ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ที่ระดับเพียงครึ่งหนึ่งของเป้าหมายที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ตั้งไว้ที่ 2.0 % FEDก็เผชิญกับบททดสอบครั้งใหญ่ และผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า เฟดอาจมีความจำเป็น ต้องเพิ่มวงเงินในมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ในอนาคตหรือไม่
เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงสู่ระดับใกล้ 0 % ในเดือน ธ.ค.2008 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เฟดก็ได้เข้าซื้อตราสารหนี้ไปแล้วกว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สหรัฐ และเพื่อทำให้อัตราการว่างงานลดลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ถึงแม้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนนคลายเชิงปริมาณ (QE) ไปแล้ว แต่มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ซึ่งได้แก่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ก็ดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีครึ่งที่ 1.0 % ในขณะนี้ เฟดคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายต่อไปเป็นเวลานานหลายปี
นายจัสติน วอลเฟอร์ส อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวว่า "เฟดระบุว่า เฟดจะกำหนดนโยบายการเงินในแบบที่ช่วยรับประกันว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.0 % ในอนาคต"
"ขณะนี้เฟดคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ต่ำกว่าระดับดังกล่าว และอัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ดังนั้นกรอบการทำงานของเฟดจึงบ่งชี้ว่า เฟดจำเป็นต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น" เฟดอาจทำสิ่งนี้ ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงร่วงลงต่อไป
นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวในเดือนเม.ย.ว่า "ผมเต็มใจที่จะปกป้องอัตราเงินเฟ้อไม่ให้อยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งถ้าหากเราบอกว่าเป้าหมายอยู่ที่ 2.0 % อัตราเงินเฟ้อก็ควรจะอยู่ที่ 2.0 %"
อย่างไรก็ดี ขณะนี้เจ้าหน้าที่เฟดไม่ได้มองว่า การร่วงลงของอัตราเงินเฟ้อถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภัยคุกคามจากภาวะเงินฝืด
ในการประชุมเฟดประจำวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.นั้น เฟดตัดสินใจ ที่จะเข้าซื้อตราสารหนี้ในอัตรา 8.5 หมื่ืนล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป และแถลงการณ์เฟดก็ไม่ได้บ่งชี้ว่าเฟดกำลังตื่นตระหนกกับภาวะเงินฝืด
เฟดระบุในแถลงการณ์ครั้งนั้นว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายอยู่บ้าง ซึ่งเป็นวลีที่เฟดใช้มาตั้งแต่เดือนธ.ค.2012
เจ้าหน้าที่เฟดมีความพึงพอใจที่ตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ขณะที่ส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และพันธบัตรที่ได้รับการคุ้มครองจากเงินเฟ้อ ซึ่งถือเป็นมาตรวัดว่านักลงทุนคาดการณ์ตัวเลขเงิน
เฟ้อไว้ในระดับใด ได้ปรับตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ และลดลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง 2012 แต่ยังคงอยู่สูงกว่าระดับต่ำสุดของปี 2012
เฟดสาขาแอตแลนตาได้จัดทำมาตรวัดความเป็นไปได้ในการเกิดภาวะเงินฝืดรายวันด้วย โดยใช้ข้อมูลจากตลาดตราสารหนี้ในการจัดทำตัวเลขนี้ และตัวเลขดังกล่าวก็อยู่ที่ระดับ 0 ในปัจจุบัน โดยอยู่ที่ระดับนี้นับตั้งแต่เดือนก.พ.เป็นต้นมา
ผู้กำหนดนโยบายของเฟดอาจจะไม่ต้องกังวลกับภาวะเงินฝืดในช่วงนี้ เพราะส่วนต่างระหว่างดัชนี PCE และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) กำลัง ขยายกว้างมากยิ่งขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี CPI อยู่ในระดับที่สูงกว่าดัชนี PCE เป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า การร่วงลงของดัชนี PCE อาจจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราวเท่านั้น และดัชนี PCE อาจจะปรับสูงขึ้นได้ ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตเร็วขึ้นตามความคาดหมายในช่วงปลายปี 2013
ดัชนี PCE อยู่ที่ 1.0 % ต่อปีในเดือนมี.ค. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานอยู่ที่ 1.1 % อย่างไรก็ดี ดัชนี CPI อยู่ที่ 1.5 % ในเดือนมี.ค. และดัชนี CPI พื้นฐานอยู่ที่ 1.9 % ส่วนต่างระหว่างดัชนี PCE พื้นฐานกับดัชนี CPI พื้นฐานในเดือนมี.ค. ถือว่าอยู่ในระดับที่กว้างที่สุดในรอบ 10 ปี
นายทิม ดุย อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยโอเรกอน กล่าวว่า "เฟดอาจจะมองว่า การที่มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อสองแบบนี้ปรับตัวแตกต่างกัน ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะกังวลกับภาวะเงินฝืด" และเขากล่าวเสริมว่า "ถ้าหากดัชนี CPI พื้นฐานมีแนวโน้มปรับลดลงด้วยเช่นกัน เมื่อนั้นเฟดถึงจะมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นที่จะสรุปว่า ควรจะมีการปรับลดการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อลงด้วย"
ความแตกต่างระหว่างดัชนี PCE กับ CPI เกิดจากแนวโน้มราคาบ้านและอาหาร และจากวิธีการจัดทำดัชนีที่แตกต่างกัน
ดัชนี CPI คำนวณจากตะกร้ารายการสินค้าที่คงที่ ในขณะที่ดัชนี PCE ปรับตัวตามความเป็นไปได้ที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าประเภทหนึ่งเพื่อแทนที่สินค้าอีกประเภทหนึ่งที่มีราคาแพงขึ้น เช่น หันไปซื้อกาแฟแทนเมื่อชามีราคาแพงขึ้น
ดัชนีสองประเภทนี้กำหนดความหมายของคำว่า "อาหาร" แตกต่างกันด้วย โดยดัชนี PCE พื้นฐานครอบคลุมราคาบริการด้านอาหารเอาไว้ด้วย ดังนั้นการชะลอตัวลงของราคาบริการด้าน อาหารในระยะนี้ จึงส่งผลกระทบต่อดัชนี PCE พื้นฐาน แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อดัชนี CPI พื้นฐาน
ราคาที่อยู่อาศัยส่งผลกระทบต่อดัชนี CPI มากกว่าดัชนี PCE โดยในช่วงที่ราคาบ้านดิ่งลงอย่างรุนแรงระหว่างปี 2006-2012 ดัชนี CPI ก็อยู่ในระดับต่ำกว่าดัชนี PCE แต่ขณะนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
ก่อนหน้านี้เคยมีสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงปลายไตรมาสแรก และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี ร่วงลงจากระดับสูงกว่า 2.0 % ในเดือนมี.ค. สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 1.63 % ในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับเศรษฐกิจสหรัฐ
อย่างไรก็ดี สหรัฐรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า การจ้างงานใน สหรัฐเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินคาด ถึงแม้รัฐบาลกลางสหรัฐคุมเข้ม นโยบายการคลัง และปัจจัยนี้ก็ช่วยลดความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืด และหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภท 10 ปีให้ขึ้นไปแตะ 1.78 %
นายจิม โอ'ซุลลิแวน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของบริษัท ไฮ ฟรีเควนซี อิโคโนมิคส์กล่าวว่า "ผมมองไม่เห็นภัยคุกคามด้านเงินฝืดปรากฏอยู่ในตัวเลขอื่นๆ เช่น ต้นทุนแรงงาน หรือตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้น้อยที่สิ่งนี้จะก่อให้เกิดความกังวล"
