ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจการผลิตของอิตาลีในเดือนก.ค.ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ91.7 จาก 90.5 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็น ผลมาจากแนวโน้มคำสั่งซื้อและการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น
ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขายของสหรัฐในเดือน มิ.ย. ลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก ราคาบ้านที่สูงขึ้นประกอบกับที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านได้ปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค. จากการเผยถึงท่าทีในการ ชะลอมาตรการ QE ของ Fed อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 1% และเพิ่มขึ้น 9.1% เมื่อเทียบกับ มิ.ย. 2555 แสดงถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดอสังหาสหรัฐ
Fed สาขาชิคาโกรายงานดัชนีการผลิตเขตมิดเวสต์ของสหรัฐในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.4% มาอยู่ที่ระดับ 96.0 จากระดับ 95.6 ในเดือนพ.ค. โดยได้รับปัจจัยบวกจากทั้ง 4 ภาคธุรกิจได้แก่ การผลิตเครื่องจักร ทรัพยากร การผลิต เหล็กกล้าและภาคการผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณ (QE) ที่ระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในการประชุมวันที่ 30-31 ก.ค. นี้ แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐ ปรับตัวดีขึ้นมากแต่ยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านการคลัง จึงคาดว่า Fed อาจรอดูพัฒนาการเศรษฐกิจอีกระยะหนึ่งก่อน ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงนโยบาย อย่างไรก็ดีทางการไทยควรติดตามความเคลื่อนไหวของทั้งเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจหลัก อื่นๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินโอกาสการปรับทิศทางนโยบายการเงิน ซึ่งจะส่งผลต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย เสถียรภาพ ของเงินบาท รวมถึงภาพรวมของเศรษฐกิจไทยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง
กำไรบริษัทภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 6.3% เมื่อเทียบกับ มิ.ย. 2555 ชะลอตัวลงจากเดือน พ.ค.ที่เพิ่มขึ้น 15.5% โดยมีสาเหตุจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและฐานที่สูงในช่วงปีก่อนหน้า
บาร์เคลย์สระบุว่า เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวในอัตราเพียง 3% ในช่วง 3 ปีข้างหน้า หากการดำเนิน นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณเกิดความผิดพลาด หลังจากที่นายกฯ หลี่ เค่อเฉียง พยายามลดการปล่อยสินเชื่อเพื่อสกัดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรง
ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 1.6% เมื่อเทียบจากปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วน เสื้อผ้า พลังงาน และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวจาก ASEAN ที่เพิ่มขึ้นยังเป็นผลบวกต่อยอดขายของห้าง สรรพสินค้า โดยสัญญาณดังกล่าวบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้
รัฐบาลไต้หวันกำลังพิจารณามาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการเก็งกำไรและฟองสบู่ในภาค อสังหาฯ เช่น เก็บภาษี จากฝั่งผู้ซื้อ เป็นต้น หลังจากที่ราคาอสังหาฯเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอาจส่งผลกระทบกับกำลังซื้อของประชาชนที่อยากซื้อ บ้านเพื่ออยู่อาศัยจริง
สนง. เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดประมาณการการขยายตัว GDP ของไทยปีนี้เหลือประมาณ 4% จากเดิม ที่ 4.5% เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าคงทน ประกอบกับการส่งออกไป ยังประเทศคู่ค้าสำคัญยังคงไม่ฟิ้นตัว โดย คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ 5.5% อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แก่ การใช้จ่ายของภาครัฐหาก พ.ร.บ.ลงทุน 2 ล้านล้านบาทผ่านร่างพิจารณาจากสภาฯและจำนวนนัก ท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวได้ดีนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท. ระบุว่า หากเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ที่ ระดับ 4% ตามประมาณการของ สศค. ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ในขณะที่หลายประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ การชะลอตัวในครึ่งปีแรกน่าจะเป็นเพียงการพักฐาน อีกทั้งยังเชื่อว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยในครึ่งปีหลังจะขึ้น เนื่องจาก ปัจจัยทางฤดูกาลประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐ และญี่ปุ่น นอกจากนั้น ยังได้ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจจาก ธปท. ในช่วงที่เหลือของปีนี้
SET Index ปิดที่ 1,454.28 จุด ลดลง 22.43 จุด หรือ 1.52% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 29,280.10 ล้านบาท โดย ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดตลาด จากปัจจัยกดดันทางการเมืองจากการผลักดันร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเข้าสู่การ พิจารณาของสภาในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ รวมถึงนักลงทุนได้ชะลอการลงทุนเพื่อติดตามการประชุม FOMC ในวันที่ 30 - 31ก.ค. นี้ ส่งผลให้ปริมาณซื้อขายค่อนข้างเบาบางเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวในช่วงแคบ -0.01% ถึง +0.01% ด้วยบรรยากาศการซื้อขายที่เบาบาง ตลอดทั้งวัน เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่กระทบกับการลงทุนและนักลงทุนยังคงรอดูท่าทีการชะลอมาตรการ QE ของ Fed จากการประชุม FOMC สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 1เดือน/3เดือน/6เดือน/1ปี มูลค่ารวม 118,000 ล้าน บาท