ASTVผู้จัดการรายวัน-กขช.ไม่ลดราคา ยืนราคาเดิม 1.5 หมื่นบาท เตรียมใช้งบ 1.05 แสนล้าน รับจำนำข้าวนาปรัง 7 ล้านตัน ส่วนนาปีปีนี้ยังคงใช้ราคาจำนำเดิม แต่นาปรังปี 56/57 ส่อแววลด ขณะที่ "ส.ว.คำนูณ"ชี้ รัฐบาลประกาศขายข้าวในราคาขาดทุน จะเป็นการชี้นำราคาข้าวตลาดโลกร่วงลงอีก จี้ทบทวนโครงการรับจำนำข้าว พร้อมเร่งตรวจสอบ ใครเอี่ยวผลประโยชน์ ส่วน"หมอวรงค์ "จวกรัฐบาลเตะถ่วงออกใบรับรอง เพราะไม่มีเงิน แนะคุยเปิดอกกับชาวนา ดึงตัวแทนเกษตรกรร่วมหาทางออก
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) วานนี้ (11 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบโครงการรับจำนำข้าวรอบที่ 2 ปีการผลิต 2555/56 ซึ่งเป็นข้าวนาปรัง โดยให้รับจำนำในราคาเดิม โดยข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 1.5 หมื่นบาท ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 1.6 หมื่นบาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 1.5-1.6 หมื่นบาท เท่ากับนาปี 2555/56 คาดว่าจะมีปริมาณเข้าสู่โครงการทั้งสิ้น 7 ล้านตัน จากคาดการผลผลิตที่ 9 ล้านตัน ใช้วงเงินประมาณ 1.05 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ เงินที่จะนำมาใช้ในการรับจำนำ ไม่จำเป็นต้องหาเงินเพิ่ม โดยใช้วงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้กู้ไว้แล้ว 4.1 แสนล้าน บวกเงินสำรองของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) อีก 9 หมื่นล้านบาท บวกกับเงินที่จะได้คืนจากการขายข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งได้คืนไปแล้ว 6 หมื่นล้านบาท และในปีนี้จะทยอยคืนอีกประมาณ 1.5-1.6 แสนล้าน ทำให้มั่นใจว่ามีเงินเพียงพอในการรับจำนำข้าวอย่างแน่นอน
“ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่า ขณะนี้เลยฤดูเพาะปลูกมาแล้ว การปรับเปลี่ยนราคารับจำนำตอนนี้ อาจจะกระทบต่อเกษตรกร และกลัวว่าเกษตรกรจะเดือดร้อน รอบนี้เลยให้ใช้ราคาเดิมไปก่อน และการรับจำนำนาปี 2556/57 ก็จะยังใช้ราคาเดิมในการรับจำนำ แต่นาปรัง 2557 จะมีการทบทวนราคาใหม่ให้สอดคล้องกับแผนการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังดำเนินการอยู่”นายบุญทรงกล่าว
อย่างไรก็ตาม กขช. ยังได้กำหนดไม่ให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 100 วัน เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพให้กับข้าวไทย โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบกำหนดพันธุ์ข้าวว่ามีพันธุ์ชนิดใดที่ไม่ให้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งวางมาตรการกำกับดูแลไม่ให้เกษตรกรนข้าวอายุต่ำกว่า 100 วันเข้าร่วมโครงการด้วย
สำหรับขั้นตอนการรับจำนำ เมื่อกขช.อนุมัติแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามาถเริ่มโครงการรับจำนำได้เลย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะออกหนังสือรับรองให้ชาวนา ตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.เป็นต้นไป ส่วนหน่วยงานที่รับจำนำก็จะไปกำหนดจุดรับจำนำ ขณะที่การสีแปรสภาพ การส่งมอบข้าวเข้าโกดังกลาง ยังเป็นไปตามเงื่อนไขเดิมที่เคยดำเนินการมา
นายบุญทรงกล่าวว่า กขช.ยังได้อนุมัติในหลักการให้กรมการค้าต่างประเทศไปเจรจากับรัฐบาลกินี หลังจากที่ได้เสนอความประสงค์ในการขอซื้อข้าวขาว 25% จากไทย ปริมาณ 1.5 แสนตัน แต่ได้มอบหมายให้มีการเจรจาในเรื่องหนี้ข้าวที่รัฐบาลกินีค้างชำระรัฐบาลไทยประมาณ 1.29 ล้านเหรียญสหรัฐก่อน หากตกลงกันได้ ก็ให้พิจารณาในเรื่องการขายข้าวให้ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้อนุมัติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการและมาตรการรองรับการเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA ซึ่งน่าจะใช้แนวทางเดิม คือ การกำหนดชนิดข้าวที่ให้นำเข้า ด่านที่ให้นำเข้า และระยะเวลาที่ให้นำเข้า เป็นต้น
**"ส.ว.คำนูณ"หวั่นถูกผู้ซื้อกดราคาข้าว-ขาดทุนหนัก
ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (11มี.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ผ่านไปยังรัฐบาล กรณีที่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา ว่า ได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ให้ดูแลเรื่องเงินในโครงการรับจำนำข้าว และยืนยันว่า จะเร่งขายข้าวในราคาตลาดโลก โดยที่รัฐบาลจะยอมรับผลการขาดทุน ซึ่งตนคิดว่าเป็นครั้งแรกที่คนของรัฐบาลยอมรับว่า โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดมีราคาสูงกว่าตลาดโลกถึง 40% และ แปลว่ารัฐบาลล้มเหลว และขาดทุนในทางปฏิบัติ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลยืนยันมาโดยตลอดว่าโครงการรับจำนำข้าวจะไม่ขาดทุน
ดังนั้นขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า นอกจากการออกมายอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าขาดทุนแล้ว รัฐบาลควรจะต้องทบทวนโครงการรับจำนำข้าว ว่าจะดำเนินต่อไปหรือไม่ เพราะจากปัญหาสถานการณ์การใช้เงิน ก็ยังมีความสับสนว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า การที่รัฐบาลประกาศอย่างเปิดเผยออกมาว่าจะยอมขายข้าวในสต็อกตามราคาตลาดโลก และจะยอมรับผลขาดทุน ก็จะยิ่งเป็นการชี้นำตลาด ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกต่ำลงไปอีก เนื่องจากผู้ซื้อก็จะชะลอการซื้อเพื่อกดราคาข้าว การประกาศขายข้าวของรัฐบาลจึงเปรียบเสมือนปฏิบัติการทุบราคาข้าว
ดังนั้นตนขอเสนอไปยังรัฐบาลว่า นอกเหนือจากทบทวนโครงการทั้งหมดแล้ว รัฐบาลจะต้องตรวจสอบว่ามีผู้ใดได้รับประโยชน์ในโครงการรับจำนำข้าว จากการให้สัมภาษณ์ของนายนิวัฒน์ธำรงค์ ในครั้งนี้บ้าง เนื่องจากอาจจะมีพ่อค้าที่ไปขายข้าวในตลาดล่วงหน้า และมาประมูลซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาล ในราคาต่ำ เพื่อกำไรให้มากขึ้น
***จวกรัฐเตะถ่วงออกใบรับรอง เพราะไม่มีเงิน
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีสภาเกษตรกรแห่งชาติออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกข้าว พร้อมทั้งคัดค้านการปรับลดราคาข้าวในโครงการรับจำนำข้าว จากตันละ 15,000 บาทเหลือตันละ 13,000 บาทนั้น ว่า ตนคิดว่าเรื่องการออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรนั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา เพราะเป็นเรื่องกระบวนการที่มีการทำมาแล้ว 3 ฤดูกาล จึงน่าจะมีความคล่องตัวในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งตนเชื่อว่าสาเหตุที่รัฐบาลไม่ออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรนั้น เพราะรัฐบาลไม่มีเงินที่จะทำโครงการ เพราะหลังจากที่รัฐบาลออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ชาวนาก็จะสามารถนำข้าวไปขายให้โรงสี และนำใบประทวนจากโรงสีไปขึ้นเงินกับธ.ก.ส. แต่ธ.ก.ส.ไม่มีเงินจ่าย รัฐบาลเลยใช้วิธีการเตะถ่วงไปว่ากระบวนการออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรแทน
ทั้งนี้ตนเห็นว่าทางที่ดีรัฐบาลควรจะชี้แจงกับเกษตรกรแบบตรงไปตรงมา แล้วขอเลื่อนการจ่ายเงินออกไปก่อน ซึ่งเชื่อว่าชาวนาก็จะเข้าใจ ส่วนแนวทางการลดราคารับจำนำนั้นก็เชื่อว่าคงมาจากสาเหตุเดียวกัน แต่รัฐบาลก็ต้องทำต่อเพราะได้ให้สัญญากับประชาชนไว้ และหากมีการปรับลดราคาจำนำจริงก็ต้องมีเงื่อนไขอื่นมาชดเชย