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตเร็วขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ เมื่อผลกระทบจากมาตรการรัดเข็มขัดในสหรัฐจางหายไป และเมื่อถึงเวลานั้น ดัชนี PCE ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นตามไปด้วย
(ข้อมูลจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงสู่ระดับใกล้ 0 % ในเดือน ธ.ค.2008 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เฟดก็ได้เข้าซื้อตราสารหนี้ไปแล้วกว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สหรัฐ และเพื่อทำให้อัตราการว่างงานลดลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ถึงแม้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนนคลายเชิงปริมาณ (QE) ไปแล้ว แต่มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ซึ่งได้แก่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ก็ดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีครึ่งที่ 1.0 % ในขณะนี้ เฟดคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายต่อไปเป็นเวลานานหลายปี
นายจัสติน วอลเฟอร์ส อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวว่า "เฟดระบุว่า เฟดจะกำหนดนโยบายการเงินในแบบที่ช่วยรับประกันว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.0 % ในอนาคต"
"ขณะนี้เฟดคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ต่ำกว่าระดับดังกล่าว และอัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ดังนั้นกรอบการทำงานของเฟดจึงบ่งชี้ว่า เฟดจำเป็นต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น" เฟดอาจทำสิ่งนี้ ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงร่วงลงต่อไป
นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวในเดือนเม.ย.ว่า "ผมเต็มใจที่จะปกป้องอัตราเงินเฟ้อไม่ให้อยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งถ้าหากเราบอกว่าเป้าหมายอยู่ที่ 2.0 % อัตราเงินเฟ้อก็ควรจะอยู่ที่ 2.0 %"
อย่างไรก็ดี ขณะนี้เจ้าหน้าที่เฟดไม่ได้มองว่า การร่วงลงของอัตราเงินเฟ้อถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภัยคุกคามจากภาวะเงินฝืด
ในการประชุมเฟดประจำวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.นั้น เฟดตัดสินใจ ที่จะเข้าซื้อตราสารหนี้ในอัตรา 8.5 หมื่ืนล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป และแถลงการณ์เฟดก็ไม่ได้บ่งชี้ว่าเฟดกำลังตื่นตระหนกกับภาวะเงินฝืด
เฟดระบุในแถลงการณ์ครั้งนั้นว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายอยู่บ้าง ซึ่งเป็นวลีที่เฟดใช้มาตั้งแต่เดือนธ.ค.2012
เจ้าหน้าที่เฟดมีความพึงพอใจที่ตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ขณะที่ส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และพันธบัตรที่ได้รับการคุ้มครองจากเงินเฟ้อ ซึ่งถือเป็นมาตรวัดว่านักลงทุนคาดการณ์ตัวเลขเงิน
เฟ้อไว้ในระดับใด ได้ปรับตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ และลดลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง 2012 แต่ยังคงอยู่สูงกว่าระดับต่ำสุดของปี 2012
เฟดสาขาแอตแลนตาได้จัดทำมาตรวัดความเป็นไปได้ในการเกิดภาวะเงินฝืดรายวันด้วย โดยใช้ข้อมูลจากตลาดตราสารหนี้ในการจัดทำตัวเลขนี้ และตัวเลขดังกล่าวก็อยู่ที่ระดับ 0 ในปัจจุบัน โดยอยู่ที่ระดับนี้นับตั้งแต่เดือนก.พ.เป็นต้นมา
ผู้กำหนดนโยบายของเฟดอาจจะไม่ต้องกังวลกับภาวะเงินฝืดในช่วงนี้ เพราะส่วนต่างระหว่างดัชนี PCE และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) กำลัง ขยายกว้างมากยิ่งขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี CPI อยู่ในระดับที่สูงกว่าดัชนี PCE เป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า การร่วงลงของดัชนี PCE อาจจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราวเท่านั้น และดัชนี PCE อาจจะปรับสูงขึ้นได้ ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตเร็วขึ้นตามความคาดหมายในช่วงปลายปี 2013
