ปตท.เตรียมยุบทิ้ง 30 บริษัทในเครือฯ ทั้งในและต่างประเทศที่ทำธุรกิจซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ดำเนินธุรกิจแล้วตามนโยบาย Corperate Down Sizing เพิ่มความคล่องตัว รับมือการแข่งขันในอนาคต และผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก แนะรัฐตั้งกองทุนเพื่อใช้ซื้อแหล่งปิโตรเลียมในต่างประเทศเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต ปตท.เล็งกู้เงินหรือออกหุ้นกู้ 1 พันล้านดอลล์ในช่วง ส.ค.-ต.ค.นี้เพื่อคืนหนี้และลงทุน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้มอบหมายให้บริษัทในเครือฯ ทบทวนแผนการลงทุน รวมถึงบริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจ (Active) ด้วย ตามนโยบายการลดขนาดองค์กรกลุ่ม ปตท. (Corporate Down Sizing) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจรองรับการแข่งขันในอนาคต และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้ บริษัทฯ จะตรวจสอบดูว่าบริษัทใดที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก หรือดำเนินธุรกิจที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถที่จะควบรวมกิจการกันได้หรือไม่ หรือมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะดำเนินกิจการต่อไป
เนื่องจากปัจจุบัน ปตท.มีบริษัทลูกกว่า 200 บริษัท พบว่ามี 30 บริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจหรือทำธุรกิจซ้ำซ้อนกันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่ง ปตท.เคยมีการลงทุนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เช่น ในจีน ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ก็จะต้องมีการควบรวมกิจการ หรือลดสัดส่วนการถือหุ้นให้น้อยที่สุด และบางแห่งก็ต้องปิดบริษัทไป เช่น บริษัท Keloil-PTT LPG Sdn, bhd ประเทศมาเลเซียที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ 40% ซึ่งเดิมตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวเพื่อนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากไทยที่เหลือส่งออก แต่ปัจจุบันไทยไม่มีการส่งออกแอลพีจีแล้ว ซึ่ง ปตท.จะพิจารณาว่าจะขายหุ้นดังกล่าวออกไป
ส่วนจีนก็มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน อาทิ ปิโตรเอเชีย ในเมืองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครือของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ซึ่งมีบริษัทในเครือจำนวนมากที่มีการดำเนินกิจการซ้ำซ้อนกันหลังจากมีการควบรวมกิจการแล้ว
นายไพรินทร์กล่าวต่อไปว่า จากนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศทั้งรัฐบาลทั้งแอลพีจี ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) และน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรนั้น เชื่่อว่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เรื่องเหล่านี้จะจบทั้งหมด โดยราคาพลังงานดังกล่าวคงต้องเป็นไปตามตลาด เนื่องจากรัฐไม่สามารถอุดหนุนราคาได้อีก ดังนั้นรัฐคงต้องพิจารณาว่าจะใช้วิธีทยอยปรับขึ้นราคาไปจนถึงปี 2558 หรือจะปรับขึ้นราคาทีเดียวในปี 2558 น่าจะมีผลทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
ปัจจุบันไทยมีการอุดหนุนราคาพลังงานใน 2 รูปแบบ คือ การอุดหนุนราคาในทุกกลุ่ม จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก กับการอุดหนุนราคาแบบเฉพาะกลุ่มที่จะใช้เงินอุดหนุนน้อยกว่า เชื่อว่าหลังจากเปิด AEC จะเหลือการอุดหนุนราคาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งนโยบายการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งอีก 25 สตางค์ต่อกิโลกรัมเมื่อวันที่ 16 ส.ค.นี้ เป็นสัญญาณให้เห็นว่ารัฐบาลอยากจะปรับขึ้นราคาแอลพีจี
ส่วนการนำเข้าแอลเอ็นจีนับวันจะมีบทบาทสำคัญเพื่อรองรับกรณีก๊าซฯ จากอ่าวไทย และพม่ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ยังไม่เป็นที่ต้องการของประชาชนในประเทศ และไม่สามารถนำก๊าซฯ จากพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชามาใช้ได้ หากจะเพิ่มความมั่งคงในการจัดหาก็ต้องมีการสร้างคลังเก็บและแปรรูปแอลเอ็นจีจาก 5 ล้านตันในปัจจุบัน เป็น 10 ล้านตันในอนาคต
ตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะให้ ปตท.สผ.เป็นหัวหอกในการลงทุนสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ล่าสุด ปตท.สผ.ได้เข้าถือหุ้นใน Cove Energy ทำให้ไทยมีโอกาสซื้อแอลเอ็นจีในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด
อย่างไรก็ตาม ปตท.สผ.อาจจะลงทุนคนเดียวไม่ไหว ดังนั้นภาครัฐโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานในประเทศไทยทั้งหมด น่าจะมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปลงทุนได้ โดยอาจจะมีการตั้ง Sovereign Fund แล้วเอากองทุนนี้เข้าไปถือหุ้นในแหล่งปิโตรเลียมต่างๆ เหมือนต่างประเทศทำอยู่ขณะนี้ โดยอาจจะพิจารณาใช้เงินทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการสำรองเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจจะเก็บสำรองเป็นทรัพย์สินอื่น เช่น พลังงาน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.มีแผนจะออกหุ้นกู้และกู้เงินประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ เพื่อปรับพอร์ตเงินกู้และรีไฟแนนซ์หนี้ รวมทั้งใช้ในการลงทุนในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน บมจ.ปตท.สผ.ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสัดส่วนการออกหุ้นกู้และกู้เงินจะเป็นเท่าไร