“รัฐบาลควรที่จะพูดความจริงกับสังคม พูดความจริงกับเกษตรกร และมาหาทางออกร่วมกัน ดีกว่าที่รัฐบาลจะพูดหาข้ออ้างไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลจะหันไปทางซ้ายหรือขวาก็เจอปัญหา รัฐบาลควรพูดเปิดอกกับชาวนาว่าที่ผ่านมาโครงการจำนำข้าวมีปัญหาอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็นำตัวแทนชาวาจากทุกกลุ่มมาพูดคุยกัน ว่ารัฐบาลพอจะหาทางออกได้อย่างไรที่ชาวนารับได้”นพ.วรงค์ กล่าว
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) วานนี้ (11 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบโครงการรับจำนำข้าวรอบที่ 2 ปีการผลิต 2555/56 ซึ่งเป็นข้าวนาปรัง โดยให้รับจำนำในราคาเดิม โดยข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 1.5 หมื่นบาท ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 1.6 หมื่นบาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 1.5-1.6 หมื่นบาท เท่ากับนาปี 2555/56 คาดว่าจะมีปริมาณเข้าสู่โครงการทั้งสิ้น 7 ล้านตัน จากคาดการผลผลิตที่ 9 ล้านตัน ใช้วงเงินประมาณ 1.05 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ เงินที่จะนำมาใช้ในการรับจำนำ ไม่จำเป็นต้องหาเงินเพิ่ม โดยใช้วงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้กู้ไว้แล้ว 4.1 แสนล้าน บวกเงินสำรองของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) อีก 9 หมื่นล้านบาท บวกกับเงินที่จะได้คืนจากการขายข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งได้คืนไปแล้ว 6 หมื่นล้านบาท และในปีนี้จะทยอยคืนอีกประมาณ 1.5-1.6 แสนล้าน ทำให้มั่นใจว่ามีเงินเพียงพอในการรับจำนำข้าวอย่างแน่นอน
“ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่า ขณะนี้เลยฤดูเพาะปลูกมาแล้ว การปรับเปลี่ยนราคารับจำนำตอนนี้ อาจจะกระทบต่อเกษตรกร และกลัวว่าเกษตรกรจะเดือดร้อน รอบนี้เลยให้ใช้ราคาเดิมไปก่อน และการรับจำนำนาปี 2556/57 ก็จะยังใช้ราคาเดิมในการรับจำนำ แต่นาปรัง 2557 จะมีการทบทวนราคาใหม่ให้สอดคล้องกับแผนการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังดำเนินการอยู่”นายบุญทรงกล่าว
อย่างไรก็ตาม กขช. ยังได้กำหนดไม่ให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 100 วัน เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพให้กับข้าวไทย โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบกำหนดพันธุ์ข้าวว่ามีพันธุ์ชนิดใดที่ไม่ให้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งวางมาตรการกำกับดูแลไม่ให้เกษตรกรนข้าวอายุต่ำกว่า 100 วันเข้าร่วมโครงการด้วย
สำหรับขั้นตอนการรับจำนำ เมื่อกขช.อนุมัติแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามาถเริ่มโครงการรับจำนำได้เลย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะออกหนังสือรับรองให้ชาวนา ตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.เป็นต้นไป ส่วนหน่วยงานที่รับจำนำก็จะไปกำหนดจุดรับจำนำ ขณะที่การสีแปรสภาพ การส่งมอบข้าวเข้าโกดังกลาง ยังเป็นไปตามเงื่อนไขเดิมที่เคยดำเนินการมา
นายบุญทรงกล่าวว่า กขช.ยังได้อนุมัติในหลักการให้กรมการค้าต่างประเทศไปเจรจากับรัฐบาลกินี หลังจากที่ได้เสนอความประสงค์ในการขอซื้อข้าวขาว 25% จากไทย ปริมาณ 1.5 แสนตัน แต่ได้มอบหมายให้มีการเจรจาในเรื่องหนี้ข้าวที่รัฐบาลกินีค้างชำระรัฐบาลไทยประมาณ 1.29 ล้านเหรียญสหรัฐก่อน หากตกลงกันได้ ก็ให้พิจารณาในเรื่องการขายข้าวให้ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้อนุมัติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการและมาตรการรองรับการเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA ซึ่งน่าจะใช้แนวทางเดิม คือ การกำหนดชนิดข้าวที่ให้นำเข้า ด่านที่ให้นำเข้า และระยะเวลาที่ให้นำเข้า เป็นต้น
**"ส.ว.คำนูณ"หวั่นถูกผู้ซื้อกดราคาข้าว-ขาดทุนหนัก
ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (11มี.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ผ่านไปยังรัฐบาล กรณีที่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา ว่า ได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ให้ดูแลเรื่องเงินในโครงการรับจำนำข้าว และยืนยันว่า จะเร่งขายข้าวในราคาตลาดโลก โดยที่รัฐบาลจะยอมรับผลการขาดทุน ซึ่งตนคิดว่าเป็นครั้งแรกที่คนของรัฐบาลยอมรับว่า โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดมีราคาสูงกว่าตลาดโลกถึง 40% และ แปลว่ารัฐบาลล้มเหลว และขาดทุนในทางปฏิบัติ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลยืนยันมาโดยตลอดว่าโครงการรับจำนำข้าวจะไม่ขาดทุน
ดังนั้นขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า นอกจากการออกมายอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าขาดทุนแล้ว รัฐบาลควรจะต้องทบทวนโครงการรับจำนำข้าว ว่าจะดำเนินต่อไปหรือไม่ เพราะจากปัญหาสถานการณ์การใช้เงิน ก็ยังมีความสับสนว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า การที่รัฐบาลประกาศอย่างเปิดเผยออกมาว่าจะยอมขายข้าวในสต็อกตามราคาตลาดโลก และจะยอมรับผลขาดทุน ก็จะยิ่งเป็นการชี้นำตลาด ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกต่ำลงไปอีก เนื่องจากผู้ซื้อก็จะชะลอการซื้อเพื่อกดราคาข้าว การประกาศขายข้าวของรัฐบาลจึงเปรียบเสมือนปฏิบัติการทุบราคาข้าว
ดังนั้นตนขอเสนอไปยังรัฐบาลว่า นอกเหนือจากทบทวนโครงการทั้งหมดแล้ว รัฐบาลจะต้องตรวจสอบว่ามีผู้ใดได้รับประโยชน์ในโครงการรับจำนำข้าว จากการให้สัมภาษณ์ของนายนิวัฒน์ธำรงค์ ในครั้งนี้บ้าง เนื่องจากอาจจะมีพ่อค้าที่ไปขายข้าวในตลาดล่วงหน้า และมาประมูลซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาล ในราคาต่ำ เพื่อกำไรให้มากขึ้น
***จวกรัฐเตะถ่วงออกใบรับรอง เพราะไม่มีเงิน
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีสภาเกษตรกรแห่งชาติออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกข้าว พร้อมทั้งคัดค้านการปรับลดราคาข้าวในโครงการรับจำนำข้าว จากตันละ 15,000 บาทเหลือตันละ 13,000 บาทนั้น ว่า ตนคิดว่าเรื่องการออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรนั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา เพราะเป็นเรื่องกระบวนการที่มีการทำมาแล้ว 3 ฤดูกาล จึงน่าจะมีความคล่องตัวในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งตนเชื่อว่าสาเหตุที่รัฐบาลไม่ออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรนั้น เพราะรัฐบาลไม่มีเงินที่จะทำโครงการ เพราะหลังจากที่รัฐบาลออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ชาวนาก็จะสามารถนำข้าวไปขายให้โรงสี และนำใบประทวนจากโรงสีไปขึ้นเงินกับธ.ก.ส. แต่ธ.ก.ส.ไม่มีเงินจ่าย รัฐบาลเลยใช้วิธีการเตะถ่วงไปว่ากระบวนการออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรแทน
ทั้งนี้ตนเห็นว่าทางที่ดีรัฐบาลควรจะชี้แจงกับเกษตรกรแบบตรงไปตรงมา แล้วขอเลื่อนการจ่ายเงินออกไปก่อน ซึ่งเชื่อว่าชาวนาก็จะเข้าใจ ส่วนแนวทางการลดราคารับจำนำนั้นก็เชื่อว่าคงมาจากสาเหตุเดียวกัน แต่รัฐบาลก็ต้องทำต่อเพราะได้ให้สัญญากับประชาชนไว้ และหากมีการปรับลดราคาจำนำจริงก็ต้องมีเงื่อนไขอื่นมาชดเชย
“รัฐบาลควรที่จะพูดความจริงกับสังคม พูดความจริงกับเกษตรกร และมาหาทางออกร่วมกัน ดีกว่าที่รัฐบาลจะพูดหาข้ออ้างไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลจะหันไปทางซ้ายหรือขวาก็เจอปัญหา รัฐบาลควรพูดเปิดอกกับชาวนาว่าที่ผ่านมาโครงการจำนำข้าวมีปัญหาอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็นำตัวแทนชาวาจากทุกกลุ่มมาพูดคุยกัน ว่ารัฐบาลพอจะหาทางออกได้อย่างไรที่ชาวนารับได้”นพ.วรงค์ กล่าว