ดัชนี PCE อยู่ที่ 1.0 % ต่อปีในเดือนมี.ค. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานอยู่ที่ 1.1 % อย่างไรก็ดี ดัชนี CPI อยู่ที่ 1.5 % ในเดือนมี.ค. และดัชนี CPI พื้นฐานอยู่ที่ 1.9 % ส่วนต่างระหว่างดัชนี PCE พื้นฐานกับดัชนี CPI พื้นฐานในเดือนมี.ค. ถือว่าอยู่ในระดับที่กว้างที่สุดในรอบ 10 ปี
นายทิม ดุย อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยโอเรกอน กล่าวว่า "เฟดอาจจะมองว่า การที่มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อสองแบบนี้ปรับตัวแตกต่างกัน ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะกังวลกับภาวะเงินฝืด" และเขากล่าวเสริมว่า "ถ้าหากดัชนี CPI พื้นฐานมีแนวโน้มปรับลดลงด้วยเช่นกัน เมื่อนั้นเฟดถึงจะมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นที่จะสรุปว่า ควรจะมีการปรับลดการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อลงด้วย"
ความแตกต่างระหว่างดัชนี PCE กับ CPI เกิดจากแนวโน้มราคาบ้านและอาหาร และจากวิธีการจัดทำดัชนีที่แตกต่างกัน
ดัชนี CPI คำนวณจากตะกร้ารายการสินค้าที่คงที่ ในขณะที่ดัชนี PCE ปรับตัวตามความเป็นไปได้ที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าประเภทหนึ่งเพื่อแทนที่สินค้าอีกประเภทหนึ่งที่มีราคาแพงขึ้น เช่น หันไปซื้อกาแฟแทนเมื่อชามีราคาแพงขึ้น
ดัชนีสองประเภทนี้กำหนดความหมายของคำว่า "อาหาร" แตกต่างกันด้วย โดยดัชนี PCE พื้นฐานครอบคลุมราคาบริการด้านอาหารเอาไว้ด้วย ดังนั้นการชะลอตัวลงของราคาบริการด้าน อาหารในระยะนี้ จึงส่งผลกระทบต่อดัชนี PCE พื้นฐาน แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อดัชนี CPI พื้นฐาน
ราคาที่อยู่อาศัยส่งผลกระทบต่อดัชนี CPI มากกว่าดัชนี PCE โดยในช่วงที่ราคาบ้านดิ่งลงอย่างรุนแรงระหว่างปี 2006-2012 ดัชนี CPI ก็อยู่ในระดับต่ำกว่าดัชนี PCE แต่ขณะนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
ก่อนหน้านี้เคยมีสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงปลายไตรมาสแรก และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี ร่วงลงจากระดับสูงกว่า 2.0 % ในเดือนมี.ค. สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 1.63 % ในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับเศรษฐกิจสหรัฐ
อย่างไรก็ดี สหรัฐรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า การจ้างงานใน สหรัฐเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินคาด ถึงแม้รัฐบาลกลางสหรัฐคุมเข้ม นโยบายการคลัง และปัจจัยนี้ก็ช่วยลดความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืด และหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภท 10 ปีให้ขึ้นไปแตะ 1.78 %
นายจิม โอ'ซุลลิแวน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของบริษัท ไฮ ฟรีเควนซี อิโคโนมิคส์กล่าวว่า "ผมมองไม่เห็นภัยคุกคามด้านเงินฝืดปรากฏอยู่ในตัวเลขอื่นๆ เช่น ต้นทุนแรงงาน หรือตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้น้อยที่สิ่งนี้จะก่อให้เกิดความกังวล"
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตเร็วขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ เมื่อผลกระทบจากมาตรการรัดเข็มขัดในสหรัฐจางหายไป และเมื่อถึงเวลานั้น ดัชนี PCE ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นตามไปด้วย
(ข้อมูลจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak