุลเงินต่างๆ อาทิ รูปี ทรุดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ก็ตาม แต่ทั้งหลักฐานและข้อมูลต่างบ่งชี้ว่า มีเงินไหลออกจากเอเชียน้อยมาก 
        เมื่อพิจารณาเฉพาะข้อมูลทุนสำรองเงินตราต่างประเทศนั้น ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ชั้นนำ 10 แห่งของเอเชียนับตั้งแต่จีนไปจนถึงฟิลิปปินส์นั้นได้รับเงินทุนไหลเข้ามูลค่า 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างเดือนพ.. 2008 ถึงเดือนเม..   2013 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เฟดอัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ตลาด 
        นับตั้งแต่เดือนเม.. เงินสดราว 8.6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 4% ได้ ไหลออกจากเอเชีย ขณะที่ครึ่งหนึ่งของเงินจำนวนดังกล่าวได้มาจากจีน ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณน้อยมากตามมาตรฐานส่วนใหญ่ของตลาดการเงิน ซึ่งเป็นลักษณะ ของการซื้อตามข่าวลือและขายตามข่าวจริง 
        ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอาจจะไม่ใช่ตัววัดที่ดีที่สุดเพื่อประเมินกระแสเงินทุน เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวรวมถึงผลกระทบของการแทรกแซงของธนาคารกลาง, กระแสเงินทุนบัญชีเดินสะพัด และความผันผวนของมูลค่าสกุลเงิน 
        แต่มาตรวัดอื่นๆของกระแสเงินทุนบ่งชี้ถึงข้อสรุปที่เหมือนกัน 
        ดอยช์แบงก์ประมาณการว่า นักลงทุนต่างชาติได้ถอนเงินลงทุนราว 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ออกจากตลาดตราสารหนี้สกุลเงินเอเชียในช่วงเดือนมิ..-.
        แม้จะมีการถอนเงินทุนดังกล่าว แต่กระแสเงินไหลเข้าสุทธิในปีนี้ยังคงเป็นบวกอยู่ 5 พันล้านดอลลาร์ และกระแสเงินไหลออกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเงินไหลเข้า  2.03 แสนล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปี 2009 
        "กระแสเงินทุนจำนวนมากที่ไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในระยะเวลา 10 ปีนั้น ไม่สามารถที่จะไหลออกไปหมดภายใน 10 สัปดาห์" นายสตีเฟน เจน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเอสแอลเจ แมคโคร พาร์ทเนอร์สกล่าว 
        นายเจนระบุว่า เพราะสินทรัพย์ของตลาดเกิดใหม่ถือว่าปลอดภัยกว่าตลาดพัฒนาแล้วที่มีความเปราะบางในช่วงที่มีการผ่อนคลายทางการเงิน แต่การฟื้นตัว อย่างมากในตลาดที่พัฒนาแล้วจะทำให้มีกระแสเงินไหลออกมากขึ้นจากตลาดเกิดใหม่ 
        นายเจนระบุว่า "ความเสี่ยงของการชะงักงันอย่างฉับพลันของกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่นั้นจะยังคงอยู่ในระดับสูง
        เฟดได้ออกนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เป็นครั้งแรกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินปี 2008 ในเดือนพ..ปีดังกล่าว โดยเฟดได้เข้าซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) และตั๋วเงินคลัง เป็นมูลค่าถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ในโครงการที่ดำเนินมาจนถึงเดือนมี.. 2010 
        มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2 หรือ QE2 มีขึ้นในช่วงเดือน .. 2010 ถึงมิ.. 2011 เมื่อเฟดพิมพ์เงินอีก 6 แสนล้านดอลลาร์เพื่อซื้อพันธบัตรระยะยาว ส่วน QE3 มีการประกาศใช้ในเดือนก..ปีที่แล้วและเป็นมาตรการที่ไม่มีกำหนดสิ้นสุด โดยเฟดซื้อตราสาร MBS วงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน 
        ข้อมูลจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศบ่งชี้ว่า เงินสดดังกล่าวและอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใกล้ 0% ในยุโรปได้กระตุ้นให้มีเงินไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ถึง 3.05 ล้านล้าน ดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2009 
        โดยเงินเพียง 2.31 แสนล้านดอลลาร์นั้นเป็นเงินของทางการ ดังนั้นในทางทฤษฏีนั้น เงินสดที่ไม่ได้ถูกจัดสรรโดยกองทุนไปยังประเทศที่เฉพาะเจาะจงก็อาจไหลออกไป หากเฟดเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับปกติ      
        แต่กระแสเงินนอกได้ชะลอการไหลออก ขณะที่นักวิเคราะห์ที่พิจารณาตัวอย่างจากการคุมเข้มนโยบายของเฟดในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ในปี 1994,1999 หรือ 2003 มีความผิดพลาดจากการละเลยความแตกต่างที่เกิดขึ้น ในแต่ละครั้ง 
        ประการแรก เฟดกำลังพูดถึงแค่การลดการซื้อพันธบัตรมากกว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฟดได้ยืนยันที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นใกล้ระดับ 0% ต่อไปจนถึงกลางปี 2015 
        ประการที่สอง ยังไม่มีใครแน่ใจว่าเม็ดเงินราคาถูกจะหายไปรวดเร็วเพียงใด หรือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะเป็นเช่นใด 
        ประการที่สาม การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอยู่ในระดับน้อย แม้หลังการปรับตัวขึ้น 1.10% นับตั้งแต่เดือนเม.. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีอยู่ที่ระดับเพียง 2.9% น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระดับในปี 2000 และห่างจากระดับสูงสุดที่ 8% ในช่วงปี 1993-1994 
        มอร์แกน สแตนเลย์ประมาณการว่า นับตั้งแต่เริ่มมีการเทขายสินทรัพย์ ในช่วงสิ้นเดือนพ.. กองทุนตลาดเกิดใหม่มีเงินไหลออก 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 10% ของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ แต่คิดเป็น ส่วนน้อยของกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุนเหล่านี้นับตั้งแต่ปี 2009 ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับแรงขายจนถึงขณะนี้ ซึ่งอาจเป็นเพราะนักลงทุน ยังคงมองว่าการเทขายเป็นผลมาจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐ 
        อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐจะเพิ่มต้นทุนในการถือครองสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ และกระทบต่อพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงในเอเชีย ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนผูกติดกับพันธบัตรสหรัฐ โดยการปรับตัวของดอลลาร์  และกระแสเงินไหลออกได้ฉุดสกุลเงินเอเชียร่วงลง 
        แต่การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอาจเป็นข่าวดีสำหรับตลาดหุ้น หากเกิดขึ้นพร้อมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งขึ้นซึ่งจะหมายถึงอุปสงค์ทั่วโลกที่ดีขึ้น และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่สูงขึ้น นอกเสียจากว่าอัตราผลตอบแทนจะพุ่งขึ้นสู่ระดับที่ทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ, ต้นทุนการระดมทุนที่สูงขึ้น และความผันผวนรุนแรงในตลาดต่างๆ 
        ดัชนี MSCI สำหรับตลาดหุ้นเกิดใหม่ของเอเชียร่วงลง 11%  นับตั้งแต่สิ้นเดือนพ.. ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการพุ่งขึ้น 153% นับตั้งแต่ปลายปี 2008 โดยตลาดหุ้นจาการ์ตาทะยานขึ้น 380% ระหว่างเดือนพ..2008 ถึงเดือนพ..ปีนี้ ซึ่งนับตั้งแต่เดือนพ.. ตลาดปรับตัวลงเพียง 24%  
        ในทางตรงกันข้าม ราคาพันธบัตรของอินโดนีเซียซึ่งมีความผันผวนน้อยกว่าหุ้นนั้นได้ร่วงลงอย่างรวดเร็วจนอัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้น 3.50% ในปีนี้ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของการทะยานขึ้นนับตั้งแต่ปี 2008 ขณะที่ดัชนีตลาดพันธบัตรของเจพีมอร์แกนดิ่งลง 10% แล้วในปีนี้ 
    "ประเด็นนี้เป็นเรื่องทางปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับตราสารหนี้ในประเทศมากกว่าจะเกี่ยวกับตลาดหุ้น" นายไมเคิล เคิร์ท หัวหน้านักวิเคราะห์หุ้นเอเชียของโนมูระกล่าว "เมื่อเงินไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ในประเทศ และสกุลเงินมีความผันผวน ตลาดหุ้นจะถูกลากลงไปด้วย
        ข้อมูลตลาดหุ้นบ่งชี้ว่า มีเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นอินโดนีเซียในปีนี้แล้ว 916 ล้านดอลลาร์ และมีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นไทย 3.8 พันล้านดอลลาร์ 
        ส่วนในอินเดียซึ่งมียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงเป็นประวัติการณ์และสร้างความวิตกให้กับนักลงทุนต่างชาตินั้น ตลาดหุ้นยังคงปรับตัวขึ้นเกือบ 3% และเงินทุนต่างชาติราว 75% หรือ 1.15 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่ลงทุนในตลาดหุ้นในปีนี้ก็ยังคงอยู่ในประเทศ 
        ตลาดฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ซึ่งเปราะบางต่อกระแสเงินทุนน้อยกว่าก็เผชิญแรงขายด้วย โดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์มีเงินทุนไหลเข้า 1.4 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ 
        เครดิต สวิสประมาณการว่า การเทขายหุ้นคิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของมูลค่าหุ้นที่นักลงทุนต่างชาติถืออยู่ในตลาดเหล่านั้น โดยนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในตลาดเกาหลีใต้มูลค่า 3.08 แสนล้านดอลลาร์, ในมาเลเซียมูลค่า  1.17 แสนล้านดอลลาร์, ในอินเดีย 2.04 แสนล้านดอลลาร์ และถือหุ้นไทย 1.23 แสนล้านดอลลาร์  
        นักวิเคราะห์กล่าวว่า การเทขายพันธบัตรในตลาดเกิดใหม่ของเอเชียมีความรุนแรงมากกว่า โดยการถือครองพันธบัตรของต่างชาติในอินโดนีเซียร่วงลงสู่ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 30% ของจำนวนพันธบัตร ทังหมด และลดลงจากระดับสูงสุดที่ 35% โดยอินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีนักลงทุนต่างชาติถือครองพันธบัตรสกุลเงินรูเปียห์จำนวนมาก และการเทขายอาจเพิ่มขึ้นขณะที่ผู้จัดการกองทุนพันธบัตรเผชิญกับการไถ่ถอนของนักลงทุน 
        "เราอาจเห็นการไถ่ถอนพันธบัตรจากกองทุนตลาดเกิดใหม่มากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อตลาดพันธบัตรปัจจุบันในภูมิภาคเอเชีย" ดอยช์ระบุถึงการปรับตัวลงของพันธบัตรสกุลเงินเอเชีย
 
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
กำลังโหลดความคิดเห็น