ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระดับภูมิภาคที่มีแนวคิดสายเหยี่ยว 3 ราย เรียกร้องให้เฟดยุติการเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยให้เหตุผลว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐกำลังปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้
นายริชาร์ด ฟิชเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส ระบุว่า ตัวเลขการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและมูลค่าบ้านปรับตัวขึ้นในระยะนี้ และสิ่งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า มาตรการของเฟดในการเข้าซื้อ MBS ไม่ใช่สิ่งที่มีความจำเป็นอีกต่อไป
นายฟิชเชอร์กล่าวต่อสมาคมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจแห่งชาติ (NABE) เมื่อวานนี้ว่า "เฟดสามารถประกาศชัยชนะในภาคที่อยู่อาศัยได้แล้ว และลดมูลค่าการเข้าซื้อของเฟดลง โดยตั้งเป้าหมายไปที่การยุติมาตรการเข้าซื้อ ทั้งหมดในช่วงต่อไปในปีนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าการเข้าซื้ออย่างต่อเนื่องจะมีประสิทธิภาพที่ไม่แน่นอน"
อย่างไรก็ดี ความเห็นของนายฟิชเชอร์ถือเป็นเพียงความเห็นส่วนน้อยในเฟด โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ว่าการ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 คน และเป็นกลุ่มที่มีสิทธิลงมติอย่างถาวร โดยสมาชิกกลุ่มนี้มักจะไม่กังวลต่อมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ของเฟด ในขณะที่ประธานเฟดระดับภูมิภาคจำนวน 12 คนก็ถือเป็นสมาชิก FOMC เช่นกัน แต่ประธานเฟดระดับภูมิภาคแต่ละคนจะผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเป็นสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงใน FOMC ในแต่ละปี
โครงสร้างดังกล่าวส่งผลให้นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด มักจะกลายเป็นผู้ชี้นำความเห็นของ FOMC โดยนายเบอร์นันเก้ยังคงลังเลที่จะชะลอมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ในขณะที่เศรษฐกิจยังคงฟื้่นตัวอย่างเปราะบาง และอัตราเงินเฟ้อร่วงลง
นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียกล่าวว่า เฟดควรจะเริ่มต้นชะลอมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ตั้งแต่ในเดือนมิ.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นแล้ว
นายพลอสเซอร์กล่าวว่า "สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นจนถึงขั้นที่เฟดสามารถชะลอการเข้าซื้อได้ ถ้าหากเรายอมรับความจริงที่ว่า โครงการเข้าซื้อนี้เป็นสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้"
ทางด้านนายเจฟฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า "เมื่อคุณพิจารณาสถานะของตลาดที่อยู่อาศัย คุณก็จะมองเห็นเหตุผลที่สนับสนุนให้เฟดก้าวออกจากตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง"
นายแลคเกอร์และนายฟิชเชอร์กล่าวว่า การร่วงลงของอัตราเงินเฟ้อในระยะนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่ากังวล และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราวเท่านั้น โดยอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐปัจจุบันนี้อยู่ที่ระดับเพียงครึ่งหนึ่งของระดับเป้าหมาย ซึ่งเฟดตั้งไว้ที่ 2 %
สมาชิกเฟดสายเหยี่ยวกังวลว่า การขยายทุนสำรองของธนาคารกลางเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในอนาคต ถึงแม้ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณแต่อย่างใดว่าจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นในเร็วๆนี้
ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐร่วงลง 0.4 % ต่อเดือนในเดือนเม.ย. โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของราคาน้ำมันเบนซิน โดยอัตราการร่วงลง 0.4 % ในครั้งนี้ถือเป็นการปรับตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2008 หลังการล้มละลายของวาณิชธนกิจเลห์แมน บราเธอร์ส
นายไมเคิล แฮนสัน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา -เมอร์ริล ลินช์กล่าวว่า "ตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะลดแรงผลักดันทั้งจากสมาชิกสายเหยี่ยวและสายพิราบของเฟด และจะช่วยให้เฟดดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป จนกว่าจะมีสัญญาณบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 2 % ซึ่งตรงกับเป้าหมายในระยะยาวของเฟด"
ถึงแม้ประธานเฟดระดับภูมิภาค 3 คนแสดงความเห็นแบบสายเหยี่ยวในช่วงนี้ แต่นายเอริค โรเซนเกรน ประธานเฟดสาขาบอสตัน ก็แสดงความเห็นแบบสายพิราบออกมา โดยนายโรเซนเกรนแสดงความพึงพอใจต่อสัญญาณในทางบวกในภาคที่อยู่อาศัย แต่เขากล่าวว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเชิงรุกของเฟดยังคงเป็นสิ่งที่มีความเหมาะสม
ทางด้านนางซาราห์ บลูม รัสกิน สมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการของเฟด ไม่ได้แสดงความเห็นที่สนับสนุนฝ่ายใดอย่างชัดเจน โดยนางรัสกินกล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินผลกระทบจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟด
นางรัสกินกล่าวว่า "เศรษฐกิจสหรัฐยังคงฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติการเงินและภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง แต่ฟื้นตัวขึ้นในอัตราที่เชื่องช้าจนน่าผิดหวัง"
"การฟื้นตัวดูเหมือนจะทวีความเร็วขึ้นในบางภาคเศรษฐกิจ และเห็นได้ชัดที่สุดในภาคที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี นโยบายการคลังของรัฐบาลกลางสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จำกัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ"
รัฐบาลกลางสหรัฐปรับขึ้นภาษีในเดือนม.ค. และปรับลดงบประมาณครั้งใหญ่ในเดือนมี.ค. โดยเป็นที่คาดกันว่า การคุมเข้มทางการคลังในสหรัฐจะยังคงเป็นปัจจัยที่จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป
ทางด้านนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า เฟดควรจะเริ่มต้นชะลอมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ในฤดูร้อนปีนี้และยุติการเข้าซื้อตราสารหนี้ในช่วงปลายปีนี้ อย่างไรก็ดี เขาต้องการให้ เฟดเริ่มต้นด้วยการชะลอการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ไม่ใช่ MBS
นายวิลเลียมส์กล่าวว่า "ตลาดแรงงานจำเป็นต้องปรับตัวขึ้นมากกว่านี้ ถึงจะสามารถทำให้ผมเชื่อมั่นได้ว่า ตลาดแรงงานผ่านบททดสอบในการ 'ปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก' เพื่อที่เฟดจะได้ยุติการเข้าซื้อสินทรัพย์"
ก่อนหน้านี้ นายวิลเลียมส์เคยกล่าวย้ำมานานหลายเดือนว่า เฟดอาจจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไปในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เมื่อวานนี้ และเขากล่าวว่าความเปลี่ยนแปลงของเขาในครั้งนี้สะท้อนความเชื่อมั่นของเขาที่ว่า ตลาดแรงงานจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายวิลเลียมส์เชื่อว่า มาตรการของเฟดในการเข้าซื้อ MBS เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าเขาจะสนับสนุนให้เฟดเข้าซื้อ MBS ต่อไป ถึงแม้เฟดตัดสินใจปรับลดขนาดมาตรการโดยรวมลง
ปัจจุบันนี้เฟดดำเนินมาตรการ QE3 ด้วยการเข้าซื้อ MBS ในอัตรา 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในอัตรา 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ 2.5 % ต่อปีในไตรมาสแรก หลังจากอยู่ในภาวะซบเซาในช่วงปลายปี 2012 ขณะที่อัตราการว่างงานร่วงลงสู่ 7.5 % ในเดือนเม.ย. หลังจากที่เคยขึ้นไปแตะจุด สูงสุดที่ 10 % ในเดือนต.ค. 2009
นางรัสกินและนายโรเซนเกรนเป็นสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงใน FOMC ในปีนี้ ส่วนนายฟิชเชอร์, นายพลอสเซอร์, นายแลคเกอร์ และนายวิลเลียมส์ไม่มีสิทธิออกเสียงใน FOMC ในปีนี้
