“พาณิชย์” เดินหน้าจัดทำเกณฑ์ควบรวมกิจการ หวั่นเปิดเสรี AEC เกิดการควบรวมกิจการมากขึ้นจนอาจทำให้ธุรกิจเกิดการผูกขาดตลาดและธุรกิจไทยเสียหาย ขีดเส้นภายใน 3 เดือนต้องเสร็จ
นายสันติชัย สารถวัลย์แพทย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงการจัดทำเกณฑ์ควบรวมกิจการภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ว่า คณะอนุกรรมการจัดทำเกณฑ์การควบรวมกิจการที่มีตนเป็นประธาน จะเชิญประชุมเพื่อพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์การควบรวมกิจการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนตามที่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าได้กำหนดไว้ เพราะต้องการให้มีผลบังคับใช้ก่อนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีการเปิดเสรี และธุรกิจของอาเซียนอาจควบรวมกันมากขึ้น รวมถึงอาจมีธุรกิจจากประเทศนอกอาเซียนเข้ามาควบรวมกิจการด้วย และอาจก่อให้เกิดการผูกขาดตลาดจนธุรกิจของไทยเสียหาย
“สิ่งที่จะต้องกำหนดเป็นเกณฑ์ออกมาให้ได้มีทั้งส่วนแบ่งตลาด และมูลค่ายอดขายภายหลังการควบรวมทรัพย์สินภายหลังการควบรวม เป็นต้น ซึ่งต้องแยกเป็นเกณฑ์เฉพาะของธุรกิจทั่วไป และธุรกิจการเงิน เพราะมูลค่ายอดขายจะไม่เท่ากันจะมาทำเป็นเกณฑ์เดียวกันไม่ได้ โดยหากจัดทำเสร็จสิ้นแล้วจะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าพิจารณา หากเห็นชอบจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ทันที” นายสันติชัยกล่าว
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ จะนำผลการศึกษาการจัดทำเกณฑ์ฯ ที่ได้ศึกษามาแล้ว 3 ครั้งตั้งแต่ปี 2543 มาพิจารณา ซึ่งอาจต้องปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ในบางประเด็น เพราะปัจจัยแวดล้อมในการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยเกณฑ์ดังกล่าวที่เคยศึกษาไว้ในปี 2543 กำหนดให้ธุรกิจที่ได้ควบรวมกิจการกันแล้ว หากมีส่วนแบ่งตลาด 1 ใน 3 ของตลาดรวม มีมูลค่ายอดขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีทรัพย์สินเกิน 25% มีการซื้อหุ้นเกิน 25% จะต้องมาขออนุญาตการควบรวมจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าก่อน
ส่วนผลการศึกษาในปี 2546 ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่ โดยแยกเกณฑ์การควบรวมออกเป็น 2 แบบสำหรับธุรกิจทั่วไป และธุรกิจการเงิน โดยธุรกิจทั่วไปหากควบรวมแล้วมีสัดส่วน 1 ใน 3 มีมูลค่ายอดขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไปต้องมาขออนุญาต ส่วนธุรกิจการเงิน หากควบรวมแล้วมีสัดส่วน 1 ใน 3 มีมูลค่ายอดขายตั้งแต่ 100,000 ล้านบาทขึ้นไปต้องมาขออนุญาต หากไม่มาขออนุญาตก่อนจะไม่สามารถควบรวมได้ แต่หากควบรวมโดยไม่ได้ขออนุญาต แล้วทำธุรกิจแบบผูกขาดตลาดจนมีผลให้ธุรกิจคู่แข่งเสียหาย จะมีความผิดตามมาตรา 26 พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำและปรับ กรณีทำผิดซ้ำต้องระวางโทษทวีคูณ
นอกจากนี้ กรมฯ ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าในประเด็นต่างๆ เพื่อทำให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น เกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาด จำเป็นต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าการมีอำนาจเหนือตลาดจะต้องรวมถึงบริษัทแม่ที่แตกออกเป็นบริษัทลูกหลายๆ บริษัทด้วย เพราะหากกำหนดไม่ชัดเจนจะทำให้บริษัทขนาดใหญ่เลี่ยงการปฏิบัติตามเกณฑ์อำนาจเหนือตลาดด้วยการแยกย่อยเป็นหลายบริษัทเพื่อให้มูลค่ายอดขาย และส่วนแบ่งตลาดไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ ส่วนบทลงโทษกรณีผูกขาดที่จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น ภาคเอกชนเสนอให้เหลือแต่เพียงโทษทางแพ่ง คือการปรับเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับการฟ้องร้องบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า ที่คู่แข่งได้ร้องเรียนคณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามาตั้งแต่ปี 2546 ว่ามีพฤติกรรมแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม โดยห้ามเอเยนต์ขายรถจักรยานยนต์ยี่ห้ออื่น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งต้องการให้อัยการส่งฟ้องร้องดำเนินคดี เพราะต้องการทำให้ผู้ประกอบการเห็นว่าพฤติกรรมแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมผิดกฎหมาย แต่ที่ผ่านมาอัยการได้ส่งเรื่องกลับมาให้คณะกรรมการแข่งขันทางการตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสอบสวนมาหลายครั้งแล้ว ยังไม่ยอมส่งฟ้อง
นายสันติชัย สารถวัลย์แพทย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงการจัดทำเกณฑ์ควบรวมกิจการภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ว่า คณะอนุกรรมการจัดทำเกณฑ์การควบรวมกิจการที่มีตนเป็นประธาน จะเชิญประชุมเพื่อพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์การควบรวมกิจการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนตามที่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าได้กำหนดไว้ เพราะต้องการให้มีผลบังคับใช้ก่อนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีการเปิดเสรี และธุรกิจของอาเซียนอาจควบรวมกันมากขึ้น รวมถึงอาจมีธุรกิจจากประเทศนอกอาเซียนเข้ามาควบรวมกิจการด้วย และอาจก่อให้เกิดการผูกขาดตลาดจนธุรกิจของไทยเสียหาย
“สิ่งที่จะต้องกำหนดเป็นเกณฑ์ออกมาให้ได้มีทั้งส่วนแบ่งตลาด และมูลค่ายอดขายภายหลังการควบรวมทรัพย์สินภายหลังการควบรวม เป็นต้น ซึ่งต้องแยกเป็นเกณฑ์เฉพาะของธุรกิจทั่วไป และธุรกิจการเงิน เพราะมูลค่ายอดขายจะไม่เท่ากันจะมาทำเป็นเกณฑ์เดียวกันไม่ได้ โดยหากจัดทำเสร็จสิ้นแล้วจะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าพิจารณา หากเห็นชอบจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ทันที” นายสันติชัยกล่าว
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ จะนำผลการศึกษาการจัดทำเกณฑ์ฯ ที่ได้ศึกษามาแล้ว 3 ครั้งตั้งแต่ปี 2543 มาพิจารณา ซึ่งอาจต้องปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ในบางประเด็น เพราะปัจจัยแวดล้อมในการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยเกณฑ์ดังกล่าวที่เคยศึกษาไว้ในปี 2543 กำหนดให้ธุรกิจที่ได้ควบรวมกิจการกันแล้ว หากมีส่วนแบ่งตลาด 1 ใน 3 ของตลาดรวม มีมูลค่ายอดขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีทรัพย์สินเกิน 25% มีการซื้อหุ้นเกิน 25% จะต้องมาขออนุญาตการควบรวมจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าก่อน
ส่วนผลการศึกษาในปี 2546 ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่ โดยแยกเกณฑ์การควบรวมออกเป็น 2 แบบสำหรับธุรกิจทั่วไป และธุรกิจการเงิน โดยธุรกิจทั่วไปหากควบรวมแล้วมีสัดส่วน 1 ใน 3 มีมูลค่ายอดขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไปต้องมาขออนุญาต ส่วนธุรกิจการเงิน หากควบรวมแล้วมีสัดส่วน 1 ใน 3 มีมูลค่ายอดขายตั้งแต่ 100,000 ล้านบาทขึ้นไปต้องมาขออนุญาต หากไม่มาขออนุญาตก่อนจะไม่สามารถควบรวมได้ แต่หากควบรวมโดยไม่ได้ขออนุญาต แล้วทำธุรกิจแบบผูกขาดตลาดจนมีผลให้ธุรกิจคู่แข่งเสียหาย จะมีความผิดตามมาตรา 26 พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำและปรับ กรณีทำผิดซ้ำต้องระวางโทษทวีคูณ
นอกจากนี้ กรมฯ ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าในประเด็นต่างๆ เพื่อทำให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น เกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาด จำเป็นต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าการมีอำนาจเหนือตลาดจะต้องรวมถึงบริษัทแม่ที่แตกออกเป็นบริษัทลูกหลายๆ บริษัทด้วย เพราะหากกำหนดไม่ชัดเจนจะทำให้บริษัทขนาดใหญ่เลี่ยงการปฏิบัติตามเกณฑ์อำนาจเหนือตลาดด้วยการแยกย่อยเป็นหลายบริษัทเพื่อให้มูลค่ายอดขาย และส่วนแบ่งตลาดไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ ส่วนบทลงโทษกรณีผูกขาดที่จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น ภาคเอกชนเสนอให้เหลือแต่เพียงโทษทางแพ่ง คือการปรับเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับการฟ้องร้องบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า ที่คู่แข่งได้ร้องเรียนคณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามาตั้งแต่ปี 2546 ว่ามีพฤติกรรมแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม โดยห้ามเอเยนต์ขายรถจักรยานยนต์ยี่ห้ออื่น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งต้องการให้อัยการส่งฟ้องร้องดำเนินคดี เพราะต้องการทำให้ผู้ประกอบการเห็นว่าพฤติกรรมแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมผิดกฎหมาย แต่ที่ผ่านมาอัยการได้ส่งเรื่องกลับมาให้คณะกรรมการแข่งขันทางการตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสอบสวนมาหลายครั้งแล้ว ยังไม่ยอมส่งฟ้อง