ตลาดเกิดใหม่ (EM) ได้รับความเสียหายมากกว่าสินทรัพย์ส่วนใหญ่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จากแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และจากการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย โดยหุ้นและตราสารหนี้ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศมีมูลค่าดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤติการเงินครั้งสุดท้ายเป็นต้นมา
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณ ในเดือนพ.ค.ว่า เฟดอาจจะปรับลดและยุติโครงการเข้าซื้อตราสารหนี้ในปีหน้า ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งสัญญาณดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดเกิดใหม่ดิ่งลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่มีความน่าดึงดูดในสายตาของนักลงทุนบางส่วนส่งผลให้นักลงทุนกำลังเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวในช่วงนี้ ถึงแม้มีความเสี่ยงสูงที่ตลาดเกิดใหม่อาจจะร่วงลงต่อไป
นายแอนเดรส คาลเดรอน ผู้จัดการพอร์ทลงทุนของบริษัทฮันส์เบอร์เกอร์ โกลบอล อินเวสเตอร์สในสหรัฐ กล่าวว่า "เราเริ่มต้นเพิ่มการลงทุนในตลาดเกิดใหม่โดยเลือกซื้ออย่างเฉพาะเจาะจง และคำสำคัญในที่นี้ก็คือคำว่าเลือกซื้อ เพราะเราไม่ได้รีบเร่งเข้าไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่"
มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้นักลงทุนกังวลต่อการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ โดยผู้จัดการกองทุนหลายรายคาดว่าตลาดเกิดใหม่จะมีอัตราการเติบโตต่ำลง และตลาดบางแห่งก็เผชิญกับกระแสเงินลงทุนไหลออกเป็นจำนวนมากใน ระยะนี้ นอกจากนี้ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในจีนก็ส่งผลกระทบต่อประเทศตลาดเกิดใหม่แห่งอื่นๆด้วย โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่าเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่จะยังคงเติบโตได้เร็วกว่าเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว
บริษัทนอร์ทเธิร์น ทรัสต์ แอสเซท แมเนจเมนท์ยังคงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ตลอดช่วงที่ตลาดหุ้นดิ่งลง โดยบริษัทในสหรัฐแห่งนี้บริหารสินทรัพย์วงเงิน 8.10 แสนล้านดอลลาร์
นายจิม แมคโดนัลด์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของนอร์ทเธิร์น ทรัสต์ กล่าวว่า "ถ้าหากคุณกังวลกับผลประกอบการในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้า ก็เป็นเรื่องยากที่จะระบุถึงปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจนสำหรับตลาดเกิดใหม่ แต่ถ้าหากคุณตั้งเป้าหมายไปที่ช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า ตลาดเกิดใหม่ก็จะเหมาะสำหรับคุณ"
นายแมคโดนัลด์กล่าวว่า หุ้นตลาดเกิดใหม่มีราคาอยู่ที่ราว 10 เท่าของผลกำไรในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าค่าพี/อี เรโชของดัชนี S&P 500 ราว 32 % ส่วนจุดต่ำสุดของค่าพี/อี เรโชในตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 8 เท่า
โดยปกติแล้วค่าพี/อี เรโชของตลาดเกิดใหม่มักจะอยู่ต่ำกว่าของดัชนี S&P 500 ราว 20 % นับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีของหุ้นในตลาดเกิดใหม่ในดัชนี MSCI บ่งชี้ว่า หุ้นมีราคาต่ำเกินไปเป็นอย่างมาก โดยอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 1.45ในปัจจุบัน ซึ่งใกล้กับระดับ 1.36 ที่เคยทำไว้ในช่วงที่วิกฤติการเงินทวีความรุนแรง แต่ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 0.93 ที่เคยทำไว้ในช่วงที่เกิดวิกฤติเอเชีย ปี 1997-1998 โดยอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีถือเป็นมาตรวัดมูลค่าของบริษัทในกรณีที่บริษัทล้มละลาย
นายคาลเดรอนกล่าวว่่า "ผมจะไม่ประหลาดใจถ้าหากหุ้นตลาดเกิดใหม่ร่วงลงต่อไป เพราะว่าจะยังคงมีเงินลงทุนหลั่งไหลออกจากหุ้นกลุ่มนี้" มีตัวเลขหลายตัวที่บ่งชี้ว่า สินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่อาจเหมาะต่อการเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรในช่วงนี้
ดัชนี MSCI ของหุ้นตลาดเกิดใหม่ดิ่งลงมาแล้ว 11.3 % จากช่วงต้นปีนี้ โดยการปรับตัวลงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ในทางตรงกันข้าม ดัชนี MSCI ของหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้น 4.8 % จากช่วงต้นปีนี้ และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้น12.8 % จากช่วงต้นปีนี้
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้นั้น ดัชนีเจพี มอร์แกนสำหรับตราสารหนี้สกุลดอลลาร์สหรัฐในตลาดเกิดใหม่บ่งชี้ว่า ค่าสเปรด (ส่วนต่าง) ระหว่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สกุลดอลลาร์ในตลาดเกิดใหม่และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อยู่ที่ระดับสูงถึง 3.42 % ในช่วงนี้ และค่าสเปรดนี้บ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารหนี้ ตลาดเกิดใหม่
ดัชนีเจพี มอร์แกนสำหรับราคาตราสารหนี้สกุลดอลลาร์ในตลาดเกิดใหม่ร่วงลงมาแล้วราว 6 % ในเดือนมิ.ย. และรูดลงกว่า 10.7 % จากช่วงต้นปีนี้ หลังจากพุ่งขึ้นกว่า 18 % ในปี 2012
ตลาดเกิดใหม่กำลังประสบปัญหาอุปสงค์ในการส่งออกชะลอตัวลง โดยเป็นผลจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจสำคัญของโลก โดยเฉพาะจีน
นายภาณุ บาเวจา นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารยูบีเอส กล่าวว่า "ประสิทธิภาพของจีนในการกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะลดต่ำลงมากจากระดับในปี 2009"
เจพี มอร์แกนระบุในรายงานวิจัยประจำวันที่ 28 มิ.ย.ว่า ทางบริษัทได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ลงสู่ 4.6 % สำหรับปี 2013 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนมี.ค.ที่ 5.1 % และเจพี มอร์แกนยังปรับลดตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2014 ลงสู่ 5.1 % จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5.4 %
อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าของประเทศพัฒนาแล้ว โดยเจพี มอร์แกนคาดว่าเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอาจเติบโต 1 % ในปีนี้ และ 1.8 % ในปี 2014
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลบราซิลที่ครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2021 พุ่งขึ้นมาแล้ว 2.45 % นับตั้งแต่เดือนพ.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเม็กซิโกทะยานขึ้นมาแล้ว 1.44 % โดยรูปแบบการคำนวณของบริษัทมอร์แกน สแตนเลย์บ่งชี้ว่า พันธบัตรบราซิลและเม็กซิโกมีราคาต่ำเกินไปในขณะนี้
นายนิโคลัส ชาคิเยร์ นักเศรษฐศาสตร์ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ของบริษัทสแตนดาร์ด ไลฟ์ อินเวสท์เมนท์ กล่าวว่า "แรงเทขายพันธบัตรในเม็กซิโกเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล"
"อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเม็กซิโกลดลงเล็กน้อย และเศรษฐกิจเม็กซิโกกำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอ อย่างไรก็ดี สิ่งนี้จะส่งผลดีต่อนักลงทุนในพันธบัตร เพราะจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางเม็กซิโกปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีกในปีนี้ ถ้าหากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงร่วงลงต่อไป"
บริษัทสแตนดิช แอสเซท แมเนจเมนท์ ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ 1.70 แสนล้านดอลลาร์ ได้เข้าซื้อตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศของเม็กซิโกและบราซิลในระยะนี้หลังจากมีแรงเทขายเข้ามาในเดือน พ.ค. โดยสแตนดิชระบุว่า ขณะนี้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศในตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 6.2 % โดย พุ่งขึ้นราว 1.00 % จากช่วงก่อนการเทขายในเดือนพ.ค.
นายอเล็กซานเดอร์ โคเซเมียคิน กรรมการผู้จัดการของสแตนดิช กล่าวว่า "นักลงทุนหลายรายไม่กังวลกับความผันผวนของค่าเงินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศกลุ่มนี้ และมีการคาดการณ์ กันว่า สกุลเงินตลาดเกิดใหม่จะแข็งค่าขึ้นในระยะกลาง"
ปัจจัยเสี่ยงระยะใกล้สำหรับสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ได้เบาบางลงแล้ว เนื่องจากมีการปรับลดการลงทุนในสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ขณะที่คณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) ระบุว่า สถานะซื้อสุทธิในสกุลเงินเปโซของเม็กซิโก
ซึ่งถือเป็นสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ที่มีสภาพคล่องสูงสุด ดิ่งลงสู่ 812 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด จากระดับราว 6 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. มอร์แกน สแตนเลย์ระบุว่า สถานะซื้อในสกุลเงินเรียลของบราซิลและเปโซของชิลีลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน
ผู้จัดการกองทุนกล่าวว่า ยังคงมีความเสี่ยงที่จะมีเงินลงทุนไหลออกต่อไปจากตลาดตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ ขณะที่มอร์แกน สแตนเลย์รายงานว่า นักลงทุนสถาบันในตลาดเกิดใหม่ยังคงลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ ในสัดส่วนที่สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิง และสิ่งนี้บ่งชี้ว่านักลงทุนมีโอกาสปรับลดสถานะการลงทุนลงได้อีก ถ้าหากตลาดยังคงผันผวน
นักวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา/เมอร์ริล ลินช์ระบุในเอกสารที่ออกมาในสัปดาห์ก่อนว่า นักลงทุนสถาบันกำลังเพิ่มการถือครองเงินสดในช่วงนี้ เพราะคาดว่าจะมีกระแสเงินลงทุนไหลออก แต่เมื่อใดก็ตามที่ ความผันผวนในตลาดลดลง นักลงทุนก็จะได้รับแรงกระตุ้นให้ลงทุนในระยะยาว
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณ ในเดือนพ.ค.ว่า เฟดอาจจะปรับลดและยุติโครงการเข้าซื้อตราสารหนี้ในปีหน้า ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งสัญญาณดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดเกิดใหม่ดิ่งลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่มีความน่าดึงดูดในสายตาของนักลงทุนบางส่วนส่งผลให้นักลงทุนกำลังเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวในช่วงนี้ ถึงแม้มีความเสี่ยงสูงที่ตลาดเกิดใหม่อาจจะร่วงลงต่อไป
นายแอนเดรส คาลเดรอน ผู้จัดการพอร์ทลงทุนของบริษัทฮันส์เบอร์เกอร์ โกลบอล อินเวสเตอร์สในสหรัฐ กล่าวว่า "เราเริ่มต้นเพิ่มการลงทุนในตลาดเกิดใหม่โดยเลือกซื้ออย่างเฉพาะเจาะจง และคำสำคัญในที่นี้ก็คือคำว่าเลือกซื้อ เพราะเราไม่ได้รีบเร่งเข้าไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่"
มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้นักลงทุนกังวลต่อการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ โดยผู้จัดการกองทุนหลายรายคาดว่าตลาดเกิดใหม่จะมีอัตราการเติบโตต่ำลง และตลาดบางแห่งก็เผชิญกับกระแสเงินลงทุนไหลออกเป็นจำนวนมากใน ระยะนี้ นอกจากนี้ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในจีนก็ส่งผลกระทบต่อประเทศตลาดเกิดใหม่แห่งอื่นๆด้วย โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่าเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่จะยังคงเติบโตได้เร็วกว่าเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว
บริษัทนอร์ทเธิร์น ทรัสต์ แอสเซท แมเนจเมนท์ยังคงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ตลอดช่วงที่ตลาดหุ้นดิ่งลง โดยบริษัทในสหรัฐแห่งนี้บริหารสินทรัพย์วงเงิน 8.10 แสนล้านดอลลาร์
นายจิม แมคโดนัลด์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของนอร์ทเธิร์น ทรัสต์ กล่าวว่า "ถ้าหากคุณกังวลกับผลประกอบการในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้า ก็เป็นเรื่องยากที่จะระบุถึงปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจนสำหรับตลาดเกิดใหม่ แต่ถ้าหากคุณตั้งเป้าหมายไปที่ช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า ตลาดเกิดใหม่ก็จะเหมาะสำหรับคุณ"
นายแมคโดนัลด์กล่าวว่า หุ้นตลาดเกิดใหม่มีราคาอยู่ที่ราว 10 เท่าของผลกำไรในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าค่าพี/อี เรโชของดัชนี S&P 500 ราว 32 % ส่วนจุดต่ำสุดของค่าพี/อี เรโชในตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 8 เท่า
โดยปกติแล้วค่าพี/อี เรโชของตลาดเกิดใหม่มักจะอยู่ต่ำกว่าของดัชนี S&P 500 ราว 20 % นับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีของหุ้นในตลาดเกิดใหม่ในดัชนี MSCI บ่งชี้ว่า หุ้นมีราคาต่ำเกินไปเป็นอย่างมาก โดยอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 1.45ในปัจจุบัน ซึ่งใกล้กับระดับ 1.36 ที่เคยทำไว้ในช่วงที่วิกฤติการเงินทวีความรุนแรง แต่ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 0.93 ที่เคยทำไว้ในช่วงที่เกิดวิกฤติเอเชีย ปี 1997-1998 โดยอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีถือเป็นมาตรวัดมูลค่าของบริษัทในกรณีที่บริษัทล้มละลาย
นายคาลเดรอนกล่าวว่่า "ผมจะไม่ประหลาดใจถ้าหากหุ้นตลาดเกิดใหม่ร่วงลงต่อไป เพราะว่าจะยังคงมีเงินลงทุนหลั่งไหลออกจากหุ้นกลุ่มนี้" มีตัวเลขหลายตัวที่บ่งชี้ว่า สินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่อาจเหมาะต่อการเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรในช่วงนี้
ดัชนี MSCI ของหุ้นตลาดเกิดใหม่ดิ่งลงมาแล้ว 11.3 % จากช่วงต้นปีนี้ โดยการปรับตัวลงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ในทางตรงกันข้าม ดัชนี MSCI ของหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้น 4.8 % จากช่วงต้นปีนี้ และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้น12.8 % จากช่วงต้นปีนี้
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้นั้น ดัชนีเจพี มอร์แกนสำหรับตราสารหนี้สกุลดอลลาร์สหรัฐในตลาดเกิดใหม่บ่งชี้ว่า ค่าสเปรด (ส่วนต่าง) ระหว่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สกุลดอลลาร์ในตลาดเกิดใหม่และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อยู่ที่ระดับสูงถึง 3.42 % ในช่วงนี้ และค่าสเปรดนี้บ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารหนี้ ตลาดเกิดใหม่
ดัชนีเจพี มอร์แกนสำหรับราคาตราสารหนี้สกุลดอลลาร์ในตลาดเกิดใหม่ร่วงลงมาแล้วราว 6 % ในเดือนมิ.ย. และรูดลงกว่า 10.7 % จากช่วงต้นปีนี้ หลังจากพุ่งขึ้นกว่า 18 % ในปี 2012
ตลาดเกิดใหม่กำลังประสบปัญหาอุปสงค์ในการส่งออกชะลอตัวลง โดยเป็นผลจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจสำคัญของโลก โดยเฉพาะจีน
นายภาณุ บาเวจา นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารยูบีเอส กล่าวว่า "ประสิทธิภาพของจีนในการกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะลดต่ำลงมากจากระดับในปี 2009"
เจพี มอร์แกนระบุในรายงานวิจัยประจำวันที่ 28 มิ.ย.ว่า ทางบริษัทได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ลงสู่ 4.6 % สำหรับปี 2013 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนมี.ค.ที่ 5.1 % และเจพี มอร์แกนยังปรับลดตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2014 ลงสู่ 5.1 % จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5.4 %
อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าของประเทศพัฒนาแล้ว โดยเจพี มอร์แกนคาดว่าเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอาจเติบโต 1 % ในปีนี้ และ 1.8 % ในปี 2014
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลบราซิลที่ครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2021 พุ่งขึ้นมาแล้ว 2.45 % นับตั้งแต่เดือนพ.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเม็กซิโกทะยานขึ้นมาแล้ว 1.44 % โดยรูปแบบการคำนวณของบริษัทมอร์แกน สแตนเลย์บ่งชี้ว่า พันธบัตรบราซิลและเม็กซิโกมีราคาต่ำเกินไปในขณะนี้
นายนิโคลัส ชาคิเยร์ นักเศรษฐศาสตร์ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ของบริษัทสแตนดาร์ด ไลฟ์ อินเวสท์เมนท์ กล่าวว่า "แรงเทขายพันธบัตรในเม็กซิโกเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล"
"อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเม็กซิโกลดลงเล็กน้อย และเศรษฐกิจเม็กซิโกกำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอ อย่างไรก็ดี สิ่งนี้จะส่งผลดีต่อนักลงทุนในพันธบัตร เพราะจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางเม็กซิโกปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีกในปีนี้ ถ้าหากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงร่วงลงต่อไป"
บริษัทสแตนดิช แอสเซท แมเนจเมนท์ ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ 1.70 แสนล้านดอลลาร์ ได้เข้าซื้อตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศของเม็กซิโกและบราซิลในระยะนี้หลังจากมีแรงเทขายเข้ามาในเดือน พ.ค. โดยสแตนดิชระบุว่า ขณะนี้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศในตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 6.2 % โดย พุ่งขึ้นราว 1.00 % จากช่วงก่อนการเทขายในเดือนพ.ค.
นายอเล็กซานเดอร์ โคเซเมียคิน กรรมการผู้จัดการของสแตนดิช กล่าวว่า "นักลงทุนหลายรายไม่กังวลกับความผันผวนของค่าเงินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศกลุ่มนี้ และมีการคาดการณ์ กันว่า สกุลเงินตลาดเกิดใหม่จะแข็งค่าขึ้นในระยะกลาง"
ปัจจัยเสี่ยงระยะใกล้สำหรับสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ได้เบาบางลงแล้ว เนื่องจากมีการปรับลดการลงทุนในสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ขณะที่คณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) ระบุว่า สถานะซื้อสุทธิในสกุลเงินเปโซของเม็กซิโก
ซึ่งถือเป็นสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ที่มีสภาพคล่องสูงสุด ดิ่งลงสู่ 812 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด จากระดับราว 6 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. มอร์แกน สแตนเลย์ระบุว่า สถานะซื้อในสกุลเงินเรียลของบราซิลและเปโซของชิลีลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน
ผู้จัดการกองทุนกล่าวว่า ยังคงมีความเสี่ยงที่จะมีเงินลงทุนไหลออกต่อไปจากตลาดตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ ขณะที่มอร์แกน สแตนเลย์รายงานว่า นักลงทุนสถาบันในตลาดเกิดใหม่ยังคงลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ ในสัดส่วนที่สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิง และสิ่งนี้บ่งชี้ว่านักลงทุนมีโอกาสปรับลดสถานะการลงทุนลงได้อีก ถ้าหากตลาดยังคงผันผวน
นักวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา/เมอร์ริล ลินช์ระบุในเอกสารที่ออกมาในสัปดาห์ก่อนว่า นักลงทุนสถาบันกำลังเพิ่มการถือครองเงินสดในช่วงนี้ เพราะคาดว่าจะมีกระแสเงินลงทุนไหลออก แต่เมื่อใดก็ตามที่ ความผันผวนในตลาดลดลง นักลงทุนก็จะได้รับแรงกระตุ้นให้ลงทุนในระยะยาว
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak