นักลงทุนกำลังรอให้ราคาทองมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะกลับเข้าตลาด ถึงแม้ว่าความกังวลเรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะนี้ช่วยส่งเสริมความน่าดึงดูดใจของทองในระยะยาวก็ตาม
ราคาทองดิ่งลง 200 ดอลลาร์/ออนซ์ในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ในเดือน มิ.ย. โดยร่วงลงไปแตะจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีที่ 1,180 ดอลลาร์ ในวันที่ 28 มิ.ย. โดยก่อนหน้านั้นราคาทองได้ทรุดตัวครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปีสำหรับช่วงเวลา 2 วันในเดือนเม.ย. โดยดิ่งลงจากระดับ 1,560.74 ดอลลาร์ในวันที่ 11 เม.ย. สู่ 1,336.04 ดอลลาร์ ในวันที่ 15 เม.ย.
ราคาทองดีดกลับขึ้นมาได้บ้างหลังการร่วงลง 2 ครั้งดังกล่าว โดยราคาทองลดช่วงติดลบได้ราวครึ่งหนึ่งหลังการดิ่งลงในช่วงกลางเดือนเม.ย. และพุ่งขึ้นกว่า 100 ดอลลาร์หลังการร่วงลงรอบ 2 อย่างไรก็ดีนักลงทุนกังวลกับการที่ราคาทองไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
การดิ่งลงของราคาทองมีสาเหตุมาจากแรงเทขายของนักลงทุนสถาบัน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี เฟดพยายามลดกระแสคาดการณ์ในเรื่องนี้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ นโยบายการเงินก็ยังคงอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากเป็นพิเศษทั่วโลก, ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันอีกครั้ง, นักลงทุนยังคงกังวลกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน และวิตกต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
ปัจจัยเหล่านี้ช่วยเพิ่มความน่าดึงดูดให้แก่ทอง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาทองอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 3 ปี อย่างไรก็ดี กลุ่มกองทุนยังคงกังวลต่อการลงทุนในทอง
นายเรมี อาเจโวล ผู้จัดการกองทุนชโรเดอร์ส ไดเวอร์ซิฟายด์ โกรท ฟันด์ กล่าวว่า "ทองได้รับผลกระทบชั่วคราวในระดับหนึ่ง โดยนักลงทุนหลายคนสูญเสียความเชื่อมั่นในทองไปแล้ว และความผันผวนของราคาทอง โดยเฉพาะในเดือนเม.ย.ก็ได้ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากออกไปอยู่นอกตลาด"
"ทองเริ่มมีความน่าดึงดูดอีกครั้งเมื่อราคาเข้าใกล้ 1,200 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เราไม่มีความมั่นใจในการเพิ่มการลงทุนในทองในช่วงนี้ แม้ราคากำลังเข้าใกล้ระดับที่น่าสนใจ แต่เรายังคงรอให้มีปัจจัยสำคัญบางตัวที่จะกระตุ้น การลงทุนในทอง" นายอาเจโวลกล่าว ขณะที่ราคาทองสปอตอยู่ที่ 1,286.15 ดอลลาร์ในช่วงบ่ายวันนี้
กองทุน ETF ขายทองออกมาเป็นจำนวนมาก โดยกองทุน ETF ปรับลดปริมาณการถือครองทองลง 579 ตันเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีนี้ และถือครองทองในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีในขณะนี้ และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้ผู้จัดการกองทุนหลายแห่งตัดสินใจไม่กลับเข้ามาลงทุนในทอง
นายเปา โมริลลา-ไกเนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทลอนดอน แอนด์ แคปิตัล กล่าวว่า "ผมต้องการเห็นอัตราการขายทองของกองทุน ETF เข้าสู่เสถียรภาพ หลังจากกองทุน ETF ระบายทองออกมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์"
ราคาทองเคยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินในปี 2008 โดยนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะเครื่องรักษามูลค่าที่ปลอดภัย และฐานะเครื่ืองมือประกันความเสี่ยงในระบบ
ราคาทองพุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดที่ 1,920.30 ดอลลาร์ในวันที่ 6 ก.ย. 2011โดยได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลงอย่างรุนแรงของดอลลาร์, จากความอ่อนแอของตลาดหุ้น และจากความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางหลายแห่งในการอัดฉีดสภาพ คล่องเข้าสู่ตลาดการเงิน
นายโมริลลา-ไกเนอร์กล่าวว่า "ถ้าหากคุณต้องการทำประกันเพื่อรับมือกับ การผ่อนคลายเชิงปริมาณในประเทศพัฒนาแล้ว หรือรับมือกับปัญหาด้านเงินเฟ้อหรือปัญหาด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐ ผมก็คิดว่าทองเป็นเครื่องมือ ทำประกันที่มีราคาถูกมากสำหรับปัญหาเหล่านี้"
"เราปรับลดปริมาณการลงทุนในทองลงในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา และขณะนี้เราก็กำลังรอให้ความผันผวนลดลง ก่อนที่จะเข้าซื้อทองอีกครั้ง"
บริษัทลอนดอน แอนด์ แคปิตัลได้ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในทองลงสู่ระดับต่ำกว่า 20 % ในปัจจุบัน จากระดับราว 60 % ในช่วงปลายปี 2012ส่วนกองทุนทรัพยากรธรรมชาติของเจพีมอร์แกน ได้ปรับลดสัดส่วนการลงทุน ในโลหะมีค่าสู่ 17.4 % ภายในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. จาก 28.1 % ในช่วงสิ้นปี 2012
นางนิโคล เวทิส ผู้จัดการพอร์ทลงทุนของลูกค้าในกองทุนทรัพยากร ธรรมชาติของเจพีมอร์แกน กล่าวว่า "การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ และมีสัญญาณเล็กๆที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใน สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และมีความเป็นไปได้ในการปรับลดขนาด QE ลง ซึ่งภาวะแวดล้อมเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคขัดขวางราคาทองไม่ให้พุ่งขึ้น"
กองทุนของนายอาเจโวลปรับลดสัดส่วนการถือครองทองลงจากระดับราว 4 % ในช่วงต้นปีนี้ สู่ระดับ 0-0.5 % ในปัจจุบัน ขณะที่บริษัทแบริง แอสเซท แมเนจเมนท์ ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในทองลงจากระดับเกือบ 20 % ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว สู่ระดับใกล้ 10 % ในปัจจุบัน
นายไคลฟ์ เบอร์สโตว์ ผู้จัดการกองทุนของแบริงกล่าวว่า "ความผันผวนของราคาทองส่งผลให้การเข้าซื้อทองในระดับปัจจุบันเป็นเรื่องที่ยากลำบากแต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันในระดับเศรษฐกิจมหภาคอาจจะทำให้แนวโน้มของทองเปลี่ยนแปลงไป" และเขากล่าวเสริมว่า "เราคาดว่าราคาทองมีแนวโน้มปรับขึ้น แต่จะเป็นการขยับขึ้นอย่างเชื่องช้าเป็นเวลายาวนาน"
เนื่องจากแนวโน้มนโยบายการเงินของสหรัฐ, แนวโน้มอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจของจีน และแนวโน้มของเสถียรภาพในยุโรป ยังคงไม่มีความชัดเจน นักลงทุนจึงไม่แน่ใจว่า ตลาดหุ้นจะยังคงพุ่งขึ้น, ราคาทองจะยังคงร่วงลง และ ดอลลาร์จะยังคงแข็งค่าขึ้นต่อไปในปีนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากยังไม่มีความชัดเจน ในเรื่องเหล่านี้ นักลงทุนก็อาจจะลดการลงทุนในทอง และหันไปซื้อหุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เช่น น้ำมัน
หลังจากทองเคยเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของนักลงทุนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาทองก็จะไม่ได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในระยะนี้
นายชาร์ลส์ มอร์ริส จากบริษัทเอชเอสบีซี โกลบัล แอสเซท แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "ดอลลาร์จะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในอนาคต, อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้น และตลาดหุ้นสหรัฐจะชะลอตัวลงในช่วงที่ีมีคำสั่งขายเข้ามาในตลาดทองมากเกินไป"
นายมอร์ริสกล่าวเสริมว่า "ผมคาดว่าตลาดทองจะเริ่มเข้าสู่ภาวะกระทิงรอบ ใหม่ภายในปีหน้า แต่ผมไม่มีแผนที่จะเข้าซื้อทองในขณะนี้"
( ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ราคาทองดิ่งลง 200 ดอลลาร์/ออนซ์ในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ในเดือน มิ.ย. โดยร่วงลงไปแตะจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีที่ 1,180 ดอลลาร์ ในวันที่ 28 มิ.ย. โดยก่อนหน้านั้นราคาทองได้ทรุดตัวครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปีสำหรับช่วงเวลา 2 วันในเดือนเม.ย. โดยดิ่งลงจากระดับ 1,560.74 ดอลลาร์ในวันที่ 11 เม.ย. สู่ 1,336.04 ดอลลาร์ ในวันที่ 15 เม.ย.
ราคาทองดีดกลับขึ้นมาได้บ้างหลังการร่วงลง 2 ครั้งดังกล่าว โดยราคาทองลดช่วงติดลบได้ราวครึ่งหนึ่งหลังการดิ่งลงในช่วงกลางเดือนเม.ย. และพุ่งขึ้นกว่า 100 ดอลลาร์หลังการร่วงลงรอบ 2 อย่างไรก็ดีนักลงทุนกังวลกับการที่ราคาทองไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
การดิ่งลงของราคาทองมีสาเหตุมาจากแรงเทขายของนักลงทุนสถาบัน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี เฟดพยายามลดกระแสคาดการณ์ในเรื่องนี้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ นโยบายการเงินก็ยังคงอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากเป็นพิเศษทั่วโลก, ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันอีกครั้ง, นักลงทุนยังคงกังวลกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน และวิตกต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
ปัจจัยเหล่านี้ช่วยเพิ่มความน่าดึงดูดให้แก่ทอง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาทองอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 3 ปี อย่างไรก็ดี กลุ่มกองทุนยังคงกังวลต่อการลงทุนในทอง
นายเรมี อาเจโวล ผู้จัดการกองทุนชโรเดอร์ส ไดเวอร์ซิฟายด์ โกรท ฟันด์ กล่าวว่า "ทองได้รับผลกระทบชั่วคราวในระดับหนึ่ง โดยนักลงทุนหลายคนสูญเสียความเชื่อมั่นในทองไปแล้ว และความผันผวนของราคาทอง โดยเฉพาะในเดือนเม.ย.ก็ได้ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากออกไปอยู่นอกตลาด"
"ทองเริ่มมีความน่าดึงดูดอีกครั้งเมื่อราคาเข้าใกล้ 1,200 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เราไม่มีความมั่นใจในการเพิ่มการลงทุนในทองในช่วงนี้ แม้ราคากำลังเข้าใกล้ระดับที่น่าสนใจ แต่เรายังคงรอให้มีปัจจัยสำคัญบางตัวที่จะกระตุ้น การลงทุนในทอง" นายอาเจโวลกล่าว ขณะที่ราคาทองสปอตอยู่ที่ 1,286.15 ดอลลาร์ในช่วงบ่ายวันนี้
กองทุน ETF ขายทองออกมาเป็นจำนวนมาก โดยกองทุน ETF ปรับลดปริมาณการถือครองทองลง 579 ตันเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีนี้ และถือครองทองในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีในขณะนี้ และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้ผู้จัดการกองทุนหลายแห่งตัดสินใจไม่กลับเข้ามาลงทุนในทอง
นายเปา โมริลลา-ไกเนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทลอนดอน แอนด์ แคปิตัล กล่าวว่า "ผมต้องการเห็นอัตราการขายทองของกองทุน ETF เข้าสู่เสถียรภาพ หลังจากกองทุน ETF ระบายทองออกมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์"
ราคาทองเคยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินในปี 2008 โดยนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะเครื่องรักษามูลค่าที่ปลอดภัย และฐานะเครื่ืองมือประกันความเสี่ยงในระบบ
ราคาทองพุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดที่ 1,920.30 ดอลลาร์ในวันที่ 6 ก.ย. 2011โดยได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลงอย่างรุนแรงของดอลลาร์, จากความอ่อนแอของตลาดหุ้น และจากความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางหลายแห่งในการอัดฉีดสภาพ คล่องเข้าสู่ตลาดการเงิน
นายโมริลลา-ไกเนอร์กล่าวว่า "ถ้าหากคุณต้องการทำประกันเพื่อรับมือกับ การผ่อนคลายเชิงปริมาณในประเทศพัฒนาแล้ว หรือรับมือกับปัญหาด้านเงินเฟ้อหรือปัญหาด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐ ผมก็คิดว่าทองเป็นเครื่องมือ ทำประกันที่มีราคาถูกมากสำหรับปัญหาเหล่านี้"
"เราปรับลดปริมาณการลงทุนในทองลงในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา และขณะนี้เราก็กำลังรอให้ความผันผวนลดลง ก่อนที่จะเข้าซื้อทองอีกครั้ง"
บริษัทลอนดอน แอนด์ แคปิตัลได้ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในทองลงสู่ระดับต่ำกว่า 20 % ในปัจจุบัน จากระดับราว 60 % ในช่วงปลายปี 2012ส่วนกองทุนทรัพยากรธรรมชาติของเจพีมอร์แกน ได้ปรับลดสัดส่วนการลงทุน ในโลหะมีค่าสู่ 17.4 % ภายในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. จาก 28.1 % ในช่วงสิ้นปี 2012
นางนิโคล เวทิส ผู้จัดการพอร์ทลงทุนของลูกค้าในกองทุนทรัพยากร ธรรมชาติของเจพีมอร์แกน กล่าวว่า "การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ และมีสัญญาณเล็กๆที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใน สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และมีความเป็นไปได้ในการปรับลดขนาด QE ลง ซึ่งภาวะแวดล้อมเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคขัดขวางราคาทองไม่ให้พุ่งขึ้น"
กองทุนของนายอาเจโวลปรับลดสัดส่วนการถือครองทองลงจากระดับราว 4 % ในช่วงต้นปีนี้ สู่ระดับ 0-0.5 % ในปัจจุบัน ขณะที่บริษัทแบริง แอสเซท แมเนจเมนท์ ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในทองลงจากระดับเกือบ 20 % ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว สู่ระดับใกล้ 10 % ในปัจจุบัน
นายไคลฟ์ เบอร์สโตว์ ผู้จัดการกองทุนของแบริงกล่าวว่า "ความผันผวนของราคาทองส่งผลให้การเข้าซื้อทองในระดับปัจจุบันเป็นเรื่องที่ยากลำบากแต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันในระดับเศรษฐกิจมหภาคอาจจะทำให้แนวโน้มของทองเปลี่ยนแปลงไป" และเขากล่าวเสริมว่า "เราคาดว่าราคาทองมีแนวโน้มปรับขึ้น แต่จะเป็นการขยับขึ้นอย่างเชื่องช้าเป็นเวลายาวนาน"
เนื่องจากแนวโน้มนโยบายการเงินของสหรัฐ, แนวโน้มอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจของจีน และแนวโน้มของเสถียรภาพในยุโรป ยังคงไม่มีความชัดเจน นักลงทุนจึงไม่แน่ใจว่า ตลาดหุ้นจะยังคงพุ่งขึ้น, ราคาทองจะยังคงร่วงลง และ ดอลลาร์จะยังคงแข็งค่าขึ้นต่อไปในปีนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากยังไม่มีความชัดเจน ในเรื่องเหล่านี้ นักลงทุนก็อาจจะลดการลงทุนในทอง และหันไปซื้อหุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เช่น น้ำมัน
หลังจากทองเคยเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของนักลงทุนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาทองก็จะไม่ได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในระยะนี้
นายชาร์ลส์ มอร์ริส จากบริษัทเอชเอสบีซี โกลบัล แอสเซท แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "ดอลลาร์จะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในอนาคต, อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้น และตลาดหุ้นสหรัฐจะชะลอตัวลงในช่วงที่ีมีคำสั่งขายเข้ามาในตลาดทองมากเกินไป"
นายมอร์ริสกล่าวเสริมว่า "ผมคาดว่าตลาดทองจะเริ่มเข้าสู่ภาวะกระทิงรอบ ใหม่ภายในปีหน้า แต่ผมไม่มีแผนที่จะเข้าซื้อทองในขณะนี้"
( ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak