ปตท.เตรียมสรุปเลือกบริษัทในเครือ “IRPC-PTTGC” ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 ในปลายปีนี้ โดยสนใจให้บริษัทลูกเข้าร่วมทุนกับกลุ่มอูเบะตั้งโรงผลิตคาโปรแลคตัม 2 ขนาดกำลังผลิต 1.5 แสนตันต่อปี แย้มต้นปีหน้า ปตท.ตัดขายหุ้นพีทีที ฟีนอลที่ถืออยู่ 40% ให้ PTTGC
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกบริษัทในเครือเพื่อผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 ของกลุ่มอูเบะ ประเทศญี่ปุ่น โดย ปตท.คาดหวังว่าจะให้บริษัทในเครือเข้าร่วมทุนในโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 นี้ด้วย เพื่อเน้นให้เกิด Synergyประโยชน์สูงสุด ยอมรับว่าทั้งบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ต่างก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้ง 2 บริษัทสามารถผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานคาโปรแลคตัมได้ โดย ปตท.คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปลายปีนี้
โดยบริษัทไออาร์พีซีอยู่ระหว่างการตั้งโรงงานผลิตโพรพิลีนขนาด 3 แสนตันต่อปี เงินลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 โดยมีโพรพิลีนเหลือเพียงพอที่จะใช้ผสมสารเบนซีนและฟีนอลในการผลิตวัตถุดิบป้อนคาโปแลคตัมโรง 2 ได้ ขณะเดียวกัน พีทีที โกลบอล เคมิคอลก็ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท พีทีที ฟีนอล ซึ่งผลิตวัตถุดิบให้คาโปรแลคตัมได้เช่นกัน แต่หากพิจารณาทำเลที่ตั้งแล้วไออาร์พีซีมีความได้เปรียบเนื่องจากโรงคาโปแลคตัม 2 จะอยู่ในนิคมฯ ไออาร์พีซี จ.ระยอง ที่มีความพร้อมทั้งโรงไฟฟ้า ไอน้ำ ท่าเทียบเรือ และถังเก็บสารเคมี ทำให้ประหยัดด้านลอจิสติกส์
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า รูปแบบการร่วมทุนกับกลุ่มอูเบะนั้น อาจจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ที่กลุ่มอูเบะถือหุ้นร่วมกับบริษัทในเครือ ปตท.เพื่อทำโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 โดย ปตท.อาจจะเลือกเพียงบริษัทเดียวหรือให้บริษัทในเครือทั้ง 2 บริษัทร่วมทุนก็ได้ อย่างไรก็ตาม คงต้องเจรจากับกลุ่มอูเบะก่อน
นอกจากนี้ ปตท.ยังมีแผนที่จะให้พีทีที โกลบอลฯ ซื้อกิจการพีทีที ฟีนอลในสัดส่วนที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ 40% เนื่องจากพีทีที โกลบอลฯ ถือหุ้นในพีทีที ฟีนอลอยู่แล้ว 60% ซึ่งเป็นนโยบายของ ปตท.มาตั้งแต่ต้นในการควบรวมกิจการระหว่าง บมจ.ปตท.เคมิคอล กับ บมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น ซึ่งเดิมทั้ง 2 บริษัทนี้ได้ถือหุ้นในพีทีที ฟีนอล ฝ่ายละ 30% ซึ่งภายหลังควบรวมกิจการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่เป็นบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล จึงถือหุ้นในพีทีที ฟีนอลถึง 60%
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ปตท.จะดำเนินการขายหุ้นพีทีที ฟีนอลให้ บมจ.พีทีที โกลบอลฯได้ภายในต้นปี 2556 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณามูลค่าหุ้นที่จะขาย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การซื้อหุ้นพีทีที ฟีนอลจาก ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณา ยังไม่เร่งรีบ โดยวงเงินที่ใช้ในการซื้อหุ้นนั้นยังไม่ได้สรุป และไม่ถูกรวมอยู่ในงบการลงทุน 3 ปีของบริษัทฯ วงเงิน 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐแต่อย่างใด ภายหลังจากซื้อหุ้นพีทีที ฟีนอลจะทำให้บริษัทฯ มีผลประกอบการสูงขึ้นอีก
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาต้นทุนการผลิตวัตถุดิบป้อนโรงคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ทาง ปตท.จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าบริษัทลูกรายใดมีศักยภาพในเรื่องนี้บ้าง
โดยโรงคาโปรแลคตั้ม 2 จะมีกำลังการผลิตประมาณ 150,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นแอมโมเนียมซัลเฟต กำลังการผลิตประมาณ 6 แสนตันต่อปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559 จากโรงคาโปรแลคตัมแห่งแรกมีกำลังการผลิต 130,000 ตันต่อปี แอมโมเนียมซัลเฟต 540,000 ตันต่อปี ไนลอน-6 กำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี และไนลอนคอมพาวด์ 11,000 ตันต่อปี
//////////////////////
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกบริษัทในเครือเพื่อผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 ของกลุ่มอูเบะ ประเทศญี่ปุ่น โดย ปตท.คาดหวังว่าจะให้บริษัทในเครือเข้าร่วมทุนในโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 นี้ด้วย เพื่อเน้นให้เกิด Synergyประโยชน์สูงสุด ยอมรับว่าทั้งบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ต่างก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้ง 2 บริษัทสามารถผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานคาโปรแลคตัมได้ โดย ปตท.คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปลายปีนี้
โดยบริษัทไออาร์พีซีอยู่ระหว่างการตั้งโรงงานผลิตโพรพิลีนขนาด 3 แสนตันต่อปี เงินลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 โดยมีโพรพิลีนเหลือเพียงพอที่จะใช้ผสมสารเบนซีนและฟีนอลในการผลิตวัตถุดิบป้อนคาโปแลคตัมโรง 2 ได้ ขณะเดียวกัน พีทีที โกลบอล เคมิคอลก็ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท พีทีที ฟีนอล ซึ่งผลิตวัตถุดิบให้คาโปรแลคตัมได้เช่นกัน แต่หากพิจารณาทำเลที่ตั้งแล้วไออาร์พีซีมีความได้เปรียบเนื่องจากโรงคาโปแลคตัม 2 จะอยู่ในนิคมฯ ไออาร์พีซี จ.ระยอง ที่มีความพร้อมทั้งโรงไฟฟ้า ไอน้ำ ท่าเทียบเรือ และถังเก็บสารเคมี ทำให้ประหยัดด้านลอจิสติกส์
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า รูปแบบการร่วมทุนกับกลุ่มอูเบะนั้น อาจจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ที่กลุ่มอูเบะถือหุ้นร่วมกับบริษัทในเครือ ปตท.เพื่อทำโรงงานผลิตคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 โดย ปตท.อาจจะเลือกเพียงบริษัทเดียวหรือให้บริษัทในเครือทั้ง 2 บริษัทร่วมทุนก็ได้ อย่างไรก็ตาม คงต้องเจรจากับกลุ่มอูเบะก่อน
นอกจากนี้ ปตท.ยังมีแผนที่จะให้พีทีที โกลบอลฯ ซื้อกิจการพีทีที ฟีนอลในสัดส่วนที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ 40% เนื่องจากพีทีที โกลบอลฯ ถือหุ้นในพีทีที ฟีนอลอยู่แล้ว 60% ซึ่งเป็นนโยบายของ ปตท.มาตั้งแต่ต้นในการควบรวมกิจการระหว่าง บมจ.ปตท.เคมิคอล กับ บมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น ซึ่งเดิมทั้ง 2 บริษัทนี้ได้ถือหุ้นในพีทีที ฟีนอล ฝ่ายละ 30% ซึ่งภายหลังควบรวมกิจการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่เป็นบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล จึงถือหุ้นในพีทีที ฟีนอลถึง 60%
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ปตท.จะดำเนินการขายหุ้นพีทีที ฟีนอลให้ บมจ.พีทีที โกลบอลฯได้ภายในต้นปี 2556 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณามูลค่าหุ้นที่จะขาย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การซื้อหุ้นพีทีที ฟีนอลจาก ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณา ยังไม่เร่งรีบ โดยวงเงินที่ใช้ในการซื้อหุ้นนั้นยังไม่ได้สรุป และไม่ถูกรวมอยู่ในงบการลงทุน 3 ปีของบริษัทฯ วงเงิน 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐแต่อย่างใด ภายหลังจากซื้อหุ้นพีทีที ฟีนอลจะทำให้บริษัทฯ มีผลประกอบการสูงขึ้นอีก
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาต้นทุนการผลิตวัตถุดิบป้อนโรงคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ทาง ปตท.จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าบริษัทลูกรายใดมีศักยภาพในเรื่องนี้บ้าง
โดยโรงคาโปรแลคตั้ม 2 จะมีกำลังการผลิตประมาณ 150,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นแอมโมเนียมซัลเฟต กำลังการผลิตประมาณ 6 แสนตันต่อปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559 จากโรงคาโปรแลคตัมแห่งแรกมีกำลังการผลิต 130,000 ตันต่อปี แอมโมเนียมซัลเฟต 540,000 ตันต่อปี ไนลอน-6 กำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี และไนลอนคอมพาวด์ 11,000 ตันต่อปี
//////////////////////