ไม่น่าเชื่อนะครับว่า ข้าราชการไทยส่วนมากยังคงมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับเงินๆทองๆน้อยมาก เพราะแม้แต่เรื่องที่แสนจะใกล้ตัว คือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. ที่บรรดาข้าราชการที่อยู่ในระบบ 1.16 ล้านคน ต้องจ่ายเงินเข้าไปในกองทุนฯกันทุกเดือน แต่สมาชิกส่วนใหญ่กลับไม่รู้ว่าควรให้ กบข.บริหารเงินที่มีกว่า 4.82 แสนล้านบาทอย่างไร
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.ถูกจัดตั้งขึ้นมาเมื่อ 14 ปีที่แล้ว เพื่อมาทดแทนระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อสร้างหลักประกันหลังเกษียณสำหรับข้าราชการ โดยตัวข้าราชการและรัฐบาลจะร่วมกันสมทบคนละ 3% จากเงินเดือน เพื่อระดมเงินไปบริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลตอบแทนในรูปแบบเดียวกันกับการบริหารกองทุนรวมของภาคเอกชน
ในจำนวนข้าราชการ 1,166,124 คนที่เป็นสมาชิก กบข.ในปัจจุบัน ข้าราชการกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ข้าราชการครู 38.39% ข้าราชการพลเรือน 28.48% ตำรวจ 14.92% ทหาร 14.11% ที่เหลือเป็นข้าราชการประเภทอื่นๆ
น่าแปลกใจไหมครับที่แม้แต่ครู ที่ควรจะมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆและนำไปถ่ายทอดและให้ความรู้เรื่องเงินๆทองๆให้กับลูกศิษย์ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเรื่องเงินในกระเป๋า แต่กลับไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องการออมและลงทุน แถมยังมีความเข้าใจผิดในหลายๆเรื่องจนน่าวิตก
ฝากธนาคาร...รอรับดอกเบี้ยเงินฝาก คือคำตอบยอดนิยมจากผลวิจัยสมาชิก กบข.ปี 2553 ซึ่ง สมาชิกส่วนใหญ่บอกมาว่า
- ไม่อยากให้กบข.ลงทุนในหุ้น เพราะเสี่ยงที่สุด
- ไม่อยากให้กบข.ลงทุนในต่างประเทศ เพราะไม่เข้าใจธุรกิจต่างประเทศ ที่สำคัญถ้าขาดทุนแล้วคนต่างชาติเอาไปหมด ลงทุนในประเทศดีกว่า ขาดทุนก็รู้ๆกันว่าขาดทุนให้ใคร
- ไม่อยากให้ กบข.ลงทุนในตราสารหนี้ เพราะไม่อยากเป็นหนี้
เห็นคำตอบจากสมาชิกแบบนี้ คงต้องบอกว่าหนักใจแทน โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.จริงๆ เพราะแสดงว่าต้องทำงานหนักกว่าเดิมเพื่อสื่อให้สมาชิกเข้าใจวิธีการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับกองทุนขนาดใหญ่อย่างกบข.
สิ่งหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไขนอกเหนือจากเรื่องของความรู้เรื่องเงินๆทองๆแล้ว สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่มีผลอย่างมาก หากดูจากคำตอบที่ได้รับจากสมาชิกส่วนใหญ่ก็คือ ทัศนคติในเชิงลบต่อการลงทุน
มันอาจจะเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธว่า ข้าราชการส่วนใหญ่จะมีทัศนคติโน้มเอียงไปทาง อนุรักษ์นิยม ทำให้กลัวความเสี่ยงในทุกรูปแบบ ยิ่งเมื่อถามถึงเรื่องเงินๆทองๆสำหรับวัยเกษียณ ซึ่งทำให้เกิดความคิดรวบยอดไปถึง เม็ดเงินก้อนสุดท้าย แนวคิดเรื่องของการลงทุนใดๆก็ตามที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง จึงเป็นเรื่องที่ข้าราชการส่วนใหญ่ไม่ชอบ และต้องการปกป้องเอาไว้ให้ได้มากที่สุด
แนวคิดที่ต้องการให้นำเงินไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยอย่างเดียว สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึง ความกลัวความเสี่ยงจากการสูญเงินต้นของ สมาชิก กบข. แต่กลับไม่รู้ถึงพิษภัยของอัตราเงินเฟ้อ ที่ทำให้ค่าเงินลดลง
ลองคิดดูว่า หากนำเงินไปฝากธนาคารวันนี้ 100 บาท ได้ดอกเบี้ยเพียง 0.75-1.0 % แต่เงินเฟ้อ เฉลี่ยสูงถึง 3.3-3.5% สิ้นปีได้เงินมา 101 บาทก็จริง แต่ค่าเงินจริงเหลือเพียงประมาณ 97.5-97.7บาท แบบนี้เรียกว่า ขาดทุน
สำหรับแนวคิดที่ไม่อยากให้กองทุนฯไปลงทุนในหุ้น ก็เพราะมีทัศนคติเชิงลบ ทั้งๆที่หากมองภาพในระยะยาวก็จะเห็นได้ชัดว่า การลงทุนในหุ้นยังคงเป็นตราสารที่สามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวได้สูงที่สุด เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นๆ ถึงแม้จะมีความผันผวนระหว่างทางอยู่บ้าง
เปรียบเทียบให้เห็นชัด ในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นตกต่ำเช่นปี 2551 ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นติดลบไปถึง 43.73% แต่เมื่อภาวะตลาดดีดตัวกลับในปี 2552 ผลตอบแทนจากหุ้นก็ทะยานบวกไปที่ 65.81% ในขณะที่ปีนี้ถือเป็นปีกลางๆ ดัชนีจนถึงสิงหาคมก็ยังเป็นบวกอยู่ประมาณ 24%
การลงทุนในหุ้นก็เป็นแบบนี้ แกว่งขึ้น-ลง ตามภาวะตลาด แต่เฉลี่ยรวมระยะยาวแล้วมักจะเป็นบวก ซึ่งก็สอดคล้องกับสมาชิกโดยรวมที่กว่าจะถอนเงินออกได้ก็ต้องฝากกันนานเป็นสิบๆปี ที่สำคัญสมาชิกที่เกษียณในปีที่ตลาดหุ้นตก ไม่จำเป็นต้องนำเงินออกจากกบข.ในปีนั้นฝากต่อไปได้ รอปีที่กำไรค่อยถอนออกก็ได้
เพราะความกลัวความเสี่ยง แนวคิดในเรื่องของนำเงินไปลงทุนต่างประเทศจึงยิ่งดูจะเป็นเรื่องไม่ดี ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ เพราะกลัวขาดทุน ทั้งๆที่ สาเหตุของการกระจายการลงทุนไปในต่างประเทศของ กบข.ก็เพราะต้องการกระจายความเสี่ยง และต้องการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น
ลองคิดง่ายๆว่า หากกบข.นำเม็ดเงินที่มีอยู่กว่า 4.82 แสนล้านบาท ไปลงทุนในตลาดการเงิน หรือ ตลาดทุน ในประเทศเพียงอย่างเดียว กบข.ก็จะกลายเป็น ผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่เวลาขยับตัวแต่ละครั้ง ก็จะส่งผลอย่างมากต่อตลาดทันที
มาถึงคำตอบสุดท้ายที่ สมาชิกกบข.ไม่อยากให้ลงทุนในตราสารหนี้ เพราะกลัวเป็นหนี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในเรื่องพื้นฐานทางการเงินของ สมาชิก กบข.อย่างชัดเจน เพราะ การลงทุนในตราสารหนี้ไม่ได้แปลว่ากบข.เป็นหนี้
ในทางตรงข้าม การลงทุนในตราสารหนี้ หมายถึงการที่เราได้เป็นเจ้าหนี้ เจ้าของตราสารหนี้คือลูกหนี้เรา ถึงเวลาที่เราขายตราสารหนี้ไป ลูกหนี้เหล่านั้นก็ต้องคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเรา ที่สำคัญ ตราสารหนี้ถือเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนก็อาจจะต่ำไปด้วย
ความเห็นจากสมาชิก กบข. เกี่ยวกับการบริหารเงินของกบข.ที่สะท้อนออกมาทั้ง 4 เรื่อง ทำให้ไม่น่าประหลาดใจว่า ทำไมคนไทยส่วนใหญ่จึงยังคงนิยมที่จะออมเงินอยู่กับสถาบันการเงินอย่างธนาคารต่อไป เพราะถึงแม้จะมีผู้คนบางกลุ่มที่กระโจนเข้าสู่โลกยุคใหม่ ที่มีนวัตกรรมทางการเงินก้าวหน้าไปอย่างมากมาย แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ ความรู้เรื่องเงินๆทองๆของพวกเขายังคงอยู่ในโลกที่ “ไม่รู้” ด้วยซ้ำไปว่าตัวเอง “ไม่รู้” อะไร น่าเศร้าไหมครับ!!!
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.ถูกจัดตั้งขึ้นมาเมื่อ 14 ปีที่แล้ว เพื่อมาทดแทนระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อสร้างหลักประกันหลังเกษียณสำหรับข้าราชการ โดยตัวข้าราชการและรัฐบาลจะร่วมกันสมทบคนละ 3% จากเงินเดือน เพื่อระดมเงินไปบริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลตอบแทนในรูปแบบเดียวกันกับการบริหารกองทุนรวมของภาคเอกชน
ในจำนวนข้าราชการ 1,166,124 คนที่เป็นสมาชิก กบข.ในปัจจุบัน ข้าราชการกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ข้าราชการครู 38.39% ข้าราชการพลเรือน 28.48% ตำรวจ 14.92% ทหาร 14.11% ที่เหลือเป็นข้าราชการประเภทอื่นๆ
น่าแปลกใจไหมครับที่แม้แต่ครู ที่ควรจะมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆและนำไปถ่ายทอดและให้ความรู้เรื่องเงินๆทองๆให้กับลูกศิษย์ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเรื่องเงินในกระเป๋า แต่กลับไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องการออมและลงทุน แถมยังมีความเข้าใจผิดในหลายๆเรื่องจนน่าวิตก
ฝากธนาคาร...รอรับดอกเบี้ยเงินฝาก คือคำตอบยอดนิยมจากผลวิจัยสมาชิก กบข.ปี 2553 ซึ่ง สมาชิกส่วนใหญ่บอกมาว่า
- ไม่อยากให้กบข.ลงทุนในหุ้น เพราะเสี่ยงที่สุด
- ไม่อยากให้กบข.ลงทุนในต่างประเทศ เพราะไม่เข้าใจธุรกิจต่างประเทศ ที่สำคัญถ้าขาดทุนแล้วคนต่างชาติเอาไปหมด ลงทุนในประเทศดีกว่า ขาดทุนก็รู้ๆกันว่าขาดทุนให้ใคร
- ไม่อยากให้ กบข.ลงทุนในตราสารหนี้ เพราะไม่อยากเป็นหนี้
เห็นคำตอบจากสมาชิกแบบนี้ คงต้องบอกว่าหนักใจแทน โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.จริงๆ เพราะแสดงว่าต้องทำงานหนักกว่าเดิมเพื่อสื่อให้สมาชิกเข้าใจวิธีการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับกองทุนขนาดใหญ่อย่างกบข.
สิ่งหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไขนอกเหนือจากเรื่องของความรู้เรื่องเงินๆทองๆแล้ว สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่มีผลอย่างมาก หากดูจากคำตอบที่ได้รับจากสมาชิกส่วนใหญ่ก็คือ ทัศนคติในเชิงลบต่อการลงทุน
มันอาจจะเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธว่า ข้าราชการส่วนใหญ่จะมีทัศนคติโน้มเอียงไปทาง อนุรักษ์นิยม ทำให้กลัวความเสี่ยงในทุกรูปแบบ ยิ่งเมื่อถามถึงเรื่องเงินๆทองๆสำหรับวัยเกษียณ ซึ่งทำให้เกิดความคิดรวบยอดไปถึง เม็ดเงินก้อนสุดท้าย แนวคิดเรื่องของการลงทุนใดๆก็ตามที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง จึงเป็นเรื่องที่ข้าราชการส่วนใหญ่ไม่ชอบ และต้องการปกป้องเอาไว้ให้ได้มากที่สุด
แนวคิดที่ต้องการให้นำเงินไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยอย่างเดียว สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึง ความกลัวความเสี่ยงจากการสูญเงินต้นของ สมาชิก กบข. แต่กลับไม่รู้ถึงพิษภัยของอัตราเงินเฟ้อ ที่ทำให้ค่าเงินลดลง
ลองคิดดูว่า หากนำเงินไปฝากธนาคารวันนี้ 100 บาท ได้ดอกเบี้ยเพียง 0.75-1.0 % แต่เงินเฟ้อ เฉลี่ยสูงถึง 3.3-3.5% สิ้นปีได้เงินมา 101 บาทก็จริง แต่ค่าเงินจริงเหลือเพียงประมาณ 97.5-97.7บาท แบบนี้เรียกว่า ขาดทุน
สำหรับแนวคิดที่ไม่อยากให้กองทุนฯไปลงทุนในหุ้น ก็เพราะมีทัศนคติเชิงลบ ทั้งๆที่หากมองภาพในระยะยาวก็จะเห็นได้ชัดว่า การลงทุนในหุ้นยังคงเป็นตราสารที่สามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวได้สูงที่สุด เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นๆ ถึงแม้จะมีความผันผวนระหว่างทางอยู่บ้าง
เปรียบเทียบให้เห็นชัด ในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นตกต่ำเช่นปี 2551 ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นติดลบไปถึง 43.73% แต่เมื่อภาวะตลาดดีดตัวกลับในปี 2552 ผลตอบแทนจากหุ้นก็ทะยานบวกไปที่ 65.81% ในขณะที่ปีนี้ถือเป็นปีกลางๆ ดัชนีจนถึงสิงหาคมก็ยังเป็นบวกอยู่ประมาณ 24%
การลงทุนในหุ้นก็เป็นแบบนี้ แกว่งขึ้น-ลง ตามภาวะตลาด แต่เฉลี่ยรวมระยะยาวแล้วมักจะเป็นบวก ซึ่งก็สอดคล้องกับสมาชิกโดยรวมที่กว่าจะถอนเงินออกได้ก็ต้องฝากกันนานเป็นสิบๆปี ที่สำคัญสมาชิกที่เกษียณในปีที่ตลาดหุ้นตก ไม่จำเป็นต้องนำเงินออกจากกบข.ในปีนั้นฝากต่อไปได้ รอปีที่กำไรค่อยถอนออกก็ได้
เพราะความกลัวความเสี่ยง แนวคิดในเรื่องของนำเงินไปลงทุนต่างประเทศจึงยิ่งดูจะเป็นเรื่องไม่ดี ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ เพราะกลัวขาดทุน ทั้งๆที่ สาเหตุของการกระจายการลงทุนไปในต่างประเทศของ กบข.ก็เพราะต้องการกระจายความเสี่ยง และต้องการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น
ลองคิดง่ายๆว่า หากกบข.นำเม็ดเงินที่มีอยู่กว่า 4.82 แสนล้านบาท ไปลงทุนในตลาดการเงิน หรือ ตลาดทุน ในประเทศเพียงอย่างเดียว กบข.ก็จะกลายเป็น ผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่เวลาขยับตัวแต่ละครั้ง ก็จะส่งผลอย่างมากต่อตลาดทันที
มาถึงคำตอบสุดท้ายที่ สมาชิกกบข.ไม่อยากให้ลงทุนในตราสารหนี้ เพราะกลัวเป็นหนี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในเรื่องพื้นฐานทางการเงินของ สมาชิก กบข.อย่างชัดเจน เพราะ การลงทุนในตราสารหนี้ไม่ได้แปลว่ากบข.เป็นหนี้
ในทางตรงข้าม การลงทุนในตราสารหนี้ หมายถึงการที่เราได้เป็นเจ้าหนี้ เจ้าของตราสารหนี้คือลูกหนี้เรา ถึงเวลาที่เราขายตราสารหนี้ไป ลูกหนี้เหล่านั้นก็ต้องคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเรา ที่สำคัญ ตราสารหนี้ถือเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนก็อาจจะต่ำไปด้วย
ความเห็นจากสมาชิก กบข. เกี่ยวกับการบริหารเงินของกบข.ที่สะท้อนออกมาทั้ง 4 เรื่อง ทำให้ไม่น่าประหลาดใจว่า ทำไมคนไทยส่วนใหญ่จึงยังคงนิยมที่จะออมเงินอยู่กับสถาบันการเงินอย่างธนาคารต่อไป เพราะถึงแม้จะมีผู้คนบางกลุ่มที่กระโจนเข้าสู่โลกยุคใหม่ ที่มีนวัตกรรมทางการเงินก้าวหน้าไปอย่างมากมาย แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ ความรู้เรื่องเงินๆทองๆของพวกเขายังคงอยู่ในโลกที่ “ไม่รู้” ด้วยซ้ำไปว่าตัวเอง “ไม่รู้” อะไร น่าเศร้าไหมครับ!!!