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้มอบหมายให้บริษัทในเครือฯ ทบทวนแผนการลงทุน รวมถึงบริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจ (Active) ด้วย ตามนโยบายการลดขนาดองค์กรกลุ่ม ปตท. (Corporate Down Sizing) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจรองรับการแข่งขันในอนาคต และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้ บริษัทฯ จะตรวจสอบดูว่าบริษัทใดที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก หรือดำเนินธุรกิจที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถที่จะควบรวมกิจการกันได้หรือไม่ หรือมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะดำเนินกิจการต่อไป
เนื่องจากปัจจุบัน ปตท.มีบริษัทลูกกว่า 200 บริษัท พบว่ามี 30 บริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจหรือทำธุรกิจซ้ำซ้อนกันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่ง ปตท.เคยมีการลงทุนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เช่น ในจีน ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ก็จะต้องมีการควบรวมกิจการ หรือลดสัดส่วนการถือหุ้นให้น้อยที่สุด และบางแห่งก็ต้องปิดบริษัทไป เช่น บริษัท Keloil-PTT LPG Sdn, bhd ประเทศมาเลเซียที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ 40% ซึ่งเดิมตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวเพื่อนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากไทยที่เหลือส่งออก แต่ปัจจุบันไทยไม่มีการส่งออกแอลพีจีแล้ว ซึ่ง ปตท.จะพิจารณาว่าจะขายหุ้นดังกล่าวออกไป
ส่วนจีนก็มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน อาทิ ปิโตรเอเชีย ในเมืองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครือของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ซึ่งมีบริษัทในเครือจำนวนมากที่มีการดำเนินกิจการซ้ำซ้อนกันหลังจากมีการควบรวมกิจการแล้ว
นายไพรินทร์กล่าวต่อไปว่า จากนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศทั้งรัฐบาลทั้งแอลพีจี ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) และน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรนั้น เชื่่อว่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เรื่องเหล่านี้จะจบทั้งหมด โดยราคาพลังงานดังกล่าวคงต้องเป็นไปตามตลาด เนื่องจากรัฐไม่สามารถอุดหนุนราคาได้อีก ดังนั้นรัฐคงต้องพิจารณาว่าจะใช้วิธีทยอยปรับขึ้นราคาไปจนถึงปี 2558 หรือจะปรับขึ้นราคาทีเดียวในปี 2558 น่าจะมีผลทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
ปัจจุบันไทยมีการอุดหนุนราคาพลังงานใน 2 รูปแบบ คือ การอุดหนุนราคาในทุกกลุ่ม จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก กับการอุดหนุนราคาแบบเฉพาะกลุ่มที่จะใช้เงินอุดหนุนน้อยกว่า เชื่อว่าหลังจากเปิด AEC จะเหลือการอุดหนุนราคาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งนโยบายการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งอีก 25 สตางค์ต่อกิโลกรัมเมื่อวันที่ 16 ส.ค.นี้ เป็นสัญญาณให้เห็นว่ารัฐบาลอยากจะปรับขึ้นราคาแอลพีจี
ส่วนการนำเข้าแอลเอ็นจีนับวันจะมีบทบาทสำคัญเพื่อรองรับกรณีก๊าซฯ จากอ่าวไทย และพม่ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ยังไม่เป็นที่ต้องการของประชาชนในประเทศ และไม่สามารถนำก๊าซฯ จากพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชามาใช้ได้ หากจะเพิ่มความมั่งคงในการจัดหาก็ต้องมีการสร้างคลังเก็บและแปรรูปแอลเอ็นจีจาก 5 ล้านตันในปัจจุบัน เป็น 10 ล้านตันในอนาคต
ตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะให้ ปตท.สผ.เป็นหัวหอกในการลงทุนสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ล่าสุด ปตท.สผ.ได้เข้าถือหุ้นใน Cove Energy ทำให้ไทยมีโอกาสซื้อแอลเอ็นจีในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด
อย่างไรก็ตาม ปตท.สผ.อาจจะลงทุนคนเดียวไม่ไหว ดังนั้นภาครัฐโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานในประเทศไทยทั้งหมด น่าจะมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปลงทุนได้ โดยอาจจะมีการตั้ง Sovereign Fund แล้วเอากองทุนนี้เข้าไปถือหุ้นในแหล่งปิโตรเลียมต่างๆ เหมือนต่างประเทศทำอยู่ขณะนี้ โดยอาจจะพิจารณาใช้เงินทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการสำรองเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจจะเก็บสำรองเป็นทรัพย์สินอื่น เช่น พลังงาน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.มีแผนจะออกหุ้นกู้และกู้เงินประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ เพื่อปรับพอร์ตเงินกู้และรีไฟแนนซ์หนี้ รวมทั้งใช้ในการลงทุนในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน บมจ.ปตท.สผ.ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสัดส่วนการออกหุ้นกู้และกู้เงินจะเป็นเท่าไร