(ข่าวจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
นายริชาร์ด ฟิชเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส ระบุว่า ตัวเลขการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและมูลค่าบ้านปรับตัวขึ้นในระยะนี้ และสิ่งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า มาตรการของเฟดในการเข้าซื้อ MBS ไม่ใช่สิ่งที่มีความจำเป็นอีกต่อไป
นายฟิชเชอร์กล่าวต่อสมาคมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจแห่งชาติ (NABE) เมื่อวานนี้ว่า "เฟดสามารถประกาศชัยชนะในภาคที่อยู่อาศัยได้แล้ว และลดมูลค่าการเข้าซื้อของเฟดลง โดยตั้งเป้าหมายไปที่การยุติมาตรการเข้าซื้อ ทั้งหมดในช่วงต่อไปในปีนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าการเข้าซื้ออย่างต่อเนื่องจะมีประสิทธิภาพที่ไม่แน่นอน"
อย่างไรก็ดี ความเห็นของนายฟิชเชอร์ถือเป็นเพียงความเห็นส่วนน้อยในเฟด โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ว่าการ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 คน และเป็นกลุ่มที่มีสิทธิลงมติอย่างถาวร โดยสมาชิกกลุ่มนี้มักจะไม่กังวลต่อมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ของเฟด ในขณะที่ประธานเฟดระดับภูมิภาคจำนวน 12 คนก็ถือเป็นสมาชิก FOMC เช่นกัน แต่ประธานเฟดระดับภูมิภาคแต่ละคนจะผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเป็นสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงใน FOMC ในแต่ละปี
โครงสร้างดังกล่าวส่งผลให้นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด มักจะกลายเป็นผู้ชี้นำความเห็นของ FOMC โดยนายเบอร์นันเก้ยังคงลังเลที่จะชะลอมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ในขณะที่เศรษฐกิจยังคงฟื้่นตัวอย่างเปราะบาง และอัตราเงินเฟ้อร่วงลง
นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียกล่าวว่า เฟดควรจะเริ่มต้นชะลอมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ตั้งแต่ในเดือนมิ.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นแล้ว
นายพลอสเซอร์กล่าวว่า "สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นจนถึงขั้นที่เฟดสามารถชะลอการเข้าซื้อได้ ถ้าหากเรายอมรับความจริงที่ว่า โครงการเข้าซื้อนี้เป็นสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้"
ทางด้านนายเจฟฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า "เมื่อคุณพิจารณาสถานะของตลาดที่อยู่อาศัย คุณก็จะมองเห็นเหตุผลที่สนับสนุนให้เฟดก้าวออกจากตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง"
นายแลคเกอร์และนายฟิชเชอร์กล่าวว่า การร่วงลงของอัตราเงินเฟ้อในระยะนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่ากังวล และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราวเท่านั้น โดยอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐปัจจุบันนี้อยู่ที่ระดับเพียงครึ่งหนึ่งของระดับเป้าหมาย ซึ่งเฟดตั้งไว้ที่ 2 %
สมาชิกเฟดสายเหยี่ยวกังวลว่า การขยายทุนสำรองของธนาคารกลางเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในอนาคต ถึงแม้ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณแต่อย่างใดว่าจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นในเร็วๆนี้
ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐร่วงลง 0.4 % ต่อเดือนในเดือนเม.ย. โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของราคาน้ำมันเบนซิน โดยอัตราการร่วงลง 0.4 % ในครั้งนี้ถือเป็นการปรับตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2008 หลังการล้มละลายของวาณิชธนกิจเลห์แมน บราเธอร์ส
นายไมเคิล แฮนสัน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา -เมอร์ริล ลินช์กล่าวว่า "ตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะลดแรงผลักดันทั้งจากสมาชิกสายเหยี่ยวและสายพิราบของเฟด และจะช่วยให้เฟดดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป จนกว่าจะมีสัญญาณบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 2 % ซึ่งตรงกับเป้าหมายในระยะยาวของเฟด"
ถึงแม้ประธานเฟดระดับภูมิภาค 3 คนแสดงความเห็นแบบสายเหยี่ยวในช่วงนี้ แต่นายเอริค โรเซนเกรน ประธานเฟดสาขาบอสตัน ก็แสดงความเห็นแบบสายพิราบออกมา โดยนายโรเซนเกรนแสดงความพึงพอใจต่อสัญญาณในทางบวกในภาคที่อยู่อาศัย แต่เขากล่าวว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเชิงรุกของเฟดยังคงเป็นสิ่งที่มีความเหมาะสม
ทางด้านนางซาราห์ บลูม รัสกิน สมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการของเฟด ไม่ได้แสดงความเห็นที่สนับสนุนฝ่ายใดอย่างชัดเจน โดยนางรัสกินกล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินผลกระทบจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟด
นางรัสกินกล่าวว่า "เศรษฐกิจสหรัฐยังคงฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติการเงินและภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง แต่ฟื้นตัวขึ้นในอัตราที่เชื่องช้าจนน่าผิดหวัง"
"การฟื้นตัวดูเหมือนจะทวีความเร็วขึ้นในบางภาคเศรษฐกิจ และเห็นได้ชัดที่สุดในภาคที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี นโยบายการคลังของรัฐบาลกลางสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จำกัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ"
รัฐบาลกลางสหรัฐปรับขึ้นภาษีในเดือนม.ค. และปรับลดงบประมาณครั้งใหญ่ในเดือนมี.ค. โดยเป็นที่คาดกันว่า การคุมเข้มทางการคลังในสหรัฐจะยังคงเป็นปัจจัยที่จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป
ทางด้านนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า เฟดควรจะเริ่มต้นชะลอมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ในฤดูร้อนปีนี้และยุติการเข้าซื้อตราสารหนี้ในช่วงปลายปีนี้ อย่างไรก็ดี เขาต้องการให้ เฟดเริ่มต้นด้วยการชะลอการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ไม่ใช่ MBS
นายวิลเลียมส์กล่าวว่า "ตลาดแรงงานจำเป็นต้องปรับตัวขึ้นมากกว่านี้ ถึงจะสามารถทำให้ผมเชื่อมั่นได้ว่า ตลาดแรงงานผ่านบททดสอบในการ 'ปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก' เพื่อที่เฟดจะได้ยุติการเข้าซื้อสินทรัพย์"
ก่อนหน้านี้ นายวิลเลียมส์เคยกล่าวย้ำมานานหลายเดือนว่า เฟดอาจจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไปในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เมื่อวานนี้ และเขากล่าวว่าความเปลี่ยนแปลงของเขาในครั้งนี้สะท้อนความเชื่อมั่นของเขาที่ว่า ตลาดแรงงานจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายวิลเลียมส์เชื่อว่า มาตรการของเฟดในการเข้าซื้อ MBS เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าเขาจะสนับสนุนให้เฟดเข้าซื้อ MBS ต่อไป ถึงแม้เฟดตัดสินใจปรับลดขนาดมาตรการโดยรวมลง
ปัจจุบันนี้เฟดดำเนินมาตรการ QE3 ด้วยการเข้าซื้อ MBS ในอัตรา 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในอัตรา 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ 2.5 % ต่อปีในไตรมาสแรก หลังจากอยู่ในภาวะซบเซาในช่วงปลายปี 2012 ขณะที่อัตราการว่างงานร่วงลงสู่ 7.5 % ในเดือนเม.ย. หลังจากที่เคยขึ้นไปแตะจุด สูงสุดที่ 10 % ในเดือนต.ค. 2009
นางรัสกินและนายโรเซนเกรนเป็นสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงใน FOMC ในปีนี้ ส่วนนายฟิชเชอร์, นายพลอสเซอร์, นายแลคเกอร์ และนายวิลเลียมส์ไม่มีสิทธิออกเสียงใน FOMC ในปีนี้
(ข่าวจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak