“กรมการค้าภายใน” เตรียมเสนอบอร์ดแข่งขันไฟเขียวเกณฑ์อำนาจเหนือตลาดและเกณฑ์ควบรวมกิจการ หวังคุมธุรกิจใหญ่ ไม่ให้ทำธุรกิจเอาเปรียบรายเล็ก
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด และยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เพื่อป้องกันธุรกิจรายใหญ่ผูกขาด จนทำให้ธุรกิจรายเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีธุรกิจจากอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น จึงต้องมีกฎ กติกาในการป้องกันการผูกขาด
โดยการแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด ได้กำหนดเป็น 2 เกณฑ์ คือ ธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด 50% ขึ้นไป และมียอดขายปีที่ผ่านมา 500 ล้านบาทขึ้นไปจะถือว่ามีอำนาจเหนือตลาด และอีกเกณฑ์ คือ ธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่มีส่วนแบ่ง 30% ขึ้นไป พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น มีการจำกัดการแข่งขันหรือไม่ มีอุปสรรคในการเข้าตลาดหรือไม่ ซึ่งหากธุรกิจใดที่มีส่วนแบ่ง 30% ขึ้นไป และจำกัดการแข่งขันของคู่แข่ง หรือทำให้คู่แข่งเกิดอุปสรรคในการเข้าตลาด ก็จะถือว่าธุรกิจนั้นมีอำนาจเหนือตลาด ทั้งนี้ยังกำหนดให้ธุรกิจ 3 รายแรกมีส่วนแบ่งทางการตลาด 75% ขึ้นไป และมียอดขาย 500 ล้านบาทขึ้นไปจะถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดด้วย
“เมื่อมีผลบังคับใช้ ผู้ที่เข้าเกณฑ์มีอำนาจเหนือตลาดจะต้องแจ้งให้กรมฯ ทราบ และต้องไม่ใช้ความเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดทำลายธุรกิจของธุรกิจรายเล็กๆ ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะถือว่าธุรกิจรายใหญ่มีความผิดตามกฎหมายแข่งขันทางการค้า และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายสันติชัยกล่าว
ส่วนการยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ได้กำหนดเป็นเกณฑ์ที่จะใช้กับธุรกิจทั่วไป ส่วนธุรกิจอื่นๆ ที่มีหน่วยงาน หรือกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะ เช่น ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการประกันภัย หรือธุรกิจโทรคมนาคม ไม่ต้องอยู่ภายใต้เกณฑ์ควบรวมกิจการนี้
โดยเกณฑ์ที่จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันฯ พิจารณา ได้แก่ 1. ธุรกิจ 2 รายที่ต้องการควบรวมกิจการ และหลังจากควบรวมแล้วมีส่วนแบ่งทางการตลาด 30% ขึ้นไป และมียอดขาย 2,000 ล้านบาทขึ้นไป จะเข้าเกณฑ์การควบรวมกิจการ และต้องแจ้งต่อคณะกรรมการฯ และ 2. บริษัทที่ต้องการซื้อหุ้นบริษัทอื่น กรณีบริษัทจำกัดมหาชนกำหนดไว้ที่ 25% และบริษัทจำกัด 50% โดยหลังจากซื้อหุ้นแล้วทำให้มีส่วนแบ่งตลาด 30% ขึ้นไป และมียอดขายเกิน 2,000 ล้านบาทขึ้นไปก็ถือว่าเข้าเกณฑ์จะต้องแจ้ง ทั้งนี้ กรณีการควบรวมของธุรกิจรายเล็ก หากไม่เข้าตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็ไม่ต้องแจ้ง
สำหรับเกณฑ์อำนาจเหนือตลาดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 1. กำหนดส่วนแบ่งตลาด 50% ขึ้นไป และมียอดขายปีที่ผ่านมา 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 2. ธุรกิจ 3 รายแรกที่มีส่วนแบ่งตลาด 75% ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โดยสาเหตุที่ต้องเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 30% ขึ้นไป และลดวงเงินยอดขายลงเหลือ 500 ล้านบาทขึ้นไป เป็นเพราะต้องการดูแลธุรกิจต่างๆ ให้ได้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งรายใหญ่ และรายกลาง จากเดิมที่ดูแลได้เฉพาะรายใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เข้าข่ายมีอำนาจเหนือตลาด เช่น ปูนซีเมนต์ ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ เหล้า-เบียร์ อาหารสัตว์ เป็นต้น
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด และยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เพื่อป้องกันธุรกิจรายใหญ่ผูกขาด จนทำให้ธุรกิจรายเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีธุรกิจจากอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น จึงต้องมีกฎ กติกาในการป้องกันการผูกขาด
โดยการแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด ได้กำหนดเป็น 2 เกณฑ์ คือ ธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด 50% ขึ้นไป และมียอดขายปีที่ผ่านมา 500 ล้านบาทขึ้นไปจะถือว่ามีอำนาจเหนือตลาด และอีกเกณฑ์ คือ ธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่มีส่วนแบ่ง 30% ขึ้นไป พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น มีการจำกัดการแข่งขันหรือไม่ มีอุปสรรคในการเข้าตลาดหรือไม่ ซึ่งหากธุรกิจใดที่มีส่วนแบ่ง 30% ขึ้นไป และจำกัดการแข่งขันของคู่แข่ง หรือทำให้คู่แข่งเกิดอุปสรรคในการเข้าตลาด ก็จะถือว่าธุรกิจนั้นมีอำนาจเหนือตลาด ทั้งนี้ยังกำหนดให้ธุรกิจ 3 รายแรกมีส่วนแบ่งทางการตลาด 75% ขึ้นไป และมียอดขาย 500 ล้านบาทขึ้นไปจะถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดด้วย
“เมื่อมีผลบังคับใช้ ผู้ที่เข้าเกณฑ์มีอำนาจเหนือตลาดจะต้องแจ้งให้กรมฯ ทราบ และต้องไม่ใช้ความเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดทำลายธุรกิจของธุรกิจรายเล็กๆ ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะถือว่าธุรกิจรายใหญ่มีความผิดตามกฎหมายแข่งขันทางการค้า และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายสันติชัยกล่าว
ส่วนการยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ได้กำหนดเป็นเกณฑ์ที่จะใช้กับธุรกิจทั่วไป ส่วนธุรกิจอื่นๆ ที่มีหน่วยงาน หรือกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะ เช่น ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการประกันภัย หรือธุรกิจโทรคมนาคม ไม่ต้องอยู่ภายใต้เกณฑ์ควบรวมกิจการนี้
โดยเกณฑ์ที่จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันฯ พิจารณา ได้แก่ 1. ธุรกิจ 2 รายที่ต้องการควบรวมกิจการ และหลังจากควบรวมแล้วมีส่วนแบ่งทางการตลาด 30% ขึ้นไป และมียอดขาย 2,000 ล้านบาทขึ้นไป จะเข้าเกณฑ์การควบรวมกิจการ และต้องแจ้งต่อคณะกรรมการฯ และ 2. บริษัทที่ต้องการซื้อหุ้นบริษัทอื่น กรณีบริษัทจำกัดมหาชนกำหนดไว้ที่ 25% และบริษัทจำกัด 50% โดยหลังจากซื้อหุ้นแล้วทำให้มีส่วนแบ่งตลาด 30% ขึ้นไป และมียอดขายเกิน 2,000 ล้านบาทขึ้นไปก็ถือว่าเข้าเกณฑ์จะต้องแจ้ง ทั้งนี้ กรณีการควบรวมของธุรกิจรายเล็ก หากไม่เข้าตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็ไม่ต้องแจ้ง
สำหรับเกณฑ์อำนาจเหนือตลาดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 1. กำหนดส่วนแบ่งตลาด 50% ขึ้นไป และมียอดขายปีที่ผ่านมา 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 2. ธุรกิจ 3 รายแรกที่มีส่วนแบ่งตลาด 75% ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โดยสาเหตุที่ต้องเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 30% ขึ้นไป และลดวงเงินยอดขายลงเหลือ 500 ล้านบาทขึ้นไป เป็นเพราะต้องการดูแลธุรกิจต่างๆ ให้ได้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งรายใหญ่ และรายกลาง จากเดิมที่ดูแลได้เฉพาะรายใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เข้าข่ายมีอำนาจเหนือตลาด เช่น ปูนซีเมนต์ ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ เหล้า-เบียร์ อาหารสัตว์ เป็นต้น