จำนวนชาวสหรัฐที่ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3ติดต่อกันในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. และสิ่งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐกำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ตัวเลขเศรษฐกิจอีกตัวที่ออกมาเมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันเบนซินส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ก.พ. แต่ราคาผู้ผลิตในวงกว้างไม่ได้พุ่งขึ้นมากนัก และสิ่งนี้ส่งผลให้ธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษต่อไป
ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, ตัวเลขยอดค้าปลีก, ตัวเลขภาคการผลิต และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาในระยะนี้ต่างก็บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบเพียงในวงจำกัดจากการขึ้นภาษี
นายแดเนียล ซิลเวอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกน กล่าวว่า"ข้อมูลในตลาดแรงงานที่ออกมาในระยะนี้บ่งชี้ว่า การจ้างงานเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ ถึงแม้มีการคุมเข้มทางการคลังใน
หลายรูปแบบก็ตาม"
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 10,000 ราย สู่ 332,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. โดยก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดย รอยเตอร์คาดไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอาจอยู่ที่ 350,000 ราย
ค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงสู่ 346,750 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีพื้นฐานแข็งแกร่งขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ ถึงแม้ตัวเลขที่แข็งแกร่งในตลาดแรงงานอาจกระตุ้นการหารือในเฟดในเรื่องอนาคตของนโยบายการเงิน
เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 19-20 มี.ค.เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดยตลาดคาดว่าเฟดจะยังคงเข้าซื้อตราสารหนี้ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป โดยเฟดประกาศว่าเฟดจะเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไปจนกว่าแนวโน้มในตลาดแรงงานจะปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ถึงแม้การจ้างงานขยายตัวในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่สิ่งนี้ก็เป็นผลมาจากการชะลอการปลดพนักงานออก มากกว่าจะเกิดจากการว่าจ้างพนักงานใหม่ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น236,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. แต่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขนี้จะยังไม่สามารถทำให้เฟดปรับเปลี่ยนจุดยืนได้
นายโอเมร์ ชาริฟ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารอาร์บีเอส กล่าวว่า "เฟดต้องการเห็นพื้นฐานของตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นในวงกว้าง และเราก็จำเป็นต้องเห็นอัตราการจ้างงานทวีความเร็วขึ้น เพื่อให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวต่อไป"
รายงานของรัฐบาลสหรัฐที่ออกมาในวันอังคารแสดงให้เห็นว่า การปลดพนักงานออกในเดือนม.ค.ลดลงไปแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2000ขณะที่อัตราการจ้างงานใหม่ทรงตัว
นักลงทุนแสดงความพึงพอใจต่อตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวานนี้ในแดนบวกเป็นวันที่ 10 ติดต่อกัน และปิดตลาดที่สถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 14,539.14 เมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐร่วงลง และดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินอ่อนตัวลงจากระดับสูงสุดรอบ 7 เดือน
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)ทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 0.2 %ในเดือนม.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2 % ในเดือนม.ค.โดยดัชนี PPI ทั้งสองตัวนี้อยู่ในระดับที่ตรงตามความคาดหมาย
รายงานตัวเลขในครั้งนี้บ่งชี้ว่านักลงทุนแทบไม่ต้องกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ เพราะราคาค้าส่งอาหารร่วงลง 0.5 % ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 0.7 % ในเดือนม.ค. ส่วนราคาค้าส่งรถยนต์ขยับขึ้นเพียง0.3 % ในเดือนก.พ. หลังจากร่วงลง 0.8 % ในเดือนม.ค.
อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 7.2 % ในเดือนก.พ.และสิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนดัชนี PPI ทั่วไป
สำหรับดัชนี PPI แบบเทียบรายปีนั้น ราคาผู้ผลิต หรือราคาหน้าฟาร์ม, โรงงาน และโรงงานแปรรูปได้ปรับขึ้น 1.7 % ในเดือนก.พ.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. 2012 โดยอัตรา 1.7 % นี้ถือเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2012 และปรับขึ้นจากระดับ 1.4 %ต่อปีในเดือนม.ค.
ดัชนี PPI พื้นฐานปรับตััวขึ้น 1.7 % ในเดือนก.พ.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. 2012 ซึ่งถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2011
ถึงแม้ราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้นในเดือนก.พ. แต่ราคาน้ำมันเบนซินก็ร่วงลงจากระดับสูงในระยะนี้ และปัจจัยนี้อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ และช่วยส่งเสริมกำลังซื้อของผู้บริโภค
นายไนเจล กอลท์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของบริษัท ไอเอชเอส โกลบัล อินไซท์กล่าวว่า "สถานการณ์ด้านเงินเฟ้อยังคงสงบเงียบ เพราะราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินร่วงลงมาแล้วนับตั้งแต่เดือน
ก.พ. ดังนั้นเราจึงคาดว่าดัชนี PPI พื้นฐานจะดิ่งลงอย่างรุนแรงในเดือนหน้า"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ตัวเลขเศรษฐกิจอีกตัวที่ออกมาเมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันเบนซินส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ก.พ. แต่ราคาผู้ผลิตในวงกว้างไม่ได้พุ่งขึ้นมากนัก และสิ่งนี้ส่งผลให้ธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษต่อไป
ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, ตัวเลขยอดค้าปลีก, ตัวเลขภาคการผลิต และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาในระยะนี้ต่างก็บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบเพียงในวงจำกัดจากการขึ้นภาษี
นายแดเนียล ซิลเวอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกน กล่าวว่า"ข้อมูลในตลาดแรงงานที่ออกมาในระยะนี้บ่งชี้ว่า การจ้างงานเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ ถึงแม้มีการคุมเข้มทางการคลังใน
หลายรูปแบบก็ตาม"
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 10,000 ราย สู่ 332,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. โดยก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดย รอยเตอร์คาดไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอาจอยู่ที่ 350,000 ราย
ค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงสู่ 346,750 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีพื้นฐานแข็งแกร่งขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ ถึงแม้ตัวเลขที่แข็งแกร่งในตลาดแรงงานอาจกระตุ้นการหารือในเฟดในเรื่องอนาคตของนโยบายการเงิน
เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 19-20 มี.ค.เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดยตลาดคาดว่าเฟดจะยังคงเข้าซื้อตราสารหนี้ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป โดยเฟดประกาศว่าเฟดจะเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไปจนกว่าแนวโน้มในตลาดแรงงานจะปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ถึงแม้การจ้างงานขยายตัวในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่สิ่งนี้ก็เป็นผลมาจากการชะลอการปลดพนักงานออก มากกว่าจะเกิดจากการว่าจ้างพนักงานใหม่ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น236,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. แต่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขนี้จะยังไม่สามารถทำให้เฟดปรับเปลี่ยนจุดยืนได้
นายโอเมร์ ชาริฟ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารอาร์บีเอส กล่าวว่า "เฟดต้องการเห็นพื้นฐานของตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นในวงกว้าง และเราก็จำเป็นต้องเห็นอัตราการจ้างงานทวีความเร็วขึ้น เพื่อให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวต่อไป"
รายงานของรัฐบาลสหรัฐที่ออกมาในวันอังคารแสดงให้เห็นว่า การปลดพนักงานออกในเดือนม.ค.ลดลงไปแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2000ขณะที่อัตราการจ้างงานใหม่ทรงตัว
นักลงทุนแสดงความพึงพอใจต่อตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวานนี้ในแดนบวกเป็นวันที่ 10 ติดต่อกัน และปิดตลาดที่สถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 14,539.14 เมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐร่วงลง และดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินอ่อนตัวลงจากระดับสูงสุดรอบ 7 เดือน
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)ทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 0.2 %ในเดือนม.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2 % ในเดือนม.ค.โดยดัชนี PPI ทั้งสองตัวนี้อยู่ในระดับที่ตรงตามความคาดหมาย
รายงานตัวเลขในครั้งนี้บ่งชี้ว่านักลงทุนแทบไม่ต้องกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ เพราะราคาค้าส่งอาหารร่วงลง 0.5 % ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 0.7 % ในเดือนม.ค. ส่วนราคาค้าส่งรถยนต์ขยับขึ้นเพียง0.3 % ในเดือนก.พ. หลังจากร่วงลง 0.8 % ในเดือนม.ค.
อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 7.2 % ในเดือนก.พ.และสิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนดัชนี PPI ทั่วไป
สำหรับดัชนี PPI แบบเทียบรายปีนั้น ราคาผู้ผลิต หรือราคาหน้าฟาร์ม, โรงงาน และโรงงานแปรรูปได้ปรับขึ้น 1.7 % ในเดือนก.พ.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. 2012 โดยอัตรา 1.7 % นี้ถือเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2012 และปรับขึ้นจากระดับ 1.4 %ต่อปีในเดือนม.ค.
ดัชนี PPI พื้นฐานปรับตััวขึ้น 1.7 % ในเดือนก.พ.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. 2012 ซึ่งถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2011
ถึงแม้ราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้นในเดือนก.พ. แต่ราคาน้ำมันเบนซินก็ร่วงลงจากระดับสูงในระยะนี้ และปัจจัยนี้อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ และช่วยส่งเสริมกำลังซื้อของผู้บริโภค
นายไนเจล กอลท์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของบริษัท ไอเอชเอส โกลบัล อินไซท์กล่าวว่า "สถานการณ์ด้านเงินเฟ้อยังคงสงบเงียบ เพราะราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินร่วงลงมาแล้วนับตั้งแต่เดือน
ก.พ. ดังนั้นเราจึงคาดว่าดัชนี PPI พื้นฐานจะดิ่งลงอย่างรุนแรงในเดือนหน้า"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak