ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าอีซีบีจะพยายามลดความกังวลของนักลงทุนต่อวิกฤติหนี้ ยูโรโซน โดยอีซีบีจะให้สัญญาว่าจะจัดหาสภาพคล่องให้แก่ระบบธนาคาร หลังจาก ไซปรัสเผชิญวิกฤติทางการเงินในช่วงก่อนหน้านี้
นักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่า อีซีบีจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนนี้ และจะรอดูต่อไปว่าภาวะเศรษฐกิจซบเซาในยูโรโซนจะปรับตัวดีขึ้นหรือไม่ ก่อนที่ อีซีบีจะใช้โอกาสที่มีอยู่จำกัดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป
อีซีบีจะจัดการประชุมในวันนี้ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา และความ กังวลที่ว่าสโลเวเนียอาจจะขอความช่วยเหลือทางการเงินต่อจากไซปรัส ทั้งนี้ โพลล์รอยเตอร์คาดว่า อีซีบีจะตรึงอัตราดอกเบี้ยจนถึงปีหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอีซีบีอยู่ที่ 0.75 % ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
นายแอนเดอร์ส สเวนด์เสน นักวิเคราะห์ของบริษัทนอร์เดีย กล่าวว่า "ผมคิดว่ายังเร็วเกินไปที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในขณะนี้ แต่ถ้าหาก มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่เลวร้ายออกมาอีกรอบหนึ่ง ผมก็คาดว่านายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี อาจจะส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในระยะใกล้นี้"
ผลสำรวจทางธุรกิจที่ออกมาเมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตทั่วยูโรโซนร่วงลงรุนแรงขึ้นในเดือนมี.ค. และตัวเลขนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในยูโรโซน อย่างไรก็ดี กิจกรรมภาคโรงงานยังไม่ได้รับความเสียหาย จากวิกฤติไซปรัส
ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตในยูโรโซนของ Markit ร่วงลงสู่ระดับ 46.8 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 47.9 ในเดือนก.พ. และ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 46.6 แต่ก็ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว เป็นเดือนที่ 20 ติดต่อกัน
อีซีบีเสนอที่จะจัดหาสภาพคล่องอย่างไม่จำกัดจำนวนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดยผ่านทางการปล่อยสินเชื่อระยะ 3 เดือน เพื่อเป็นการรับประกันว่าระบบ การเงินในยูโรโซนจะมีสภาพคล่องที่เหมาะสม และอีซีบีสงวนทางเลือกในการจัดหาสภาพคล่องในระยะยาวเอาไว้ โดยอาจจะใช้วิธีปล่อยสินเชื่อระยะ 3 ปี อีกครั้ง หลังจากที่เคยทำแบบนี้ไปแล้วเมื่อหนึ่งปีก่อน
อีซีบีระบุว่า จะมีการจัดหาสภาพคล่องฉุกเฉินให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ในไซปรัสภายใต้กฎเกณฑ์ของอีซีบี โดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวระบุว่าธนาคารที่ จะได้รับสภาพคล่องนี้จำเป็นต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ นอกจากนี้ อีซีบีอาจจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลด้วย ถ้าหากประเทศเจ้าของพันธบัตรยอม ปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดที่อีซีบีกำหนดมา
ถึงแม้อีซีบีมีทางเลือกนโยบายหลายทาง แต่ตลาดก็ยังคงกังวลกับปัญหา ในไซปรัสและภาวะทางตันทางการเมืองในอิตาลี โดยตลาดพันธบัตรยูโรโซนเริ่มต้นสัปดาห์นี้ด้วยความกังวล ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซนอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์นี้
นักลงทุนคาดว่าสโลเวเนียจะเป็นประเทศถัดไปที่จำเป็นต้องได้รับความ ช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ถึงแม้ว่านายอูรอส คูเฟอร์ รมว.คลัง สโลเวเนียกล่าวต่อรอยเตอร์ในสัปดาห์ที่แล้วว่า สโลเวเนียไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินในปีนี้
นายโฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทโกลบัล อินไซท์ กล่าวว่า "เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงเรื่องของไซปรัสเท่านั้น แต่มีความกังวลกันมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสโลเวเนีย และตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดก็ตกต่ำลงในเดือนมี.ค."
และเขากล่าวเสริมว่า "ผมมั่นใจว่านายดรากีจะพยายามอย่างดีที่สุดในการสร้าง ความเชื่อมั่นในทุกๆด้าน"
นายนิค แมทธิวส์ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทโนมูระคาดว่า นายดรากี จะกล่าวย้ำข้อความของเขาที่ว่า อีซีบีพร้อมจะทำ "ทุกสิ่งที่จำเป็นต้องทำ" ภายในขอบเขตอำนาจของอีซีบีในการปกป้องคุ้มครองยูโร โดยนายดรากี เคยกล่าวเช่นนี้ในเดือนก.ค. 2012 เพื่อบรรเทาวิกฤติยูโรโซน
นายแมทธิวส์กล่าวเสริมว่า "นายดรากีมีแนวโน้มที่จะกล่าวย้ำว่า อีซีบี พร้อมที่จะจัดหาสภาพคล่องที่จำเป็นสำหรับภาคธนาคาร (ซึ่งรวมถึงธนาคารไซปรัส) ภายใต้กฎเกณฑ์ของอีซีบี"
คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีที่ประกอบด้วยสมาชิก 23 คน เคยหารือเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. โดยนายดรากีกล่าวใน เดือนมี.ค.ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงต่อไปในปีนี้
อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปอีก อย่างไรก็ดี อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากของอีซีบีอยู่ที่ 0 % ในปัจจุบัน และสมาชิกคณะกรรมการ กำหนดนโยบายของอีซีบีก็ลังเลที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงสู่ระดับติดลบ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของอีซีบีคืออัตราดอกเบี้ยที่อีซีบีจ่ายให้แก่ธนาคาร พาณิชย์ที่ฝากเงินช่วงข้ามคืนกับอีซีบี
หนังสือพิมพ์ Expansion ของสเปนได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์นายอีฟส์ เมอร์ช ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายของอีซีบีในวันพฤหัสบดีที่แล้ว โดย ผู้สัมภาษณ์ได้ตั้งคำถามต่อนายเมอร์ชว่า อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลงไปอีกหรือไม่ ถ้าหากแนวโน้มเศรษฐกิจตกต่ำลง ซึ่งนายเมอร์ชได้ตอบว่า อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกในทางทฤษฎี แต่ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น
นายเมอร์ชกล่าวว่า "มีโอกาสในการทำเช่นนั้นในทางทฤษฎี อย่างไรก็ดี คำถามของคุณบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่แนวโน้มเศรษฐกิจจะตกต่ำลง แต่ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น"
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ออกมาในวันองคารบ่งชี้ว่าภาคการผลิตในประเทศเศรษฐกิจสำคัญหลายแห่งในยุโรป ตกต่ำลงอย่างรุนแรง อีกครั้งในเดือนมี.ค.
นายสเวนด์เสนกล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแออีกชุดหนึ่งอาจส่งผล ให้อีซีบีปรับเปลี่ยนแนวทาง และส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในอนาคต โดยนายสเวนด์เสนกล่าวเสริมว่า "ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ที่จุดหักเห"
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จัดการประชุมเมื่อวานนี้และวันนี้ โดยผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า BOE จะยังคงขนาดวงเงินในโครงการเข้าซื้อตราสารหนี้ไว้ที่ 3.75 แสนล้านปอนด์ ต่อไปในเดือนนี้ ก่อนที่จะขยายขนาดโครงการนี้ออกไปในเดือนพ.ค.หรือหลังจากนั้น
ทั้งนี้ กรรมการ MPC ลงคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 เพื่อให้ BOE ตรึงขนาดโครงการเข้าซื้อตราสารหนี้ไว้ที่ 3.75 แสนล้านปอนด์ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาโดยมีกรรมการ 3 คนที่ลงคะแนนเสียงสนับสนุนให้ BOE ขยายขนาดโครงการนี้ ออกไป ซึ่งได้แก่นายเมอร์วิน คิง ผู้ว่าการ BOE, นายพอล ฟิชเชอร์ และนาย เดวิด ไมลส์
ผู้ตอบโพลล์รอยเตอร์กล่าวว่า สถานการณ์ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักนับตั้งแต่การประชุม BOE ในช่วงต้นเดือนมี.ค. ดังนั้นกรรมการ MPC ที่ ต้องการให้มีการขยายขนาดโครงการนี้ออกไปอาจจะยังมีจำนวนไม่มากพอ นายปีเตอร์ ดิกสัน นักเศรษฐศาสตร์อังกฤษของธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ กล่าวว่า "ถ้าหากผมเป็นกรรมการ MPC ผมก็คงจะตรึงนโยบายนี้ไว้ก่อนจนกว่า จะถึงเวลาที่จะเริ่มมีสัญญาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้วผมจึงจะใช้มาตรการ ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการสนับสนุนการเติบโต เหมือนกับที่สหรัฐ
