สุชาติ ธนฐิติพันธ์
ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ในทุกวันนี้ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “ภาวะเงินเฟ้อ” หรือ ภาวะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ได้กลายมาเป็นหัวข้อสำคัญและมักจะถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงให้นักลงทุนหลายๆท่านได้รับฟังกันอยู่บ่อยครั้ง แต่นอกเหนือไปจากการพยายามทำใจให้ยอมรับกับสถานการณ์ที่บรรดาผู้ประกอบการทั้งหลาย ทำการขึ้นราคาสินค้าพร้อมๆ กันจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว นักลงทุนยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ในการสร้างผลตอบแทนให้อยู่ในระดับสูงพอที่จะสามารถครอบคลุมภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นได้ โดยที่ความเสี่ยงของทางเลือกที่ว่านี้ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำอีกด้วย และทางเลือกที่ว่านี้ก็คือ การลงทุนในตราสารหนี้ครับ
แต่ก่อนอื่นนั้น เราลองมาทำความเข้าใจกันว่าภาวะเงินเฟ้อ หรือ Inflation ได้เข้ามามีบทบาทหรือส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Inflation มักจะเกิดขึ้นตามมาหลังการขยายตัวอย่างร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ โดยตัวอย่างง่ายๆ ของ Inflation ที่มักเกิดขึ้นให้พบเห็นอยู่เป็นประจำ ได้แก่การปรับขึ้นของราคาอาหารนั่นเองครับ ซึ่งจากสถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราจะพบว่าราคาอาหารที่เคยขายกันอยู่ที่ประมาณจานละ 15-20 บาท มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดเราต้องจ่ายเงินสูงถึง 30-40 บาท เพื่อแลกกับอาหารที่มีปริมาณเท่าเดิม (และในหลายๆครั้ง เรายังพบว่าได้ปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิมอีกด้วย) หรือแม้แต่ค่าโดยสารรถประจำทาง ที่เราต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (ตัวอย่างของค่าโดยสารรถเมล์ ที่ปรับค่าตั๋วจาก 3.5 บาท/เที่ยว ในปี 2547 มาอยู่ที่ 8 บาท/เที่ยว ในปัจจุบัน) แต่ได้ระยะของการเดินทางที่ไม่แตกต่างไปจากเดิม
ซึ่งหากพิจารณาด้วยเหตุผลคร่าวๆ ที่ผู้ประกอบการมักจะหยิบยกขึ้นมาอ้างถึงความจำเป็นในการปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น อันเนื่องจากต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับมากขึ้นแล้ว ก็น่าจะทำประชาชนโดยทั่วไปพอยอมรับและพยายามเข้าใจถึงความจำเป็นดังกล่าวได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ราคาอาหารหรือแม้แต่ค่ารถโดยสารที่เคยถูกปรับขึ้นไปแล้ว เกือบทั้งหมดนั้นแทบจะไม่มีการปรับราคาลดลงมาอีกเลย แม้ในช่วงเวลาที่ต้นทุนต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของราคาน้ำมัน หรือต้นทุนของวัตถุดิบอื่นๆ จะลดลงจนต่ำกว่าระดับที่ผู้ประกอบการเคยใช้เป็นเหตุผลในการปรับขึ้นราคาสินค้าไปแล้วก็ตาม
ดังนั้น ด้วยสถานการณ์ที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างก็มีทิศทางที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว และประชาชนไม่น่าจะหวังพึ่งผู้ประกอบการให้ปรับลดราคาสินค้าและบริการประเภทต่างๆ ที่เคยปรับขึ้นไปแล้วได้อีก ทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นเหตุผลให้เราต้องหันมาพึ่งพาตนเอง ด้วยการพยายามหาช่องทางการลงทุน ที่นอกจากจะต้องมีความปลอดภัยหรือความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้แล้ว การลงทุนนั้นยังต้องสามารถสร้างผลตอบแทนให้เติบโตในระดับที่สูงกว่า Inflation ไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งตราสารหนี้ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยเหตุผลหลัก 3 ข้อด้วยกันครับ
โดยที่เหตุผลในข้อแรก คือ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ดีกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งหากเราพิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังไปในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา (2545-2554) จะพบว่ามีเพียงปี 2548 เท่านั้น ที่ผลตอบแทนจากตราสารหนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการขยายตัวของ Inflation แต่ในช่วงอีก 8 ปีที่เหลือกลับพบว่า การลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า Inflation อย่างสม่ำเสมอ
ประเด็นที่น่าสนใจในลำดับถัดมา คือ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลในช่วงระยะเวลาเดียวกัน (2545-2555) จะพบว่ามีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวเช่นกัน ที่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 2 ปี อยู่ในระดับที่สูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ แต่ในปีอื่นๆที่นอกเหนือไปจากปี 2548 นั้น ดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ ล้วนแต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าผลตอบแทนที่ได้จากตราสารหนี้ และยิ่งไปกว่านั้นแล้ว หากเราพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก เปรียบเทียบกับการขยายตัวของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในแต่ละปี จะพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจากดอกเบี้ยเงินฝาก (เมื่อหักด้วยเงินเฟ้อแล้ว)
ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในระดับที่ติดลบ หรือพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ ดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินไม่สามารถนำไปซื้อสินค้าที่มีราคาแพงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อได้นั่นเอง และสำหรับประเด็นที่น่าสนใจในข้อสุดท้ายคือ ความเสี่ยงของตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางเลือกอื่นๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลด้วยแล้ว เราถือว่าเป็นตราสารที่ปราศจากความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน (Default Risk) แต่ทั้งนี้ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจก่อนว่าตราสารหนี้ยังคงมีความเสี่ยงด้านอื่นๆ อยู่บ้าง ดังนั้น การศึกษาหาข้อมูลและตัดสินใจเลือกลงทุนอย่างรอบคอบ จึงถือเป็นข้อปฏิบัติข้อแรกที่ผู้ลงทุนต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม
ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ในทุกวันนี้ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “ภาวะเงินเฟ้อ” หรือ ภาวะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ได้กลายมาเป็นหัวข้อสำคัญและมักจะถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงให้นักลงทุนหลายๆท่านได้รับฟังกันอยู่บ่อยครั้ง แต่นอกเหนือไปจากการพยายามทำใจให้ยอมรับกับสถานการณ์ที่บรรดาผู้ประกอบการทั้งหลาย ทำการขึ้นราคาสินค้าพร้อมๆ กันจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว นักลงทุนยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ในการสร้างผลตอบแทนให้อยู่ในระดับสูงพอที่จะสามารถครอบคลุมภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นได้ โดยที่ความเสี่ยงของทางเลือกที่ว่านี้ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำอีกด้วย และทางเลือกที่ว่านี้ก็คือ การลงทุนในตราสารหนี้ครับ
แต่ก่อนอื่นนั้น เราลองมาทำความเข้าใจกันว่าภาวะเงินเฟ้อ หรือ Inflation ได้เข้ามามีบทบาทหรือส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Inflation มักจะเกิดขึ้นตามมาหลังการขยายตัวอย่างร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ โดยตัวอย่างง่ายๆ ของ Inflation ที่มักเกิดขึ้นให้พบเห็นอยู่เป็นประจำ ได้แก่การปรับขึ้นของราคาอาหารนั่นเองครับ ซึ่งจากสถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราจะพบว่าราคาอาหารที่เคยขายกันอยู่ที่ประมาณจานละ 15-20 บาท มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดเราต้องจ่ายเงินสูงถึง 30-40 บาท เพื่อแลกกับอาหารที่มีปริมาณเท่าเดิม (และในหลายๆครั้ง เรายังพบว่าได้ปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิมอีกด้วย) หรือแม้แต่ค่าโดยสารรถประจำทาง ที่เราต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (ตัวอย่างของค่าโดยสารรถเมล์ ที่ปรับค่าตั๋วจาก 3.5 บาท/เที่ยว ในปี 2547 มาอยู่ที่ 8 บาท/เที่ยว ในปัจจุบัน) แต่ได้ระยะของการเดินทางที่ไม่แตกต่างไปจากเดิม
ซึ่งหากพิจารณาด้วยเหตุผลคร่าวๆ ที่ผู้ประกอบการมักจะหยิบยกขึ้นมาอ้างถึงความจำเป็นในการปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น อันเนื่องจากต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับมากขึ้นแล้ว ก็น่าจะทำประชาชนโดยทั่วไปพอยอมรับและพยายามเข้าใจถึงความจำเป็นดังกล่าวได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ราคาอาหารหรือแม้แต่ค่ารถโดยสารที่เคยถูกปรับขึ้นไปแล้ว เกือบทั้งหมดนั้นแทบจะไม่มีการปรับราคาลดลงมาอีกเลย แม้ในช่วงเวลาที่ต้นทุนต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของราคาน้ำมัน หรือต้นทุนของวัตถุดิบอื่นๆ จะลดลงจนต่ำกว่าระดับที่ผู้ประกอบการเคยใช้เป็นเหตุผลในการปรับขึ้นราคาสินค้าไปแล้วก็ตาม
ดังนั้น ด้วยสถานการณ์ที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างก็มีทิศทางที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว และประชาชนไม่น่าจะหวังพึ่งผู้ประกอบการให้ปรับลดราคาสินค้าและบริการประเภทต่างๆ ที่เคยปรับขึ้นไปแล้วได้อีก ทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นเหตุผลให้เราต้องหันมาพึ่งพาตนเอง ด้วยการพยายามหาช่องทางการลงทุน ที่นอกจากจะต้องมีความปลอดภัยหรือความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้แล้ว การลงทุนนั้นยังต้องสามารถสร้างผลตอบแทนให้เติบโตในระดับที่สูงกว่า Inflation ไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งตราสารหนี้ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยเหตุผลหลัก 3 ข้อด้วยกันครับ
โดยที่เหตุผลในข้อแรก คือ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ดีกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งหากเราพิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังไปในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา (2545-2554) จะพบว่ามีเพียงปี 2548 เท่านั้น ที่ผลตอบแทนจากตราสารหนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการขยายตัวของ Inflation แต่ในช่วงอีก 8 ปีที่เหลือกลับพบว่า การลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า Inflation อย่างสม่ำเสมอ
ประเด็นที่น่าสนใจในลำดับถัดมา คือ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลในช่วงระยะเวลาเดียวกัน (2545-2555) จะพบว่ามีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวเช่นกัน ที่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 2 ปี อยู่ในระดับที่สูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ แต่ในปีอื่นๆที่นอกเหนือไปจากปี 2548 นั้น ดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ ล้วนแต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าผลตอบแทนที่ได้จากตราสารหนี้ และยิ่งไปกว่านั้นแล้ว หากเราพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก เปรียบเทียบกับการขยายตัวของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในแต่ละปี จะพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจากดอกเบี้ยเงินฝาก (เมื่อหักด้วยเงินเฟ้อแล้ว)
ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในระดับที่ติดลบ หรือพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ ดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินไม่สามารถนำไปซื้อสินค้าที่มีราคาแพงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อได้นั่นเอง และสำหรับประเด็นที่น่าสนใจในข้อสุดท้ายคือ ความเสี่ยงของตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางเลือกอื่นๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลด้วยแล้ว เราถือว่าเป็นตราสารที่ปราศจากความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน (Default Risk) แต่ทั้งนี้ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจก่อนว่าตราสารหนี้ยังคงมีความเสี่ยงด้านอื่นๆ อยู่บ้าง ดังนั้น การศึกษาหาข้อมูลและตัดสินใจเลือกลงทุนอย่างรอบคอบ จึงถือเป็นข้อปฏิบัติข้อแรกที่ผู้ลงทุนต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม