“พาณิชย์” ขยายเอ็มโอยูขายข้าวนึ่งบังกลาเทศ เพิ่มอีก 3 ปี จนถึงปี 59 เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายข้าว “บุญทรง” เผยคืนเงินขายข้าวคลังแล้ว 1.1 แสนล้าน
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ลงนามข้อตกลงแก้ไขบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) การซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลบังกลาเทศ โดยได้ปรับเอ็มโอยูใหม่จากเดิมที่กำหนดให้ไทยซื้อขายข้าวกับบังกลาเทศระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2555-56 ไม่เกินปีละ 1 ล้านตัน ให้ขยายเวลาเพิ่มออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่ปี 2555-59 พร้อมทั้งกำหนดให้ไทยและบังกลาเทศจะซื้อขายข้าวนึ่งกันไม่เกินปีละ 1 ล้านตัน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตข้าวของแต่ละประเทศ และระดับราคาซื้อขายในตลาดโลก
สำหรับรายละเอียดการเจรจาซื้อขายข้าว กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานดำเนินการ ในขณะที่รัฐบาลบังกลาเทศจะมอบหมายให้หน่วยงานอาหารภายใต้กระทรวงอาหารเป็นหน่วยงานดำเนินการในขั้นต่อไป โดยในแต่ละปีบังกลาเทศนำเข้าข้าวจากไทยเฉลี่ยปีละ 178,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวนึ่ง ข้าวขาว100% และข้าวหอมมะลิไทย
ส่วนการทำสัญญาซื้อขายข้าวนึ่งแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ระหว่างไทยไทยกับบังกลาเทศ ปริมาณ 200,000 ตัน เมื่อปี 2554 ยอมรับว่าถึงขณะนี้ทางบังกลาเทศยังไม่ได้นำเข้าข้าวจากไทย เนื่องจากบังกลาเทศไม่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ แต่ในปีนี้รัฐบาลบังกลาเทศอยู่ระหว่างสำรวจสถานการณ์ภัยธรรมชาติว่าจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่งหากในเดือนเม.ย.นี้ ประสบภัยธรรมชาติก็มีแนวโน้มว่าบังกลาเทศอาจนำเข้าข้าวจากไทย
ทางด้านความคืบหน้าการคืนเงินขายข้าวให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ล่าสุดกรมการค้าต่างประเทศรายงานว่าได้คืนเงินไปแล้ว 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าการระบายข้าวในปีนี้จะเป็นได้ตามแผน และสามารถส่งเงินคืนได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า การลงนามเอ็มโอยูถือเป็นขั้นตอนเจรจาซื้อขายเบื้องต้น ซึ่งในข้อเท็จจริงอาจไม่มีการซื้อขายข้าวเกิดขึ้นได้ เพราะที่ผ่านมาไทยได้เคยทำเอ็มโอยูขายข้าวกับหลายประเทศ รวมถึงขายให้ประเทศบังกลาเทศ แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาที่กำหนด รัฐบาลบังกลาเทศก็ไม่ได้นำเข้าข้าวจากไทย เนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูงกว่าท้องตลาด
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ลงนามข้อตกลงแก้ไขบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) การซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลบังกลาเทศ โดยได้ปรับเอ็มโอยูใหม่จากเดิมที่กำหนดให้ไทยซื้อขายข้าวกับบังกลาเทศระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2555-56 ไม่เกินปีละ 1 ล้านตัน ให้ขยายเวลาเพิ่มออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่ปี 2555-59 พร้อมทั้งกำหนดให้ไทยและบังกลาเทศจะซื้อขายข้าวนึ่งกันไม่เกินปีละ 1 ล้านตัน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตข้าวของแต่ละประเทศ และระดับราคาซื้อขายในตลาดโลก
สำหรับรายละเอียดการเจรจาซื้อขายข้าว กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานดำเนินการ ในขณะที่รัฐบาลบังกลาเทศจะมอบหมายให้หน่วยงานอาหารภายใต้กระทรวงอาหารเป็นหน่วยงานดำเนินการในขั้นต่อไป โดยในแต่ละปีบังกลาเทศนำเข้าข้าวจากไทยเฉลี่ยปีละ 178,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวนึ่ง ข้าวขาว100% และข้าวหอมมะลิไทย
ส่วนการทำสัญญาซื้อขายข้าวนึ่งแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ระหว่างไทยไทยกับบังกลาเทศ ปริมาณ 200,000 ตัน เมื่อปี 2554 ยอมรับว่าถึงขณะนี้ทางบังกลาเทศยังไม่ได้นำเข้าข้าวจากไทย เนื่องจากบังกลาเทศไม่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ แต่ในปีนี้รัฐบาลบังกลาเทศอยู่ระหว่างสำรวจสถานการณ์ภัยธรรมชาติว่าจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่งหากในเดือนเม.ย.นี้ ประสบภัยธรรมชาติก็มีแนวโน้มว่าบังกลาเทศอาจนำเข้าข้าวจากไทย
ทางด้านความคืบหน้าการคืนเงินขายข้าวให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ล่าสุดกรมการค้าต่างประเทศรายงานว่าได้คืนเงินไปแล้ว 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าการระบายข้าวในปีนี้จะเป็นได้ตามแผน และสามารถส่งเงินคืนได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า การลงนามเอ็มโอยูถือเป็นขั้นตอนเจรจาซื้อขายเบื้องต้น ซึ่งในข้อเท็จจริงอาจไม่มีการซื้อขายข้าวเกิดขึ้นได้ เพราะที่ผ่านมาไทยได้เคยทำเอ็มโอยูขายข้าวกับหลายประเทศ รวมถึงขายให้ประเทศบังกลาเทศ แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาที่กำหนด รัฐบาลบังกลาเทศก็ไม่ได้นำเข้าข้าวจากไทย เนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูงกว่าท้องตลาด