(ข่าวจาก สำนักข่าวรอยเตอร์)
T.Thammasak
นักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่า อีซีบีจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนนี้ และจะรอดูต่อไปว่าภาวะเศรษฐกิจซบเซาในยูโรโซนจะปรับตัวดีขึ้นหรือไม่ ก่อนที่ อีซีบีจะใช้โอกาสที่มีอยู่จำกัดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป
อีซีบีจะจัดการประชุมในวันนี้ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา และความ กังวลที่ว่าสโลเวเนียอาจจะขอความช่วยเหลือทางการเงินต่อจากไซปรัส ทั้งนี้ โพลล์รอยเตอร์คาดว่า อีซีบีจะตรึงอัตราดอกเบี้ยจนถึงปีหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอีซีบีอยู่ที่ 0.75 % ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
นายแอนเดอร์ส สเวนด์เสน นักวิเคราะห์ของบริษัทนอร์เดีย กล่าวว่า "ผมคิดว่ายังเร็วเกินไปที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในขณะนี้ แต่ถ้าหาก มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่เลวร้ายออกมาอีกรอบหนึ่ง ผมก็คาดว่านายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี อาจจะส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในระยะใกล้นี้"
ผลสำรวจทางธุรกิจที่ออกมาเมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตทั่วยูโรโซนร่วงลงรุนแรงขึ้นในเดือนมี.ค. และตัวเลขนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในยูโรโซน อย่างไรก็ดี กิจกรรมภาคโรงงานยังไม่ได้รับความเสียหาย จากวิกฤติไซปรัส
ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตในยูโรโซนของ Markit ร่วงลงสู่ระดับ 46.8 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 47.9 ในเดือนก.พ. และ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 46.6 แต่ก็ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว เป็นเดือนที่ 20 ติดต่อกัน
อีซีบีเสนอที่จะจัดหาสภาพคล่องอย่างไม่จำกัดจำนวนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดยผ่านทางการปล่อยสินเชื่อระยะ 3 เดือน เพื่อเป็นการรับประกันว่าระบบ การเงินในยูโรโซนจะมีสภาพคล่องที่เหมาะสม และอีซีบีสงวนทางเลือกในการจัดหาสภาพคล่องในระยะยาวเอาไว้ โดยอาจจะใช้วิธีปล่อยสินเชื่อระยะ 3 ปี อีกครั้ง หลังจากที่เคยทำแบบนี้ไปแล้วเมื่อหนึ่งปีก่อน
อีซีบีระบุว่า จะมีการจัดหาสภาพคล่องฉุกเฉินให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ในไซปรัสภายใต้กฎเกณฑ์ของอีซีบี โดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวระบุว่าธนาคารที่ จะได้รับสภาพคล่องนี้จำเป็นต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ นอกจากนี้ อีซีบีอาจจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลด้วย ถ้าหากประเทศเจ้าของพันธบัตรยอม ปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดที่อีซีบีกำหนดมา
ถึงแม้อีซีบีมีทางเลือกนโยบายหลายทาง แต่ตลาดก็ยังคงกังวลกับปัญหา ในไซปรัสและภาวะทางตันทางการเมืองในอิตาลี โดยตลาดพันธบัตรยูโรโซนเริ่มต้นสัปดาห์นี้ด้วยความกังวล ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซนอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์นี้
นักลงทุนคาดว่าสโลเวเนียจะเป็นประเทศถัดไปที่จำเป็นต้องได้รับความ ช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ถึงแม้ว่านายอูรอส คูเฟอร์ รมว.คลัง สโลเวเนียกล่าวต่อรอยเตอร์ในสัปดาห์ที่แล้วว่า สโลเวเนียไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินในปีนี้
นายโฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทโกลบัล อินไซท์ กล่าวว่า "เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงเรื่องของไซปรัสเท่านั้น แต่มีความกังวลกันมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสโลเวเนีย และตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดก็ตกต่ำลงในเดือนมี.ค."
และเขากล่าวเสริมว่า "ผมมั่นใจว่านายดรากีจะพยายามอย่างดีที่สุดในการสร้าง ความเชื่อมั่นในทุกๆด้าน"
นายนิค แมทธิวส์ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทโนมูระคาดว่า นายดรากี จะกล่าวย้ำข้อความของเขาที่ว่า อีซีบีพร้อมจะทำ "ทุกสิ่งที่จำเป็นต้องทำ" ภายในขอบเขตอำนาจของอีซีบีในการปกป้องคุ้มครองยูโร โดยนายดรากี เคยกล่าวเช่นนี้ในเดือนก.ค. 2012 เพื่อบรรเทาวิกฤติยูโรโซน
นายแมทธิวส์กล่าวเสริมว่า "นายดรากีมีแนวโน้มที่จะกล่าวย้ำว่า อีซีบี พร้อมที่จะจัดหาสภาพคล่องที่จำเป็นสำหรับภาคธนาคาร (ซึ่งรวมถึงธนาคารไซปรัส) ภายใต้กฎเกณฑ์ของอีซีบี"
คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีที่ประกอบด้วยสมาชิก 23 คน เคยหารือเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. โดยนายดรากีกล่าวใน เดือนมี.ค.ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงต่อไปในปีนี้
อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปอีก อย่างไรก็ดี อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากของอีซีบีอยู่ที่ 0 % ในปัจจุบัน และสมาชิกคณะกรรมการ กำหนดนโยบายของอีซีบีก็ลังเลที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงสู่ระดับติดลบ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของอีซีบีคืออัตราดอกเบี้ยที่อีซีบีจ่ายให้แก่ธนาคาร พาณิชย์ที่ฝากเงินช่วงข้ามคืนกับอีซีบี
หนังสือพิมพ์ Expansion ของสเปนได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์นายอีฟส์ เมอร์ช ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายของอีซีบีในวันพฤหัสบดีที่แล้ว โดย ผู้สัมภาษณ์ได้ตั้งคำถามต่อนายเมอร์ชว่า อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลงไปอีกหรือไม่ ถ้าหากแนวโน้มเศรษฐกิจตกต่ำลง ซึ่งนายเมอร์ชได้ตอบว่า อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกในทางทฤษฎี แต่ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น
นายเมอร์ชกล่าวว่า "มีโอกาสในการทำเช่นนั้นในทางทฤษฎี อย่างไรก็ดี คำถามของคุณบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่แนวโน้มเศรษฐกิจจะตกต่ำลง แต่ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น"
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ออกมาในวันองคารบ่งชี้ว่าภาคการผลิตในประเทศเศรษฐกิจสำคัญหลายแห่งในยุโรป ตกต่ำลงอย่างรุนแรง อีกครั้งในเดือนมี.ค.
นายสเวนด์เสนกล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแออีกชุดหนึ่งอาจส่งผล ให้อีซีบีปรับเปลี่ยนแนวทาง และส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในอนาคต โดยนายสเวนด์เสนกล่าวเสริมว่า "ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ที่จุดหักเห"
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จัดการประชุมเมื่อวานนี้และวันนี้ โดยผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า BOE จะยังคงขนาดวงเงินในโครงการเข้าซื้อตราสารหนี้ไว้ที่ 3.75 แสนล้านปอนด์ ต่อไปในเดือนนี้ ก่อนที่จะขยายขนาดโครงการนี้ออกไปในเดือนพ.ค.หรือหลังจากนั้น
ทั้งนี้ กรรมการ MPC ลงคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 เพื่อให้ BOE ตรึงขนาดโครงการเข้าซื้อตราสารหนี้ไว้ที่ 3.75 แสนล้านปอนด์ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาโดยมีกรรมการ 3 คนที่ลงคะแนนเสียงสนับสนุนให้ BOE ขยายขนาดโครงการนี้ ออกไป ซึ่งได้แก่นายเมอร์วิน คิง ผู้ว่าการ BOE, นายพอล ฟิชเชอร์ และนาย เดวิด ไมลส์
ผู้ตอบโพลล์รอยเตอร์กล่าวว่า สถานการณ์ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักนับตั้งแต่การประชุม BOE ในช่วงต้นเดือนมี.ค. ดังนั้นกรรมการ MPC ที่ ต้องการให้มีการขยายขนาดโครงการนี้ออกไปอาจจะยังมีจำนวนไม่มากพอ นายปีเตอร์ ดิกสัน นักเศรษฐศาสตร์อังกฤษของธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ กล่าวว่า "ถ้าหากผมเป็นกรรมการ MPC ผมก็คงจะตรึงนโยบายนี้ไว้ก่อนจนกว่า จะถึงเวลาที่จะเริ่มมีสัญญาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้วผมจึงจะใช้มาตรการ ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการสนับสนุนการเติบโต เหมือนกับที่สหรัฐ
(ข่าวจาก สำนักข่าวรอยเตอร์)
T.Thammasak